หน่วยด้านไซเบอร์เยอรมันไม่พบฟังก์ชันกรองเนื้อหาในสมาร์ตโฟน Xiaomi

Loading

  โฆษกของ BSI หน่วยงานเฝ้าระวังด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับสหพันธรัฐของเยอรมนีระบุว่า ไม่พบหลักฐานว่าสมาร์ตโฟนของ Xiaomi มีฟังก์ชันกรองเนื้อหาอยู่ ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Security Center) ของลิทัวเนียแถลงว่า สมาร์ตโฟนของ Xiaomi ซ่อนระบบตรวจจับและกรองคำที่ผิดกฎหมายจีน อาทิ Free Tibet (ปลดปล่อยทิเบต) Long live Taiwan independence (เอกราชไต้หวันจงเจริญ) หรือ ขบวนการประชาธิปไตย (democracy movement) จึงส่งผลให้ทาง BSI ได้เริ่มการตรวจสอบขึ้นเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหาข้างต้น โดยใช้เวลาในการตรวจสอบเป็นเวลานานหลายเดือน “ผลคือ BSI ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติที่จะต้องมีการสืบสวนหรือใช้มาตรการอื่น ๆ ต่อไป” โฆษกคนดังกล่าวระบุ ที่มา Reuters     ที่มา : beartai        /    วันที่เผยแพร่ 13 ม.ค.2565 Link…

การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโควิด 19 ของพนักงานทำได้หรือไม่ | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  มาตรการบังคับให้บุคคลต้องแสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือแสดงผลตรวจเชื้อโควิด 19 ก่อนเข้ามาในสถานที่ เป็นประเด็นถกเถียงในสังคมไทย รวมถึงในประเทศอื่นๆ มีการกล่าวอ้างถึงสิทธิส่วนบุคคล และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของโควิด 19 มีแนวโน้มที่จะไม่หยุดยิ่งและมีการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา มาตรการที่หลาย ๆ องค์กรนำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระกระจายและการระบาดของโควิด 19 คือการให้พนักงานขององค์กรหรือบุคคลที่ต้องเข้ามายังสถานที่แสดงผลการฉีดวัคซีนหรือแสดงผลตรวจเชื้อโควิด 19 ก่อนเข้ามาในสถานที่ การดำเนินการดังกล่าวของเจ้าของอาคารสถานที่หรือนายจ้างก่อให้เกิดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลาย ๆ ประเทศมุ่งให้การคุ้มครองเป็นพิเศษ วันนี้ผู้เขียนจึงอยากนำกรณีศึกษาเกี่ยวกับมาตรการบังคับให้บุคคลต้องแสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 ข้อแนะนำของ Information Commissioner Office (“ICO”) ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้ UK GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษมาให้ท่านผู้อ่านพิจารณาในประเด็นดังนี้ 1. UK GDPR ใช้บังคับกับการเก็บรวบรวมข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวกับโควิด 19 หรือไม่ ICO ให้ความเห็นว่า หากเป็นเพียงการตรวจผลด้วยการดูหรืออ่านเอกสาร โดยที่ไม่มีการเก็บสำเนาผลตรวจกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็น “การประมวลผล” ตาม UK GDPR แต่หากมีการเก็บรวบรวมผลการตรวจโควิด 19 ไว้ไม่ว่าจะโดยการใช้เครื่องสแกน หรือการเก็บภาพถ่ายดิจิทัลหรือสำเนาผลตรวจ…

MI5 เตือน ส.ส.อังกฤษ พบสายลับจีนแทรกซึม หวังสร้างอิทธิพลทางการเมือง

Loading

  ข่าวกรองสหราชอาณาจักรตรวจพบสปายจากจีน เผยบริจาคเงินให้นักการเมืองหลายราย เพื่อผลักดันนโยบายที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสนใจ วันที่ 13 ม.ค.2565 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หน่วยความมั่นคง หรือ MI5 ของสหราชอาณาจักร ได้ออกมาเตือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถึงการตรวจพบสายลับจากจีนที่พยายามเข้ามาแทรกแซงและสร้างอิทธิพลทางการเมืองภายในประเทศ โดยทางหน่วยงานได้กล่าวหาว่า คริสติน ลี นักกฎหมายที่ทำการบริจาคเงินให้นักการเมืองในสหราชอาณาจักรหลายราย มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเธอใช้เงินทุนจากจีนและฮ่องกงมาสนับสนุนนักการเมือง ทาง MI5 ยังระบุว่า หากผู้ใดได้รับการติดต่อจาก คริสติน ลี ขอให้คำนึงถึงความเกี่ยวข้องที่ตัวเธอมีต่อรัฐบาลจีน และอาจมีความพยายามใช้เงินเพื่อผลักดันนโยบายที่พรรคคอมมิวนิสต์ให้ความสนใจ ปกติแล้วทาง MI5 มักจะไม่ค่อยออกมาประกาศเตือนในลักษณะนี้บ่อยนัก ครั้งนี้พวกเขาเผยว่าเป็นการสอบสวนมาเป็นระยะเวลานาน และพบว่ามีการพุ่งเป้ามายังนักการเมืองอย่างชัดเจน มีการเปิดเผยว่า แบร์รี การ์ดิเนอร์ อดีตรัฐมนตรีแรงงานได้รับเงินกว่า 500,000 ปอนด์ (22.8 ล้านบาท) จาก คริสติน ลี เพื่อเป็นเงินเดือนให้กับทีมงาน และเพิ่งทราบว่าเธอเป็นสปายหลังได้รับการติดต่อจาก MI5 นอกจากนี้ ลูกชายของ คริสติน ลี ยังเป็นหนึ่งในทีมงานของนายการ์ดิเนอร์ ซึ่งล่าสุดได้ยื่นลาออกไปแล้วหลังทราบเรื่อง โดยข้อมูลข่าวกรองยืนยันว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ที่บ่งชี้ว่าลูกชายมีส่วนรับรู้ถึงกิจกรรมที่ผิดกฎหมายของมารดา…

ชายแดนใต้: “ลดความรุนแรง” 1 ใน 3 ประเด็นหลักที่ไทย-บีอาร์เอ็นตกลงให้เป็นสารัตถะการพูดคุยสันติสุขฯ

Loading

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้นำโดย พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ ถ่ายภาพร่วมกับคณะผู้แทนบีอาร์เอ็น และผู้อำนวยความสะดวกของมาเลเซียในระหว่างการพบปะกันที่กัวลาลัมเปอร์ วันที่ 11-12 ม.ค.2565 คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเปิดเผยผลการหารือกับคณะผู้แทนของกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (บีอาร์เอ็น) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 11-12 ม.ค.ว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นร่วมกันในหลักการ 3 ข้อที่จะเป็นสารัตถะของการพูดคุยในระยะต่อไป คือ ลดความรุนแรง การปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ และแสวงหาทางออกทางการเมือง หลังจากชะงักงันเพราะการระบาดของโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2563 การพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ระหว่างรัฐไทยและบีอาร์เอ็นมีความคืบหน้าที่สำคัญเมื่อทั้งสองฝ่ายนัดหมายพบปะกันที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี และนับเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขชายแดนภาคใต้ของไทยเปิดเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่างรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2563 คณะผู้แทนไทยที่มี พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหัวหน้า และฝ่ายบีอาร์เอ็นที่มีอานัส อับดุลเราะห์มาน เป็นหัวหน้าคณะ พบกันแบบ “ตัวเป็น ๆ” ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2-3 มี.ค. 2563 วันนี้ (13 ม.ค.) คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เผยแพร่เอกสารข่าวสรุปผลการหารือระหว่างวันที่…

เดนมาร์กแฉถูกรัสเซีย-จีน-อิหร่านล้วงตับ

Loading

  หน่วยความมั่นคงเดนมาร์กออกโรงเตือน เดนมาร์กกำลังเผชิญภัยคุกคามด้านจารกรรมสูงขึ้น จากจีน รัสเซีย อิหร่าน และประเทศอื่นๆ รวมถึงในภูมิภาคอาร์กติก ที่ซึ่งชาติมหาอำนาจกำลังแสวงหาทรัพยากร และเส้นทางเดินเรือผ่าน สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ว่า รายงานของสำนักข่าวกรองและความมั่นคงแห่งชาติเดนมาร์ก (ดีเอสไอเอส) เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี ระบุว่า มีตัวอย่างจำนวนมาก สำหรับความพยายามจารกรรมเดนมาร์ก ซึ่งบทบาทโดดเด่นในเวทีโลก ทำให้กลายเป็นเป้าหมายล่อใจ นายแอนเดอร์ส เฮนริคเซน ผู้อำนวยการแผนกต่อต้านข่าวกรองของ ดีเอสไอเอส กล่าวว่า ภัยคุกคามจากกิจกรรมข่าวกรอง ของต่างชาติหลายประเทศ ต่อเดนมาร์ก กรีนแลนด์ และหมู่เกาะแฟโร สูงขึ้นในระยะไม่กี่ปีล่าสุด     กรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโร เป็นดินแดนอธิปไตยภายใต้ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และยังเป็นสมาชิกของสภาอาร์กติก โดยเดนมาร์กทำหน้าที่ด้านการต่างประเทศ และความมั่นคง ของดินแดนทั้งสอง รายงานฯ ระบุเหตุการณ์ในปี 2562 จดหมายปลอมที่ทำให้ดูเหมือน รัฐมนตรีต่างประเทศกรีนแลนด์ เขียนส่งถึงวุฒิสมาชิกสหรัฐรายหนึ่ง แจ้งว่า การลงประชามติเอกราชกรีนแลนด์ กำลังจะเกิดขึ้น จดหมายซึ่งมีการแชร์ลงในอินเทอร์เน็ต โดยทีมสายลับชาวรัสเซีย ดูเหมือนต้องการสร้างความสับสน…

มาเลย์ส่งตัว 3 ผู้ต้องหาคดีมั่นคงให้ไทย – พบ 1 ใน 3 ตัวเอ้ หมายจับอื้อ!

Loading

  มาเลเซียส่งมอบ 3 ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงให้ทางการไทยผ่านทางด่านสะเดา จ.สงขลา หลังถูกทหารเสือเหลืองรวบตัวขณะลักลอบข้ามแดนผ่านช่องทางธรรมชาติ พบประวัติ 1 ใน 3 มีหมายจับ ป.วิอาญาเพียบ ทั้งยิงทหารพรานตาย-เจ็บ และสะสมอาวุธเพื่อก่อเหตุ  พล.ต.ต.เสกสันต์ ชูรังสฤษฎ์ รองผู้บังคับการสืบสวน ตำรวจภูธรภาค 9 (รอง ผบก.สส.ภ.9 ) พร้อมด้วย พ.ท.จตุพร ธานีพัฒน์ เสนาธิการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 5 (เสธ.ฉก.ร.5) ในฐานะผู้แทนผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 5 , พ.อ.อธิภัทร พูลสมบัติ หัวหน้าชุดชุดปฏิบัติการด้านการข่าว 30 (หน.ชปข.30) จากสำนักการข่าว กอ.รมน. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สะเดา และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลา รับมอบการส่งตัวผู้ถูกควบคุมตัวตามหมาย ป.วิอาญา (หมายจับที่ออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) และ หมาย พ.ร.ก. (หมายเชิญตัวที่ออกตาม พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ) จากประเทศมาเลเซีย ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา…