เตือนแฮกเกอร์จีนพุ่งเป้าเล่นงานประเทศอาเซียน

Loading

  บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เตือนแฮกเกอร์จีนล้วงข้อมูลของหลายประเทศในอาเซียนรวมทั้งไทย สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Insikt Group บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในสหรัฐเผยรายงานการวิจัยว่า ปีนี้แฮกเกอร์จากจีนพุ่งเป้าโจมตีองค์กรทางการทหารและพลเรือนของหลายประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีกรณีพิพาทด้านดินแดน หรือทำโครงการโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งบ่งชี้ว่ารัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย Insikt Group ระบุว่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนามคือ ท็อป 3 ประเทศที่ถูกโจมตีในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา แฮกเกอร์ยังพุ่งเป้าไปที่อีกหลายประเทศ รวมทั้งฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา และไทย “การโจมตีที่ถูกตรวจพบแทบจะสนับสนุนเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของรัฐบาลจีนอย่างแน่นอน อาทิ การรวบรวมข่าวกรองของประเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทเหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ หรือเกี่ยวข้องกับโครงการและประเทศที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์กับโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative)” รายงานของ Insikt Group ระบุ รายงานระบุด้วยว่า แฮกเกอร์พุ่งเป้าไปที่สำนักนายกรัฐมนตรีของไทยและมาเลเซีย กระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมทั้งการทหารของประเทศเหล่านี้ Insikt Group เผยว่า บริษัทตรวจพบเซิร์ฟเวอร์ที่มีลักษณะเฉพาะกว่า 400 เซิร์ฟเวอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สื่อสารกับเครือข่ายที่ติดเชื้อซึ่งน่าจะเชื่อมโยงกับตัวการที่มีรัฐบาลจีนหนุนหลัง แต่บริษัทไม่มีข้อมูลเชิงลึกว่าข้อมูลใดบ้างที่ถูกขโมยไป Insikt Group เชื่อมโยงการโจมตีดังกล่าวกับกลุ่มที่มีชื่อว่า…

หนุ่มเมียนมา “สารภาพ” วางแผนลอบฆ่าทูตประจำยูเอ็น-ยังไม่ชัดโยงรัฐบาลทหาร

Loading

หนุ่มเมียนมา “สารภาพ” – วันที่ 11 ธ.ค. เอเอฟพี รายงานว่า สำนักงานอัยการสหรัฐอเมริกาแถลงว่า นายเย เฮน ซอ วัยราว 20 ปี ชายชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในนครนิวยอร์ก ให้การรับสารภาพว่าวางแผนลอบสังหารหรือทำร้าย นายจอ โม ตุน เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพื่อบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากนายจอ โม ตุน แสดงจุดยืนต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาซึ่งก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนภายใต้การนำของนางออง ซาน ซู จี อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐ เมื่อเดือน ก.พ.2564 ทั้งนี้ นายเย เฮน ซอ มีกำหนดขึ้นศาลเพื่อฟังคำพิพากษาในเดือน พ.ค.ปีหน้า และอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี   In August, Ye Hein Zaw, a resident of New York in…

ระบบไอทีกรมตำรวจอังกฤษใช้งานมา 47 ปี เก่าขนาดหาคนมาเป็น IT Support ไม่ได้

Loading

กระทรวงมหาดไทยของสหราชอาณาจักรกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบไอทีของกรมตำรวจอังกฤษ (Police National Computer – PNC) หลังประสบปัญหายังไม่สามารถอัพเกรดหรือไมเกรทมาเป็นระบบใหม่ได้ ขณะเดียวกันก็ยังหาทีมงานที่เก่งและเชี่ยวชาญพอจะมาซัพพอร์ทระบบและโปรแกรมให้ไม่ได้ หลัง PNC ใช้งานมากว่า 47 ปีตั้งแต่ 1974 ระบบ PNC เป็นฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลของชาวสหราชอาณาจักรกว่า 13.2 ล้านคน รวมถึงข้อมูลการจับกุม การกระทำความผิด ข้อมูลทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ โดยที่ผ่านมาระบบ PNC เคยเกิดปัญหาข้อมูลการจับกุมหายกว่า 150,000 รายการเมื่อปีที่แล้ว ก่อนจะกู้กลับมาได้   ภาพจาก Shutterstock ทางกระทรวงพยายามจะอัพเกรดระบบใหม่และเชื่อมเข้ากับ Police National Database มากว่า 5 ปีแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยตอนนี้คาดว่าระบบใหม่จะพร้อมเริ่มใช้งานในปีหน้า ขณะที่ตัว PNC ของเก่าถูกคาดว่าจะต้องใช้งานไปอีกอย่างน้อยถึงปี 2024 โดยปีหน้าจะเป็นปีสุดท้ายที่ได้รับการซัพพอร์ทจากฝั่งผู้ผลิต ขณะที่ทีมงานของกรมตำรวจที่ต้องซัพพอร์ทระบบนี้ก็ทยอยเกษียณและมีจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากไม่สามารถหาคนที่มีความเข้าใจกับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอายุ 47 ปี มาทำงานได้ ที่มา – Paliament.uk , Computer Weekly…

Digital ID ไทยพร้อมแค่ไหน? เมื่อชีวิตในโลกยุคใหม่ต้องง่ายขึ้น

Loading

  รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของ Digital Identity หรือ Digital ID นับว่าได้รับความสนใจจากสังคมพอสมควร ถึงทิศทางที่ไทยจะก้าวไปสู่การยืนยันตัวตนด้วยระบบดิจิทัลต่างๆ การประกาศยกเลิกรับสำเนาบัตรประชาชน เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นที่ Digital ID จะก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของ Digital ID นับว่าได้รับความสนใจจากสังคมพอสมควร ถึงทิศทางที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การยืนยันตัวตัวด้วยระบบดิจิทัลต่างๆ การประกาศยกเลิกจอสำเนาบัตรประชาชน ก็เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นที่ Digital ID จะก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อน Digital ID ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ‘ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส กล่าวว่า ปัจจุบัน โลกกำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างผันตัวเองเข้าสู่ระบบและบริการดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด หลาย ๆ หน่วยงานแชร์ทรัพยากร ข้อมูล รวมถึงเอกสารผ่านทางคลาวด์กันอย่างแพร่หลาย สอดคล้องกับผลสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติของประชาชนโดย ETDA ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการช่องทาง…

เมื่อองค์กรต้องดูแลระบบ ‘ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้’ จำนวนมาก

Loading

  ความท้าทายส่วนหนึ่งคือ ขาดข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญขององค์กร ยิ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์พัฒนาไปเท่าไหร่ องค์กรก็ยิ่งต้องติดตั้งระบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้มากขึ้นเท่านั้น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือระบบเหล่านี้มีจำนวนมากเกินกว่าที่องค์กรจะดูแลไหว ทำให้องค์กรส่วนมากดึงดูดแฮกเกอร์ด้วยช่องโหว่อันเปิดกว้างที่เกิดจากการมีเครื่องมือจำนวนมาก การขาดทัศนวิสัยในทรัพย์สินที่สำคัญ (Key Asset) และการดูแลระบบ Cyber Security ที่ผิดที่ผิดทางครับ ล่าสุดผู้พัฒนาโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้จัดการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารที่ดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยองค์กรในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรจำนวน 1,200 คนในอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่า การเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์และการทำงานแบบระยะไกลหรือ Remote Working ส่งผลให้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาองค์กรมีเครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่ต้องจัดการเพิ่มขึ้นถึง 19% ทำให้มีรายงาน (Report) ที่ต้องตรวจสอบมากขึ้น จนเกิดเป็นช่องโหว่ในการมองเห็นและการควบคุมความปลอดภัยที่ยากต่อการปกปิด หนึ่งในสาม หรือคิดเป็น 36% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขารู้สึกมั่นใจเป็นอย่างมากว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าการควบคุมความปลอดภัยต่างๆทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคนส่วนใหญ่คิดเป็น 82% อ้างว่ารู้สึกประหลาดใจกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย การฝ่าฝืนต่างๆ ที่หลบเลี่ยงการควบคุมเข้ามาได้ สองในห้าของผู้นำด้านความปลอดภัยยืนยันว่า พวกเขาเข้าใจเรื่องนี้และสามารถแก้ไขการควบคุมที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐาน พร้อมทั้งติดตามการพัฒนาระบบให้ดีขึ้นได้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ หรือกว่า 60% ยอมรับว่า ยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมความปลอดภัยที่ออกแบบมาเพื่อรับมือกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ Ransomware ในระยะยาวได้ ความท้าทายส่วนหนึ่งของเรื่องนี้คือ การขาดข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญขององค์กร เช่น ฐานข้อมูล อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ไอโอที…

เปิดแผน “ระบบเฝ้าระวัง” รับมือเหตุฉุกเฉิน-โรคอุบัติใหม่ในโรงงาน

Loading

  ฉายภาพแผนพัฒนาต้นแบบ “ระบบเฝ้าระวัง” เพื่อลดผลกระทบในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ-เทคโนโลยีอวกาศ พร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินด้านอุทกภัย ภัยพิบัติสารเคมี และโรคอุบัติใหม่ เสริมเกราะป้องกันโรงงานและชุมชน รุกแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ต่อเนื่อง จากการที่โรงงานขนาดใหญ่มีแรงงานจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งโรงงานขนาดใหญ่เมื่อเกิดภัยพิบัติทั้งจากสารเคมี หรือ อุทกภัยตามธรรมชาติ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมในวงกว้าง การพัฒนา “ระบบการเฝ้าระวัง” จึงปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถเตือนภัยล่วงหน้า มีการตรวจสอบข้อมูลที่สามารถย้อนกลับเพื่อการป้องกันได้อย่างทันท่วงที ที่จะทำให้สามารถกำหนดมาตรการในการควบคุมการแพร่กระจายและลดผลกระทบได้ นางธัญวรัตม์ อนันต์ หัวหน้าฝ่ายภูมิสารสนเทศพื้นฐานแผนที่และความมั่นคง สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ฉายภาพระบบต้นแบบที่พัฒนาขึ้น โดยนำหลักการของการวางระบบบริหารจัดการข้อมูลเชิงลึกเพื่อใช้ในการบริหารสถานการณ์ของระบบ iMAP มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการลดผลกระทบในพื้นที่จังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนแรงงานสูง หรือพูดง่ายๆก็คือการรวมในเรื่องของฐานข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมจากกรมโรงงานฯ มาผนวกกับข้อมูลเชิงพื้นที่ที่จิสด้ามี และใช้ในเรื่องของแพลตฟอร์มที่เป็นดิจิทัลมาช่วยให้การทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมที่จะใช้เพื่อการเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ระบบต้นแบบเพื่อการเฝ้าระวังเพื่อลดผลกระทบของการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 2.ระบบต้นแบบการประเมินความเสี่ยงด้านภัยพิบัติกรณีจากการรั่วไหลของเคมี 3.ระบบต้นแบบการประเมินความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ กรณีอุทกภัย เนื่องจากทุกสถานการณ์ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งสิ้น     โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยซัพพอร์ตโรงงานอุตสาหกรรม ผ่านการเฝ้าระวังให้โรงงานมีการออกแนวทาง หรือ กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและลดผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งยังช่วยในการบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรมทางทั้งด้านสิ่งแวดล้อม…