โด่งดังสมใจโดยไม่ติดคุก โจรมะกันปล้นแบงก์-หนีชิลชิล 50 ปี ก่อนตายทิ้งเบาะแสให้ไขคดี จนได้เป็นข่าวไปทั่วโลก

Loading

ธีโอดอร์ คอนราด หนุ่มหน้าใส นัยน์ตาซื่อ ซึ่งน่าจะเป็นคนท้ายๆ ในโลกที่จะลงมือทำอาชญากรรมอุกฉกรรจ์แห่งการปล้นธนาคาร เขาแปลงตัวเป็นคนใหม่ในชื่อว่า โทมัส แรนเดล ไว้หนวดเคราอำพรางใบหน้าเดิม และไปกบดานหลบหนีคดีในย่านชานเมืองของนครบอสตัน อันเป็นถิ่นที่ถูกใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังแห่งปี 1968 คือ The Thomas Crown’s Affair หนังโลดโผนด้วยจินตนาการ ซึ่งธีโอดอร์ หรือเท็ด ปลาบปลื้มหลงใหลอย่างหัวปักหัวปำ   ธีโอดอร์ คอนราด “คนมีของ” แห่งคลีฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา มีพลังอัจฉริยะระดับไอคิว 135 พลังนี้ได้ขับเคลื่อนให้อยากปล่อยของเพื่อทำให้ผู้คนทึ่งและยอมรับในตัวเขา เขาทำอย่างนั้นด้วยการปล้นแบงก์ครั้งประวัติการณ์ตอนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ โดยคดีนี้เป็นคดีปริศนาที่ค้างเติ่งตลอด 52 ปีที่เขากบดานหลบหนีการจับกุม เมื่อเขาจากโลกนี้ไป เขาอาจจะตั้งใจทำให้โลกทึ่งในตัวเขาอีกครั้งหนึ่งด้วยการให้เบาะแสแหล่งกบดาน เพื่อที่มือปราบคู่แค้นจะเข้ามาไขปริศนาคดีได้สำเร็จ พร้อมกับนำพาให้เรื่องราวและภาพถ่ายของเขาได้เป็นข่าวใหญ่ ปิดท้ายชีวิต 71 ปี อย่างเอิกเกริกนั่นเอง เมื่ออาการมะเร็งปอดของโทมัส แรนเดล ทรุดหนักเข้าขั้นว่าใกล้จะอยู่จะไปแล้ว แคธี ศรีภรรยาผู้แต่งงานอยู่กินกับเขานานเกือบ 4 ทศวรรษ ได้เชิญเพื่อนฝูงของคุณตาโทมัส วัย 71…

อัปเดตพลาด เซิร์ฟเวอร์มหาลัยเกียวโต ทำข้อมูลวิจัยหายกว่า 77 TB

Loading

เคยหงุดหงิดเพราะไฟล์งานหายไหม ? . เชื่อเถอะว่าแค่ไฟล์ไม่กี่ไฟล์ก็อาจเปลี่ยนชีวิตคนหนึ่ง ๆ ได้เลย แต่ถ้าเทียบกับเคสนี้แล้ว คงอาจเปลี่ยนชีวิตของใครหลายคน เมื่อมหาลัยวิทยาลัยเกียวโต ทำข้อมูลการวิจัยกว่า 77 TB หายไป จากการอัปเดตซอฟต์แวร์ภายในเซิร์ฟเวอร์ . เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการอัปเดตซอฟต์แวร์ที่ผิดพลาดสำหรับระบบสำรองข้อมูล โดยบังเอิญไปลบไฟล์ 34 ล้านไฟล์ในระยะเวลาสองวัน . ต้นเหตุของการสูญเสียข้อมูลมาจากสคริปต์ที่ผิดพลาด ซึ่งเดิมที่ตั้งใจจะลบไฟล์บันทึกเก่าที่ไม่จำเป็นออกจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดตซอฟต์แวร์ แต่มันจบลงด้วยการลบข้อมูลการวิจัยกว่า 77 TB และมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ . อย่างไรก็ตาม ซัพพลายเออร์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเกียวโต Hewlett Packard Japan (HPE) ได้ออกมายอมรับความรับผิดชอบ 100 เปอร์เซ็นต์สำหรับเหตุการณ์นี้และได้ออกจดหมายขอโทษไปให้กับมหาวิทยาลัยแล้วครับ . งานนี้ได้แต่ภาวนาให้พวกเขากู้ข้อมูลกลับมาได้หรือมีการ Backup ข้อมูลไว้บ้างแล้วนะ… . ที่มาข้อมูล https://www.techspot.com/news/92822-japanese-university-loses-77tb-research-data-following-buggy.html     ที่มา : techhub        /  วันที่เผยแพร่ 4 ม.ค.2565…

ปอท. ชี้แนวโน้มอาชญากรรมไซเบอร์ ปี 65 มุ่งการแฮกข้อมูล ฉ้อโกงออนไลน์

Loading

  รอง ผบก.ปอท.ชี้แนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในปี 2565 คือการแฮกข้อมูล และการฉ้อโกงออนไลน์ ที่คนร้ายอาจนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการหลอกลวง โดย จนท.ต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ เพื่อสืบสวนจับกุมคนทำผิด เมื่อวันที่ 3 ม.ค.65 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง.ผบก.ปอท. กล่าวถึงแนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีใน ปี 2565 ว่า เมื่อพิจารณาข้อมูลจากสถิติการเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน บก.ปอท. ปี พ.ศ.2561-2564 พบว่า รูปแบบของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือใช้เทคโนโลยีในการกระทำความผิดที่มีประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ยังคงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยในปี 2564 มีผู้มาแจ้งความร้องทุกข์จำนวน 698 ราย สาเหตุที่การด่าทอ ให้ร้ายกันในสื่อสังคมออนไลน์ ครองความเป็นอันดับ 1 มาตลอดหลายปี อาจเนื่องมาจาก ประชาชนเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น การโพสต์ การแสดงความคิดเห็น การส่งต่อข้อมูลที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายจึงมีมากขึ้น แต่ที่น่าสนใจจากสถิติดังกล่าวพบว่า มีผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกแฮก เพื่อปรับเปลี่ยน ขโมย ทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ พบเป็นอันดับที่ 2 โดยมีผู้มาแจ้งความร้องทุกข์จำนวน 585 ราย…

จีนออกกฎหมายตรวจสอบบริษัทไอทีประเด็นความมั่นคง ก่อนจดทะเบียนในต่างประเทศ

Loading

  หน่วยงานกำกับดูแลบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (CAC) ประกาศว่า จะออกกฎหมายใหม่เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลในกรณีที่บริษัทเทคโนโลยีจีนวางแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดต่างประเทศหรือใช้งานอัลกอริทึม ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลจีนในการควบคุมภาคเทคโนโลยี ทั้งนี้ CAC ประกาศว่า นับตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.เป็นต้นไป จีนจะบังคับใช้กฎหมายใหม่ที่ให้บริษัทแพลตฟอร์มเทคโนโลยีซึ่งมีข้อมูลของผู้ใช้งานมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไปต้องผ่านการตรวจสอบด้านความมั่นคงก่อนที่จะจดทะเบียนในต่างประเทศ และนับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. ทางการจีนจะบังคับใช้กฎการกำกับดูแลเทคโนโลยีแนะนำสินค้าโดยใช้อัลกอริทึม กฎหมายใหม่ทั้ง 2 ชุดนี้คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทไบต์แดนซ์ บริษัทแม่ของแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) และอาลีบาบากรุ๊ป ตลอดจนบริษัทไอทีอีกมากมาย ความเคลื่อนไหวของ CAC มีขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบหลายประการตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้บริษัทหลายแห่งหลีกเลี่ยงการจดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ภาคธนาคารมีความหวังว่ากฎใหม่นี้จะสร้างความแน่นอนมากขึ้นในปี 2565 การประกาศดังกล่าวของ CAC ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหุ้นฮ่องกงร่วงลงอย่างหนักในวันนี้ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 ม.ค. 65)     ที่มา : infoquest         /  วันที่เผยแพร่ 4 ม.ค.2565 Link :…

ส่อง 7 เทคโนโลยีสำคัญในระบบ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ของไทยภายในปี 2035

Loading

  สรุป 7 เทคโนโลยี ที่จะมีอิทธิพลต่อระบบ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ของไทยภายในปี 2035 คนทำงานรู้ก่อนปรับตัวทัน คนทำธุรกิจรู้ก่อนได้เปรียบกว่า ศักราชเปลี่ยน เทคโนโลยีปรับในอีกไม่ช้าไม่นาน “เศรษฐกิจไทย” จำเป็นต้องก้าวไปสู่ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ที่มีเทคโนโลยีต่างๆ เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งคนที่มองเห็นโอกาสทางเทคโนโลยีได้ไกลกว่าย่อมมีโอกาสที่จะพัฒนาสินค้าและบริการหรือธุรกิจให้รุดหน้าไปคว้าโอกาสใหม่ก่อนคนอื่นได้ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ชวนมองข้ามช็อตไปถึงปี 2035 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีเทคโนโลยีใดบ้างที่เป็นเทคโนโลยีสำคัญ ที่จะเข้ามากระทบกับธุรกิจเศรษฐกิจกันบ้าง โดยสรุปข้อมูลจากการคาดการณ์อนาคต 7 เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ภายในปี 2035 จาก DEPA และ Frost & Sullivan ที่น่าสนใจดังนี้ 1. IoT (Internet of Things) อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง  เป็นเทคโนโลยีเริ่มใช้แพร่หลายในปัจจุบัน “IoT” ช่วยยกระดับการใช้งานหรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การวิเคราะห์ข้อมูล และการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud computing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจรวมถึงการสร้างรูปแบบและบริการทางธุรกิจใหม่ๆ โดยไม่กี่ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีการใช้งานจำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพิ่มขึ้นหลายพันล้านเครื่องทั่วโลก ส่งผลให้ตลาด IoT ทั่วโลกจะยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งาน IoT เช่น บ้านอัจฉริยะ (Smart home) พลังงานอัจฉริยะ (Smart energy)…

ต่างประเทศเริ่มออกมาตรการรับมือ Log4Shell

Loading

  องค์กรควรรีบหาวิธีการดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ช่วงนี้คงไม่มีใครในวงการไซเบอร์ที่ไม่รู้จักภัยคุกคาม “Log4Shell” ช่องโหว่ใน Log4j ที่เป็นส่วนเสริมของโปรแกรมที่ทำงานบนภาษา Java และเป็นส่วนสำคัญของ Apache ซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น Minecraft , Apple iCloud , Tesla , Elasticsearch ฯลฯ ซึ่งอานุภาพของ Log4Shell คือการเรียกใช้โค้ดจากระยะไกล ทำให้ผู้โจมตีสามารถติดตั้งมัลแวร์บนเซิร์ฟเวอร์เป้าหมายได้อย่างง่ายดาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายวิธี ล่าสุดในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ที่หน่วยงานด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศได้จัดการประชุมฉุกเฉินโดยรวบรวมตัวแทนจากกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) มาเข้าร่วม โดยในระหว่างนั้นหน่วยงานจะให้คำแนะนำและข้อมูลทางเทคนิคในการรับมือกับ Log4Shell Cyber ​​Security Agency (CSA) ของสิงคโปร์เตือนว่า หากช่องโหว่นี้ถูกโจมตีได้สำเร็จ จะเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ควบคุมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับผลกระทบได้อย่างสมบูรณ์ และยังเน้นย้ำว่าองค์กรควรรีบหาวิธีการดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด  ทั้งนี้ CSA ได้แจ้งเตือนผู้นำในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศและกลุ่มธุรกิจต่างๆ ให้พวกเขาอัปเดตแพตช์เป็นเวอร์ชันล่าสุดทันที ซึ่ง CSA จะทำงานร่วมกับตัวแทนจาก CII เพื่อออกมาตรการบรรเทาผลกระทบ ร่างกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสิงคโปร์นั้นครอบคลุม 11 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ช่วยให้หน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องสามารถใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อปกป้องกลุ่ม…