อัฟกานิสถาน : ตาลีบัน, ไอเอส และอัลไคดา ความเหมือนและต่างของ 3 กลุ่มติดอาวุธมุสลิม

Loading

  นักรบจีฮัดทั่วโลกต่างเฉลิมฉลองหลังกลุ่มตาลีบันได้กลับขึ้นสู่อำนาจในอัฟกานิสถานอีกครั้ง ซึ่งพวกเขาถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่เหนือความเกรียงไกรของกองทัพตะวันตก ทว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างหวั่นเกรงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดยุคใหม่ของอุดมการณ์จีฮัด หรือการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียกลาง โดยภัยคุกคามใหญ่ที่สุดนั้นมาจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอัลไคดา หรือ อัลกออิดะห์ และกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม หรือ ไอเอส ที่อ่อนกำลังลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ ในข้อตกลงที่ทำกับสหรัฐฯ ตาลีบันรับปากว่าจะไม่ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มสุดโต่งที่มีเป้าหมายในการโจมตีชาติตะวันตก อย่างไรก็ตามสายสัมพันธ์ของตาลีบันกับกลุ่มอัลไคดายังคงแน่นแฟ้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ากลุ่มไอเอส ซึ่งเป็นคู่แข่งกับอัลไคดานั้น จะต้องเผชิญแรงกดดันที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขายังมีความสำคัญและอิทธิพลอยู่ ส่วนกลุ่มรัฐอิสลามแห่งจังหวัดโคราซัน หรือ ไอเอส-เค ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของไอเอสในอัฟกานิสถานนั้น ไม่รอช้า ก่อเหตุโจมตีพื้นที่รอบนอกสนามบินกรุงคาบูลเมื่อ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 170 คน ในจำนวนนี้ 13 คนเป็นเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แต่นอกไปจากอุดมการณ์พื้นฐานเรื่องการทำจีฮัดแล้ว กลุ่มติดอาวุธมุสลิม 3 กลุ่มหลักนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ดร.คอลิน คลาร์ก นักวิจัยและนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากศูนย์ซูฟานในนครนิวยอร์ก ได้ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีและสรุปเรื่องนี้ไว้ว่า “ตาลีบันเป็นผู้เล่นสำคัญที่สุดในอัฟกานิสถาน อัลไคดาเป็นกลุ่มนักรบจีฮัดข้ามชาติที่กำลังฟื้นฟูเครือข่ายขึ้นอีกครั้ง กลุ่มไอเอสก็เช่นกัน แต่กลุ่มนี้จะต้องต่อสู้หนักมากกว่า เพราะเป็นศัตรูตัวฉกาจของทั้งอัลไคดาและตาลีบัน”   ต้นกำเนิด   อัลไคดาและตาลีบันเกิดขึ้นจากการต่อต้านการรุกรานของโซเวียตในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 และจากสถานการณ์วุ่นวายภายในอัฟกานิสถานช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ขณะที่ไอเอสถือกำเนิดขึ้นในอีกหลายปีให้หลัง จากสมาชิกที่เหลืออยู่ของกลุ่มอัลไคดาในอิรัก…

ศาลสหรัฐฯ รับคำฟ้อง “สิริ-กูเกิล” แอบฟังเสียงผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

Loading

  เหล่าบริษัทเทคโนโลยีมีความพยายามมานานที่จะกระตุ้นให้ลูกค้ามีอุปกรณ์ฟังคำสั่งในบ้านและในกระเป๋า และโน้มน้าวอย่างไม่ลดละที่จะให้ลูกค้าพึ่งพาผู้ช่วยคำสั่งเสียงในทุกๆ กิจวัตรประจำวัน แต่กำลังมีความกังวลมากขึ้นว่า อุปกรณ์เหล่านั้นอาจบันทึกเสียงในเวลาที่เราไม่ได้เรียกใช้มันด้วยซ้ำ เมื่อวันพฤหัสบดี (2) ผู้พิพากษาตัดสินว่า แอปเปิลจะต้องต่อสู้กับคำร้องของเหล่าผู้ใช้ในศาลรัฐบาลกลางในแคลิฟอร์เนีย ที่กล่าวหาว่า สิริ ผู้ช่วยคำสั่งเสียงของบริษัททำการบันทึกบทสนทนาส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้พิพากษา ระบุว่า คำฟ้องส่วนใหญ่ยังเดินหน้าต่อได้ ถึงแม้แอปเปิลจะร้องขอให้ปัดตกแล้วก็ตาม ผู้พิพากษา เจฟฟรี เอส.ไวท์ แห่งศาลแขวงรัฐบาลกลางในโอ๊กแลนด์ ปัดตกคำร้องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายทางเศรษฐกิจของผู้ใช้ แต่เขาระบุว่า คำร้องเหล่านั้น ซึ่งกำลังพยายามทำให้การฟ้องร้องครั้งนี้เป็นการฟ้องร้องแบบกลุ่ม ยังสามารถหาข้อพิสูจน์ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า สิริเปิดเองอย่างไม่ถูกต้องและบันทึกการสนทนาที่มันไม่สมควรบันทึกและส่งข้อมูลดังกล่าวไปให้บุคคลที่สาม ซึ่งถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ คำฟ้อองนี้เป็นหนึ่งในหลายๆ คำฟ้องต่อแอปเปิล กูเกิล และแอมะซอน ที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยผู้ช่วยคำสั่งเสียง เทคโนโลยีเหล่านั้น ซึ่งมักถูกเรียกในชื่อ สิริ อเล็กซา และกูเกิล ถูกสร้างมาเพื่อช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน มันสามารถเชื่อมต่อกับลำโพงและเปิดเล่นเพลง หรือตั้งเวลา หรือเพิ่มสินค้าลงในรายการสั่งซื้อ บริษัทเหล่านั้นปฏิเสธว่า ผู้ช่วยคำสั่งเสียงไม่ได้ฟังการสนทนาเพื่อจุดประสงค์อื่นใดนอกจากการช่วยทำงานหรือเล่นเพลง โฆษกหญิงของแอมะซอน เฟธ ไอเชน กล่าวในถ้อยแถลงว่า แอมะซอนจะบันทึกเสียงก็ต่อเมื่อตรวจพบ “คำสั่งเรียกใช้” เท่านั้น และจะมีเสียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกนำไปตรวจสอบเอง เธอกล่าวว่า ผู้ใช้สามารถจัดการการบันทึกเสียงและปฏิเสธการตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เมื่อปี…

นักรบ IS แก๊ง ‘เดอะบีเทิลส์’ ขึ้นศาลสหรัฐฯ รับสารภาพข้อหา ‘ก่อการร้าย-ฆ่าตัดหัว’

Loading

  หนึ่งในสมาชิกกลุ่มนักรบรัฐอิสลาม (ไอเอส) แก๊ง ‘เดอะบีเทิลส์’ ซึ่งก่อเหตุฆ่าตัดหัวชาวอเมริกันในซีเรีย ยอมรับสารภาพ 8 ข้อหาหนักระหว่างถูกดำเนินคดีในสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ (2 ก.ย.) ซึ่งรวมถึงความผิดฐานจับคนเป็นตัวประกันจนถึงแก่ความตาย และสมคบคิดเพื่อสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย อเล็กซานดา โคตีย์ (Alexanda Kotey) เป็นหนึ่งในสองนักรบไอเอสที่ถูกทหารอเมริกันจับกุมได้ในอิรัก ก่อนจะนำตัวมายังสหรัฐฯ เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ระหว่างขึ้นศาลที่เมืองอเล็กซานเดรีย รัฐเวอร์จิเนีย โคตีย์ รับสารภาพต่อผู้พิพากษา ที.เอส.เอลลิส ว่า ได้สังหาร เจมส์ โฟลีย์ (James Foley) และสตีเวน ซ็อตลอฟฟ์ (Steven Sotloff) สองผู้สื่อข่าวชาวอเมริกัน รวมถึงเคย์ลา มุลเลอร์ (Kayla Mueller) และปีเตอร์ คาสซิก (Peter Kassig) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ แม้ความผิดทั้งหมดจะมีระวางโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต แต่รัฐบาลสหรัฐฯ เคยแจ้งต่อเจ้าหน้าที่อังกฤษไว้แล้วว่าอัยการจะไม่เสนอโทษประหารสำหรับ โคตีย์ ผู้พิพากษาเอลลิส ระบุว่า สหรัฐฯ และอังกฤษมีข้อตกลงเบื้องต้นว่าจะให้ โคตีย์…

รู้จัก “LockBit” แรนซัมแวร์ ABCD ตัวร้ายที่โจมตีสายการบินในไทย

Loading

  ตามติดแรนซัมแวร์ LockBit ที่ถูกค้นพบในเดือนกันยายน 2019 พบหลายองค์กรตกเป็นเหยื่อ ตั้งแต่องค์กรในสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครน นอกจากนี้ ยังพบการโจมตีในหลายประเทศทั่วยุโรป ทั้งฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และเยอรมนี นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ไม่นานนี้เราเพิ่งได้เห็นภัยคุกคามไซเบอร์ที่โจมตีบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ในประเทศไทย รูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์มีเป้าหมายและมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีขอบเขตการโจมตีที่รุนแรงมากขึ้นอีก โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สายการบินชั้นนำของประเทศไทยรายหนึ่งได้ประกาศเหตุการณ์การละเมิดข้อมูลต่อสาธารณะ “ทั้งหมดนี้เกิดพร้อมกับที่กลุ่มแรนซัมแวร์ LockBit ได้ประกาศผลงานร้ายและอ้างว่าจะเปิดเผยไฟล์ข้อมูลบีบอัดขนาด 103 GB” แรนซัมแวร์ LockBit ถูกค้นพบในเดือนกันยายน 2019 ซึ่งเดิมมีชื่อว่าแรนซัมแวร์ “ABCD” ออกแบบมาเพื่อบล็อกการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแลกกับค่าไถ่ อาชญากรไซเบอร์ปรับใช้แรนซัมแวร์นี้บนตัวควบคุมโดเมนของเหยื่อ จากนั้นจะแพร่กระจายการติดเชื้อโดยอัตโนมัติ และเข้ารหัสระบบคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงได้ทั้งหมดบนเครือข่าย แรนซัมแวร์นี้ใช้ในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายประเภทเอ็นเทอร์ไพรซ์และองค์กรอื่นๆ เป้าหมายในอดีตที่โดดเด่น ได้แก่ องค์กรในสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครน นอกจากนี้ ยังพบการโจมตีในหลายประเทศทั่วยุโรป (ฝรั่งเศส…

ทำลายพยานหลักฐานในการกระทำความผิด มีโทษอย่างไร

Loading

  สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ สัปดาห์นี้มีเรื่องที่น่าสนใจและประชาชนให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับประเด็นของผู้กำกับการ สถานีตำรวจแห่งหนึ่งกับพวกรวม 7 คน ร่วมกันเอาถุงพลาสติกคลุมหัวผู้ต้องหาในคดียาเสพติดจนถึงแก่ความตาย เหตุเกิดในสถานีตำรวจ ซึ่งเป็นสถานที่ราชการ มีประชาชนพลุกพล่าน และมีกล้องวงจรปิด ต่อมามีข่าวแพร่สะพัดออกมา รวมถึงมีคลิปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้วันที่เกิดเหตุ จึงทำให้ประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชน ตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงพฤติการณ์ของผู้กำกับการสถานีตำรวจและพวกดังกล่าวมากมาย จนกระทั่งศาลอนุมัติออกหมายจับ และจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้ครบทั้ง 7 คน พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาเบื้องต้น รวมถึงยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาล เนื้อหาตามคำร้องได้บรรยายพฤติการณ์ของการกระทำความผิด และแจ้งข้อกล่าวหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 157 มาตรา 288 มาตรา 289 และมาตรา 309 ทั้งนี้ การตั้งข้อกล่าวหาอาจจะเปลี่ยนแปลงไป หรือ อาจจะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีกก็ได้ ขึ้นอยู่กับการสืบสวนสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐานในสำนวนคดี ในคดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่ง คือ หลังจากก่อเหตุแล้ว ผู้กำกับการสถานีตำรวจดังกล่าว มีคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ลบข้อมูลในเครื่องบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิด ตลอดจนให้ถอดกล้องวงจรปิดภายในสถานีตำรวจทั้งหมด การกระทำดังกล่าวจะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร ข้อมูลในเครื่องบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิด ถือเป็นหลักฐานสำคัญในการคลี่คลายคดี เป็นข้อมูลในการบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่เกิดเหตุ ดังนั้น การทำลายพยานหลักฐานในการกระทำความผิด เพื่อช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง จึงมีความผิด…

ETDA เดินหน้าผลักดัน Digital Standards Master Plan

Loading

  จากบทบาทหน้าที่ของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการขับเคลื่อนพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และสนับสนุนคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) ซึ่งพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 มาตรา 5 (2) กำหนดให้ ETDA จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐานที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ แผนเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (Digital Economy) ซึ่งมีเป้าหมายและแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 มาตรา 6 (4) การส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ใน การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องกันเพื่อให้การทำงานระหว่างระบบสามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้อย่างมีความมั่นคงปลอดภัย อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมตลอดทั้งทำให้ระบบหรือการให้บริการมีความน่เชื่อถือ และแนวทางการส่งเสริมให้เกิด การใช้งานเท้คโนโลยีดิจิทัลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และมีหลักประกันการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของประชาชนอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2564 ETDA จึงได้จัดทำแผนดังกล่าวที่บูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์และนโยบายระดับชาติ และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง รวมทั้งมีการบูรณาการ การทำงานระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมภาคเอกชนในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่อไป     อย่างไรก็ดี จากการหารือร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนฉบับนี้ต้องดำเนินการเปลี่ยนชื่อแผนเป็น “แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนามาตรฐานดิจิทัล ระยะที่…