ปลอดภัยจากภัยไซเบอร์

Loading

  แม้จะมีกฎ กติกา และกฎหมายที่รัดกุม ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   ข่าวคราวความเสียหายจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้นทุกปีทั้งในแง่จำนวนผู้เสียหาย และเม็ดเงินที่ถูกล่อลวงในหลายประเทศทั่วโลก จนหลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีมากเกินไปจนดูเหมือนจะควบคุมไม่อยู่ ความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีทั้งประโยชน์และโทษมาพร้อมกันเสมอ แต่กับเทคโนโลยีดิจิทัลอาจมีความพิเศษมากกว่า เพราะความเร็วในการแพร่กระจายและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความแพร่หลายของเทคโนโลยีดิจิทัลเกิดขึ้น เพราะการปฏิวัติในยุคไมโครคอมพิวเตอร์ที่ทำให้บริษัทขนาดเล็กรวมไปถึงคนทั่วไปมีโอกาสได้ใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เหมือนในอดีตที่คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์มีใช่เฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น   ในบ้านเราคอมพิวเตอร์เครื่องแรกใช้งานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 1963 ตามด้วยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปีถัดมา กลุ่มผู้ใช้งานจึงจำกัดเฉพาะนักวิชาการและนักสถิติ จนกระทั่งปี 1974 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการซื้อขายหุ้น หลังจากนั้นในช่วงปี 1980 ไมโครคอมพิวเตอร์ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความพยายามในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องใช้ความร่วมมือครั้งใหญ่ ซึ่งจุดเริ่มต้นจริงๆ อยู่ที่เครือข่ายด้านกลาโหมก่อนที่จะขยายวงมาถึงสถาบันการศึกษา และท้ายที่สุดคือการประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะเป็นโครงการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำ   ตัวอย่างเช่น เจอร์รี่ หยาง ผู้ก่อตั้งยาฮู อดีตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มาจนถึงยุคนี้ ก็มีมาร์ค ซัคเกอร์เบิรก์ ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊คจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ล้วนมีส่วนจุดประกายให้ธุรกิจในยุคอินเทอร์เน็ตขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ การจับคู่กันระหว่างโลกคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ มากมาย บ้างก็มาแทนที่ธุรกิจเดิมที่ได้รับผลกระทบจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นธุรกิจร้านหนังสือ ธุรกิจร้านเช่าวีดิโอ สถานีโทรทัศน์ ฯลฯ   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันจึงเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนมีอินเทอร์เน็ตมหาศาล พรมแดนของแต่ละประเทศจึงมีบทบาทลดลงเพราะมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยงทั้งในด้านการค้า…

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ

Loading

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ เชื่อว่าคุณและผู้คนมากมายประมาณสองในสามคนทั่วโลกใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน กิจกรรมในลักษณะการผิดกฎหมายอาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงการแฮ็กและการก่อการร้าย เป็นต้น แม้แต่เว็บจำนวนมากก็สามารถติดตามตำแหน่งของคุณได้ด้วย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณต้องซ่อนตำแหน่งของคุณ นั่นเป็นเหตุผลที่มาบอกวิธีการป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งของคุณ ด้วยขั้นตอนดังนี้   วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ สำหรับ Chrome เวอร์ชั่นคอม     คลิกจุดสามจุด … มุมขวาบนของ Chrome แล้วเลือกที่ การตั้งค่า     เลือกด้านซ้ายที่ ข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย แล้วคลิกที่ การตั้งค่าเว็บไซต์     คลิกที่ ตำแหน่ง >>     แล้วเลือกที่ ไม่อนุญาตให้เว็บไซต์ดูตำแหน่งคุณ แค่นี้ Chrome จะดำเนินการไม่ให้เว็บไซต์อื่นๆมาติดตามตำแหน่งคุณได้   สำหรับผู้ใช้ Edge บน Windows10 หรือ Windows11 ให้เปิดหน้า Settings ของ Windows10 หรือ Windows…

ผู้นำโลกโต้ข้อมูล “ธุรกรรมลับ” ใน “แพนดอรา เปเปอร์ส”

Loading

  สำนักพระราชวังแห่งจอร์แดน และผู้นำโลกอีกหลายประเทศซึ่งถูกพาดพิงใน “แพนดอรา เปเปอร์ส” พร้อมใจกันออกมาวิจารณ์และปฏิเสธข้อมูลในเอกสาร สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ว่าสืบเนื่องจากการที่เครือข่ายผู้สื่อข่าวสอบสวนระหว่างประเทศ ( ไอซีเจ ) เปิดโปงเอกสารข้อมูล “แพนดอรา เปเปอร์ส” เกี่ยวกับ “ธุรกรรมลับ” ของบุคคลสำคัญระดับโลกหลายร้อยคน ที่ดำเนินการผ่านบริษัทนอกอาณาเขต โดยชุดข้อมูลที่นำออกมาเผยแพร่มีจำนวนมากถึง 11.9 ล้านไฟล์ ทำลายสถิติฐานข้อมูล “ปานามา เปเปอร์ส” เผยแพร่เมื่อปี 2559 เชื่อมโยงบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย มอสแซค ฟอนเซกา ของปานามานั้น   The #PandoraPapers contain 12M documents from 14 service providers. Our investigation uncovers the financial secrets of 35 current and former world…

การแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่ผ่านมา ถูกโจมตีทางไซเบอร์กว่า 450 ล้านครั้ง

Loading

  การแข่งขันโอลิมปิก 2020 และพาราลิมปิก 2020 ที่จัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว เผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์มากกว่า 450 ล้านครั้ง โดยผู้จัดงานระบุว่าสามารถป้องกันการโจมตีที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด และการแข่งขันไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด “เราสามารถยับยั้งการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ ได้ อันเป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและมาตรการเชิงตอบโต้ที่ได้มีการตระเตรียมไว้ก่อนหน้า” คณะกรรมการผู้จัดงานโตเกียวโอลิมปิกระบุ การโจมตีเกิดขึ้นตั้งแต่พิธีเปิดโอลิมปิกในวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา ไปจนถึงพิธีปิดงานพาราลิมปิกในวันที่ 5 กันยายน โดยส่วนใหญ่มุ่งโจมตีเว็บไซต์ทางการของงานและระบบเครือข่ายของคณะกรรมการผู้จัดงาน วิธีการหลักที่ใช้โจมตีคาดว่าน่าจะเป็น DDoS (Distributed Denial of Service) ซึ่งเป็นการปล่อยข้อมูลจำนวนมหาศาลจนเป้าหมายรับไม่ไหวและล่มไปในที่สุด ทว่าการโจมตีในความถี่ระดับนี้ยังถือว่าน้อยกว่าโอลิมปิกในครั้งก่อน ๆ โดยโอลิมปิก 2012 ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในปี 2555 ถูกโจมตีไปมากกว่า 2,300 ล้านครั้ง และโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2561 ในเมืองเปียงชาง ประเทศเกาหลีใต้ ถูกโจมตีไปมากกว่า 600 ล้านครั้ง Trend…

สภาสิงคโปร์ผ่านกฎหมาย “ต่อต้านการแทรกแซงจากต่างชาติ”

Loading

  สภาสิงคโปร์เห็นชอบกฎหมาย “ต่อต้านการแทรกแซงจากต่างชาติ” ที่เพิ่มอำนาจให้รัฐบาลบล็อกเนื้อหาออนไลน์ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ว่าสภาแห่งชาติของสิงคโปร์มีมติด้วยเสียงข้างมาก 75 ต่อ 11 เสียง รับรองกฎหมาย “ต่อต้านการแทรกแซงจากต่างชาติ” หลังใช้เวลาอภิปรายนาน 3 สัปดาห์ และการอภิปรายวันสุดท้ายเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ใช้เวลานานเกือบ 10 ชั่วโมง สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว คือการที่รัฐบาลของสิงคโปร์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ในการป้องกัน สืบหาและยับยั้ง ความพยายามเคลื่อนไหวเพื่อเผยแพร่ “เนื้อหาอันไม่เป็นมิตร” จาก “กองกำลังภายนอก” ซึ่งมีเป้าประสงค์แทรกแซงกิจการภายในของสิงคโปร์ ผ่านบุคคลหรือกลุ่มบุคคล “ที่เป็นตัวแทนในท้องถิ่น“ ทั้งนี้ มาตรการตอบสนองของภาครัฐอาจเป็นการ “ออกคำสั่ง” ให้ผู้บริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และบริการสังคมออนไลน์เปิดเผยข้อมูลอย่างจำเพาะเจาะจง เกี่ยวกับบุคคลซึ่งกระทำการผิดกฎหมาย การปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหา และการลบเนื้อหานั้น หรืออาจถึงขั้นระงับการใช้บริการแพลตฟอร์มนั้นในสิงคโปร์   The Straits Times   ขณะเดียวกัน บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเข้าข่ายเป็น “บุคคลสำคัญทางการเมือง” ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการรับเงินบริจาค และต้องแสดงหลักฐาน “ความสัมพันธ์” กับ “ปัจจัยในต่างประเทศ“ ด้านนายเค…

วิธีหากล้องสอดแนม ซ่อนอยู่ในที่พัก Airbnb

Loading

  ทุกวันนี้ภัยคุกคามนั้นเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นทั้งสตอล์กเกอร์แวร์ สปายแวร์ และกล้องที่ซ่อนอยู่ในที่พักต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และกำลังมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ ตั้งแต่ปี 2017 Airbnb ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์หลังจากลูกค้าหลายรายว่าพวกเขาพบกล้องที่ซ่อนอยู่ในสถานที่เช่าของพวกเขา และอีกครั้งในปี 2019 และก็มีเคสต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงทุกวันนี้หลายคนจึงตั้งคำถามว่า Airbnb มีการดำเนินการใดๆ ที่จะปกป้องแขกได้หรือไม่ แต่หากไม่ สิ่งสำคัญก็คือ เราจะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองเพื่อที่จะได้ไม่ถูกสอดแนมอย่างลับ ๆ และข้อมูลของเราจะไม่ถูกขโมยไปแบบง่าย ๆ ทั้งรูปภาพ ตำแหน่งที่อยู่แบบเรียลไทม์ ข้อความ และการสนทนาทางโทรศัพท์ครับ โดยล่าสุดอดีตแฮกเกอร์ชาวอังกฤษได้เผยคลิปวิธีสำรวจกล้องที่ซ่อนอยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราสามารถค้นหาตรวจจับกล้องที่ซ่อนอยู่ โดยเขาได้โพสลงใน TikTok ชื่อว่า Malwaretech ในวีดีโอ เขาได้จัดฉากห้องปกติที่เราจะได้เห็นเวลาที่ไปพักโรงแรมหรือ Airbnb ซึ่งจะพบกล้องที่ซ่อนอยู่ที่ใดบ้าง เช่น นาฬิกาปลุก เครื่องตรวจจับควันไฟ หรือปลั๊กติดผนัง วิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่ามีกล้องซ่อนอยู่ในนั้นหรือไม่ คือการฉายแสงไฟฉาย (หากไม่มีไฟฉาย ก็ใช้ไฟฉายจากมือถือ) ถ้าไปโดนเลนส์กล้องมันจะสะท้อนแสงออกมาเป็นสีน้ำเงินซึ่งสามารถลองทดสอบเอาไฟฉายส่องกับกล่องมือถือตัวเองก็ได้ครับ ส่วนกล้องที่ใช้ส่องกลางคืน…