โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์
วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี เป็น “วันกองทัพไทย” โดยถือเอาวันสำคัญในประวัติศาสตร์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชย์แห่งพม่า และทำให้กรุงศรีอยุธยาปลอดจากศึกใหญ่จากพม่าไปประมาณ 100 ปี
เป็นที่น่าเสียดายที่เด็กไทยสมัยนี้แทบไม่รู้จักพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญที่กอบกู้และรักษา พัฒนาประเทศให้มั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน เพราะรัฐมนตรีศึกษาธิการในรัฐบาลสมัยหนึ่ง ให้ปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยเสียใหม่ จนเด็กไทยแทบไม่รู้จักที่มาที่ไปของแผ่นดินที่ตนเกิดและเติบโตขึ้นมา
กล่าวกันว่า วิธีดีที่สุดและได้ผลที่สุดในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข คือ การทำให้เด็กไทยไม่รู้ที่มาที่ไปของตนเอง ไม่รู้ความเป็นมาของประเทศ ไม่มีความภูมิใจในความเป็นมาของประเทศ ไม่รู้ถึงบทบาทและความสำคัญของสถาบันกษัตริย์
พวกเขาใช้เวลายี่สิบปีจนบรรลุวัตถุประสงค์ระดับหนึ่ง เมื่อความภูมิใจ ความหยิ่งในความเป็นมาของประเทศของคนรุ่นใหม่แทบจะไม่เหลือ เรื่องนี้ไปโทษเด็กไม่ได้ แต่ต้องโทษนักการเมืองบางคนตั้งแต่รุ่นนั้นจนถึงปัจจุบัน
มีสิ่งละอันพันละน้อยที่ไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับยุทธหัตถีมาเลาให้ฟัง
นักประวัติศาสตร์บางคนได้ตั้งคำถามด้วยความสงสัยว่า ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ใช้กระทำยุทธหัตถีวันนั้น ตัวเล็กกว่าช้างของพระมหาอุปราชมาก ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อตัวเล็กกว่า พละกำลังก็ย่อมน้อยกว่า แล้วจะงัดแบกคู่ต่อสู้จนตัวลอย ทำให้พระมหาอุปราชถูกพระนเรศวรมหาราชฟันจนขาดสะพายแล่งบนคอช้าง ได้อย่างไร
นับว่าคนตั้งข้อสังเกตเป็นคนละเอียดมาก ผู้เขียนเคยอ่านเรื่องนี้มาเหมือนกัน ซึ่งน่าจะยืนยันได้ว่า ช้างพระที่นั่งของพระนเรศวรมหาราชตัวเล็กกว่าช้างของพระมหาอุปราชจริง แล้วทำไมจึงดันจนคู่ต่อสู้จนเสียศูนย์ ทำให้ผู้นั่งบนคอข้างเสียศูนย์และถูกฟันจนตาย เรื่องเล่าว่า ก่อนนี้ช้างพม่าซึ่งใหญ่กว่าได้ใช้พละกำลังดันและแบกช้างพระที่นั่งจนตัวลอย พระมหาอุปราชได้
ฉวยโอกาสนี้จ้วงฟันพระนเรศวรมหาราชแต่ทรงหลบได้ แต่พระมาลาถูกฟันขาดจนกลายเป็นพระมาลาเบี่ยงซึ่งเล่าไว้แล้วในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ดี ช้างพระที่นั่งของพระนเรศวรมหาราช ได้รวมพลังแรงฮึดเป็นครั้งสุดท้ายแบกช้างคู่ต่อสู้จนตัวลอย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชใช้โอกาสนี้จ้วงฟันพระมหาอุปราชจนเสียชีวิตบนคอช้าง ดังที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ และทหารไทยได้ถือเอาวันนี้มาเป็นวันกองทัพไทย
ไม่แปลกใจหากจะมีผู้อ่านถามว่า แล้วรู้ได้อย่างไร หากไม่ถามซิแปลก ( เรื่องนี้ยาว )
นั่นเป็นอารัมภบทของบทความในวันนี้ที่เกี่ยวกับวันกองทัพไทย สิ่งที่จะเขียนต่อไปมาจากความไม่สบายใจที่เห็นนักการเมืองบางกลุ่มที่สูญเสียอำนาจ และนักการเมืองรุ่นใหม่ที่ปลุกระดมคนหนุ่มสาว กลุ่มหนึ่งให้บ่อนเซาะสถาบันกษัตริย์ โดยอ้างว่าเพื่อรักษา ปฏิรูป สถาบันให้ดีขึ้น แต่เป้าหมายซ่อนเร้นคือ ปลุกระดมคนให้คนหนุ่มสาวลุกฮือขึ้นล้มสถาบันกษัตริย์เหมือนกับสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศส ( ค.ศ.1789 ) วัยรุ่นบางคนที่เรียกตนเองว่า “คนรุ่นใหม่” พยายามด้อยค่าสถาบันกษัตริย์ตลอดมา แสดงกิริยา วาจา ดูถูกดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ในหลากหลายรูปแบบ สร้างความอึดอัดใจให้กับคนไทยทั่วไป
สิ่งที่เราได้เห็นพบว่า ในปี 2563 และ 2564 มีการกระทำที่เป็นการด้อยค่า จาบจ้วง ล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ จากคนกลุ่มหนึ่งทั้งในและต่างประเทศ จากนักการเมืองกลุ่มเก่าที่สูญเสียอำนาจ และนักการเมืองรุ่นใหม่บางพวกที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ยังดีที่การแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ทำให้การเคลื่อนไหวไม่สะดวก ถูกจำกัด
มหาอำนาจต่างชาติที่แทรกแซงการเมืองในไทยต้องคิดสองครั้งแล้วว่า จะสนับสนุนกลุ่มล้มเจ้าต่อไปหรือไม่อย่างไร เพราะสองปีที่ผ่านมา ชาติเหล่านี้น่าจะรู้ดีแล้วว่า คนไทยเอาด้วยกับนักการเมือง ม็อบ กลุ่มล้มเจ้าหรือไม่อย่างไร แทนที่จะใช้คนกลุ่มนี้กดดันรัฐบาล และทำในสิ่งที่สวนทางกับความรู้สึกของคนไทยส่วนใหญ่ พวกเขาน่าจะหาทางวิธีการอย่างอื่นแทน
สิ่งที่ตั้งใจจะเขียนและบอกคนไทยทั้งกลุ่มล้มเจ้าและกลุ่มรักเจ้า โดยอ้างคำกล่าวของบทบาทและความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ที่อริยบุคคลกล่าวไว้เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว คือ “ ประเทศไทยจะขาดสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ทั้งสามต้องไปด้วยกัน….. เปรียบเสมือนก้อนเสา ( ก้อนหินสามก้อนที่นำมาตั้งเป็นเตาทำอาหาร ) ก้อนที่หนึ่ง คือ ความเป็นชาติ ก้อนที่สอง คือ มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ก้อนที่สาม คือ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก หากขาดไปก้อนใดก้อนหนึ่ง ก็จะขาดความสมบูรณ์ไป ไม่สามารถจะใช้ต้มแกง หุงหาอาหารได้ “ ( อ้างมาจากพระธรรมเทศนาของหลวงปูมั่น ภูริทัตโต ในหนังสือรำลึก “รำลึกวันวาน” ที่บันทึกความทรงจำของ หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ )
หลวงปูมั่นกล่าวอีกว่า “ เมื่อพระพุทธเจ้าจะประกาศพระศาสนา ทรงหาหลักค้ำประกันอันมั่นคง คือ มุ่งไปที่พระเจ้าพิมพิสาร ……. ความสำคัญอันนี้มีมาตลอด หากประเทศใดไม่มีองค์ประกอบนี้ ซึ่งเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก …… ก็ปฏิเสธได้เลย “ ท่านได้บอกไว้ด้วยว่า “ ศาสนาพุทธกับพระมหากษัตริย์เป็นของคู่กัน ขาดไม่ได้ ถ้าขาด พระอริยบุคคลก็ขาดไปด้วย “
อธิบายความเพิ่มเติมว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ทรงทราบดีว่า ศาสนาของพระองค์หากไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตรยิ์ ศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองไม่ได้ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปหาพระเจ้าพิมพิสาร พระมหากษัตริย์ในขณะนั้น เพื่อขอให้สนับสนุนศาสนาของพระองค์
ในขณะนั้น เพื่อขอให้สนับสนุนศาสนาของพระองค์
ในกรณีของไทยก็เช่นเดียวกัน เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ศาสนาพุทธก็เจริญรุ่งเรือง ไทยมีพระอริยบุคคลต่อเนื่องไม่ขาดสาย
ในรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับตั้งแต่ฉบับ พ.ศ.2475 จนถึงฉบับปี 2560 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้ระบุชัดเจนในมาตรา 7 “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามะกะ และทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก “ พระมหากษัตริย์ไทยต้องเป็นพุทธมามะกะ และต้องให้การสนับสนุนและไม่กีดกันศาสนาอื่น ส่วนประชาชนสามารถเลือกนับถือศาสนาได้เสรี และได้รับหลักประกันว่าสามารถประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่ตนนับได้ถือได้อย่างสะดวกเสรี
พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ได้กล่าวไว้ว่า “ ถ้าเปรียบไปแล้ว ชาติเป็นร่างกาย ศาสนา เป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยง พระมหากษัตริย์ เป็นหัวใจ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งสามประการนี้ต้องอยู่ด้วยกัน ประกอบกันบำรุงรักษากัน จะขาดไปส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ คนคิดทำร้ายทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นคนอัปรีย์ จัญไร ถ้าขาดชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็เหมือนร่างกายมนุษย์ขาดเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชีวิต ขาดหัวใจ จะอยู่ได้อย่างไร “ ( อ้างถึงประวัติ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ หน้า 483 พิมพ์โดยมูลนิธิพระสงบ )
อาจารย์จวน กุลเชฏโฐ หน้า 483 พิมพ์โดยมูลนิธิพระสงบ )
ขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในปี พ.ศ.2565 แต่คนบางกลุ่มที่อ้างว่าตัวเอง “ ก้าวหน้า “ กำลังพูดถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 ( พ.ศ.2332 ) และการปฏิวัติไทยปี 2475 จึงไม่รู้ว่าก้าวหน้าตรงไหน
แนวโน้มการเคลื่อนไหวในปี 2565 น่าจะลดลง เพราะแกนนำส่วนใหญ่เจอคดีคนละเป็นสิบคดี ซึ่งต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันอีกหลายปีต่อเนื่อง ดูคดีของแต่ละรายมีโอกาสติดคุกสูง นักการเมืองชังเจ้าได้รับคะแนนนิยมน้อยลง นักวิชาการที่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง การที่จะหวังให้ต่างชาติมาช่วยคงหวังได้ยาก
ที่สำคัญคือ กลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์เริ่มตั้งตัวได้และเริ่มตอบโต้กลับ โดยพลิกจากการตั้งรับมาเป็นฝ่ายรุก แกนนำกลุ่มเสื้อแดงล้มเจ้าในภาคอีสานซึ่งเคยเป็นฐานของกลุ่มล้มเจ้า ได้นำพลพรรคเปลี่ยนมาเป็น “กลุ่มรักเจ้า” แทน เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย คนที่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้คงเหลือ “ กลุ่มล้มเจ้า ” ไม่กี่คนที่หนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ ต้องทำกิจกรรมเพื่อแสวงหาและรักษาสถานะความเป็นผู้ลี้ภัยต่อไป
ที่มา : โพสต์ทูเดย์ / วันที่เผยแพร่ 20 ม.ค.2565
Link : https://www.posttoday.com/politic/columnist/673530