1. การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หลายคน สามารถทำในเอกสารเดียวกันได้ไหม
ตอบ : การลงลายมือชื่อหลายบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำได้ เช่น การอนุมัติตามสายการบังคับบัญชา การลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
ทั้งนี้ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดควรใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทและรูปแบบเดียวกัน เพื่อช่วยให้การเก็บรักษาหลักฐานเกี่ยวกับการแสดงเจตนา การรักษาความครบถ้วน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2. ทำยังไงให้สามารถใช้ e-Signature ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย
ตอบ : 1. การใช้สไตลัส (stylus) เขียนลายมือชื่อลงบนหน้าจอและบันทึกไว้
วิธีลดความเสี่ยง
– เชื่อมโยงวิธีการที่บุคคลใช้แสดงเจตนากับข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผู้ลงลายมือชื่อ รูปแบบของลายมือชื่อ กระบวนการลงลายมือชื่อ และวันเวลาที่ลงลายมือชื่อ
– เชื่อมโยงวิธีการที่บุคคลใช้แสดงเจตนากับข้อความที่ลงลายมือชื่ออย่างชัดเจน
– ตรวจสอบกระบวนการลงลายมือชื่ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้งานที่สอดคล้องกัน
การเก็บหลักฐาน / พยาน
– ข้อมูลและภาพของลายมือชื่อ
– วันเวลาที่ลงลายมือชื่อ
– อัตลักษณ์ของผู้ลงลายมือชื่อ
– วิธีการที่ใช้ยืนยันตัวตน
2. การใช้ระบบงานอัตโนมัติที่มีการยืนยันตัวผู้ใช้งาน + รูปแบบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทที่ 1
วิธีลดความเสี่ยง
– ตรวจสอบระบบงานและฟังก์ชันการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
– บันทึกข้อมูลบริบทที่จำเป็นโดยอัตโนมัติหากเป็นไปได้
– มีกระบวนการที่เหมาะสมในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของบุคคลและการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล
– ตั้งค่าหรือควบคุมเอกสารและเนื้อหาไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หลังจากลงลายมือชื่อแล้ว
– มีบันทึกธุรกรรมส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บรักษาเป็นหลักฐานของการทำธุรกรรม
การเก็บหลักฐาน / พยาน
– ข้อมูลที่ลงลายมือชื่อ
– ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
– บันทึกเหตุการณ์ (log) ของการยืนยันตัวผู้ใช้งานและการแสดงเจตนาในการลงลายมือชื่อ (เช่น การคลิกปุ่มหรือการทำเครื่องหมายในช่องแสดงการยอมรับ)
– อัตลักษณ์ (identity) ของผู้ลงลายมือชื่อ
– วิธีการที่ใช้ยืนยันตัวตน
อ่านต่อที่นี่
3. หากมีการโต้แย้งเรื่องความน่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ใครมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ความน่าเชื่อถือนั้น ?
ตอบ : e-Signature แบบทั่วไป
ตามมาตรา 9 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ “ผู้อ้างว่า e-Signature น่าเชื่อถือมีหน้าทิ่พิสูจน์ความน่าเชื่อถือดังกล่าว”
เช่น นางสาวฝนฟ้องนายอ๊อฟ ว่าไม่จ่ายเงินตามสัญญาเงินกู้ แต่นายอ๊อฟโต้แย้งว่า e-Signature แบบ Stylus ดังกล่าวเป็นของปลอม ดังนั้น นางสาวฝน ผู้กล่าวอ้างจึงมีหน้าที่ในการหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของนายอ๊อฟเป็นของจริง
e-Signature แบบเชื่อถือได้
ตามมาตรา 26 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
“กฎหมายให้ข้อสันนิษฐานว่าเป็นลายมือชื่อที่เชื่อถือได้ หน้าที่พิสูจน์ความน่าเชื่อถือจึงเป็นของผู้โต้แย้งว่าไม่น่าเชื่อถือ”
เช่น นางสาวฝนฟ้องนายอ๊อฟ ว่าไม่จ่ายเงินตามสัญญาเงินกู้ แต่นายอ๊อฟโต้แย้งว่า Digital Signature ดังกล่าวเป็นของปลอม ดังนั้น นายอ๊อฟ ผู้โต้แย้งต้องหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่า Digital Signature ดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ
ที่มา : etda / วันที่เผยแพร่ 12 ม.ค.2565
Link : https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/e-Signature-FAQ.aspx