สปาย vs สปาย (3)

Loading

  บทความโดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์   ผู้อ่านบทความนี้ในสองตอนแรก หารือว่า หากจะดูการ์ตูนฝรั่ง Spy vs Spy จะหาดูได้ที่ไหน ขอแนะว่าให้เปิดดูในกูเกิ้ล จะพบการ์ตูนดังกล่าวซึ่งเป็นการเชือดเฉือนกันระหว่างนกสองตัวสีขาวกับสีดำ ใครดูแล้วจะติดใจ และชมคนเขียนการ์ตูนว่าคิดมุกพวกนี้ขึ้นมาได้อย่างไร   ผู้อ่านอีกท่านหนึ่งบอกว่า อ่านบทความสองตอนที่ผ่านมาทำให้รู้เรื่องหน่วยข่าวของโลกมากมาย และอยากให้ใช้คำว่า “หน่วยสืบราชการลับ” แทนเพราะดูเท่ ตื่นเต้น ลึกลับมากกว่า อีกทั้งชอบใจหน่วยมอสสาดของอิสราเอล ซึ่งไทยน่าจะเรียนรู้จากหน่วยนี้มากกว่า เพราะเป็นประเทศขนาดเล็กทีมีทรัพยากรจำกัดคล้ายกัน แต่เราต้องปรับคุณภาพของคนกันอีกมาก   ผู้อ่านอาจสงสัยว่า ผู้เขียนไม่มีอะไรจะเขียนแล้วหรืออย่างไร จึงหากินกับการเขียนเรื่องหน่วยข่าวกรองของโลกสามสัปดาห์ต่อเนื่องกัน ขอเรียนว่า ที่เขียนหัวข้อนี้เป็นเรื่องยาวเพราะมีผู้อ่านบางคนอยากรู้ สำหรับผู้เขียนเองเห็นว่า “การข่าวกรองเป็นพลังอำนาจแห่งชาติ” อย่างหนึ่งนอกเหนือจากการทหาร เศรษฐกิจ การทูต สังคมวัฒนธรรม ฯลฯ   การข่าวกรองแปลมาจาก Intelligence ในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำนี้มีความหมายพื้นฐานคือ สติปัญญา ความเฉลียดฉลาด ความรอบรู้ ดังนั้น ข่าวกรองจึงมาจากการใช้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด เข้าต่อสู้หรือเชือดเฉือนกันโดยมีผลประโยชน์และความมั่นคงแห่งชาติเป็นเดิมพัน ใครมี “หู ตา”…

ออสเตรเลียพร้อมขยายเวลาอพยพจากอัฟกานิสถาน

Loading

  ออสเตรเลียพร้อมขยายเวลาอพยพออกจากอัฟกานิสถาน หากสหรัฐชะลอการถอนกำลังทหาร นางมาริส เพย์น รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียเปิดเผยว่า ออสเตรเลียยินดีจะให้ความช่วยเหลืออพยพประชาชนออกจากอัฟกานิสถานหลังวันที่ 31 ส.ค. หากสหรัฐตัดสินใจชะลอการถอนกำลังทหาร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐเปิดเผยว่า กองกำลังทหารสหรัฐอาจอยู่ในอัฟกานิสถานเกินเส้นตายการถอนกำลังในวันที่ 31 ส.ค. เพื่อช่วยอพยพชาวอเมริกัน นางเพย์น กล่าวว่า ออสเตรเลียได้อพยพพลเมืองของออสเตรเลียและชาวอัฟกานิสถานประมาณ 1,000 รายจากกรุงคาบูลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมเสริมว่า ออสเตรเลียยินดีที่จะส่งเครื่องบินอพยพเพิ่มเติมอีก นางเพย์น แถลงต่อสื่อมวลชนว่า “หากสหรัฐขยายเวลาออกไป เราก็พร้อมอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการอพยพที่สนามบินนานาชาติฮามิด คาร์ไซ” แต่ไม่ได้ระบุว่าเจ้าหน้าที่ทหารของออสเตรเลีย 250 นายที่ประจำการในอัฟกานิสถานจะยังคงอยู่หรือไม่ หากสหรัฐยืดเวลาการถอนกำลัง ทั้งนี้ ออสเตรเลียถูกกดดันให้รีบช่วยเหลือพลเมืองออสเตรเลียและชาวอัฟกานิสถานที่เคยทำงานให้ออสเตรเลีย หลังจากที่ออสเตรเลียเข้ามาเกี่ยวพันกับสถานการณ์ในอัฟกานิสถานเป็นเวลาถึง 2 ทศวรรษ จนมีบุคลากรทหารของออสเตรเลียเสียชีวิตไป 41 ราย ออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังนานาชาติที่นำโดยองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ(นาโต้)ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ต่อสู้กับกลุ่มตาลีบันและฝึกอบรมกองกำลังอัฟกานิสถาน ———————————————————— Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956147 โดย : กรุงเทพธุรกิจ / 23 สิงหาคม 2564

เดือด!สังเวย7ศพเหตุยิงต่อสู้สนามบินคาบูล

Loading

สังเวย7ศพเหตุยิงต่อสู้ที่สนามบินคาบูล อัฟกานิสถานระหว่างกองกำลังไม่ทราบฝ่ายกับทหารตะวันตก กองทัพเยอรมนีเปิดเผยว่า เกิดเหตุยิงต่อสู้กันระหว่างกลุ่มกองกำลังไม่ทราบฝ่าย, กองกำลังรักษาความปลอดภัยของชาติตะวันตก และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของอัฟกานิสถาน ที่ประตูทิศเหนือของสนามบินกรุงคาบูลในวันนี้ ขณะที่มีชาวอัฟกานิสถานและชาวต่างชาติหลายพันคนอยู่ในสนามบินเพื่อพยายามหนีจากการปกครองของกลุ่มตาลีบัน กองทัพเยอรมนีทวีตข้อความว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชาวอัฟกานิสถานเสียชีวิต 7 ราย และอีก 3 รายได้รับบาดเจ็บจากการยิงต่อสู้ซึ่งมีกองกำลังของสหรัฐและเยอรมนีเกี่ยวข้องด้วย โดยไม่ได้ระบุว่าชาวอัฟกานิสถานที่เสียชีวิตเป็นหนึ่งในนักรบของกลุ่มตาลีบันที่ถูกส่งมารักษาความปลอดภัยสนามบินหรือไม่ สนามบินกรุงคาบูลตกอยู่ในความวุ่นวายนับตั้งแต่กลุ่มตาลีบันเข้ายึดกรุงคาบูลในวันที่ 15 ส.ค. ขณะกองทัพสหรัฐและนานาชาติพยายามอพยพพลเมืองของตนเอง รวมถึงชาวอัฟกานิสถานที่อ่อนแอออกจากประเทศ ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นักรบของกลุ่มตาลีบันไล่ให้ฝูงชนกลับไปยังสนามบิน ซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 วันหลังจากที่มีชาวอัฟกานิสถาน 7 รายเสียชีวิตในเหตุเหยียบกันตาย เนื่องจากกองกำลังต่างชาติใกล้ที่จะถอนทหารออกจากประเทศ เจ้าหน้าที่ตาลีบันระบุว่า กองกำลังต่างชาติในอัฟกานิสถานยังไม่ได้ขยายเส้นตายที่จะออกจากอัฟกานิสถานที่กำหนดไว้วันที่ 31 ส.ค. หลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐกล่าวว่า กองทัพสหรัฐอาจจะอยู่นานกว่าเดิมเพื่อจัดการการอพยพที่ “ยากลำบากและเจ็บปวด” กลุ่มตาลีบันเข้ายึดครองอัฟกานิสถานได้เมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่สหรัฐและชาติพันธมิตรถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานหลังจากสงครามที่กินเวลากว่า 20 ปี ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อโค่นกลุ่มตาลีบันและกลุ่มอัล-กอดิอะห์ หลังเหตุโจมตี 9/11 ———————————————————— Link :  https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956191 โดย : กรุงเทพธุรกิจ / 23 สิงหาคม 2564

สปาย vs สปาย (2)

Loading

  บทความโดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์   ตามที่เขียนตบท้ายไว้ในบทความสัปดาห์ที่แล้วว่า สำหรับตัวผู้เขียนเองนั้นยังพอใจที่จะให้ “มอสสาด”หรือหน่วยข่าวกรองอิสราเอลเป็นหน่วยข่าวกรองชั้นเยี่ยมหรืออันดับหนึ่งของโลก ทั้งที่เป็นหน่วยขนาดเล็กทั้งกำลังพล งบประมาณ ฯลฯ เมื่อเปรียบเทียบหน่วยข่าวกรองอเมริกัน รัสเซีย จีน ซาอุดิอาราเบีย อิหร่าน ฯลฯ ทั้งในด้านงบประมาณ กำลังพล ฯลฯ โดย “มอสสาด” เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับประเทศเล็ก ๆ หรือขนาดกลางที่เผชิญกับภัยคุกคามขนาดใหญ่ ในการรักษาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน   อิสราเอลมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาตัวรอดให้ได้ หลังจากที่คนยิวนับสิบล้านคนถูกนาซีเยอรมันสมัยฮิตเลอร์รมควันพิษตาย จนแทบจะไม่เหลือเผ่าพันธ์ยิว พอคนยิวทั่วโลกมาอยู่ในดินแดนปัจจุบันซึ่งสหประชาชาติกำหนดให้ มีทางออกทางเดียวด้านที่ติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียน ที่เหลือถูกล้อมด้วยชาติมุสลิมน้อยใหญ่ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอด แม้เป็นชนชาติที่อาภัพ แต่สิ่งที่พระเจ้าประทานให้คนยิวก็คือ “ สมอง “ เพราะเป็นที่รู้กันว่าคนยิวฉลาดมาก นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกทีคิดค้นระเบิดปรมาณูได้ก็มีเชื้อสายยิว   คนยิวมีทางเลือกเดียวเท่านั้นคือ “อยู่” หรือ “ตาย” เชื้อชาติยิวต้องดำรงอยู่ตลอดไป คนยิวทุกคนพอลืมตาดูโลกก็อยู่ในภาวะสงครามจนกระทั่งตาย ชาวยิวชายหญิงทุกคนต้องเป็นทหาร แต่เป็นทหารกองเกินที่ฝึกแล้วก็ไปทำมาหากินตามปกติ สองปีทีก็มาฝึกหรือซ้อรบกันสักทีเพื่อให้เกิดสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะทำสงครามปกป้องบ้านเมืองได้ตลอดเวลา   คนไทยเรามีข้าวกิน มีน้ำดื่มน้ำใช้ อย่างฟุ่มเฟือย แต่อิสราเอลแร้นแค้นไปทั้งหมด ต้นน้ำของแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงคนอิสราเอลส่วนใหญ่ของประเทศอยู่บนที่ราบสูงโกลาน…

จีนเห็นชอบผ่านร่างกฎหมายปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  สภาประชาชนแห่งชาติของจีนเห็นชอบผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ออนไลน์ เมื่อ 20 ส.ค. ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่1พ.ย. นับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นในการพยายามจัดการควบคุมไซเบอร์สเปซของจีน หลังจากก่อนหน้านี้ได้สั่งให้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีต่างๆ จัดเก็บข้อมูลผู้ใช้ให้ปลอดภัยมากขึ้น ท่ามกลางเสียงร้องเรียนของประชาชนถึงการจัดการที่ผิดพลาด และการใช้ในทางที่ผิดจนเกิดการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ กฎหมายดังกล่าวระบุว่า การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนและสมเหตุสมผล และกำหนดเงื่อนไขที่บริษัทสามารถรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากบุคคล ตลอดจนกำหนดแนวทางคุ้มครองข้อมูลเมื่อมีการถ่ายโอนข้อมูลออกนอกประเทศ และต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตามกฎหมาย หลังจากทางการจีนออกกฎหมายความปลอดภัยของข้อมูลมาก่อนหน้านี้ โดยให้บังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ย. ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้สร้างแรงกดดันต่อบริษัทเทคโนโลยีจีนอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าทางการจีนเข้มงวดต่อการรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูล และบริษัทที่ฝ่าฝืนอาจถูกเพ่งเล็งและถูกตรวจสอบได้. ———————————————————— Link : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2172372 โดย : ไทยรัฐ/ 21 สิงหาคม 2564

ไบเดนเสนอชื่อนักการทูตอาชีพให้ประจำการที่จีน

Loading

  ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ส่งสัญญาณชัดมากขึ้นเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐต่อจีน โดเสนอชื่อนักการทูตอาชีพให้ทำหน้าที่เอกอัครราชทูตคนใหม่ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ว่าทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดน เสนอชื่อนายนิโคลัส เบิร์นส ให้เข้ารับการพิจารณาคุณสมบัติจากวุฒิสภาสหรัฐ เพื่อให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกรุงปักกิ่งคนใหม่ แทนนายเทอร์รี แบรนสแตด ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง เมื่อเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว ทั้งนี้ หากได้รับการอนุมัติ เบิร์นส ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 65 ปี จะเป็นนักการทูตอาชีพคนแรกในรอบหลายทศวรรษของสหรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกรุงปักกิ่ง ท่ามกลางความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 1 และ 2 ของโลก และกำลังมีความขัดแย้งยืดเยื้อกันในอีกหลายเรื่องด้านความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ ไต้หวัน และเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน     เนื่องจากตลอดระยะเวลาประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงปักกิ่งมาจากการที่ประธานาธิบดีเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ทำหน้าที่นี้ โดยแบรนสแตด ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตคนล่าสุดนั้น เป็นอดีตผู้ว่าการรัฐไอโอวา สำหรับประวัติโดยสังเขปของเบิร์นสนั้น สำเร็จการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ ทำงานอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐมานานร่วม 40 ปี…