อุปกรณ์ IoT โดนโจมตีหนัก

Loading

  อุปกรณ์ไอโอทีกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้การโจมตีทวีความรุนแรงมากขึ้น เดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็ไฮเทค มีอุปกรณ์หลายอย่างที่ทำได้มากกว่าสิ่งที่เคยทำได้ในอดีต ผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลและสัญญาณอินเทอร์เน็ต จนในที่สุดเราต่างเรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า IoT ย่อมาจาก Internet of Things ซึ่งล่าสุดนักวิจัยพบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 มีการโจมตี 1.5 พันล้านครั้งบนอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) เพิ่มขึ้นมากกว่า 100% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีก่อนหน้า   โดยสาเหตุน่าจะมาจากการที่อุปกรณ์ IoTต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Smart Watch ไปจนถึงอุปกรณ์ประเภท Smart Home Accessories ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้การโจมตีก็ทวีความรุนแรงขึ้นไปตามๆกัน ยิ่งในช่วงที่ผู้คนหลายล้านคนต่าง Work From Home แฮกเกอร์จึงเลือกโจมตีทรัพยากรขององค์กร ผ่านการใช้เครือข่ายและอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านของพนักงาน เพราะรู้ว่าองค์กรต่างๆ ยังไม่ได้วางแผนรับมือกับภัยคุกคามที่มาจากการทำงานที่บ้านของพนักงาน เมื่ออุปกรณ์ส่วนตัวถูกนำเข้ามาใช้งานร่วมกับระบบขององค์กรเป็นจำนวนมาก ผลที่ได้คือพื้นที่และรูปแบบการโจมตีที่องค์กรอาจได้รับมีเพิ่มมากขึ้น หลังมีการค้นพบว่า อุปกรณ์ IoT ที่ติดไวรัสถูกใช้เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลองค์กร ใช้ขุดสกุลเงินดิจิทัล ใช้เป็น Botnet ในการโจมตี DDoS…

ถอดรหัสภาพยนตร์ต่างชาติ บันเทิงเพื่อ‘ความมั่นคง’

Loading

    “ภาพยนตร์” อาจเป็นสื่อสารมวลชนที่ผู้รับสารเสพเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก แต่หน้าที่ของภาพยนตร์ไปไกลกว่านั้นโดยเกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้วย   นักวิชาการหลายคนได้เสนอแนวคิดผ่านเวทีสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ภาพยนตร์กับความมั่นคง” จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้อย่างน่าสนใจ ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ อธิบายว่า ความมั่นคงหมายถึงภาวะปราศจากภัยคุกคาม หรือ ภาวะที่มีภัยคุกคามระดับต่ำจนแทบจะปลอดความกังวล ความมั่นคงแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือความมั่นคงตามนัยดั้งเดิม (traditional security) มองโลกผ่านแว่นตาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหลัก เน้นเอกภาพของประชากร และอำนาจในการปกครองตนเอง จึงให้ความสำคัญกับสถาบันที่รับผิดชอบการปกปักรักษาอธิปไตย ทำหน้าที่ป้องกันชาติให้พ้นจากภยันตราย เช่น ภัยรุกรานจากภายนอก การบ่อนทำลายจากภายใน งานก่อการร้าย การก่อกวนในรูปแบบต่างๆ อันจะส่งผลต่อความผาสุกของสังคม   อีกประเภทคือความมั่นคงใหม่ (non-traditional security) แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การทหาร เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งความมั่นคงในมิตินี้สัมพันธ์กับภาพยนตร์มากกว่าความมั่นคงในมิติเดิม “แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ความมั่นคง ก็คือความปลอดภัย ภาพยนตร์กับความมั่นคงจึงมีความหมาย เกี่ยวกับบทบาทของสื่อภาพยนตร์ในการส่งเสริมความปลอดภัยทุกด้าน นอกจากนี้ภาพยนตร์กับความ มั่นคงยังหมายถึงความปลอดภัยของภาคอุตสาหกรรมเอง ครอบคลุมงานภาพเคลื่อนไหวทุกประเภท…

สื่อต่างชาติ เผย ข้อมูลนักท่องเที่ยวมาไทย 106 ล้านราย รั่วไหล

Loading

  บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอังกฤษ ตรวจพบข้อมูลของ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” ที่เคยเดินทางเข้าเมืองไทยกว่า 106 ล้านราย รั่วไหล ด้าน ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส แจงว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล และยังไม่ทราบว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ขณะที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คาดว่า ข้อมูลที่รั่วไหล อาจจะหลุดจาก สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง Comparitech บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอังกฤษ ตรวจพบข้อมูลของ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” ที่เคยเดินทางเข้าเมืองไทยรั่วไหลกว่า 106 ล้านราย หลุดบนโลกออนไลน์ โดยเป็นข้อมูลย้อนหลังไปถึง 10 ปี โดยฐานข้อมูลที่หลุดนั้นประกอบไปด้วย ชื่อ นามสกุล หมายเลขหนังสือเดินทาง วันที่เดินทางถึงประเทศไทย และข้อมูลอื่นๆ เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยโดย นายบ๊อบ ดิอาเชนโก หัวหน้าทีมวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Comparitech     สื่อต่างชาติ เผย ข้อมูลนักท่องเที่ยวมาไทย 106 ล้านราย รั่วไหล โดยยังคาดว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเป็นของชาวต่างชาติที่เดินทางมาไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตัว นายดิอาเชนโก…

เสี่ยงตกงาน เกาหลีใช้หุ่นยนต์สุนัข รักษาความปลอดภัยแทนคน

Loading

  บริษัทฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของเกาหลีใต้ เตรียมใช้หุ่นยนต์จาก Boston Dynamics เพื่อดูแลความปลอดภัยของโรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรม โดยจะเริ่มต้นที่โรงงานในเกาหลีใต้เป็นแห่งแรก หุ่นยนต์จาก Boston Dynamics มีระบบที่ล้ำสมัยต่าง ๆ มากมาย เช่นระบบน้ำทางอัตโนมัติ หรือระบบประมวลผลแบบหลากหลายเพื่อครอบคลุมงานในแต่ละแบบ ทำให้หุ่นยนต์ยังสามารถนำทางในพื้นที่แคบ ๆ สามารถแสดงภาพได้แบบเรียลไทม์ สามารถบันทึกกิจกรรมที่ทำได้ พร้อมทั้งมีการตอบสนองหรือแจ้งเตือนแบบรวดเร็วในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น หากเกิดเหตุไฟใหม่จะมีการแจ้งเตือนได้ทันที เพราะมีกล้องถ่ายภาพความร้อนในตัว พร้อมระบบ 3D LiDAR ที่จะช่วยตรวจสอบอันตรายจากไฟไหม้ ช่วยตรวจจับผู้คนในบริเวณใกล้เคียง และตรวจจับประตูใดที่เปิดได้ และประตูใดห้ามเปิด นี่นับเป็นความร่วมมือครั้งแรกของบริษัททั้งสองครับ นับตั้งแต่ Hyundai ซื้อกิจการ Boston Dynamics ด้วยมูลค่าประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการนำหุ่นยนต์มาใช้ จะเป็นการนำร่องใช้งานหุ่นยนต์ให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ มากขึ้นครับ และคนจริง ๆ อาจจะตกงานก็เป็นได้ครับ ที่มาข้อมูล https://sea.pcmag.com/robotics-1/46057/hyundai-recruits-boston-dynamics-robot-as-watchdog   ——————————————————————————————————————————— ที่มา :…

ผบ.ตร.เปิดโครงการ “สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0” นำเทคโนโลยียกระดับการดูแลความปลอดภัยปชช.

Loading

  MGR Online – ผบ.ตร.เปิดตัวโครงการ “สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0” นำเทคโนโลยีมาใช้ดูแลความปลอดภัยปชช. นำร่อง 15 สถานีตำรวจ แลนด์มาร์กสำคัญ วันนี้(21 ก.ย.)ที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 (Smart Safety Zone 4.0) โดยมีรองผบ.ตร. ผู้ช่วย ผบ.ตร.และหัวหน้าหน่วยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เข้าร่วมโดยเปิดโครงการผ่านระบบออนไลน์ (Virtual Event) พล.ต.อ.สุวัฒน์ กล่าวว่า เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ในวันที่ได้แถลงนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการพูดถึงเรื่องของการจะทำอย่างไรที่จะลดความหวาดกลัวภัยให้กับพี่น้องประชาชน ความท้าทายของการทำงานในปัจจุบันก็จะทราบว่าด้วยสภาพงบประมาณที่จำกัด ด้วยสภาพของระบบราชการ ซึ่งไม่สามารถที่จะเพิ่มกำลังพลได้มากนัก และการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน อาจจะมีปัญหาในหลายๆ ด้าน รวมถึงการมาของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวันแบบก้าวกระโดด เรามีความท้าทายที่จะต้องหาทางเลือกหรือกระบวนคิดวิธีการทำงานใหม่ๆ เพื่อจะให้บรรลุวัตถุประสงค์ “เมื่อก่อนนี้เรามีศัพท์ทางวิชาการเรียกว่าคอมมูนิตี้โปลิศซิง หมายถึงกิจกรรมตำรวจชุมชน เรามีเรื่องการทำความปลอดภัยให้เกิดขึ้นโดยใช้ลักษณะทางกายภาพ แต่วันนี้เรามีเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย ทุกอย่างที่เอามารวมกันเราถึงได้เป็นต้นกำเนิดของโครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 นี้ขึ้นมา…

โกลบอลโฟกัส : “เคเอสเอ็ม” เดอะ มาสเตอร์มายด์

Loading

เอพี   “เคเอสเอ็ม” เดอะ มาสเตอร์มายด์ ตอนที่ อับดุล บาซิท อับดุล คาริม ใช้พาสปอร์ตปากีสถาน เดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาในชื่อ “รามซี ยูเซฟ” เพื่อวางระเบิดอาคารเวิร์ลด์เทรด เซนเตอร์เมื่อปลายปี 1992 นั้น คาหลิด เชค โมฮัมเหม็ด ยังคงอยู่ในคูเวต ส่วน อับดุล ฮาคิม มูรัด เพิ่งกลับมาหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมเป็นนักบินในสหรัฐอเมริกาแล้ว โมฮัมเหม็ด ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ และมีส่วนร่วมในการ “ระดมทุน” เพื่อการก่อการร้ายครั้งนี้ โดยส่งเงินไปให้ บาซิท เป็นจำนวน 660 ดอลลาร์ เพื่อสมทบเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อการร้าย ซึ่ง บาซิท คาดว่าจะใช้เงินทั้งสิ้นราว 3,000 ดอลลาร์ แผนง่ายๆ ของบาซิท ก็คือ หารถแวนคันหนึ่ง บรรจุระเบิดเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะจัดหาได้ แล้วขับเข้าไปจอดไว้ในลานจอดรถใต้ดิน อาคารเหนือ ของอาคารแฝด เวิร์ลด์เทรด เซนเตอร์ คาดหวังว่า เมื่อเกิดระเบิดขึ้น…