จีนเรียก 3 ยักษ์เทคโนโลยี คุมการใช้ deepfake บนแพลตฟอร์ม

Loading

    รอยเตอร์ส รายงาน (18 มี.ค.) – หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้มีคำสั่งเรียกบริษัท เทคโนโลยีในประเทศ 11 ราย รวมถึง อาลีบาบากรุ๊ป, เทนเซนต์และไบต์แดนซ์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ‘deepfake’ บนแพลตฟอร์มของตน ผู้ดูแลระบบไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี(18 มี.ค.) ว่ากระทรวงความมั่นคงสาธารณะได้พูดคุยกับบริษัทต่าง ๆ เกี่ยวกับ“ การประเมินความปลอดภัย” และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับแอปโซเชียลปลอมภาพและเสียง ซึ่ง Kuaishou (ไคว่โส่ว) ของบริษัท Beijing Kuaishou Technology และ เสี่ยวหมี่ คอร์ป เข้าร่วมการประชุมด้วยเช่นกัน รายงานข่าวกล่าวว่า บริษัททั้งหมด ยังไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นใด ๆ Deepfakes คือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอหรือไฟล์เสียงที่สมจริงเกินจริง แต่เป็นของปลอม โดยทำเหมือนบุคคลเป็นผู้พูดหรือทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ทำ จีนได้เพิ่มการตรวจสอบยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาโดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมผูกขาดและการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลยังแจ้งให้ บริษัทต่างๆ“ ดำเนินการประเมินความปลอดภัยด้วยตนเอง” และส่งรายงานไปยังรัฐบาลเมื่อพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่หรือบริการข้อมูลใหม่ที่ “มีความสามารถในการขับเคลื่อนสังคม” ทั้งนี้ บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ของจีน ได้ลอกเลียนแบบแอปเสียง Clubhouse…

ศาลจีนเบิกตัวพลเมืองแคนาดา ไต่สวนคดีความมั่นคง

Loading

  จีนนำตัวชาวแคนาดา 1 ใน 2 คนที่ถูกฟ้องข้อหาจารกรรม ขึ้นศาลเป็นครั้งแรก หลังถูกควบคุมตัวมานานกว่า 2 ปี สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองตานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ว่า ศาลประชาชนระดับกลางแห่งมณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เบิกตัว นายไมเคิล สปาวอร์ นักธุรกิจสัญชาติแคนาดา ขึ้นศาลเมื่อวันศุกร์ ซึ่งเป็นการปรากฏตัวต่อศาลครั้งแรกของสปาวอร์ นับตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อเดือน ธ.ค. 2561 และอัยการสั่งฟ้องสปาวอร์ เมื่อเดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว ในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับทางราชการ และการส่งข้อมูลนั้นให้กับ “กองกำลังต่างชาติ”   Michael Spavor, one of two Canadians detained by Beijing more than two years ago on suspicion of espionage, is set to…

อินโดฯจับกุมเครือข่ายก่อการร้ายเจไอชุดใหญ่

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซีย แถลงผลการจับกุม สมาชิก 22 คนของกลุ่มก่อการร้ายเจไอ (ญะมาอะห์ อิสลามียะห์) แนวร่วมกลุ่มอัล-กออิดะห์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จังหวัดชวาตะวันออก สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ว่า ผู้ต้องสงสัยสมาชิกกลุ่มเจไอ 22 คน ถูกควบคุมตัวจากเมืองสุราบายา เมืองเอกของจังหวัดชวาตะวันออก มายังกรุงจาการ์ตา เมื่อวันพฤหัสบดี (18 มี.ค.) เพื่อสอบปากคำเพิ่มเติม และคุมขังไว้ที่ศูนย์ควบคุมตัวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายรุสดี ฮาร์โตโน่ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซีย เผยว่า ผู้ต้องสงสัย 12 คน ถูกตำรวจคอมมานโดหน่วยต่อต้านการก่อการร้าย จับกุมได้ในหลายเมืองของจังหวัดชวาตะวันออก เมื่อปลายเดือนที่แล้ว อีก 10 คนถูกจับกุมช่วงต้นเดือนนี้ โดยปฏิบัติการจับกุม ตำรวจยังยึดอาวุธได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งหนังสือปลูกฝังลัทธิหัวรุนแรง     นายฮาร์โตโน่ เผยอีกว่า หนึ่งในผู้ต้องสงสัยชุดนี้คือ นายอุสมาน บิน เซฟ นามฉายา “ฟาฮิม” หนึ่งในหัวหน้าใหญ่ของเครือข่าย…

ดีอีเอส เร่งเครื่อง 3 งานหลัก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ

Loading

  กระทรวงดิจิทัลฯ เร่งเครื่อง 3 งานหลักเตรียมรับการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เต็มรูปแบบกลางปีนี้ ครอบคลุม การจัดทำกฎหมายลำดับรอง จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และวางกรอบแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มุ่งคุ้มครองเจ้าของข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ แนะประชาชนควรรู้ “สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งตามกฎหมายนี้กำหนดไว้ 8 เรื่อง นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) อยู่ระหว่างเร่งสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เต็มรูปแบบ ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยกำลังจัดทำ 3 เรื่อง ได้แก่ กฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมมูลฯ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ทั้งนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลฯ ได้กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ 8 เรื่อง คือ…

FBI เผยปี 2020 มีความเสียหายจากคดีทางไซเบอร์กว่า 4,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

Loading

  FBI ได้ออกมาเปิดเผยรายงานของตนเกี่ยวกับคดีทางไซเบอร์ในปี 2020 ปรากฏว่ามูลค่าความเสียหายสูงถึง 4,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งมากกว่าปี 2019 ถึง 700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ   สถิติที่น่าสนใจคือ ปี 2020 FBI ได้รับการร้องเรียนถึง 467,000 คดี ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปี 2019 เกือบเท่าตัว (467,361 กรณี) ทีมงาน FBI ได้ช่วยผู้เสียหายได้เงินคืนจากธนาคารสำเร็จกว่า 82% และสามารถให้ธนาคารล็อกเงินต้องสงสัยได้กว่า 380 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คดีความทั้งหมดแจกแจงได้ดังนี้ 1.) 240,000 คดีความเป็นประเภท Phishing, Vishing และ Smishing 2.) 108,000 เป็นกรณีของการหลอกซื้อ/หลอกขายสินค้า 3.) ข่มขู่จำนวน 76,000 คดี 4. ข้อมูลรั่วไหล 45,000 คดี 5.) ขโมยตัวตน 43,000 คดี…

บัตรประชาชนปลอม​ สวมสิทธิเป็นคนไทย​ยังไม่สูญพันธ์​ จนท.กลับได้บำเหน็จความชอบตำแหน่งสูงขึ้น​ บางรายติดคุกก็มี

Loading

  เชียงราย-แหล่งผลิตบัตรปชช.ปลอม สวมสิทธิเป็นคนไทย ทำให้เงินเข้ากระเป๋า จนท.มาหลายยุค ปัจจุบันคนสวมสิทธิขยายเข้าไปอยู่ตอนในของประเทศ ทำธุรกิจอย่างเป็นล่ำเป็นสัน วันที่ 18 มีค 2564 จากรายงานข่าวกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ได้ติดตามข้อมูลของกรมการปกครอง เรื่องการสวมสิทธิคนสัญชาติไทย ในพื้นที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย จำนวน 255 รายชื่อ พบหลายรายชื่อ มีพฤติการณ์สวมสิทธิเป็นคนไทย เช่น นายอาเปา แซ่เซิน หนึ่งในผู้สวมสิทธิ การสืบสวนมีหลักฐานเชื่อได้ว่า สวมสิทธิสัญชาติไทยแล้ว ซึ่งขณะนี้ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มีคำสั่งให้รับเป็นคดีพิเศษที่ 54/2564 คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีความมั่นคงได้รวบรวมพยานหลักฐาน จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า นายอาเปา แซ่เซิน เป็นคนต่างด้าวสัญชาติจีน มีชื่อว่า นาย เหวิน ห้าว เหมี่ยว (Mr.Wen Haomiao) ตามหลักฐานหนังสือเดินทางสาธารณรัฐประชาชนจีน หมายเลข G23810848 จนท.ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับ นายเหวิน ห้าว เหมี่ยว หรือ นายอาเปา แซ่เซิน เมื่อวันที่…