Tesla ถูกแฮ็กโดยวัยรุ่น จากแอปพลิเคชันของ Third Party

Loading

  วัยรุ่น 19 ปี ชาวเยอรมัน แฮ็กรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla ผ่านแอปพลิเคชันของ Third Party เข้าถึงการปลดล็อกประตู ควบคุมไฟ และระบบเครื่องเสียง   วัยรุ่นชาวเยอรมันคนหนึ่ง กล่าวว่า เขาพบช่องโหว่ในแอปพลิเคชันบุคคลที่สามของ Tesla อย่าง TeslaMate   เดวิด โคลัมโบ (David Colombo) วัย 19 ปี ระบุว่า เขาสามารถทำการปลดล็อกประตู กระพริบไฟหน้า หรือควบคุมเครื่องเสียงของรถ Tesla ทั้ง 25 คันที่ติดตั้ง TeslaMate รวมไปถึงการติดตามตำแหน่งของรถ Tesla ในแต่ละวัน ยังดีที่แฮ็กเกอร์ไม่สามารถเข้าควบคุมระบบพวงมาลัย คันเร่ง หรือเบรกได้ ไม่เช่นนั้นคงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง   เป็นเรื่องปกติที่นักวิจัยด้านความปลอดภัยจะชดเชยให้กับคนที่สามารถค้นหาช่องโหว่ของซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่นเดียวกันกับ Tesla ที่เสนอเงินจูงใจให้กับผู้ที่รายงานข้อบกพร่องในซอฟต์แวร์ของตน แต่แฮ็กเกอร์หนุ่มเยอรมันรายนี้ ระบุว่า เขาไม่ได้รับเงินเนื่องจากช่องโหว่อยู่ในแอปของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ในโครงสร้างพื้นฐานของ Tesla  …

วัสดุใหม่ MIT สร้างพลาสติกกันกระสุน แข็งแต่เบา ใช้ในงานก่อสร้าง

Loading

  นักวิจัยของ MIT ได้พัฒนาวัสดุใหม่ที่แข็งแรงพอๆ กับเหล็ก แต่เบาเหมือนพลาสติก ซึ่งสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก ๆ และนำไปใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชุดสีของรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงบล็อคสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สะพาน หรือโครงสร้างอาคาร Michael Strano ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเคมีของ Carbon P. Dubbs ที่ MIT บอกว่า โดยปกติแล้ว เราไม่มีทางนำพลาสติกไปใช้กับโครงสร้างขนาดใหญ่แน่ ๆ แต่ด้วยวัสดุนี้ มันสามารถสร้างใหม่ ๆ จากพลากสติกขึ้นมาได้ วัสดุนี้แข็งแรงกว่ากระจกกันกระสุนหลายเท่า และหากจะทำให้มันแตกออกจากกัน ต้องใช้แรงมากกว่า 2 เท่าของการทำให้เหล็กแตก แม้ว่าวัสดุนี้จะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในหกของเหล็กเท่านั้น ตามข้อมูลของ MIT ครับ วัสดุนี้ ทำขึ้นจากการนำโพลิเมอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษไปผสมรวมกับยางและแก้วเพื่อสร้างเป็นวัสดุชนิดพิเศษขึ้นมาอีกขั้น โดยพอลิเมอร์เป็นสายโซ่ของโมเลกุลแต่ละโมเลกุลที่เรียกว่าโมโนเมอร์ซึ่งเชื่อมโยงกันด้วยพันธะเคมี กุญแจสำคัญมาจากการสร้างกระบวนการที่ยอมให้โมโนเมอร์เชื่อมโยงและเติบโตเป็นสายโซ่โพลีเมอร์โดยไม่ทำให้โมโนเมอร์ตัวใดตัวหนึ่งแตกออกจากกัน จนเกิดเป็นวัตถุที่แข็งแรงทนทานขึ้นมาครับ หากในอนาคต วัตถุนี่สามารถผลิตได้ง่าย และมีคุณสมบัติแข็งที่นักวิจัยบอก เราอาจเห็นการนำพลาสติกมาสร้างเป็นอาคารก็เป็นได้   ที่มาข้อมูล https://www.usatoday.com/story/tech/2022/02/06/mit-new-material-stronger-than-steel/6684075001/      …

เกาหลีเหนือ แฮ็กคริปโทนับล้านเหรียญ เป็นทุนพัฒนามิสไซล์

Loading

  ยูเอ็นเผย คิมจองอึน แฮ็กเหรียญคริปโทกว่า 50 ล้านเหรียญ ใช้เป็นทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาขีปนาวุธ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 บีบีซีเปิดเผยรายงานขององค์การสหประชาชาติ ที่ระบุว่า ช่วงระหว่างปี 2020 ถึงกลางปี 2021 เกาหลีเหนือมีการโจรกรรมทางไซเบอร์ที่ขโมยเงินสกุลดิจิทัลมูลค่ารวมมากว่า 50 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้เป็นทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาขีปนาวุธ รายงานของยูเอ็นระบุว่า การปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อแฮ็กเงินจากต่างชาติกลายเป็น “แหล่งรายได้สำคัญ” ของเกาหลีเหนือสำหรับพัฒนาโครงการขีปนาวุธ โดยมุ่งเป้าไปที่การแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลอย่างน้อย 3 แห่งในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย รายงานยังอ้างอิงถึงการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนที่แล้วโดยบริษัทรักษาความปลอดภัย Chainalysis ซึ่งระบุว่า การโจมตีทางไซเบอร์ของเกาหลีเหนืออาจทำเงินได้มากถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว โดยในปี 2019 ยูเอ็นรายงานว่า เกาหลีเหนือได้สะสมเงินราว 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการขีปนาวุธ ผ่านช่องทางโจมตีทางไซเบอร์ แม้เกาหลีเหนือ จะถูกนานาชาติคว่ำบาตรจากโครงการพัฒนาขีปนาวุธ ทว่ากิจกรรมจารกรรมทางไซเบอร์ของเกาหลีเหนือ ไม่เพียงแค่ปล้นเงินดิจิทัลเท่านัน แต่การโจมตีทางไซเบอร์ยังรวมถึงการแสวงหาข้อมูล เทคโนโลยี และองค์ความรู้จากต่างชาติด้วย ทั้งนี้ ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เกาหลีเหนือได้ทำการทดสอบขีปนาวุธถึง 9 ครั้งในเดือนที่แล้วเพียงเดือนเดียว…

โลกใบใหม่

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ต้นปีของแต่ละปี สำนักวิจัยหรือโพลล์ต่าง ๆ จะเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นโดยการสุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มหนึ่งว่า มีทัศนะหรือมุมมองต่อประเทศของตนอย่างไร คิดว่าในปีนี้ ประเทศจะเจออะไรบ้างโดยจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนตามความรุนแรงของปัญหา โพลล์ในไทยก็มองอนาคตของประเทศในปีนี้ แต่สำนักโพลล์ต่างประเทศบางสำนักมองในภาพรวม ว่า ประชากรโลกมองโลกในปีใหม่ว่าจะเผชิญกับภัยคุกคาม หรือ ความเสี่ยงอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด และจัดความสำคัญเร่งด่วนที่โลกหรือรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ควรร่วมมือกันป้องกัน บรรเทา แก้ไขภัยคุกคามหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น อย่างไรบ้าง ในปี 2565 ก็เช่นกัน มีการเผยแพร่โพลล์สำนักต่าง ๆ ประเมินภัยคุกคาม หรือความเสี่ยงต่อโลกใบนี้ในมุมมองของประชากรโลกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสุ่มตัวอย่าง ซึ่งมุมของคนหนุ่มสาวกับผู้ใหญ่ (พิจารณาจากอายุ) มีทั้งเหมือนกันและต่างกัน แต่ที่น่าสนใจคือ คนเดี๋ยวนี้ไม่ได้คิดว่า สงครามและการสู้รบระหว่างประเทศจะเป็นภัยคุกคามหรือความเสี่ยงเผชิญหน้าในปี 2565 นัยหนึ่ง เขาแทบไม่ให้ความสนใจกับประเด็นนี้เลย และไม่ได้มองว่า จะเกิดสงครามขนาดใหญ่ ชาติใหญ่ทำท่าจะต่อยจะตีกัน แต่สุดท้ายก็ตกลงกันได้ แม้ว่าแต่ละชาติสะสมระเบิดนิวเคลียร์และขีปนาวุธนำวิถีมากมาย ซึ่งเท่ากับเป็นการ “ ป้องปราม “ และทำให้ชาตินิวเคลียร์เหล่านี้ยับยั้งชั่งใจ เพราะถ้าเกิดสงครามก็ตายกันหมด คนหนุ่มสาวสนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปากท้อง การกินดีอยู่ดี ความมั่นคงในอาชีพของพวกเขามากกว่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะทุกคนอยากรวยเร็วด้วยกันทั้งนั้น บางครั้งก็ไม่คำนึงถึงวิธีการรวยเร็วว่าจะถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมหรือไม่อย่างไร เป็นที่เข้าใจได้ว่า…

‘เอ็นที’ ยก ‘5 เทรนด์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’ โจมตีองค์กรยุคดิจิทัล

Loading

บริษัท เอ็นที โทรคมนาคม ในส่วนธุรกิจ เอ็นที ไซเฟ้น (NT Cyfence) ปล่อยบทวิเคราะห์ 5 เทรนด์ เกี่ยวกับไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ที่ทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและธุรกิจควรระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ วิกฤติโรคระบาดที่เป็นสาเหตุหลักให้ทั้งโลกตั้งปรับตัว การล็อกดาวน์ เวิร์คฟอร์มโฮม โซเชียลมีเดีย บล็อกเชน กลายเป็นปัจจัยที่วนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันและธุรกิจ ขณะที่หลายองค์กรแทบจะส่งคืนสำนักงานที่เคยเช่า แล้วย้ายมาทำงานออนไลน์กันเกือบจะ 100% แต่โลกที่ดูเหมือนจะสะดวกสบายและเชื่อมถึงกันนี้ ทุกฝีก้าวก็กลับแฝงไว้ด้วยภัยร้ายจากเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ บริษัท เอ็นที โทรคมนาคม ในส่วนธุรกิจ เอ็นที ไซเฟ้น (NT Cyfence) วิเคราะห์ 5 เทรนด์ เกี่ยวกับไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ที่ทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและธุรกิจควรระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ 1.เอไอ คือเป็นตัวแปรสำคัญของไซเบอร์ซิเคียวริตี้ อดีตที่ผ่านมา “เอไอ” หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เคยถูกนำมาใช้ตรวจจับการฉ้อโกง และพฤติกรรมอันน่าสงสัยในธุรกิจการเงินและการธนาคาร และมันก็ให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจมากทีเดียว ดังนั้นปีนี้ หลายฝ่ายจึงเชื่อว่า เอไอ จะกลายเป็นเทรนด์และอาวุธสำคัญที่ใช้ตอบโต้และหยุดยั้งเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้ ผลศึกษาส่วนหนึ่งจาก Capgemini บริษัทผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจากฝรั่งเศส ระบุว่ากว่า 2…

10 แนวโน้ม Cybersecurity & Privacy Trends 2022-2024 | ปริญญา หอมเอนก

Loading

ดร.ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด เผย 10 แนวโน้มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ปี 2022-2024 ที่จะมีผลระยะสามปีนับจากนี้ เพื่อเตรียมความพร้อม รู้เท่านั้น จะช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ Trend #1 : ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและความจำเป็นเร่งด่วนในการฉีดวัคซีนไซเบอร์ให้กับประชาชน Digital Inequality and Cyber Vaccination การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นเร่งด่วน ในการให้ความรู้ประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลก เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงต่างๆ ที่เข้ามาทางไซเบอร์ การฉีดวัคซีนไซเบอร์ให้กับประชาชน นับได้ว่าเป็นเรื่องจำเป็นของรัฐบาลทุกประเทศ และควรมีหน่วยงานรับผิดชอบต่อเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันทางดิจิทัลให้แก่ประชาชนโดยตรง ด้วยการสร้างระบบในการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยไซเบอร์กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคุ้นชินและสามารถเผชิญเหตุได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคงปลอดภัยในระดับหนึ่ง สถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยในการเร่งให้เกิดกระบวนการ Digital Transformation ผนวกกับมาตรการล็อกดาวน์ที่ผ่านมาทำให้ประชาชนต้อง Work from Home ประเด็นเหล่านี้ต่างยิ่งทำให้ประชาชนจำเป็นต้องพึ่งพาระบบสารสนเทศทั้งสิ้น หากประชาชน และคนทำงานไม่มีความตระหนักรู้ ก็จะกลายเป็นช่องโหว่ให้ภัยไซเบอร์สามารถเข้าสู่ระบบได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญ เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพราะปัญหาทางไซเบอร์ไม่อาจแก้ได้โดยทางเทคนิคเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการที่ดีและการให้ความรู้กับประชาชนด้วย (Process and People,…