สมาคมแพลตฟอร์มวิดีโอและช่องทีวีจีนออกกฎคัดกรองคอนเทนต์ ห้ามชวนเล่นเงินคริปโต , ห้ามอวดรวย , ล้อเลียนผู้นำ

Loading

ภาพโดย 200degrees   China’s Netcasting Services Association สมาคมที่รวมเอาทั้งช่องทีวีและแพลตฟอร์มวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตของจีนรวมกว่า 700 ราย ออกแนวทางการคัดกรองคอนเทนต์ให้สมาชิก โดยรายการมี 100 ประเภทคอนเทนต์ต้องห้าม ในบรรดา 100 ข้อต้องห้าม หลายข้ออาจจะตรงกับแนวทางทั่วไปที่หลายชาติใช้งาน เช่น ห้ามเนื้อหารุนแรง หรือเนื้อหาลามกอนาจาร แต่หลายข้อก็เป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างเฉพาะกับจีน เช่น ปฎิเสธหรือต่อต้านแนวทางสังคมนิยมมาร์กซิส ปฎิเสธความสำเร็จของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ไม่ยึดตามนโยบายจีนเดียว มีข้อความสนับสนุนเอกราช ไต้หวัน , ฮ่องกง , ทิเบต , หรือซินเจียง มีนักแสดงหรือองค์กรที่ไม่สนับสนุนนโยบายจีนเดียวอยู่ในวิดีโอ ล้อเลียนหรือเลียนแบบผู้นำจีน หรือพรรค เนื้อหาพ่อมดหมอผี เนื้อหาอวดรวย สนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส เนื้อหาสนับสนุนการขุดเงินคริปโต , การซื้อขายหรือเก็งกำไรเงินคริปโต กฎการควบคุมเนื้อหาของจีนนั้นมักมีเงื่อนไขมากกว่าชาติอื่นๆ เป็นปกติ ก่อนหน้านี้ก็เคยมีแนวทางการพิจารณาเกมที่มีกฎค่อนข้างละเอียด เช่น ห้ามมีเลือด หรือห้ามมีหมอดู ที่มา – CNSA , The Register…

บลูมเบิร์กเผยจีนใช้อุปกรณ์หัวเว่ยสอดแนมระบบสื่อสารออสเตรเลีย

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานการพบหลักฐานครั้งใหม่ที่บ่งชี้ว่า สายลับของจีนได้ใช้เทคโนโลยีของบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยีเพื่อแฮกข้อมูลลับด้านการสื่อสารของออสเตรเลีย รายงานระบุว่า เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของออสเตรเลียได้แจ้งให้หน่วยข่าวของสหรัฐฯ ทราบในปี 2555 ว่า ออสเตรเลียได้ตรวจพบการใช้เทคโนโลยีที่สามารถบุกรุกเข้าไปในระบบการสื่อสารของออสเตรเลีย โดยในเบื้องต้นตรวจพบการอัพเดตซอฟต์แวร์จากหัวเว่ยที่ถูกดาวน์โหลดด้วยรหัสที่น่าสงสัย และน่าจะมีเจตนาร้าย การบุกรุกเพื่อแฮกข้อมูลข่าวกรองและนำไปแชร์ต่อนั้น ได้รับการยืนยันโดยอดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของออสเตรเลียกว่า 20 คน ซึ่งได้รับข้อมูลดังกล่าวจากทั้งหน่วยงานของออสเตรเลียและสหรัฐฯ ระหว่างปี 2555 – 2562 เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ ตั้งข้อสงสัยว่า จีนได้ใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ยเป็นช่องทางในการจารกรรมข้อมูล แต่ก็ไม่เคยมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการบุกรุกดังกล่าว รายงานข่าวได้ช่วยคลายความสงสัยว่าเพราะเหตุใดบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง จึงช่วงชิงการเป็นผู้นำในการสร้างโครงข่าย 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้กับประชาชนทั่วโลก ขณะที่ข้อมูลระบุว่า บริษัทหัวเว่ยครองมูลค่าตลาดอุปกรณ์ด้านการสื่อสารทั่วโลกเป็นวงเงินสูงกว่า 9 หมื่นล้านดอลลาร์ และพยายามแข่งขันกับบริษัทอีริคสันของสวีเดน และบริษัทโนเกียของฟินแลนด์ อย่างไรก็ดี สหรัฐ , ออสเตรเลีย , สวีเดน และสหราชอาณาจักร ต่างก็พากันแบนหัวเว่ยไม่ให้มีส่วนร่วมในโครงข่าย 5จี ขณะที่กว่า 60 ประเทศทั่วโลกได้ลงนามในโครงการของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ โดยให้คำมั่นว่าจะหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ของจีนในระบบการสื่อสารของประเทศ ซึ่งความพยายามดังกล่าวซึ่งรวมถึงการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่อหัวเว่ยนั้น ส่งผลให้การเติบโตของหัวเว่ยชะลอลง และทำให้ความสัมพันธ์กับจีนมีความตึงเครียดมากขึ้น “ไมค์…

5 เทคนิคจับโกหกง่าย ๆ เพราะ FBI บอกว่าการอ่านภาษากายนั้น ‘ไร้สาระ’

Loading

  ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ยินมาโดยตลอดคือถ้าอยากจับผิดโกหกใคร ก็ให้สังเกตอาการปฏิกิริยาของฝ่ายตรงข้าม แต่นักจิตวิทยาสมัยใหม่ก็ออกมาโต้แย้งว่าวิธีนี้ไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่เพราะทุกคนมีภาษากายที่แตกต่างกัน ทำให้การสังเกตภาษากายนั้นวัดไม่ได้ว่าคนนั้นพูดจริงหรือโกหกกันแน่ โทมัส ออร์เมอรอด (Thomas Ormerod) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย University of Sussex เขียนในการสัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ว่า “ไม่มีสัญญาณที่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นพร้อมกับการหลอกลวง ผมหัวเราะคิกคัก หลายคนอาจจะดูจริงจังมากขึ้น บางคนสบตาตรง ๆ บางคนกลับหลบตา” พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ‘ความประหม่า’ ที่เป็นเหมือนสัญญาณของความไม่ซื่อตรงนั้นไม่ใช่ตัวบ่งบอกที่ดีเท่าไหร่นัก โจ นาวาโร (Joe Navarro) อดีตเจ้าหน้าที่เอฟบีไอ (FBI) บอกว่าการกอดอก มองไปทางอื่น เอามือจับปาก หรือสัญญาณทางร่างกายหลาย ๆ อย่างนั้นเป็นเรื่องที่ “ไร้สาระ” ทั้งสิ้น ย้อนแย้งกับความเชื่อโดยทั่วไป สิ่งที่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนและใช้ได้ดีกว่าในการจับโกหกคนอื่นคือสิ่งที่พวกเขาพูดออกมา มากกว่าที่จะไปจ้องจับผิดภาษากายของพวกเขา ที่จริงมันมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างเจาะลึก แต่ในบทความนี้เราจะมาเกริ่นเป็นเวอร์ชันสั้น ๆ เผื่อว่าจะได้เอาเทคนิคนี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ลองสังเกตห้าสัญญาณนี้ถ้าอยากรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกหกอยู่รึเปล่า ก่อนที่จะจับคนโกหกได้ สิ่งที่เราต้องเข้าใจก่อนว่าการโกหกเกิดจากอะไร ในหลาย ๆ งานวิจัยบอกว่าคนที่กำลังโกหกเรื่องที่สำคัญอยู่นั้นส่วนใหญ่จะคิดมาแล้วค่อนข้างเยอะ คนที่โกหกบ่อยครั้งที่จะเริ่มโกหกโดยการปูพื้นหลังของเรื่องก่อน ซึ่งเป็นประเด็นที่พวกเขาอยากจะสื่อออกมา รู้ว่ากำลังจะโกหกเรื่องอะไร…

Metaverse มาแล้วต้องระวังตรงไหน!? Kaspersky แนะ 5 จุดปกป้องข้อมูลตัวตนดิจิทัล

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) มองทุกคนต้องเตรียมพร้อมปกป้องข้อมูลตัวตนดิจิทัลท่ามกลางกระแสความสนใจในเมตาเวิร์ส (Metaverse) ย้ำ 5 มุมมองต้องรู้เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคำนึงถึงความปลอดภัยของอวาตาร์ดิจิทัล และภัยคุกคามที่อาจเกี่ยวข้องกับ Metaverse 1 ใน 5 มุมมองที่แคสเปอร์สกี้เน้นย้ำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคำนึงถึงความปลอดภัยและภัยคุกคามที่อาจเกี่ยวข้องกับ Metaverse คือการโจรกรรมข้อมูลตัวตนและการยึดบัญชีโดยแอนะล็อกเข้ากับโซเชียลเน็ตเวิร์กและเกมที่มีผู้เล่นหลายคน แคสเปอร์สกี้มองว่าอาจทำให้เกิดการสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคล (เช่น ข้อมูลการติดต่อ หรือ meta-analogue) ซึ่งอาจนำไปสู่การแบล็กเมล์ “นอกจากนี้ ยังมีการขโมยสกุลเงินเสมือน เงินตราจริง หรือเงินคริปโตจากบัตรและวอลเล็ตที่เชื่อมโยงกับบัญชีหรือสิ่งของเสมือนจริงราคาแพง เช่น สกินหรือเครื่องแต่งกาย รวมถึงการใช้อวาตาร์เพื่อฉ้อโกง เช่น การขอยืมเงินจากเพื่อนและครอบครัว” แถลงการณ์ระบุ คำว่า metaverse นั้นเป็นคำที่คิดขึ้นมาโดย นีล สตีเวนสัน (Neal Stevenson) ในนวนิยายเรื่อง Snow Crash จากปี 1992 ซึ่งกล่าวถึง metaverse ว่าเป็นการพัฒนาอินเทอร์เน็ตขั้นตอนต่อไป เป็นโลกดิจิทัลที่รวมโลกกายภาพเข้ากับ augmented reality และ virtual reality แคสเปอร์สกี้มองว่าหลังจาก Facebook…

สหรัฐเผยเอกสารลับเกือบ 1,500 หน้า เรื่องคดีลอบสังหารประธานาธิบดีเจเอฟเค

Loading

  สำนักงานบริหารของประธานธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน แจ้งว่า มีการเปิดให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลบางส่วนในคดีลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ซึ่งเคยกำหนดไว้ให้เป็นเอกสารลับมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา หอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐเปิดเผยเอกสารลับจำนวน 1,491 หน้า เกี่ยวกับคดีลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี หลังจากที่เขาโดนยิงเสียชีวิตที่เมืองดัลลัส เมื่อเกือบ 60 ปีก่อน ในเดือนตุลาคมปีนี้ สำนักงานสืบสวนของรัฐบาลกลางได้ร้องขอให้ประธานาธิบดีไบเดน เลื่อนการเปิดเผยเอกสารบางส่วนของคดีดังกล่าว ซึ่งยังคงถูกเก็บไว้เป็นความลับจากสาธารณชน โดยได้รับคำตอบตกลงและมีการออกคำสั่งให้เลื่อนกำหนดการเผยแพร่ออกไปจนถึงวันที่ 15 ธ.ค. อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไบเดนก็แนะว่า หอจดหมายเหตุแห่งชาติควรจะเปิดเผยข้อมูลใด ๆ ก็ตามที่ปัจจุบันนี้ถูกเก็บซ่อนจากสาธารณชน แต่ทางสำนักงานสืบสวนไม่ได้ร้องขอให้มีการเลื่อนกำหนดการเปิดเผยออกไป สำนักงานบริหารของไบเดน กล่าวว่า การที่ต้องมีการเลื่อนกำหนดการเปิดเผยเอกสารลับบางส่วนออกไปนั้น เนื่องจากมีข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ ปฏิบัติการสืบข่าวกรอง การบังคับใช้กฎหมายหรือปฏิบัติการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในเอกสารจำนวน 1,491 หน้า ที่เปิดเผยออกมาเมื่อวันพุธที่ผ่านมานั้น มีเอกสารนับพันหน้าที่ประชาชนไม่เคยเห็นมาก่อนเกี่ยวกับบันทึกการสืบสวนและเอกสารต่าง ๆ ที่จัดเตรียมโดยสำนักงานข่าวกรอง , สำนักงานสืบสวนกลาง , กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เอกสารดังกล่าวอยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายว่าด้วยการเก็บรวบรวมบันทึกการลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี ปี 2535…

ทำกันได้ แฮกเกอร์ลบข้อมูลฉีดวัคซีน จ้องโจมตีระบบสาธารณสุข

Loading

  แฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่ากลุ่ม Lapsus $ อ้างว่าพวกเขาได้ขโมยข้อมูลจำนวน 50TB โดยเป็นข้อมูลใบรับรองการฉีดวัคซีน COVID-19 จากเครือข่ายที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุขของบราซิล . การโจมตีดังกล่าวเปิดเผยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม เมื่อหน้าเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขถูกแทนที่ด้วยรูปภาพจากกลุ่ม Lapsus $ โดยอ้างว่ากระทรวงจะต้องติดต่อกับพวกเขากลับไปเพื่อกู้คืนข้อมูลที่กลุ่มขโมย คัดลอก และลบออกจากเครือข่าย . สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ตอนนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขของบราซิล Rodrigo Cruz ยืนยันว่ากระทรวงกำลังพยายามกู้คืนเครือข่ายให้กลับคืนมา ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลวัคซีน COVID-19 ทั้งในเรื่องของงานวิจัย และยาที่จ่ายไปก่อนหน้า . ยกเว้นเสียแต่ข้อมูลการบันทึกการรีบวัคซีนของปราชาชนที่สามารถกู้กลับมาได้แล้ว และกระทรวงกำลังดำเนินการสร้างระบบขึ้นใหม่ที่มาใช้สำหรับการลงทะเบียนและออกใบรับรองการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม การสูญเสียการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ทำให้บราซิลต้องชลอนโยบายที่กำหนดให้ผู้เดินทางที่ไม่ได้รับวัคซีนต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 และกักกันเป็นเวลา 5 วันหลังจากเดินทางเข้าประเทศ นโยบายดังกล่าวควรจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ธันวาคม แต่ต้องล่าช้าไปจนถึงวันที่ 18 ธันวาคมเลยทีเดียว . ข้อมูลจาก https://sea.pcmag.com/security/47926/hackers-tried-to-hold-brazils-covid-19-vaccine-data-to-ransom     ที่มา : techhub       …