“เดลตา แอร์ไลน์” ทดสอบระบบจำใบหน้าลดขั้นตอนตรวจสอบ-ประหยัดเวลา

Loading

    สายการบินเดลตา แอร์ไลน์ของสหรัฐฯ เริ่มทดสอบการใช้งานระบบจดจำใบหน้าของผู้โดยสาร ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบและประหยัดเวลามากขึ้น 29 ต.ค.2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ผู้โดยสารที่ต้องการเข้าร่วมการทดสอบจะต้องบันทึกข้อมูลในแอปพลิเคชันของสายการบินเดลตา แอร์ไลน์ และต้องลงทะเบียนกับสำนักงานความมั่นคงด้านการคมนาคม หรือ ทีเอสเอ     ซึ่งผู้โดยสารที่ใช้งานระบบจดจำใบหน้าจะต้องนำสัมภาระไปเช็คอินและโหลดลงสายพานด้วยตัวเอง จากนั้นสามารถเดินขึ้นเครื่องบินได้ ด้วยการสแกนใบหน้า เบื้องต้น การทดสอบระบบดังกล่าวจะเริ่มที่เมืองแอตแลนตา จากนั้นจะขยายไปที่เมืองดีทรอยต์     ผู้อำนวยการสายการบินเดลตา แอร์ไลน์ กล่าวว่า แนวคิดที่จะใช้ระบบจดจำใบหน้ากับผู้โดยสารมีขึ้นก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อเกิดการระบาดขึ้น     จำนวนผู้โดยสารลดลงอย่างมาก ซึ่งถือเป็นโอกาสดี ที่จะใช้เวลาในช่วงดังกล่าวสร้างระบบและทดสอบการใช้งาน เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารยังมีไม่มาก เท่ากับว่าการระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้แนวคิดนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่วางแผนไว้ ที่มา : AP   —————————————————————————————————- ที่มา : ThaiPBS            / วันที่เผยแพร่ 29 ต.ค.2564 Link…

ไขข้อสงสัย!! Facebook Protect คืออะไร?? ต้องเปิดใช้งาน ไม่นั้นจะใช้งานเฟซบุ๊กไม่ได้

Loading

  เมื่อวานนี้หลาย ๆ คนคงจะได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook ให้เปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งเป็นฟีเจอร์ความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก​ (Facebook) ที่บังคับให้ผู้ใช้เปิดใช้งาน มิเช่นนั้นผู้ใช้จะไม่สามารถใช้บริการเฟซบุ๊กได้จนกว่าจะเปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งก็มีผู้ใช้หลาย ๆ คนที่วิตกกังวล ว่าควรเปิดใช้งานดีหรือไม่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Facebook Protect กันดีกว่า ว่าตกลงแล้วคืออะไร??     เดิมทีเมื่อปีที่แล้ว Facebook Protect มีให้บริการในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่บัญชีของนักการเมือง พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ กรรมการการเลือกตั้ง และผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเพจที่ได้รับการรับรอง (เครื่องหมายถูกสีฟ้า) ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้ง ที่มีการกำหนดว่าผู้ใช้จะเป็นที่จะต้องตั้งค่าการยืนยันตัว 2 ขั้นตอน และเปิดให้เฟซบุ๊กสามารถมอนิเตอร์การใช้งานเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการโดนแฮกนั่นเอง     ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีรายงานจาก Axios ว่าในปี 2021 นี้ เฟซบุ๊กจะมีการขยายประเทศที่ให้บริการ Facebook Protect กับประเภทบัญชีที่กว้างมากยิ่งขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้บางคนในประเทศไทยได้รับการแจ้งเตือนดังกล่าว ซึ่งถ้าไม่เปิดใช้งานภายใน 15 วัน…

ลอบวางระเบิดในเมืองมัณฑะเลย์ บาดเจ็บ 9 คน

Loading

  เกิดเหตุลอบวางระเบิดหน้าสำนักงานขนส่งทางบกที่เมืองมัณฑะเลย์ เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ 9 คน ขณะที่ออง ซาน ซู จี ขึ้นให้การในศาลเป็นครั้งแรก ในข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เกิดเหตุระเบิดขึ้น 2 ครั้ง หน้าสำนักงานขนส่งทางบกในเมืองมัณฑะเลย์ แรงระเบิดส่งผลให้รถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหายอย่างน้อย 14 คัน และมีผู้บาดเจ็บ 9 คน ขณะที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ากองกำลังการโจมตีพิเศษ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กอ้างว่าอยู่เบื้องหลังการก่อเหตุในครั้งนี้ โดยมีเป้าหมายโจมตีแหล่งจัดเก็บรายได้ของทางการ เพราะไม่ต้องการให้รัฐบาลทหารนำเงินไปจัดซื้ออาวุธ ซึ่งสำนักงานขนส่งทางบกที่เป็นเป้าโจมตีทำหน้าที่เก็บค่าธรรมเนียมใบขับขี่และภาษีรถยนต์ รถจักรยานยนต์   ซู จี ให้การในศาลเป็นครั้งแรก ด้านออง ซาน ซู จี อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา ขึ้นให้การในศาลเป็นครั้งแรก ในข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง ซึ่งเป็น 1 ใน 11 ข้อหาที่ถูกดำเนินคดี การพิจารณาคดีในครั้งนี้จัดขึ้นที่กรุงเนปิดอว์ โดยห้ามสื่อมวลชน นักการทูต และคนทั่วไปเข้ารับฟังการพิจารณาคดี     นอกจากนี้ รัฐบาลทหารยังออกคำสั่งห้ามทนายความของซู จี ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน…

“ราชกิจจาฯ ประกาศห้ามชุมนุม-มั่วสุมทั่วราชอาณาจักร หลังเปิดประเทศ ฝ่าฝืนมีโทษหนักคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่น

Loading

  ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วประเทศ ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท   เมื่อวันที่ 28 ต.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ฉบับที่ ๑๓)   ตามที่รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และคำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19 ) ที่…

PwC เตือน “แรนซัมแวร์” โจมตีพุ่ง!! แนะธุรกิจไทยคุมเสี่ยงจาก “บุคคลภายนอก”

Loading

  PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วย ซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก อีกทั้งให้ความสำคัญกับสุขลักษณะที่ดีต่อความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือภัยคุกคามและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา และหัวหน้าสายงานกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า การโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้เรียกค่าไถ่ข้อมูล โดยขโมยข้อมูลด้วยการเข้ารหัส หรือล็อกไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงหรือเปิดไฟล์ได้และเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าไถ่ (Ransomware) จะเป็นภัยไซเบอร์ที่พบมากที่สุดในปี 2565   “การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จะกลายมาเป็นภัยไซเบอร์ที่มีแนวโน้มการเกิดมากที่สุดในระยะข้างหน้า โดยเราจะเห็นว่า แรนซัมแวร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มสถาบันการเงินและโรงพยาบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ภัยไซเบอร์ที่พบมากจะเป็นมัลแวร์ประเภทไวรัส โทรจัน และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการโจมตีและเข้าถึงข่อมูลที่มีความอ่อนไหว” วิไลพร กล่าว   ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลที่สาม (Third-party…

“ดีอีเอส กสทช ผู้ให้บริการโทรคม” คลอดมาตรการเข้ม!! กวาดล้าง sms หลอกลวง

Loading

  สำนักงาน กสทช. ยกระดับมาตรการจัดการปัญหา SMS หลอกลวง เข้มลงโทษทางปกครองกับผู้ให้บริการเนื้อหาที่ปล่อยให้มี SMS หลวกลวง ส่งเรื่องให้ บช.สอท. ดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วน ดีอีเอส เอาผิดกับมิจฉาชีพตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จี้ผู้ให้บริการเนื้อหาต้องมีระบบยืนยันตัวตนชัดเจน   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสำนักงาน กสทช. ผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้ประกอบการโทรคมนาคม ได้ประชุมหารือเพื่อติดตามและกำกับดูแลกรณีมิจฉาชีพ ส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน การชักชวนเล่นพนันออนไลน์ และลามกอนาจาร นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า จากการประชุมติดตามและกำกับดูแลกรณีมิจฉาชีพส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน การชักชวนเล่นพนันออนไลน์ และลามกอนาจาร ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่จะยกระดับมาตรการในการดำเนินการจัดการปัญหา SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง   โดยสำนักงาน กสทช. ได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับเนื้อหาของข้อความ และการกำหนดชื่อ Sender name ซึ่งจะเริ่มจากต้นทางของการส่ง SMS จากผู้ให้บริการเนื้อหา…