หมดยุคอวตาร เล็งออกกฎหมายหมิ่นประมาท บังคับโซเชียล เปิดเผยตัวตน

Loading

  ออสเตรเลีย เตรียมออกกฎหมายหมิ่นประมาท บังคับโซเชียล เปิดเผยตัวตน นายกรัฐมนตรี สกอตต์ มอร์ริสัน แห่งออสเตรเลีย กำลังออกกฎหมายหมิ่นประมาทฉบับใหม่ ซึ่งจะบังคับให้แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องเปิดเผยตัวตนของอวตารหรือโทรลล์ มิฉะนั้นแพลทฟอร์มจะต้องชดใช้ค่าเสียจากการหมิ่นประมาท กฎหมายดังกล่าวจะมีแพลตฟอร์มโซเชียล เช่น Facebook หรือ Twitter ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อความคิดเห็นใด ๆ ก็ตามที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับผู้ใช้งาน แพลตฟอร์มจะต้องสร้างระบบการร้องเรียนที่ผู้คนสามารถใช้ได้หากรู้สึกว่าเป็นเหยื่อของการหมิ่นประมาท ในกระบวนการนี้ บุคคลที่โพสต์เนื้อหาที่หมิ่นประมาทจะถูกขอให้ลบออกในขั้นแรก แต่ถ้าพวกเขาปฏิเสธ หรือหากเหยื่อสนใจที่จะดำเนินการทางกฎหมาย แพลตฟอร์มก็สามารถขออนุญาตตามกฎหมายจากผู้โพสต์เพื่อเปิดเผยข้อมูลติดต่อของพวกเขาได้ ซึ่งจะสามารถดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป มอร์ริสัน เปิดเผยอีกว่า โลกออนไลน์ไม่ควรเป็นที่ซึ่งบอทและพวกหัวรุนแรงและโทรลล์และคนอื่น ๆ จะไม่เปิดเผยตัวตน แต่สามารถเข้ามาทำร้ายผู้คนได้ และร่างกฎหมาย “ต่อต้านโทรลล์” คาดว่าจะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ คิดยังไงกัน หากกฏหมายนี้การบังคับใช้ในไทยบ้าง ?       ที่มาข้อมูล  https://www.theverge.com/2021/11/28/22806369/australia-proposes-defamation-laws-unmask-trolls     ————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :  Techhub           …

ระบบอีเมลภายในของอิเกียถูกโจมตีอย่างหนักหน่วง

Loading

  อิเกียเตือนพนักงานเกี่ยวกับกรณีการโจมตีทางไซเบอร์อีเมลฟิชชิ่ง (phishing) มุ่งเป้าไปยังระบบอีเมลภายในบริษัท อีเมลเหล่านี้ยังถูกส่งมาจากองค์กรและหุ้นส่วนทางธุรกิจของอิเกียที่ถูกแฮกด้วยเช่นกัน การทำอีเมลฟิชชิ่งคือการปลอมแปลงอีเมลให้เสมือนว่ามาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ อาทิ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และองค์กรที่มีตัวตนอยู่จริง เพื่อหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหรือส่งมัลแวร์เข้าไปยังอุปกรณ์ของผู้รับอีเมล “…การโจมตีอาจกระทำผ่านอีเมลของบุคคลที่ทำงานร่วมกับคุณ หรือองค์กรภายนอก ซึ่งอาจมาในรูปแบบของอีเมลตอบกลับในการสนทนาทางอีเมล ดังนั้นจึงตรวจพบได้ยาก เราจึงอยากให้ขอให้คุณใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ” อิเกียระบุในคำเตือนถึงพนักงาน   ตัวอย่างอีเมลฟิชชิ่งในระบบอีเมลของอิเกีย (ที่มา: Bleeping Computer)   ฝ่ายไอทีของอิเกียยังเตือนให้พนักงานระวังอีเมลที่มาพร้อมกับลิงก์ที่มีตัวเลข 7 หลักต่อท้าย ไม่ว่าจะถูกส่งมาจากผู้ใดทั้งสิ้น หากพบให้แจ้งฝ่ายไอทีทันที และให้แจ้งต่อผู้ส่งผ่านแชต Microsoft Teams ด้วย ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา อาชญากรทางไซเบอร์ได้เริ่มโจมตีระบบเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ภายใน โดยใช้ช่องโหว่ ProxyShell และ ProxyLogin ในการทำฟิชชิ่ง เมื่อคนเหล่านี้สามารถเจาะเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้แล้วก็จะทำการโจมตีระบบการโต้ตอบอีเมล (reply-chain) ต่อพนักงานด้วยอีเมลองค์กรที่ขโมยมา นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าผู้รับอีเมลอาจจะปล่อยอีเมลฟิชชิ่งออกจากระบบกักกัน (quarantine) ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเองอาจถูกระบบกักกันตรวจจับโดยผิดพลาด ทำให้ฝ่ายไอทีของอีเกียระงับความสามารถในการส่งออกอีเมลของพนักงาน จนกว่าการโจมตีจะสิ้นสุด “ระบบกรองอีเมลของเราสามารถตรวจจับและกักกันอีเมลอันตรายได้ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากอีเมลเหล่านี้อาจมาในรูปแบบของการตอบกลับในการตอบโต้ทางอีเมล ผู้รับอาจเข้าใจผิดว่าระบบกรองอีเมลทำงานผิดพลาดได้โดยง่าย”…

ไม้ง่ามสยบคลั่งหลบไป.. ‘ปืนช็อตไฟฟ้า’อาวุธใหม่ตำรวจไทย

Loading

  สน.รอตรวจ โดย บิ๊กสลีป ว่าด้วยเรื่อง ปืนช็อตไฟฟ้า อาวุธใหม่ของตำรวจไทย ทำให้ไม้ง่ามที่เป็นอาวุธสยบคลั่งดั้งเดิมต้องตกรุ่นไปทันที คงจะผ่านตากันมาบ้างแล้ว สำหรับ ปืนช็อตไฟฟ้า (Taser Gun) อาวุธใหม่ของตำรวจไทยที่นำมาใช้ในการป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ มันสามารถสยบคนที่กำลังคลุ้มคลั่งให้สิ้นฤทธิ์หมดแรงลงได้     ยกตัวอย่างเหตุการณ์เมื่อวันที่ 13 ต.ค. เกิดเหตุ พระนาวิน หงส์ทอง อายุ 30 ปี มีอาการคลั่งยาเสพติด อาละวาดทำลายข้าวของในกุฏิวัดรางทอง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ในช่วงเวลานั้นพระในวัดต่างหวาดกลัวไม่กล้าเข้าใกล้ เมื่อตำรวจ สภ.บางปลาม้า ไปถึง ก็เข้าไปไม่ถึงตัวเช่นกัน เพราะ พระนาวิน ยังถือไม้คมแฝกเอาไว้ในมือพร้อมทำร้ายตลอดเวลา ช่วงจังหวะที่เผลอตำรวจตัดสินใจใช้ ปืนไฟฟ้า ยิงเข้าไปบริเวณลำตัวด้านหลังทำให้ พระนาวิน ล้มทั้งยืน ก่อนที่ตำรวจจะรุมเข้าไปล็อกตัวไว้ได้ โดยที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเป็นอันตราย     หรือจะเป็นเหตุการณ์ที่โรงแรมในซอยเจริญกรุง 44 เขตบางรัก เมื่อวันที่ 22 ต.ค. นายกำพล นากระโทก…

ระวังมัลแวร์ sharkbot ขโมยเงินจากมือถือคุณ

Loading

  ระวังมัลแวร์ sharkbot ซึ่งเป็นพบมัลแวร์ Android ตัวใหม่ที่โจมตีแอพที่เกี่ยวข้องกับธนาคารบนสมาร์ทโฟน Android ของคุณ นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ค้นพบโทรจันที่เรียกว่า SharkBot ซึ่งคอยแอบขโมยเงินจากมือถือ Android ของผู้ใช้งาน มีความสามารถในการเข้าถึงอุปกรณ์เพื่อดูดเอาข้อมูลประจำตัวจากบริการของธนาคาร หรือสกุลเงินดิจิทัลได้ด้วย   ระวังมัลแวร์ sharkbot อันตรายอย่างไร มัลแวร์ SharkBot ได้โจมตีผู้ใช้ทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา เน้นที่การขโมยเงินผ่านแอพ Android เป็นหลัก โดยเป้าหมายของมัลแวร์ Sharkbot คือ แอพธนาคารบน Android มัลแวร์ SharkBot มีการพัฒนาแอพของตัวเองขึ้นมาเพื่อหลอกล่อเหยื่อเช่น Media player, Live TV หรือ แอปกู้คืนข้อมูล และหลังจากเหยื่อดาวน์โหลด และติดตั้งแอพอันตรายแล้ว ตัวแอพจะใช้ประโยชน์จาก Accessibility Service ของระบบโดยการตั้งค่าสำหรับโจมตีแบบ Automatic Transfer Systems (ATS) ที่จะคอยช่วยให้ระบบ กรอกข้อมูลอัตโนมัติในแอพธนาคารบนมือถือ Android คอยโอนเงินออกจากเครื่องของเหยื่อไปยัง Money mule…

เอฟบีไอป่วน! เจอเจ้าหน้าที่ป่วยเป็นโรคลึกลับ ยังหาสาเหตุไม่ได้

Loading

    เจ้าหน้าที่เอฟบีไอและเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐที่ปฏิบัติงานอยู่นอกประเทศเกิดล้มป่วยเป็นโรคลึกลับที่หาสาเหตุไม่ได้ ทั้งเอฟบีไอและซีไอเอต่างประกาศว่าจะสืบสาวไปให้ถึงต้นตอของเรื่องนี้ให้ได้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางของรัฐบาลสหรัฐหรือเอฟบีไอแจ้งว่าหน่วยงานจัดให้การรับมือกับปัญหาที่เกี่ยวกับอาการ “ผิดปกติ” ด้านสุขภาพ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าฮาวานาซินโดรม (Havana Syndrome) มีความสำคัญเป็นอันดับแรก และมุ่งมั่นจะสืบสวนหาสาเหตุ รวมถึงวิธีการป้องกันเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้ได้ เอฟบีไอเชื่อว่าเจ้าหน้าที่สถานทูต เจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐและครอบครัวของเจ้าหน้าที่ราว 200 คนในต่างประเทศกำลังป่วยด้วยโรคลึกลับ ซึ่งมีอาการดังนี้คือ ปวดหัวข้างเดียว คลื่นไส้ มึนงงและความจำเสื่อม มีการรายงานว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐล้มป่วยด้วยโรคประหลาดนี้เป็นครั้งแรกในกรุงฮาวานา เมืองหลวงของประเทศคิวบา เมื่อปี 2559   เอฟบีไอออกแถลงการณ์ระบุว่า ปัญหาเรื่องความผิดปกติด้านสุขภาพมีความสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับองค์กร เนื่องจากการปกป้องดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ของพนักงานและเพื่อนร่วมงานในองค์กรรวมถึงในหน่วยงานรัฐบาลคือความสำคัญสูงสุด ขณะนี้ทางเอฟบีไอกำลังสืบหาสาเหตุของโรคและหาวิธีป้องกันคนขององค์กรไม่ให้ป่วยด้วยโรคดังกล่าว ทางเอฟบีไอได้ส่งข้อความแจ้งเตือนและคำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้พนักงาน ถ้าหากรู้สึกว่ามีอาการที่เข้าข่ายโรคดังกล่าว รวมถึงแจ้งสถานที่ที่สามารถเข้ารับการรักษาได้   มาร์ค เซด นักกฎหมายซึ่งเคยล้มป่วยด้วยโรคฮาวานาซินโดรม กล่าวว่าในอดีตนั้น เอฟบีไอไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือเท่าไหร่นัก และมักจะกล่าวหาว่าผู้ป่วย “คิดไปเอง” ว่าป่วย ทั้งที่ไม่เคยสอบถามคนที่เป็นโรคนี้อย่างจริงจัง วิลเลียม เบิร์นส์ ผู้อำนวยการซีไอเอแสดงความมุ่งมั่นในการรับมือโรคฮาวานาซินโดรมด้วยการเลือกให้สายลับมืออาชีพขององค์กรที่เคยทำงานในปฏิบัติการตามล่าตัวและสังหาร โอซามา บิน ลาเดน มารับหน้าที่ดูแลปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อให้คนขององค์กรรู้สึกมั่นใจว่าหน่วยงานจะขุดค้นลงไปถึงต้นตอของเรื่องนี้ให้ได้ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ระหว่างการไปเยือนกรุงมอสโกเมื่อไม่นานมานี้ เบิร์นส์ได้เน้นย้ำเจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรสืบราชการลับของรัสเซียว่า…

หน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม

Loading

  พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมเป็นหน้าที่ของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งการไม่มีมาตรการที่เหมาะสมอาจมีความรับผิดตามที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่ ดังนี้ 1.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ และต้องทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(1))   2.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวและข้อยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(4))   3.ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น (มาตรา 40(2)) จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง…