สกมช. เปิดหลักสูตรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับผู้บริหาร รุ่นที่ 1

Loading

  ปัจจุบันโลกของเราได้เข้าไปสู่ยุคดิจิทัลโดยสมบูรณ์ ทำให้ภัยคุกคามทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาจะเห็นได้จากข่าวการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก เช่น โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทขนส่งน้ำมัน ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารทั้งรัฐและเอกชน บริษัทประกันภัย และโรงพยาบาล เป็นต้น การโจมตีมีวัตถุประสงค์หลากหลาย อาทิ เพื่อก่อกวนให้ใช้งานระบบไม่ได้ หรือการโจมตีเพื่อขโมยข้อมูลด้วยแรนซัมแวร์ ซึ่งกลุ่มอาชญากรจารกรรมข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ทำการปิดกั้นข้อมูลเป็นตัวประกันจนกว่าบริษัทจะยอมจ่ายค่าไถ่หรือให้ผลประโยชน์ใด ๆ แก่ผู้ก่อเหตุ ดังนั้น บริษัทจึงต้องหยุดการทำงานในระบบทำให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการหรือดำเนินธุรกิจ และอาจหมายรวมถึงส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงทางเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยมีแนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเชิงปริมาณและความรุนแรง ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ทำให้องค์กรต่าง ๆ มุ่งปรับเปลี่ยนรูปแบบไปสู่การทำงานระยะไกลเสมือนจริงผ่านการใช้งานพอร์ทัลแอปพลิเคชัน และเว็บแอปพลิเคชันเพื่อความสะดวกในการทำงาน ทำให้อาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากการที่ทุกคนต้องเว้นระยะห่างและทำงานจากนอกสถานที่ เจาะช่องโหว่ของระบบเพื่อเข้าถึงข้อมูลสำคัญ ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้นรัฐบาลตระหนักดีว่าต้องเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดังนั้น พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 จึงถูกบัญญัติขึ้น เพื่อรับมือ ป้องกัน และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบต่อหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ หรือ CII (Critical Information Infrastructure) อันจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในวงกว้างต่อไป สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) นำโดย…

อันตราย! ทหารพม่าฝังกับระเบิดตลอด 2 ฝั่ง “ท่อก๊าซจีนในเมืองสีป้อ” อ้างป้องกันตัว

Loading

จุดที่ตั้งสถานีปรับแรงดันตามแนวท่อก๊าซในพื้นที่เมืองสีป้อ   MGR Online – ทหารพม่าฝังกับระเบิดไว้ 2 ฝั่ง ตามแนวท่อก๊าซจีนในเมืองสีป้อ อ้างเพื่อป้องกันตัว ชาวบ้านกลัวอันตราย เรียกร้องให้ทหารถอนออกแต่ถูกปฏิเสธ บอกรอให้ถูกย้ายไปที่อื่นก่อนค่อยถอน วันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา มูลนิธิสิทธิมนุษยชนรัฐฉาน (SHRF) ออกแถลงการณ์ 3 ภาษา (ไทใหญ่ พม่า อังกฤษ) เรียกร้องให้กองทัพพม่าถอนกับระเบิดที่ได้ฝังไว้ตามแนวท่อก๊าซและท่อน้ำมันของจีน ในเขตพื้นที่เมืองสีป้อ จังหวัดจ๊อกแม ภาคเหนือของรัฐฉาน เนื่องจากชาวบ้านกลัวจะได้รับอันตรายหากระเบิดเหล่านี้เกิดระเบิดขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุจากการสู้รบกับกองกำลังติดอาวุธ หรือมีผู้ที่เผลอเดินไปเหยียบเข้าโดยไม่รู้ตัว ในแถลงการณ์ให้รายละเอียดว่า ประมาณ 2 เดือนที่แล้ว ทหารพม่าได้เรียกกำนันตำบลฮองแฮง ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมแนวท่อก๊าซและท่อน้ำมันในพื้นที่อำเภอสีป้อ มาพบที่สถานีปรับแรงดันก๊าซ ในหมู่บ้านหนองอ๊าง ห่างจากตัวเมืองสีป้อไปทางทิศตะวันตกประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่งหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ทางกองทัพพม่าได้วางกำลังทหารไว้ที่นี่ประมาณ 20 นาย เพื่อคุ้มกันแนวท่อก๊าซ   เขตที่ทหารพม่าได้ฝังกับระเบิดไว้ 2 ข้างแนวท่อก๊าซ (พื้นที่สีดำ)  …

ปลอดภัยจริงไหม Tesla เจอช่องโหว่ โดนแฮกได้ แบบเจ้าของไม่รู้

Loading

  อายุ 19 ปี แต่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ … . David Columbo ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยด้านไอที อายุ 19 ปี โพสต์ในกระทู้ Twitter ว่าเขาสามารถควบคุมรถยนต์ Tesla ได้มากกว่า 25 คันใน 13 ประเทศโดยที่เจ้าของรถไม่รู้ . ทั้งนี้ Columbo ไม่ได้ต้องการจะบอกว่าเขาสามารถทำได้อย่างไร จนกว่าจะมีการรายงานช่องโหว่ดังกล่าวไปยัง Mitre ที่เป็นองค์ไม่แสวงหาผลกำไรเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เขาให้ข้อมูลว่า ความผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากส่วนของเจ้าของรถ ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดในซอฟต์แวร์ของ Tesla . ผลของการแฮกของ Columbo คีอ เขาสามารถค้นหาตำแหน่งที่แม่นยำของรถแต่ละคัน ปิดระบบรักษาความปลอดภัย เปิดประตูและหน้าต่างได้แม้ในขณะรถกำลังวิ่ง เล่นเพลงและวิดีโอ YouTube ซึ่งก็แทบจะทำได้ทุกอย่าง และแม้ว่า Columbo จะไม่สามารถขโมยรถจากระยะไกลได้ แต่เขาก็สามารถทำได้ง่าย ๆ หากอยู่ในสถานที่จริง . แม้ว่านี่ไม่ใช่ความผิดของเทสลา แต่ก็ยังอาจเป็นปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ของบริษัท ที่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ผู้ใช้จนกลายเป็นจุดอ่อนที่รถสามารถโดนแฮกได้ อย่างไรก็ตาม…

สำนักงานการบินพลเรือน แจงสัญญาณ 5G ในไทยไม่กระทบการบิน

Loading

สำนักงานการบินพลเรือน ชี้แจงสัญญาณ 5G ในไทยไม่กระทบการบิน ยืนยันปลอดภัยใช้ช่วงคลื่นห่างกัน วันที่ 20 มกราคม รายงานข่าวจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT แจ้งเรื่อง CAAT ชี้แจงสัญญาณ 5G ในไทยไม่กระทบการบิน ยืนยันปลอดภัยใช้ช่วงคลื่นห่างกัน สืบเนื่องจากกระแสข่าวที่ปรากฏว่า หลายสายการบินในสหรัฐอเมริกาออกเตือนการเปิดใช้สัญญาณ 5G ย่านความถี่ C-Band ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมในสหรัฐอเมริกา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของเครื่องบิน โดยเฉพาะขณะที่กำลังจะลงจอด ทำให้เกิดข้อกังวลสำหรับประเทศไทยว่าอาจจะได้รับผลกระทบจากสัญญาณ 5G เช่นเดียวกันหรือไม่ CAAT ขอชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน ดังนี้ ผลกระทบจากสัญญาณ 5G ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบปฏิบัติการบินของเครื่องบิน เกิดจากสัญญาณ 5G อาจไปรบกวนการทำงานของระบบอุปกรณ์ที่สำคัญและมีความอ่อนไหวสูง โดยเฉพาะเครื่องวัดความสูงด้วยคลื่นวิทยุของอากาศยาน (Radio Altimeter) ซึ่งจะแสดงผลในห้องนักบินให้ทราบระดับความสูงเหนือพื้นดินในขณะนั้น ทำให้อาจไม่ได้รับข้อมูลความสูงที่ถูกต้องและอาจก่อให้เกิดอันตรายระหว่างเตรียมลงจอดสู่สนามบิน ซึ่ง Radio Altimeter นี้เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานคลื่นความถี่ในย่าน 4,200 – 4,400 MHz (4.2 – 4.4 GHz)…

13 เทรนด์ด้าน Cybersecurity สำหรับปี 2022 โดย IBM

Loading

Credit: ShutterStock.com IBM ได้ออกมาคาดการณ์ภาพภัยคุกคามของปีนี้ ทีมงาน TechTalkThai ขอสรุปมาให้ทุกท่านได้ติดตามกันครับ 1.) การรุกรานของแรนซัมแวร์จากธุรกิจหนึ่งสามารถข้ามไปข่มขู่ธุรกิจอื่น แนวโน้มการข่มขู่เปิดเผยข้อมูลของแรนซัมแวร์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยไอเดียที่ IBM คาดการณ์คือเมื่อคนร้ายสามารถเจาะเข้าองค์กรแห่งหนึ่งได้แล้ว อาจจะสามารถส่งผลกระทบไปเรียกค่าไถ่กับบริษัทคู่ค้าที่มีข้อมูลเชื่อมโยงกัน 2.) Supply Chain Attack คือหัวข้อสำคัญในห้องประชุมบอร์ด จากประสบการณ์ของปี 2021 หากพูดถึง Supply Chain ต้องยอมรับว่าท่านจะพบจุดอ่อนอีกมาก และแฮกเกอร์ก็ทราบดีในการหาประโยชน์จากช่องโหว่ ด้วยเหตุนี้หัวข้อดังกล่าวจึงเป็นที่กังวลอย่างมากของบอร์ดบริหาร 3.) ใกล้สู่ช่วงเปลี่ยนผ่านการพึ่งพารหัสผ่าน การเชื่อถือรหัสผ่านอย่างเดียวคือจุดอ่อนในระบบการป้องกันไปเสียแล้ว อย่างไรก็ดีเมื่อเทคโนโลยีมากขึ้นเราก็เริ่มเข้าสู่รูปแบบไบโอเมทริกซ์ นอกจากสามารถรักษาความมั่นคงปลอดภัยได้ดี การใช้งานยังง่ายขึ้นเรื่อยๆ 4.) Blockchain คือจุดซ่อนตัวของคนร้าย เมื่อองค์กรและตลาดพึ่งพาบล็อกเชนเช่น ใช้เพื่อบริการจัดการ Supply Chain , การทำธุรกรรมการเงิน หรือ NFT ด้วยเหตุนี้ IBM เริ่มเห็นว่าคนร้ายหันมาใช้งานสิ่งเหล่านี้เพื่อซ่อนการตรวจจับได้นานขึ้น โดยปีนี้บล็อกเชนจะกลายเป็นเครื่องมือที่คนร้ายทั่วไปใช้เพื่อทำให้ทราฟฟิคอันตรายของตนยุ่งเหยิง เลี่ยงการตรวจจับ หรือทำให้ตรวจพบกิจกรรมอันตรายบนเครือข่ายยากขึ้น 5.) ขอบเขตการดูแล Security ขยายสู่ Hybrid Cloud…

Tim Berners-Lee ผู้สร้าง WWW มองเรื่อง ‘ส่วนตัว’ ยังไง?

Loading

  ผู้อ่านน่าจะคุ้นเคยกับเจ้าตัวอักษรภาษาอังกฤษ WWW นี้กันเป็นอย่างดี แต่กับชื่อ ‘เซอร์ทิม’ ล่ะ? เคยคุ้นกันบ้างไหม? ย้อนความไปเล็กน้อยเมื่อตอนปี 1989 เซอร์ทิม หรือ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นระบบข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) ขึ้นมา ในขณะทำงานที่ CERN (Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire: องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป) โดยมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการในการแบ่งปันข้อมูลโดยอัตโนมัติระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบัน การใช้งาน WWW ก็ขยายวงกว้างไปมาก ไม่ว่าจะวงการใด ผู้คนก็ใช้ WWW กันทั้งสิ้น เรียกได้ว้าเป็นสิ่งที่ผู้คนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกไปแล้วนั่นเอง เท้าความถึงการสร้าง WWW ขึ้นมาคร่าว ๆ แล้ว ต่อไปเราจะพาคุณเข้าหัวข้อสำคัญกันเลยดีกว่า ใช่แล้ว! วันนี้เราตั้งใจจะมาพาคุณผู้อ่านไปรับรู้มุมมองเล็ก ๆ ของเซอร์ทิมกัน  …