ฮาวานา ซินโดรม : รายงานข่าวกรองชี้ อาการป่วยปริศนาของนักการทูตสหรัฐฯ อาจเกิดจาก “อาวุธพลังงานตรง”

Loading

ฮาวานา ซินโดรม ถูกพบครั้งแรกในหมู่เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองและนักการทูตอเมริกันที่ปฏิบัติงานในกรุงฮาวานา ของคิวบา เมื่อปี 2016   รายงานล่าสุดของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ระบุว่า อาวุธพลังงานตรง (directed energy) อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการฮาวานา หรือ ฮาวานา ซินโดรม (Havana Syndrome) ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยปริศนาที่พบในหมู่เจ้าหน้าที่และนักการทูตสหรัฐฯ ผู้ปฏิบัติงานในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก   อาวุธพลังงานตรง คือระบบอาวุธที่โจมตีเป้าหมายด้วยพลังงานโดยตรง เช่น แสงเลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ รังสี และคลื่นเสียง   ที่ผ่านมา มีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องว่าอาการป่วยปริศนานี้มีสาเหตุมาจากการใช้อุปกรณ์บางอย่าง หรือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นทางจิตใจ   อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับล่าสุดจากคณะผู้เชี่ยวชาญของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ระบุว่า ฮาวานา ซินโดรม เป็นความผิดปกติ “ที่เกิดขึ้นจริง และมีความเป็นไปได้” ซึ่งในบางกรณีอาจเกิดขึ้นจากอุปกรณ์ลับที่ถูกซุกซ่อนไว้ แต่คณะผู้จัดทำรายงานไม่ได้ค้นหาว่า ใครอาจเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปองร้ายเจ้าหน้าที่ทูตสหรัฐฯ เหล่านี้   ฮาวานา ซินโดรม ถูกพบครั้งแรกในหมู่เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองและนักการทูตอเมริกันที่ปฏิบัติงานในกรุงฮาวานา ของคิวบา เมื่อปี 2016 ที่เริ่มมีอาการผิดปกติต่าง…

‘บิ๊กป้อม’ เตรียมแผนรับการประชุมผู้นำเอเปกปลายปี เน้นดูแลความปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่น

Loading

  ‘บิ๊กป้อม’ เตรียมแผนรับการประชุมผู้นำเอเปกปลายปีเน้นดูแลความปลอดภัย-อำนวยความสะดวกสร้างความเชื่อมั่นรองรับระดับนานาชาติ   4 ก.พ.2565- พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมอนุกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกการจราจร ผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์มีหน่วยงานราชการเกี่ยวข้องร่วมประชุม เพื่อเตรียมการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้อง   โดยที่ประชุมเห็นชอบร่างแผนรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกการจราจร การจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในปี 2565 โดยสาระสำคัญของร่าง จะกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ และแนวความคิดในการปฏิบัติการด้านต่างๆ เช่น ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านการอำนวยความสะดวกการจราจร ด้านการข่าว ด้านการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบ ด้านการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย เป็นต้น   โดยที่ประชุมมอบหน่วยที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนด้านต่างๆอาทิ กองบัญชาการกองทัพไทย รับผิดชอบแผนเผชิญเหตุต่อต้านการก่อการร้าย กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบแผนส่งกลับสายการแพทย์กองทัพเรือและกองทัพอากาศ ร่วมรับผิดชอบจัดทำแผนส่งกลับสายแพทย์ทั้งทางบก และทางน้ำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกการจราจร   พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคฯ เป็นหน้าตาและโอกาสของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ ที่ต้องการความร่วมมือกันทุกภาคส่วนอย่างสูงสุด ในการแสดงออกถึงภาพลักษณ์ของความพร้อม ความเชื่อมั่นและความเป็นหนึ่งเดียวกันและชื่อเสียงของประเทศครั้งสำคัญ ต่อการฟื้นฟูประเทศหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19   จึงขอให้ทุกส่วนราชการจัดประชุมหารือ จัดทำแผนงานให้ครอบคลุมความปลอดภัยทุกการประชุมที่เกี่ยวข้องต่อไป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์- พฤศจิกายนนี้ ทั้งด้านการชุมนุมสาธารณะ ด้านการก่อเหตุรุนแรง…

ฟิลิปปินส์ผ่าน ก.ม. บังคับให้ยืนยันตัวตนบนโซเชียลมีเดีย

Loading

  รัฐสภาฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ส่งผลให้ประชาชนต้องยืนยันตัวตนตามความเป็นจริง ในการสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ หวังลดปัญหาข่าวปลอม และการฉ้อโกง   รัฐสภาฟิลิปปินส์ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาของฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ว่าด้วยการให้ประชาชนทุกคนต้องยืนยันตัวตนทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการสอบสวนแกะรอยได้ หลังพบปัญหาการก่อกวนทางออนไลน์ การให้ข่าวเท็จ และมีการใช้ตัวตนปลอมในการสร้างแอ็กเคาต์ในโลกโซเชียลจำนวนมาก   แฟรงคลิน ดริลอน หนึ่งในวุฒิสมาชิกที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า เป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องแก้ปัญหาการไม่เปิดเผยตัวตนในโลกออนไลน์ ที่จะนำไปสู่การโจมตี มุ่งร้ายผู้บริสุทธิ์ในโลกโซเชียลมีเดีย โดยกฎหมายฉบับนี้ยังคงต้องรอให้ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตร์แต ลงนาม ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป   ทั้งนี้ แม้กฎหมายฉบับนี้จะมีการระบุบทลงโทษสถานหนัก ทั้งการจำคุกและการปรับเงินจากการให้ข้อมูลเท็จ แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่แน่ชัดว่า บรรดาผู้ให้บริการสื่อโซเชียลมีเดียจะมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไร ว่าข้อมูลที่มีการลงทะเบียนเป็นความจริง รวมถึงจะตรวจสอบข้อมูลของบัญชีที่ลงทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วอย่างไร ขณะที่เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นอย่างเป็นทางการต่อประเด็นนี้ นอกจากนี้กฎหมายฉบับดังกล่าวยังรวมครอบคลุมไปถึงการลงทะเบียนใช้งานซิมโทรศัพท์มือถือกับผู้ให้บริการตามความเป็นจริงอีกด้วย   ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุดที่ 79 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 110 ล้านคน และยังถูกจัดอยู่ในประเทศอันดับต้นๆ ที่ประชากรใช้เวลาในโลกโซเชียลมีเดียต่อวันสูงสุดด้วย…

สยบก่อการร้าย! ผบ.กองทัพสหรัฐเล่านาทีปฏิบัติการ ‘เดลตาฟอร์ซ’ ลุยเด็ดหัวผู้นำ ‘ไอเอส’

Loading

หนึ่งในแม่ทัพสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการพื้นที่ในซีเรีย เปิดแผนปฏิบัติการราวหนังฮอลลีวูด เล่าฉากประวัติศาสตร์หน่วยรบพิเศษ ‘เดลตาฟอร์ซ’ ลุยเด็ดหัวผู้นำ ‘ไอเอส’ บีบอีกฝ่ายระเบิดตัวเอง เสียชีวิตยกครัว   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ว่า พล.อ.เคนเนธ แมคเคนซี ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการภูมิภาคกลางของสหรัฐ แถลงเมื่อวันพฤหัสบดี เกี่ยวกับปฏิบัติการของหน่วยรบพิเศษเดลตาฟอร์ซ ซึ่งลงพื้นที่เมืองอัตเมห์ ในจังหวัดอิดลิบ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย ว่าแผนการคือ “การจับเป็น” นายอาบู อิบราฮิม อัล-ฮาเชมี อัล-คูเรชี ผู้นำสูงสุดของกลุ่มไอเอส ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายอาบู บาการ์ อัล-บักห์ดาดี เมื่อปี 2562 โดยเขาย้ำกับทีมงานเป็นระยะ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ภาคสนามเดินทางถึงสถานที่กบดานของเป้าหมาย   ที่ชั้นแรกของอาคาร เจ้าหน้าที่อพยพผู้ใหญ่ 4 คน และเด็ก 2 คน ออกจากพื้นที่ โดยตรวจสอบแล้วว่า ไม่มีใครมีอาวุธและเข็มขัดระเบิดติดตัว หลังจากนั้นขึ้นไปยังชั้นสอง พบกับผู้ช่วยของคูเรชี และภรรยาคนหนึ่งของคูเรชี เกิดการยิงต่อสู้กัน ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถวิสามัญทั้งสองคน   นอกจากนี้…

เตือนภัยหายนะควอนตัม ที่จะร้ายแรงยิ่งกว่า Y2K

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญเตือนให้ระวังหายนะควอนตัม (Quantum Apocalypse) ที่จะร้ายแรงยิ่งกว่าวิกฤต Y2K ที่ในอดีตเคยสร้างความปวดหัวให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกมาแล้ว Y2K เกิดขึ้นเมื่อปี 2542 หรือคริสต์ศักราช 2000 มีสาเหตุจากข้อจำกัดในการแสดงตัวเลขปีบนคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นที่แสดงได้เพียง 2 หลักสุดท้าย ทำให้คอมพิวเตอร์เกิดความสับสนระหว่างปี 2000 และ 1900 นำไปสู่ความผิดพลาดในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำให้หลายประเทศทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญระบุว่าหายนะดังกล่าวจะเกิดจากคอมพิวเตอร์ควอนตัม (Quantum Computers) ที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งกว่าเทคโนโลยีใด ๆ ที่เคยมีมาในอดีต ซึ่งหากถึงเวลาที่โลกต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัม ระบบเทคโนโลยีและโครงข่ายในปัจจุบันก็จะกลายเป็นสิ่งล้าหลัง คอมพิวเตอร์ควอนตัมจะสามารถถอดรหัสระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เคยต้องใช้เวลาหลายทศวรรษ ในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น “ทุกสิ่งที่เราทำบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้ ตั้งแต่การซื้อของออนไลน์ การทำธุรกรรม และการปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ต่างก็เข้ารหัสด้วยกันทั้งสิ้น” แฮริ โอเวน (Harri Owen) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านยุทธศาสตร์จากบริษัท PostQuantum ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC การที่เทคโนโลยีควอนตัม โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ควอนตัมเข้ามาในชีวิตประจำวัน อาจสร้างช่องว่างเชิงเทคโนโลยีของคนทั่วโลก รวมถึงยังอาจนำมาซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน อย่างไรก็ตาม เรายังอาจต้องรอเป็นสิบปีกว่าที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมจะเป็นที่แพร่หลายอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งทางบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่และรัฐบาลทั่วโลกต่างก็ได้เตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบการป้องกันควอนตัมแล้ว ในไทยเองก็มีการถกแถลงเกี่ยวกับเทคโนโลยีควอนตัมมาสักระยะหนึ่งแล้วเช่นกัน   ที่มา Nat…

5 ภัยคุกคามไซเบอร์ที่ควรพึงระวังในปี 2022 โดย Fortinet

Loading

1. การโจมตีบน Linux ก่อนหน้านี้ Linux อาจไม่ตกเป็นเป้าของแฮกเกอร์มากนัก เนื่องจากไม่ได้ใช้งานกันแพร่หลาย แต่ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว Linux ถูกใช้เป็นระบบหลังบ้านของเครือข่ายและโซลูชัน Container ของทั้งอุปกรณ์ IoT และ Mission-critical Apps มากขึ้น ส่งผลให้แฮกเกอร์เริ่มพุ่งความสนใจโจมตีระบบปฏิบัติ Linux และแอปพลิเคชันที่รันอยู่บนระบบเหล่านั้นมากขึ้นตาม ที่น่ากังวล คือ องค์กรส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับการปกป้องระบบ Windows แต่มีเพียงส่วนน้อยที่พร้อมรับมือกับภัยคุกคามบน Linux 2. การโจมตีระบบเครือข่ายผ่านดาวเทียม เมื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมแพร่หลายมากขึ้น แนวโน้มของเครื่องมือที่ใช้โจมตีระบบเหล่านี้เลยเพิ่มขึ้นตาม ซึ่งเป้าหมายหลัก คือ องค์กรที่พึ่งพาการเชื่อมต่อผ่านดาวเทียมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่ต้องการ Latency ต่ำ เช่น เกมออนไลน์ หรือบริการสำหรับพื้นที่ห่างไกล รวมไปถึงออฟฟิซภาคสนาม ท่อขนส่ง เรือสำราญ และสายการบิน 3. การโจมตีที่พุ่งเป้า Crypto Wallet Crypto Wallet กลายเป็นความเสี่ยงใหม่จากการที่มีมัลแวร์ถูกออกแบบมาเพื่อพุ่งเป้าข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในมากขึ้น เช่น Bitcoin Private Key , Bitcoin…