สงครามโลกครั้งใหม่? สรุปz แบบเข้าใจง่าย

Loading

  explainer ความขัดแย้งอันรุนแรงของ 2 ชาติเพื่อนบ้าน อาจกลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่กลายเป็นสงครามโลก จุดเริ่มต้นคืออะไร ทำไมรัสเซียกับยูเครนกำลังจะทำสงครามกัน workpointTODAY จะอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายที่สุดใน 34 ข้อ   1) ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมาก่อน แต่ในปี 1917 เมื่อราชวงศ์โรมานอฟหมดอำนาจ กลุ่มชาตินิยมยูเครนจึงขอแยกตัวออกไปเป็นประเทศ โดยมีเยอรมนีหนุนหลัง แต่พอเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 พร้อมทั้งมีการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ยูเครนจึงถูกรวมอยู่ในโซเวียต และสถาปนาเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน   2) ความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นในปี 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย แต่ละประเทศแยกกันไปมีเอกราชของตัวเอง และยูเครนเองก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตาม โรงงานจัดเก็บอาวุธนิวเคลียร์ของโซเวียตตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศยูเครน แปลว่า หัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมด 1,249 หัว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของยูเครนไปโดยปริยาย   3) การมีหัวรบนิวเคลียร์อยู่ในมือ เป็นเครื่องการันตีความปลอดภัยของยูเครน ว่าจะไม่ปล่อยให้เพื่อนบ้านอย่างรัสเซียเข้ามารุกรานได้ อย่างไรก็ตาม สังคมโลกก็ไม่สบายใจนัก เพราะถ้าวันดีคืนดี ยูเครนโมโหขึ้นมาเมื่อไหร่ อาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ในทางที่ผิดก็ได้ เช่นยิงถล่มใส่ประเทศอื่น ดังนั้นจึงต้องการให้ยูเครนทำการกำจัดหัวรบนิวเคลียร์ให้หมด (Denuclearization)   4)…

เช็ค! ความช่วยเหลือ คนไทยในยูเครน- รัสเซีย ต้องทำอย่างไรบ้าง?

Loading

สถานการณ์ความตึงเครียดตามแนวชายแดนระหว่างยูเครนและรัสเชีย ส่งผลให้รัฐบาลยูเครนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. 2565 เป็นต้นไป “กรมการจัดหางาน”ได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 -10 และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ ถึงสถานการณ์ในประเทศยูเครนและรัสเซีย เพื่อให้ประชาสัมพันธ์ต่อไปยังคนหางานที่ต้องการเดินทางไปทำงานประเทศยูเครนและสหพันธรัฐรัสเซียทราบสถานการณ์ก่อนตัดสินใจเดินทาง  – ระงับคนไทยไปทำงานในยูเครน ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานในประเทศยูเครน จำนวน 139 คน เป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 126 คน และทำงานประเทศรัสเซีย จำนวน 441 คน เป็นสมาชิกกองทุนฯ จำนวน 406 คน ทั้งหมดเป็นแรงงานที่เดินทางไปทำงานด้วยตนเอง และ Re-entry ซึ่งหากมีประกาศอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการอพยพคนไทยกลับประเทศ ทั้งนี้ สำหรับแรงงานไทย ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ และได้รับผลกระทบจนต้องเดินทางกลับประเทศจะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ รายละ 15,000 บาทตามระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยกิจการที่จะใช้จ่ายเงินจากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ พ.ศ.2549 โดยให้จ่ายเงินจากกองทุน สงเคราะห์กรณีสมาชิกกองทุนประสบปัญหาต้องเดินทางกลับประเทศไทยก่อนสิ้นสุดการเป็นสมาชิกกองทุน เนื่องจากภัยสงครามหรือปัญหาความไม่สงบหรือภัยธรรมชาติหรือเกิดโรคระบาด ซึ่งทางการของประเทศนั้นๆ ประกาศกำหนดแล้ว  – เช็คข้อมูลญาติพี่น้องทำงานที่ยูเครน สำหรับผู้ที่มีญาติพี่น้องทำงานอยู่ที่ประเทศยูเครนในขณะนี้ หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศยูเครน…

นายกฯ ห่วงใย สั่งการให้ กต.ดูแลคนไทยในยูเครน ประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง กำหนดแผนอพยพให้ความช่วยเหลือ

Loading

  นายกฯ ห่วงใย สั่งการให้กต.ดูแลคนไทยในยูเครน ประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง กำหนดแผนอพยพให้ความช่วยเหลือให้ดีที่สุด เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงใยต่อสถานการณ์ความรุนแรงในยูเครนซึ่งมีความตึงเครียดสูงขึ้น และเสี่ยงต่อความปลอดภัยของคนไทยในยูเครน จึงได้สั่งการอย่างใกล้ชิด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นหลักในการวางแผนให้ความช่วยเหลือคนไทย เตรียมพร้อมให้เท่าทันสถานการณ์ ซึ่งมีความคืบหน้าล่าสุดดังนี้ นับตั้งแต่วันนี้ (25 กุมภาพันธ์ 2565) สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ได้จัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคนไทยในยูเครน (เมืองลวิฟ)” โดยจะใช้โรงแรม Цісар หรือ Tsisar เป็นศูนย์หลัก (ที่อยู่ Horodotska St , 65 , Lviv , Lviv Oblas t, Ukraine , 79000) ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปประจำ เพื่อใช้เป็น…

ชาวยูเครนแห่หนีภัยสงคราม ใช้สถานีรถไฟใต้ดินเป็นที่หลบภัย

Loading

ชาวยูเครนในกรุงเคียฟจำนวนมาก แห่อพยพมาหลบภัยภายในสถานีรถไฟใต้ดินในช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา หลังรัสเซียยังรุกหนักโจมตียูเครนจากหลายทิศทาง กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ยังอยู่ภายใต้การประกาศภาวะเคอร์ฟิว โดยห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานยามวิกาลตั้งแต่เวลา 22.00 น. ไปจนกระทั่งถึงเวลา 07.00 น. ของวันรุ่งขึ้น หลังจากที่ยูเครนถูกโจมตีอย่างเต็มรูปแบบโดยรัสเซีย ขณะที่การขนส่งสาธารณะก็จะหยุดให้บริการในช่วงเวลาเคอร์ฟิวด้วย เว้นแต่สถานีรถไฟใต้ดินที่จะยังคงเปิดตลอดทั้งวันทั้งคืน เพื่อใช้เป็นหลุมหลบภัยหรือสถานที่หลบระเบิดสำหรับประชาชน มีรายงานว่าค่ำคืนที่ผ่านมาสถานีรถไฟใต้ดินในกรุงเคียฟคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนจำนวนมาก ที่อพยพและพาครอบครัวลูกเด็กเล็กแดงรวมทั้งสัตว์เลี้ยง หอบข้าวของที่จำเป็นมาจับจองพื้นที่ เพื่ออาศัยพักหลับนอนภายในสถานีรถไฟใต้ดิน โดยส่วนใหญ่เตรียมเสบียงมาเพียงพอราว 2 วัน เพราะหวังว่าสถานการณ์การสู้รบจะยุติลงโดยเร็ว และคิดว่าจุดนี้จะเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับพวกเขา     ทั้งนี้ ผู้อพยพหลายคนเปิดใจว่า พวกเขาไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดสงครามขึ้น และรู้สึกช็อกที่ประธานาธิบดีปูตินตัดสินใจเช่นนี้ โดยมีรายงานว่ามีเสียงไซเรนดังขึ้นเกือบตลอดทั้งคืนในพื้นที่ดาวน์ทาวน์ของกรุงเคียฟ และยังมีรายงานเหตุระเบิดทั้งในเมืองคาร์เคียฟ และโอเดสซาด้วย ด้านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ระบุว่ามีประชาชนราว 100,000 คน ที่ต้องอพยพออกจากบ้านเรือน และยังมีพลเรือนอีกหลายพันคนที่หนีออกนอกประเทศเพื่อหนีภัยสงครามในครั้งนี้. ที่มา :เดลี่เมล์     ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์    /  วันที่เผยแพร่ 25 ก.พ.65 Link :…

พบมัลแวร์ชั้นสูง Bvp47 กระจายตามบริษัทโทรคม หน่วยงานทหาร คาดเป็นของ NSA

Loading

  Pangu Lab บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์จากจีนรายงานถึงมัลแวร์ Bvp47 ที่ตั้งชื่อตามสตริงที่เจอซ้ำๆ กันในตัวมัลแวร์ว่าเป็นมัลแวร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลก และมีความสามารถซับซ้อน สามารถซ่อนการสื่อสารได้ค่อนข้างแนบเนียน โดยคาดว่าจะเป็นมัลแวร์ตัวหนึ่งของ NSA Bvp47 ซ่อนการสื่อสารกับต้นทางผ่านทางแพ็กเก็ต TCP SYN เพื่อกระตุ้นการทำงานมัลแวร์และส่งคำสั่ง กระบวนการเชื่อมต่อเข้ารหัสอย่างรัดกุม และเมื่อเจาะเซิร์ฟเวอร์ต้นทางได้แล้วก็จะเจาะออกด้านข้างหาเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นๆ ไปเรื่อยๆ จากการวิเคราะห์มัลแวร์ พบว่ามีการใช้เครื่องมือเจาะหลายตัว ตรงกับ Equation Group ที่ทำเครื่องมือรั่วออกมาเมื่อปี 2016 ทำให้คาดได้ว่า Bvp47 นี้ก็น่าจะเป็นของ NSA เหมือนกัน ทาง Pangu Lab ระบุว่า Bvp47 มีรายชื่อเหยื่ออยู่ในไฟล์ด้วย (โดยรายชื่อกระจายตามบริษัทโทรคมนาคม , สถาบันวิทยาศาสตร์ , มหาวิทยาลัย , หน่วยงานทางทหาร , และหน่วยงานทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยจีนมีเยอะสักหน่อย สำหรับประเทศไทยเองก็ระบุว่าเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญอยู่ในรายการ ที่มา – Pangu Lab     ที่มา…