“Public Eye” อัมสเตอร์ดัม สมาร์ทซิตี้ที่ความเป็นส่วนตัวคือเรื่องสำคัญ

Loading

กรุงอัมสเตอร์ดัม สมาร์ทซิตี้แถวหน้าของโลก พัฒนาระบบ “Public Eye” ขึ้นมาเพื่อจัดการกับความหนาแน่นในพื้นที่สาธารณะ ด้วยกล้องวงจรปิดและ AI “Public Eye” ทำงานอย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นระบบ Crowd Monitoring ที่คิดถึงความเป็นส่วนตัวของผู้คนมาเป็นที่ 1   มหานครหลายแห่งของโลกได้วางแผนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น Smart City กันมาหลายปีแล้ว อย่างเช่นที่ อัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเมืองอันดับต้นของโลกที่ได้ชื่อว่าเป็นสมาร์ทซิตี้ที่ดีที่สุด อัมสเตอร์ดัมได้วางรากฐานการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะมาตั้งแต่ปี 2009 อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่จำนวนนักท่องเที่ยวสูงกว่าพลเมืองเองมาก จากการคาดการณ์ในปี 2019 อัมสเตอร์ดัมจะมีพลเมืองมากกว่า 1 ล้านคนในปี 2040 และจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากจาก 18 ล้านคนต่อปีในปี 2018 เป็น 23 ล้านคนในปี 2023 (ไม่แน่ใจว่าโควิดจะเข้ามาเปลี่ยนตัวเลขนี้มากน้อยแค่ไหน) ด้วยตัวเลขความหนาแน่นนี้ อัมสเตอร์ดัมต้องรับมือด้วยกลยุทธ์หลายอย่าง ตั้งแต่การวางโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ทั้งการโครงข่ายการจ่ายไฟฟ้าที่เสถียร เครือข่าย 5G ซึ่งทำงานร่วมกันกับระบบ Cloud และ AI ให้ทุกกระบวนการเดินไปอย่างราบรื่นและเสถียรที่สุด เพื่อการใช้งานระดับเมืองและบุคคลจะทำให้ชีวิตพลเมืองดีขึ้น…

“ภัยไซเบอร์” ระบาดหนัก!! เมื่อโลกถูกโจมตีทุก 11 วินาที

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน “แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง” คือ ตัวการใหญ่ “เดลล์” ชี้ภัยไซเบอร์จากนี้ อาจลุกลามใหญ่โตมากกว่าเดิม นพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจาก ภัยไซเบอร์ อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่โตมากกว่าเดิม สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระบบการเข้าถึงแบบทางไกลนั้น กลายเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นกว่าเดิม บทความจากเว็บไซต์ของ McKinsey ชี้ว่ามีการทำ ฟิชชิ่งเพิ่มมากขึ้นเกือบ 7 เท่านับตั้งแต่การเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยที่อาชญากรไซเบอร์เลือกใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการอัปเดตตัวช่วยกรองระบบอีเมลและเว็บไซต์ที่ล่าช้า ในการกำหนดเป้าหมายสำหรับการโจมตีที่เป็นผู้ใช้งานระบบจากระยะไกล ความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีและความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้หน่วยงานของภาครัฐทั้งหลายควรจะต้องเร่งในการวางแผนในเรื่องของ “แนวทางในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์อย่างยึดหยุ่น” หรือ Cyber Resilience โดยที่ต้องสามารถป้องกัน ตอบสนองและกู้คืนได้อย่างรวดเร็วหลังเกิดการโจมตี เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงพร้อมสำหรับการฟื้นตัวตามสภาพเศรษฐกิจของโลก สูญเสียไปมาก กับเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตีด้วย แรนซัมแวร์ และรูปแบบอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กลายเป็นรูปแบบของการโจมตีที่แพร่หลายและสร้างความเสียหายมากกว่าที่เคยเป็นมา โดยมีเป้าไปที่องค์กรหลักและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมากขึ้น อย่างเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื่อเพลิงหลายวัน หลังจากที่…

จับลูกจ้างบ้าน รมว.กลาโหมอิสราเอล สปายให้อิหร่าน

Loading

แฟ้มภาพ เบนนี แกนต์ซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอิสราเอล (Getty Images)   ทางการอิสราเอลจับกุมคนทำความสะอาดบ้านของรัฐมนตรีกลาโหม เบนนี แกนต์ซ โดยตั้งข้อหาว่าเขาพยายามขายความลับให้กลุ่มแฮ็กเกอร์ “แบล็กแชโดว์” ที่เชื่อว่าเกี่ยวโยงกับทางการอิหร่าน รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564 กล่าวว่า ออมรี โกเรน โกโรชอฟสกี ชายวัย 37 ปีจากเมืองล็อด ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน โดยคำฟ้องที่กระทรวงยุติธรรมของอิสราเอลเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดีกล่าวว่า เขาและภรรยาทำงานเป็นคนทำความสะอาดบ้านของรัฐมนตรีกลาโหมผู้นี้ ซึ่งอยู่ในเมืองรอชฮาเอน นอกกรุงเทลอาวีฟ เอกสารคำฟ้องกล่าวว่า โกโรชอฟสกีติดต่อไปยังกลุ่มแฮ็กเกอร์แบล็กแชโดว์ผ่านแอปพลิเคชันเทเลแกรมเมื่อประมาณวันที่ 31 ตุลาคม หลังจากกลุ่มนี้อ้างว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีไซเบอร์ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอิสราเอลเมื่อเดือนที่แล้ว โดยเสนอจะขายข้อมูลที่ได้จากบ้านของแกนต์ซ คำฟ้องระบุว่า แบล็กแชโดว์มีความเกี่ยวข้องกับอิหร่าน โกโรชอฟสกีใช้ชื่อปลอมในการติดต่อกับแฮ็กเกอร์ โดยบอกแค่ว่า เขาเป็นคนทำงานในบ้านของรัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล และคุยว่าเขาสามารถช่วยเหลือแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เขาได้ส่งภาพถ่ายสิ่งของหลายอย่างในบ้านของแกนต์ซ รวมถึงภาพโต๊ะทำงาน, ห่อที่มีสติ๊กเกอร์ไอพีแอดเดรสติดไว้, บันทึกการทำหน้าที่เสนาธิการกองทัพของแกนต์ซ และภาพถ่ายครอบครัว สำนักงานความมั่นคงภายใน ชินเบ็ต ของอิสราเอลกล่าวว่า ความพยายามสอดแนมของผู้ต้องสงสัยรายนี้ถูกขัดขวางไว้ได้อย่างรวดเร็ว และเขาถูกจับกุมภายในไม่กี่วันหลังจากติดต่อกับแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ พร้อมกับยืนยันด้วยว่า…

WordPress จำนวนมากถูกแฮก ด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ปลอม

Loading

ที่มา: Sucuri/BleepingComputer   สัปดาห์ที่แล้วมีระลอกการแฮกเว็บไซต์ WordPress จำนวนเกือบ 300 เว็บไซต์ ให้แสดงข้อความแจ้งเตือนการเข้าล็อกรหัสของเว็บไซต์ เพื่อหลอกให้เจ้าของเว็บไซต์เชื่อว่าเว็บไซต์ของตนถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ และต้องจ่าย 0.1 บิตคอยน์เพื่อปลดล็อกเว็บไซต์คืนมา ข้อความเรียกค่าไถ่ปลอมยังมีการตั้งเวลานับถอยหลังกดดันด้วย โดยกระเป๋าเงินบิตคอยน์ที่แสดงบนเว็บไซต์ทั้งหมดมีที่อยู่เดียวกัน Sucuri บริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พบว่าเว็บไซต์ที่โดนโจมตีเหล่านั้นไม่ได้ถูกเข้าล็อกรหัสจริง แต่แฮกเกอร์ได้ดัดแปลง plugin ของ WordPress ที่ชื่อว่า Directorist เพื่อให้แสดงข้อความเรียกค่าไถ่และตัวนับเวลาถอยหลัง ทั้งยังได้ไปแก้สถานะการโพสต์ของทุกโพสต์ให้เป็น ‘null’ เพื่อให้อยู่ในสถานะไม่ถูกเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ด้วย Sucuri ยังค้นพบต่อไปว่าจุดเริ่มแรกที่มือแฮกเข้าสู่เว็บไซต์คือจากแถบ wp-admin แสดงให้เห็นว่าผู้บุกรุกล็อกอินเข้าเว็บไซต์ในฐานะแอดมิน การแก้ไขปัญหาก็เพียงแค่ต้องนำ plugin ดังกล่าวออกไปและ run command เพื่อให้สามารถเผยแพร่โพสต์และเพจของเว็บไซต์ให้ได้ตามปกติ การโจมตีที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึี้นเพียงลำพัง แต่เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการขนาดใหญ่ นำมาซึ่งข้อสันนิษฐานว่าเหตุการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ทั้งนี้ ล่าสุดได้มีการแก้ไขบั๊กใน Directorist ที่ทำให้ผู้ใช้งานที่มีสิทธิการเข้าถึงน้อยสามารถใช้งาน arbitrary code แล้ว   ที่มา Bleeping Computer     ที่มา…

“ศาสตราจารย์จีน” แอบวิจัยพันธุกรรมระดับสูง “ศึกษาสมองลิง” จารกรรมความลับให้กับกองทัพปักกิ่งในม.โคเปนเฮเกนชื่อดัง

Loading

    รอยเตอร์ – มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนของเดนมาร์กเปิดเผยล่าสุด ปักกิ่งพยายามแทรกซึมสถาบันการศึกษาชั้นสูงโลกตะวันตกเพื่อต้องการได้เทคโนโลยีพลเรือนที่สามารถถูกนำใช้ในการทหารได้   รอยเตอร์รายงานวันนี้ (18 พ.ย) ว่า นีลส์ โครเออร์ (Niels Kroer) หัวหน้าแผนกชีววิทยาประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) ชื่อดังของเดนมาร์กเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า ทางมหาวิทยาลัยไม่เคยล่วงรู้มาก่อนว่า ศาสตราจารย์ เกาเจีย จ้าง (Guojie Zhang) ทำงานให้กับกองทัพปักกิ่ง โดยศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนผู้นี้แอบทำการศึกษาวิจัยทางพันธุกรรมให้กับกองทัพจีน   ซึ่งนี่ถือเป็นตัวอย่างล่าสุดที่ปักกิ่งพยายามใช้ช่องทางแทรกซึมสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโลกตะวันตก เป็นต้นว่าในสาขาทางยุทธศาสตร์ที่มีความอ่อนไหวด้านชีวะวิทยาเพื่อล้วงความลับเทคโนโลยีพลเรือนระดับสูงที่สามารถถูกนำมาใช้ในทางการทหารได้   ศาสตราจารย์ เกาเจีย จาง (Guojie Zhang) ทำการวิจัยพันธุกรรมร่วมกับกองทัพปักกิ่งในการศึกษาสมองลิงในระดับอัลติจูดสูงเพื่อพัฒนายาตัวใหม่ป้องกันสมองถูกทำลายซึ่งถือเป็นภารกิจกองทัพจีนต้องการให้กองกำลังปฎิบัติการอยู่ในพื้นที่ราบสูง   จางซึ่งเป็นผู้วิจัยร่วมของผลงานการวิจัยภายใต้ชื่อ Neuroprotectants attenuate hypobaric hypoxia-induced brain injuries in cynomolgus monkeysร่วมกันกับพลตรีคนหนึ่งของกองทัพจีนเมื่อเดือนมกราคมปี 2020 โดยเป็นผลงานที่ถูกตีพิมพ์เมื่อปี 2020 ซึ่งช่วงระยะเวลาการศึกษาถูกตีพิมพ์นั้นทางมหาวิทยาลัยไม่ทราบว่า งานวิจัยชิ้นนี้ทำร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันวิจัยทางการทหารกองทัพจีน  …

กองทัพซูดานปราบดุ ม็อบต้าน รปห. ดับเพิ่มอีก 15 ศพ

Loading

  สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า กองกำลังฝ่ายความมั่นคงซูดานยิงแก๊สน้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่ยังคงออกมาประท้วงต่อต้านการก่อรัฐประหาร บนท้องถนนในกรุงคาร์ทูม เมืองหลวงของซูดาน ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี ( 18 พ.ย.) หลังจากวันก่อนหน้ามีผู้ประท้วงถูกสังหารเสียชีวิตไปแล้ว 15 ราย โดยตำรวจระดมกำลังพลเข้ามารักษาการณ์ในพื้นที่ทางตอนเหนือของกรุงคาร์ทูมที่กลุ่มผู้ประท้วงยังคงปักหลักกันอยู่มาตั้งแต่ข้ามคืนก่อนในกรุงคาร์ทูมและอีกหลายเมืองใหญ่ที่ถูกฝ่ายความมั่นคงใช้กำลังเข้าปราบปราม   ขณะที่ระบบโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ส่วนใหญ่ของซูดานยังคงใช้การไม่ได้   เอเอฟพี   ทั้งนี้ชาวซูดานยังคงลุกฮือต่อต้านผู้ปกครองทหาร หลังจากผู้นำกองทัพนำโดยพลเอกอับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ได้ทำรัฐประหารล้มอำนาจรัฐบาลเฉพาะกาลของซูดานเมื่อเดือนตุลาคมและประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศมาตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม ซึ่งถือการยุติการเปลี่ยนถ่ายอำนาจสู่การปกครองโดยพลเรือนเต็มรูปแบบของซูดาน และจุดเสียงก่นประณามจากประชาคมระหว่างประเทศ   เอเอฟพี   ด้านสำนักงานกิจการแอฟริกัน กระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ทวีตข้อความประณามการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงชาวซูดานอย่างสันติ พร้อมกับเรียกร้องให้เคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในซูดาน   ผู้ประท้วงถือภาพของพลเอกอับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน พร้อมข้อความ “ไม่เอาการปกครองทหาร” (เอเอฟพี)   จากการเปิดเผยของบุคลากรทางการแพทย์ระบุว่า มีผู้ประท้วงอย่างน้อย 15 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของกรุงคาร์ทูม ที่ถูกสังหารเสียชีวิตในวันพุธ (17 พ.ย.) เพียงวันเดียว ส่งผลให้ยอดผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในระหว่างการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมของฝ่ายความมั่นคงซูดานเพิ่มขึ้นเป็น 39 รายแล้ว  …