FBI บุกจับวิศวกรทัพเรือสหรัฐฯ นำข้อมูลเรือดำน้ำนิวเคลียร์ไปขาย รับเป็นเงินคริปโตฯ 1 แสนดอลลาร์

Loading

  สองสามีภรรยาชาวสหรัฐฯ ถูกจับกุม ข้อหาขายความลับเกี่ยวกับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ต่างชาติ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเจ้าหน้าที่ FBI ปลอมตัวมา วันที่ 10 ต.ค. 2564 สำนักข่าวเอเอฟพี (AFP) รายงานว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation หรือ FBI) ได้ทำการจับกุมคู่สามีภรรยาชาวสหรัฐฯ ที่ถูกกล่าวหาว่านำข้อมูลลับเกี่ยวกับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ไปขาย ให้กับกลุ่มที่ทั้งคู่เชื่อว่าเป็นหน่วยงานต่างชาติ โจนาธาน โทเอบี วิศวกรนิวเคลียร์ประจำกองทัพเรือสหรัฐ ถูกจับกุมพร้อมกับภรรยาของเขา แอนนา โทเอบี เมื่อวันเสาร์ (9 ต.ค.) จากการร่วมกันกระทำความผิดตาม Atomic Energy Act ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานปรมาณู โดยนำข้อมูลที่เป็นความลับไปจำหน่ายให้กับเจ้าหน้าที่ FBI ที่ปลอมตัวเป็นชาวต่างชาติไปล่อซื้อ ด้วยหน้าที่การงานของนายโทเอบี ทำให้เขามีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และได้นำข้อมูลเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไปขายต่อเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสกุลดิจิทัลมูลค่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ (3.3 ล้านบาท) เนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า นายโทเอบีเริ่มส่งจดหมายไปยังรัฐบาลต่างชาติ ระบุข้อความว่า “กรุณาส่งต่อจดหมายฉบับนี้ไปยังหน่วยข่าวกรองของกองทัพ ผมเชื่อว่าข้อมูลนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อประเทศของคุณ นี่ไม่ใช่การหลอกลวง” นายโทเอบีแนบตัวอย่างข้อมูลลับและรายละเอียดต่างๆ…

“ป.ป.ท.” จับอดีตเจ้าหน้าที่ปกครอง สวมบัตรประชาชนให้คน “ต่างด้าว”

Loading

  “ป.ป.ท.” จับอดีตเจ้าหน้าที่ปกครอง สวมบัตรประชาชนให้คน “ต่างด้าว” หนีคดีจาก จ.ชัยภูมิ มาเก็บของเก่าขายในพื้นที่ จ.ตรัง   เมื่อวันที่ 10 ต.ค.64 พ.ต.ท.ทนง เพิ่มพูน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท.เขต 3 พร้อมด้วย นายรักษ์กล้า สถานสุข รองหัวหน้าศูนย์ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต รักษาราชแทน ผู้อำนวยการกองอำนวยการต่อต้านการทุจริต มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กองอำนวยการต่อต้านการทุจริต และ ปปท.เขต 3   จับกุมนายไพฑูรย์ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 ที่ จ.18/2564 ลงวันที่ 2 กันยายน 2564 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ปกครอง ระดับ 5 ที่ทำการปกครองอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบ ลักลอบใช้รหัสของปลัดอำเภอ เข้าระบบทางทะเบียนและจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่บุคคลต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิมีบัตรประจำตัวประชาชน รวม…

โจรใต้เหิมจุดระเบิดโจมตีรถตำรวจที่บาเจาะ ตำรวจเจ็บ 4 ชาวบ้าน 1 (คลิป)

Loading

  เวลา 20.30 น.ของคืนวันที่ 10 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ร.ต.อ.เผ่า ศรีโพธา รองสารวัตรสอบสวน สภ.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส รับแจ้งมีเหตุคนร้ายจุดชนวนระเบิดรถยนต์สายตรวจเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชุดป้องกันและปราบปราม สภ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ที่บริเวณใต้สะพานลอย ใกล้สามแยกทางไป อ.ไม้แก่น ซึ่งตั้งอยู่ ม.1 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ   แรงระเบิดทำให้รถยนต์สายตรวจได้รับความเสียหาย และชาวบ้านถูกลูกหลงโดนสะเก็ดระเบิดได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 1 คน จึงพร้อมด้วย พ.ต.ต.อรรถพล สลับเพชร สารวัตร สภ.ปะลุกาสาเมาะและกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารจำนวนหนึ่งรุดเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ   พบรถยนต์สายตรวจ สภ.ไม้แก่น จอดอยู่บนถนนห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 200 เมตร ซึ่งถูกสะเก็ดระเบิดได้รับความเสียหาย ที่กระจกหน้าแตก ตัวถังด้านซ้ายถูกสะเก็ดระเบิดเป็นรูพรุน และยางล้อหลังด้านซ้ายแตก แต่เจ้าหน้าที่ปลอดภัย และมีชาวบ้านถูกลูกหลงได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 1 คน ขณะขี่รถ จยย.ผ่านซึ่งชาวบ้านได้ช่วยกันนำตัวส่งรักษาที่โรงพยาบาลบาเจาะ   ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งไว้บนเสาไฟฟ้าบริเวณ 3 แยกจุดเกิดเหตุ…

ไม่ได้ไปต่อ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไม่ผ่านกฎหมายความเป็นส่วนตัว

Loading

  เทคโนโลยีการจดจำใบหน้านั้นมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ ในประเทศจีนได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การบังคับใช้กฎหมาย ใครไม่ข้ามทางม้าลาย ใบสั่งส่งถึงบ้าน หรือบ้วนน้ำลายหรือทิ้งขยะในที่สาธารณะก็ต้องจ่ายเช่นกัน พร้อมกันนี้ ในแง่ของการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล จีนใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อจ่ายค่าเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ทำให้คนจีนไม่ต้องควักเงิน บัตร หรืออะไรต่างออกมาจ่ายเงิน เพียงแค่เดินผ่านไประบบจะทำการหักเงินในบัญชีอัตโนมัติ ทั้งนี้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากำลังได้รับความนิยมทั่วโลก แม้จะมีการต่อต้านจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนและรัฐบาลทั่วโลก แต่บริษัทใหญ่ ๆ อย่างเช่น Amazon และ Clearview ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและพยายามขายเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย แต่เรื่องนี้กำลังถูกยุติในฝั่งยุโรป โดยรัฐสภายุโรป (EP) MEPs ได้เรียกร้องอย่างเป็นทางการให้แบนการใช้เทคโนโลยีการจดใบหน้าในพื้นที่สาธารณะ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน นอกจากนี้ MEPs รู้สึกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเลือกปฏิบัติระหว่างชนกลุ่มน้อย ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และสมาของกลุ่ม LGBT เพราะมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนอัลกอริทึ่มของระบบ อาจใส่อคติลงไป ทำให้ Ai อาจมีอคติเช่นกันครับ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีปัญหาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หากเรื่องนี้ถูกบังคับใช้เมื่อใด ประเทศที่อยู่สมาชิกประเทศยุโรปจะต้องไม่มีการใช้ Facial Recognition ในที่สาธารณะทั้งหมด รวมถึงประเทศที่มีการใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น…

เยอรมนีตรวจสอบภาวะ “ฮาวานา ซินโดรม” ที่สถานทูตสหรัฐ

Loading

  เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของเยอรมนีสอบสวนกรณี เจ้าหน้าที่หลายคนประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ มีอาการของภาวะ “ฮาวานา ซินโดรม” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ว่า สำนักงานตำรวจกรุงเบอร์ลินเปิดเผยเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ว่ากำลังสืบสวนสอบสวนกรณีบุคลากรการทูตประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเบอร์ลินจำนวนหนึ่ง มีอาการของภาวะ “ฮาวานา ซินโดรม” ตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา โดยปฏิเสธให้ข้อมูลเพิ่มเติม ด้านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเบอร์ลินยังคงสงวนท่าที   Police investigating "Havana syndrome" cases at US Embassy in Berlin https://t.co/tZqH5I5upS pic.twitter.com/bXSjtKtUph — The Hill (@thehill) October 9, 2021   อย่างไรก็ดี ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นประมาณ 1 เดือน หลังนายวิลเลียม เบิร์นส ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง ( ซีไอเอ ) สั่งย้ายหัวหน้าสถานีซีไอเอประจำกรุงเวียนนา เมืองหลวงของออสเตรีย เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตอบสนองต่อภาวะฮาวานา…

‘สกมช.’ จับมือ ‘เทรนด์ไมโคร’ ปั้นนักรบไซเบอร์อุดช่องโหว่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ

Loading

  เมื่อมีการใช้งานออนไลน์มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่ายผ่านอุปกรณ์ของตนเอง จึงกลายเป็นการเพิ่มโอกาสให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือ สร้างภัยหลอกลวงต่างๆ ถึงผู้คนได้ง่าย ดังนั้นคนทุกกลุ่มจึงจำเป็นต้องมีความรู้เท่าทันภัยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย มาตรการแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทว่า ปัญหาที่สำนักงานและประเทศไทยกำลังเผชิญคือบุคลากรที่จะเข้ามารับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์นั้นไม่เพียงพอ   ***ไทยขาดบุคลากรป้องกันภัยไซเบอร์หลักแสนคน ‘พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์’ เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เหตุผลที่บุคลากรไซเบอร์ขาดแคลนเป็นเพราะบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้เทคนิครอบด้าน ดังนั้น กว่าจะสร้างบุคคลากรที่ทำงานด้านนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้เวลานานและต้องมีการวางแผนระยะยาวในการสร้างบุคลากรเพื่อมาสนับสนุนการทำงานด้านนี้ของประเทศได้ ขณะที่ สกมช.เป็นสำนักงานที่มีอัตราโครงสร้างพนักงาน 480 คน แต่เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณและการสนับสนุนด้านบุคลากร ทำให้ในปัจจุบันบุคลากรของ สกมช.มีเพียง 40 คนโดยประมาณ บวกกับลูกจ้างอีกประมาณ 20 คน ทำให้สำนักงานประสบปัญหาด้านการดำเนินงาน สกมช.จึงพยายามแสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรต่างๆ ที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาบุคลากรในทุกมิติ อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางไซเบอร์มีการขยายตัวมากขึ้นในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลให้การใช้งานระบบดิจิทัลมากขึ้น ทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีมองเห็นโอกาสในการคุกคามความปลอดภัยตามช่องทางเหล่านี้กันมากขึ้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ด้านซิเคียวริตี หรือความมั่นคงปลอดภัยตามหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ กันอย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ต้องเร่งเสริมสร้างความรู้และยกระดับทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยเป็นสำคัญ และมีแนวทางและกระบวนการในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเท่าทันต่อเหตุการณ์ สำนักงานจึงได้มีการหารือกับบริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับโลก…