สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯเสนอกฎหมาย ห้ามหน่วยงานรัฐ ซื้อข้อมูลใบหน้าจากบริษัทภายนอก

Loading

    ที่สหรัฐฯ กำลังมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะข้อมูลใบหน้าจากระบบจดจำใบหน้า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา Buzzfeed News รายงานว่า มีหน่วยงานรัฐ ตำรวจ สถาบันการศึกษา ใช้ข้อมูลจากระบบจดจำใบหน้าของ Clearview AI อย่างแพร่หลายโดยไม่มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรในหน่วยงานถึง 1,803 แห่งใช้แพลตฟอร์มจดจำใบหน้า โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ล่าสุด สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ เสนอกฎหมาย Fourth Amendment is Not For Sale Act หน่วยงานจะไม่สามารถซื้อข้อมูลประชากรจากนายหน้าหรือหรือจากบริษัทภายนอกได้ หากข้อมูลนั้นได้มาจากบัญชีหรืออุปกรณ์ของผู้ใช้ หรือผ่านการหลอกลวง การละเมิดสัญญานโยบายความเป็นส่วนตัว หากกฎหมายนี้ผ่าน บริษัท Clearview AI จะไม่สามารถขายข้อมูลให้กับหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาได้อีกต่อไป มีรายงานด้วยว่า Clearview AI ใช้วิธีการหลากหลายเพื่อให้ได้ข้อมูลมา เช่น ดูดข้อมูลใบหน้าจาก Google, Facebook, Twitter และ Venmo ซึ่งบริษัทพยายามปกป้องตัวเองด้วยการบอกว่า Clearview AI รวบรวมเฉพาะภาพถ่ายที่เปิดเผยต่อสาธารณะจากอินเทอร์เน็ต Hoan…

ผบ.ตร.ออกคำสั่งบันทึกภาพเสียง ค้น จับ สอบสวนคดีอาญา แต่ห้ามเผยแพร่ภาพขณะจับกุม

Loading

  ผบ.ตร.ออกคำสั่งให้ บันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม สอบสวนคดีอาญา พร้อมสั่งห้ามเผยแพร่ ภาพขณะจับกุม เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 ที่สำนักงานคำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.ได้มี คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 178/2564 ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เรื่องการบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม และการสอบส่วนคดีอาญา คำสั่งระบุว่า ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นสมควรกำหนดแนวทางปฏิบัติในการบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม และการสอบสวนคดีอาญา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งกำหนดให้นำทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และพนักงานสอบสวน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(4) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2559 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งของข้าราชการตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกคำสั่ง ดังนี้   คำสั่งดังกล่าวมีสาระสำคัญ เช่น   ส่วนที่ 1 การบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้นคดีอาญา…

FBI ใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้า ค้นหาและจับกุมผู้ชุมนุมที่ทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐสภาได้ จากรูปบน IG ของแฟนสาว

Loading

Huffington Post เปิดเผยบันทึกการจับกุม จากเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ FBI กรณีจับกุม Stephen Chase Randolph ผู้ชุมนุมที่ก่อเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาสหรัฐฯ (USCP) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 โดยใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้า เทียบภาพจากเหตุการณ์กับภาพบนอินเทอร์เน็ต จนพบรูปเขาบน IG ของแฟนสาว ก่อนจะสืบสวนและเข้าจับกุมได้ในที่สุด ในรายงานระบุว่าเจ้าหน้าที่รวบรวมภาพเหตุการณ์จากวิดีโอบน Instagram แสดงเหตุการณ์ชายหนุ่มสวมหมวกสีเทาคนหนึ่ง เข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่โดยการผลักรั้วกั้นไปกระแทกจนเจ้าหน้าที่ล้มหัวฟาดบันได และหมดสติ ในการชุมนุมวันที่ 6 มกราคม 2021 ก่อนนำภาพใบหน้าชายสวมหมวกสีเทาจากแอคเคาท์ @SeditionHunters แอคเคาท์ทวิตเตอร์ที่เผยแพร่ใบหน้าผู้ชุมนุมรัฐสภาสหรัฐฯ มาเทียบ และพบว่าเป็นชายหนุ่มคนเดียวกับในวิดีโอ เจ้าหน้าที่ FBI จึงใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้าแบบ open source เพื่อเทียบใบหน้าของเขากับรูปภาพบนอินเทอร์เน็ต ก่อนจะพบภาพ Stephen สวมหมวกสีเทาแบบเดียวกับในวันชุมนุม บนโพสต์ Instagram ที่เปิดเป็นสาธารณะของแฟนสาวเขา และต่อยอดการสืบไปจนพบชื่อจริงของเขาจากบัญชี Facebook คนในครอบครัว และตรวจสอบยืนยันอีกครั้งจากใบขับขี่ของรัฐ      …

การปรับปรุงองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนด้วย Digital Transformation ตอนที่ 2

Loading

                  ในบทความ “การปรับปรุงองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนด้วย Digital Transformation ตอนที่ 2” จะนำเสนอความเป็นมาขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน เพื่อให้เห็นถึงหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่ชัดเจนขององค์การนี้กับแนวโน้มที่ส่อถึงการลดค่าความเป็นองค์การ ไปพร้อมกับบทบาทการดำเนินการรักษาความปลอดภัยหรือการรักษาความลับของทางราชการให้แก่หน่วยงานรัฐฝ่ายพลเรือนเพิ่มมากขึ้นโดยไม่สอดคล้องกับกฎหมายและสภาพสังคมในปัจจุบัน                   เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นสำคัญต่อการพิจารณาความคุ้มค่าในการนำ Digital Transformation มาปรับวิถีการปฏิบัติงานขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ทั้งในแง่การใช้ระยะเวลาดำเนินการจนบรรลุผล รวมกับต่อหน่วยการลงทุนที่นำมาจากงบประมาณของประเทศอีกด้วย                   ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยและการรักษาความลับของทางราชการทุกระเบียบต่างกำหนดให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติทำหน้าที่องค์การรักษาความปลอดภัยสำหรับหน่วยงานรัฐฝ่ายพลเรือน โดยให้รับผิดชอบหน่วยงานรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ตามระบบบริหารราชการแผ่นดินประกอบด้วยฝ่ายบริหารราชการส่วนกลาง ฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และฝ่ายบริหารราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งมีหลากหลายประเภท ทั้งหน่วยงานรัฐฝ่ายพลเรือนบางประเภท ระเบียบราชการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยและการรักษาความลับของทางราชการก็มิได้ครอบคลุมถึง เช่น องค์การมหาชน หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ เป็นต้น  …

ดีอีเอส เปิดสถิติข่าวปลอม 3 เดือนแรกปีนี้ ทะลุ 50 ล้านข้อความ

Loading

    ดีอีเอส เผยสถิติข่าวปลอมแค่ 3 เดือนแรกปีนี้ทะลุ 50 ล้านข้อความ ขณะที่ผลการตรวจสอบข่าวปลอมรอบ 1 ปีกว่า พบ หมวดสุขภาพ -นโยบายรัฐ ทะลักกว่า 9,000 ข้อความ ผนึกกำลัง ศปอส.ตร. เอาผิดมือโพสต์ที่เข้าข่ายทำผิดกฎหมายกว่า 2,000 คน นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กล่าวว่า จากการรับแจ้งเบาะแส และติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับข่าวปลอม ช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรกปีนี้ (1ม.ค-31มี.ค64)พบว่า มีข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองจำนวนกว่า 50 ล้านข้อความ โดยข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบ 4,649 ข้อความ ซึ่งหลังจากคัดกรองพบข้อความข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 2,194 เรื่อง     สำหรับภาพรวมการดำเนินงานของศูนย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 62 – 31 มี.ค. 64…

ฟังชัดๆ ไฉน พ.ต.ท.เต้นในติ๊กต๊อกโดนตั้งกก.สอบ จเรตำรวจฯชี้ฝ่าฝืนข้อห้ามเล่นโซเชียลที่ 9

Loading

  เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) กล่าวถึงกรณีปรากฏคลิป ตำรวจแต่งเครื่องแบบเต้นล้อเลียนนักร้องประเทศเพื่อนบ้าน เผยแพร่ปรากฏทางสื่อแขนงต่างๆ จนเป็นที่วิจารณ์ถึงความเหมาะสมจากสังคม ว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร ได้สั่งการให้ จตช. ติดตามดำเนินการกรณีดังกล่าว โดยเบื้องต้น ทราบว่า ตำรวจดังกล่าวคือ พ.ต.ท.อรรคพล ยี่เกาะ สว.กก.สส.ภ.จว.อุดรธานี แต่งกายเครื่องแบบ พ.ต.ท. ติดห่วงโซ่คล้องจมูก เต้นเลียนแบบเพลงนักร้องประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังเป็นกระแส เผยแพร่ทางแอพลิเคชั่น และสื่อแขนงต่างๆ จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม และตลกขบขัน ซึ่งการกระทำดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนข้อสั่งการ ทั้งๆ ที่ ผบ.ตร. และ จตช. เพิ่งสั่งการในที่ประชุมบริหาร ตร. เมื่อเดือน มีนาคม 2564 และ ผบ.ตร มีหนังสือ เมื่อ 2 เมษายน 2564 สั่งการกำชับทุกหน่วยให้ชี้แจง กำชับ…