‘เมียนมา’ กว่าล้าน โหลดแอพ ‘Bridgefy’ เลี่ยงกองทัพตัดสัญญาณเน็ต

Loading

  “เมียนมา” กว่าล้านคน โหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” ใช้สื่อสารหลังกองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร เลี่ยงตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตอีกในอนาคต ชาวเมียนมากว่าล้านคนโหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” (บริดจ์ไฟ) เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีฐานอยู่ในเม็กซิโก ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่า แอพฉุกเฉินยอดนิยม ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้ระบบ “Bluetooth Mesh System” ในการค้นหาคนที่เล่นบริดจ์ไฟ เหมือนกันในรัศมี 100 เมตร และเชื่อมต่อกันในห้องแชตสาธารณะ โดยไม่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และในเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่ฮ่องกง เมื่อปีที่แล้ว ในเหตุการณ์กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารเมื่อช่วงเช้าของวันจันทร์ (1 ก.พ.) ที่มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตในกรุงเนปิดอว์, ย่างกุ้ง และพื้นที่บางส่วนของประเทศ ฮอร์เก ริออส ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริดจ์ไฟ เปิดเผยว่า ในระหว่างเย็นวันจันทร์ถึงวันอังคารที่ผ่านมา มีผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 1.1 ล้านคนในเมียนมา จากจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ราว 22 ล้านคน บริดจ์ไฟทวีตข้อความว่า หวังว่าประชาชนในเมียนมาจะพบว่า แอพของเรามีประโยชน์ในช่วงเวลาอันยากลำบาก แม้ว่า ขณะนี้การสื่อสารจะกลับมาใช้ได้ตามปกติตั้งแต่เย็นวันจันทร์…

ฝั่งเมียนมาตรึงเครียด! ทหารพม่าปิดด่าน ห้ามคนผ่าน ตัดการสื่อสาร

Loading

                            วันที่ 1 ก.พ.64 จากกรณีทหารประเทศเมียนมาได้เข้าควบคุมตัวผู้นำระดับสูงในรัฐบาลนำโดยนางอองซาน ซูจี และคณะ พบว่าสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน จ.เชียงราย ก็เริ่มมีความตึงเครียดเช่นกัน โดยทางหน่วยทหารที่ประจำอยู่ใน จ.ท่าขี้เหล็ก จำนวน 3 หน่วยได้ถูกสั่งการให้เตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถออกปฏิบัติการตามคำสั่งได้ตลอดเวลา แต่เบื้องต้นมีรายงานว่าได้มีการส่งกองกำลังบางส่วนไปประจำอยู่ตามด่านตรวจสำคัญต่างๆ ที่เชื่อมระหว่างเมือง เช่น ด่านหมากยาง บนถนนอาร์สามบีเชื่อมระหว่างท่าขี้เหล็กกับเมืองเชียงตุง และห้ามไม่ให้ประชาชนทั่วไปเดินทางผ่านด่านดังกล่าวแล้ว ยกเว้นของเจ้าหน้าที่ทหารโดยปฏิบัติการดังกล่าวมีตั้งแต่เช้ามืดที่ผ่านมาก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ควบคุมตัวคณะรัฐบาลรักษาการของเมียนมาแล้ว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุว่าการยึดอำนาจของหหารเมียนมาดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาเพียง 1 ปีก่อนพิจารณาดำเนินการในอนาคตต่อไป                            นอกจากนี้ยังมีการตัดการสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่างๆ กับรักษาการรัฐบาลพลเรือนและรัฐบาลท้องถิ่นที่เมืองตองจีเมืองหลวงของรัฐฉาน ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตภายใน…

ป่วนใต้ลามหลายอำเภอ เผาป้อม ชรบ.-กล้องวงจรปิดอื้อ

Loading

  คนร้ายลอบวางเพลิงเผาป้อม ชรบ.บ้านท่าล้อ อ.จะนะ พร้อมเผากล้องวงจรปิดอีกหลายสิบตัวในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา และ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี คาดเชื่อมโยงเหตุป่วนวานนี้ “ไม้แก่น” พื้นที่เลิก พ.ร.ก.โดนด้วย ด้าน ฉก.นราธิวาส รวบผู้ต้องสงสัยเอี่ยวเหตุดักระเบิดรถตำรวจศรีสาครสอบเครียด ขณะที่อีโอดีตรวจพบระเบิดอีก 2 ลูก บริเวณเสามือถือ เชื่อหวังทำร้าย จนท.ตรวจที่เกิดเหตุ เมื่อเวลา 01.20 น.วันที่ 1 ก.พ.64 ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.นาประดู่ ได้รับแจ้งเหตุคนร้ายลอบวางเพลิงเผากล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่บนเสาไฟฟ้าบริเวณ 3 แยกทางเข้าวัดโมลีนิมิต (วัดบ้านหรั่ง) ในพื้นที่ บ้านชะเมา ม.2 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี หลังรับแจ้งจริงเข้าตรวจสอบพร้อมประสานกำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของ อบต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ เข้าฉีดน้ำเพื่อควบคุมเพลิง เบื้องต้นพบกล้องวงจรปิด ได้รับความเสียหาย จำนวน 2 ตัว ขณะที่ในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา เวลาประมาณ 06.00 น.ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ…

อินเดียตัดสัญญาณเน็ตม็อบเกษตรกรบุกเมืองหลวง

Loading

  รัฐบาลอินเดียตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรในกรุงนิวเดลี หลังการชุมนุมนานกว่า 2 เดือน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายร้อยคน 31 มกราคม 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของอินเดียประกาศเริ่มตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ 3 จุดของกรุงนิวเดลีตั้งแต่เมื่อวานนี้จนถึงเวลา 5 ทุ่มคืนนี้ โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ในขณะที่ผู้ชุมนุมเริ่มต้นอดอาหารประท้วงนาน 1 วัน     ผู้ชุมนุมกลุ่มเกษตรกรหลายหมื่นคนปักหลักประท้วงในกรุงนิวเดลีนานกว่า 2 เดือนแล้ว เพื่อต่อต้านกฎหมายด้านการเกษตรฉบับใหม่ที่ผู้ชุมนุมอ้างว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซื้อรายใหญ่และเกษตรกรถูกเอาเปรียบ โดยการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับสหภาพเกษตรกร 11 ครั้งที่ผ่านมาไม่เป็นผล แม้รัฐบาลเสนอเลื่อนบังคับใช้กฎหมายออกไป 18 เดือนก็ตาม แต่ผู้ชุมนุมยืนยันต้องถอนกฎหมายออกไปเท่านั้น     ขณะที่การชุมนุมได้ยกระดับขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งตรงกับวันชาติ โดยผู้ประท้วงได้จัดขบวนพาเหรดรถแทร็กเตอร์ แต่มีบางส่วนออกนอกเส้นทางที่รัฐบาลกำหนดไว้จนปะทะกับตำรวจที่ใช้แก๊สน้ำตา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน และบาดเจ็บหลายร้อยคน   ———————————————————————————————————————————- ที่มา : เนชั่นทีวี   / วันที่เผยแพร่ 31 ม.ค. 2564 Link : https://www.nationtv.tv/main/content/378814704?utm_source=bottom_relate&utm_medium=internal_referral

การปรับปรุงองค์การการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ด้วย Digital Transformation ตอนที่ 1

Loading

  คำว่า “Digital transformation” ตามนิยามภาษาไทยจาก Wikipedia คือ การใช้สิ่งที่ใหม่ ที่เร็ว และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของ Digital Technology เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นการนำเอาประโยชน์จาก Digital Technology เข้ามาปรับวิถีการทำงาน สมรรถนะของบุคลากร และนำไปแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่   ปัจจุบันการนำ Digital Transformation มาปรับปรุงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในภาคธุรกิจและการตลาด โดยนำมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนมีการใช้ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐาน รูปแบบและวัฒนธรรมภายในของกลุ่มธุรกิจและการตลาด วิธีดำเนินการ การให้บริการ ตลอดจนประเภทสินค้าในธุรกิจนั้น สำหรับการนำ Digital Transformation มาปรับประสิทธิภาพในส่วนราชการขณะนี้ คาดว่า “โอกาสที่จะเป็น” เป็นไปได้ยาก  เนื่องจากแต่ละหน่วยงานภายในหน่วยงานรัฐต่างมีวัฒนธรรมภายใน มีการกำกับการปฏิบัติงานด้วยระเบียบราชการและระเบียบภายในแต่ละหน่วยงานรัฐที่ต่างกัน อีกทั้งหน่วยงานรัฐบางแห่งยังมีกฎหมายรองรับเป็นการเฉพาะ เหล่านี้นับเป็นวิถีที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  แต่หากเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการแล้ว ในขั้นต้นก็จำเป็นต้องปรับความเข้าใจระหว่างทุกกลุ่มผู้บริหารภายในให้ตรงกันอย่างชัดเจนโดยปราศจากอคติที่จะก่อความสับสนให้ได้ก่อนที่จะนำเสนอต่อกลุ่มผู้บริหารระดับที่สูงกว่า เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานความเข้าใจในทางเดียวกัน   สำหรับข้อที่ควรพิจารณาให้ชัดเจนก่อนวางเป้าประสงค์ที่จะนำ Digital Transformation มาปรับใช้กับองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนนั้น ประเด็นแรก คือทำความเข้าใจกับ ความเป็นมานับแต่อดีตถึงปัจจุบันขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ประเด็นที่ 2 ความสอดคล้องและรองรับกันระหว่างกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน…

‘กูเกิล’ แฉ ‘เกาหลีเหนือ’ ส่งแฮกเกอร์โจมตี ทีมวิจัยความปลอดภัยโซเชียล

Loading

  “กูเกิล” เผย เกาหลีเหนือส่งแฮกเกอร์ โจมตีทีมวิจัยด้านความปลอดภัยของสื่อโซเชียล โดยการสร้างบล็อก โปรไฟล์ทวิตเตอร์ อีเมล์และบัญชีลิงค์อินเทเลแกรม แฝงเข้าไปสอดแนม กูเกิล อิงค์เปิดเผยว่า ทางบริษัทเชื่อว่าแฮกเกอร์หลายรายในเกาหลีเหนือกำลังแฝงตัวเป็นบล็อกเกอร์เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ และต้องการพุ่งเป้าโจมตีทีมนักวิจัยของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรายใหญ่ เช่น ทวิตเตอร์ และลิงค์อิน (LinkedIn) กูเกิลระบุว่า ทีมงาน Threat Analysis Group ของกูเกิลตรวจพบความเคลื่อนไหวที่มีเป้าหมายโจมตีทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่ทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาในบริษัทและองค์กรหลายแห่ง โดยเชื่อว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้ที่มาจากกลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ กูเกิลระบุว่า ปฏิบัติการดังกล่าวของแฮกเกอร์เหล่านี้มีความตั้งใจที่จะโจมตีทีมงานวิจัยด้านความปลอดภัยที่มีเทคนิคด้านวิศวกรรมโซเชียลแบบใหม่ (novel social engineering) อย่างไรก็ดี กูเกิลยังไม่สามารถระบุได้ในขณะนี้ว่าแฮกเกอร์ต้องการโจมตีทีมวิจัยของบริษัทใดบ้าง นายอดัม ไวด์แมนน์ เจ้าหน้าที่ของกูเกิลเปิดเผยว่า แฮกเกอร์ได้จัดตั้งบล็อกด้านการวิจัยและสร้างโปรไฟล์ทวิตเตอร์จำนวนมากเพื่อแฝงตัวเข้าติดต่อกับทีมวิจัยด้านความปลอดภัย โดยแฮกเกอร์ใช้บัญชีเหล่านี้เพื่อโพสต์ลิงค์ไปยังบล็อกดังกล่าวและแชร์วิดีโอเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากซอฟท์แวร์ที่พวกเขากล่าวอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบ นอกจากนี้ แฮกเกอร์ยังใช้บัญชีลิงค์อิน เทเลแกรม ดีสคอร์ด และอีเมล ในการแฝงตัวเพื่อติดต่อกับทีมวิจัยด้านความปลอดภัยด้วย นอกจากนี้ นายไวด์แมน ยังกล่าวว่า เมื่อเริ่มติดต่อสื่อสารกับทีมวิจัยได้แล้ว แฮกเกอร์เหล่านี้จะถามทีมวิจัยว่าต้องการจะเข้าร่วมในการวิจัยเรื่องความปลอดภัยหรือไม่ หลังจากนั้นแฮกเกอร์จะแชร์ไฟล์ให้กับทีมนักวิจัยซึ่งเป็นไฟล์ที่มีมัลแวร์ฝังอยู่ ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ที่จะสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ ลูกค้า หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของเป้าหมายที่ต้องการโจมตี   ————————————————————————————————————————————————— ที่มา…