เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังแบบพกพาโดยหน่วยทหาร ไม่ว่าจะทำการยิงด้วยทหารเพียงแค่นายเดียวหรือสอง-สามนาย นับเป็นอาวุธหนักที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย จากสงครามในอดีต ปืนต่อสู้รถถังอย่างบาซูกาคืออาวุธต่อต้านยานรบหุ้มเกราะหนาที่ขับเคลื่อนด้วยจรวดรุ่นแรก และถูกใช้โดยทหารราบในสนามรบ จุดเด่นของจรวดประทับบ่าที่มีน้ำหนักไม่มากก็คือ จรวดเชื้อเพลิงแข็งสำหรับการขับเคลื่อน กับหัวรบระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังที่จะยิงเข้าใส่ยานพาหนะหุ้มเกราะ รังปืนกล และป้อมปราการบังเกอร์ที่อยู่ในระยะพิสัยไกลกว่าการขว้างระเบิดมือ หรือทุ่นระเบิด
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมนีได้ยึดบาซูกามาหลายกระบอกในการบุกแอฟริกาเหนือช่วงแรก ไม่นานนัก หน่วยพัฒนาอาวุธของเยอรมนีสร้างเครื่องยิงจรวดต่อต้านยานรบหุ้มเกราะที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.8 ซม.
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองใกล้จะยุติลง ญี่ปุ่นได้พัฒนาอาวุธปราบรถถังที่มีความคล้ายคลึง ด้วยเครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 70 มม. ไทป์ 4 หัวรบดินระเบิดแรงสูง ขับเคลื่อนด้วยจรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีระยะหวังผลยังไม่ไกลเท่าที่ควร แต่ใช้หยุดยั้งรถถัง หรือสร้างความเสียหายได้เป็นอย่างดี
คำว่า “บาซูกา” ยังถูกใช้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นศัพท์ทั่วไปที่อ้างถึงอาวุธต่อต้านรถถังแบบขีปนาวุธที่ยิงด้วยการประทับบ่าจากภาคพื้นดิน
จรวดต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin
จรวดต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin ผลิตโดยบริษัท Raytheon และ Lockheed Martin เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ.1996 ทดแทนจรวดต่อสู้รถถัง M47 Dragon ปัจจุบันมีประจำการในกองทัพบกและนาวิกโยธินสหรัฐฯ และกองทัพของประเทศอื่นๆ ประมาณ 20 ประเทศ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย บาห์เรน เอสโตเนีย จอร์เจีย อินโดนีเซีย จอร์แดน ลิทัวเนีย นอร์เวย์ ซาอุดีอาระเบีย ยูเครน
มีระยะยิง 2.5-4.75 กิโลเมตรขึ้นกับรุ่น ใช้หัวรบ Tandem สามารถเจาะเกราะปฏิกิริยาระเบิด (ERA) ได้ นำวิถีด้วยลำแสงอินฟราเรด ล็อกเป้าด้วยความร้อน FGM-148 Javelin มีคุณสมบัติยิงแล้วลืม (Fire and Forget) เมื่อทำการยิงจรวดออกไปแล้ว จรวดจะนำวิถีพุ่งเข้าหาเป้าหมายด้วยตัวเอง โดยผู้ใช้สามารถหลบเข้าที่กำบังได้ทันที ไม่ต้องเล็งเป้าหมายไว้ตลอดเวลาจนจรวดกระทบเป้าเหมือนจรวดต่อสู้รถถังแบบนำวิถีด้วยเส้นลวด เช่น TOW ส่งผลให้กำลังพลมีโอกาสอยู่รอดมากกว่า
จุดเด่นของ Javelin อยู่ที่โหมด Top Attack คือจรวดจะไม่พุ่งเข้าหารถถังตรงๆ เหมือนจรวดต่อสู้รถถังทั่วไป แต่จะทำการยิงขึ้นไปเป็นมุมสูง จากนั้นจรวดก็จะพุ่งเข้าหารถถังเป็นวิถีโค้งจากด้านบน ซึ่งเป็นจุดที่รถถังมีเกราะบางกว่าจุดอื่น
ข้อมูลจาก https://militaryanddiplomacy.com/2021/08/01/us-fgm-148-javelin-anti-tank-missile/
จรวดต่อสู้รถถัง N-LAW
จรวดต่อต้านยานรบหุ้มเกราะรถแบบใช้แล้วทิ้ง Main Battle Tank and Light Anti-tank Weapon (MBT LAW) หรือ Next Generation Light Anti-Tank Weapon (NLAW) พัฒนาโดยบริษัทอากาศยานอย่าง Saab Bofors Dynamics ของสวีเดน โดยร่วมมือกับบริษัทพัฒนาอาวุธ Thales Air Defence ของอังกฤษ NLAW มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีจากจรวดต่อสู้รถถัง BILL 2 และ AT4 CS
จรวด NLAW กว้าง 150 มิลลิเมตร ยาว 1.02 เมตร น้ำหนัก 12.5 กิโลกรัม ถือว่ามีขนาดไม่ใหญ่มาก เป็นอาวุธยิงต่อต้านยานรบหุ้มเกราะที่มีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพา ใช้ทหารแค่หนึ่งนายทั้งการลำเลียงแบกใส่หลังและทำการยิง ใช้จัดการกับเป้าหมายประเภทยานเกราะและบังเกอร์สนามที่มีความแข็งแรง
จรวด NLAW รุ่นแรกมีระยะยิงหวังผล 600 เมตร การอัปเกรดระบบนำวิถีให้ทันสมัยขึ้น ส่งผลให้ระยะยิงหวังผลเพิ่มขึ้นเป็น 800 เมตร ใช้หัวรบ HEAT มีคุณสมบัติยิงแล้วลืม (Fire and Forget) โหมด Top Attack ใช้ยิงใส่ด้านบนของรถถังซึ่งมีเกราะบาง (คล้ายจรวดต่อสู้รถถัง Javelin ของสหรัฐฯ)
จรวด NLAW มีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี ประจำการในกลุ่มนาโต ทั้งประเทศอังกฤษ สวีเดน ฟินแลนด์ ลักเซมเบิร์ก สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย จรวดต่อสู้รถถังใช้แล้วทิ้ง Main Battle Tank and Light Anti-tank Weapon (MBT LAW) หรือ Next Generation Light Anti-Tank Weapon (NLAW) พัฒนาโดยบริษัท Saab Bofors Dynamics ของสวีเดน และ Thales Air Defence ของอังกฤษ และได้รับความร่วมมือจากกระทรวงกลาโหมอังกฤษด้วย ใช้พื้นฐานเทคโนโลยีจากจรวดต่อสู้รถถัง BILL 2 และ AT4 CS เริ่มโครงการเมื่อปี ค.ศ.2002 และเข้าสู่สายการผลิตในปี ค.ศ.2009 แม้ชื่อ NLAW จะคล้ายกับจรวดต่อสู้รถถัง LAW ของสหรัฐฯ และ LAW-80 ของอังกฤษ แต่ความจริงแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
จรวด NLAW มีขนาดกว้าง 150 มิลลิเมตร ยาว 1.02 เมตร หนัก 12.5 กิโลกรัม ถือว่ามีขนาดไม่ใหญ่มาก น้ำหนักค่อนข้างเบา สะดวกต่อการพกพา สามารถใช้งานได้ด้วยกำลังพลเพียงนายเดียว ใช้จัดการกับเป้าหมายประเภทยานเกราะและป้อมสนาม
จรวด NLAW รุ่นแรกๆ มีระยะยิงหวังผล 600 เมตร แต่ต่อมามีการอัปเกรดระบบนำวิถีให้ทันสมัยขึ้น ส่งผลให้ระยะยิงหวังผลเพิ่มขึ้นเป็น 800 เมตร ใช้หัวรบ HEAT มีคุณสมบัติยิงแล้วลืม (Fire and Forget) มีโหมด Top Attack ใช้ยิงใส่ด้านบนของรถถังซึ่งมีเกราะบาง (คล้ายจรวดต่อสู้รถถัง Javelin ของสหรัฐฯ)
จรวด NLAW มีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี จรวดต่อสู้รถถัง NLAW มีใช้งานในประเทศอังกฤษ สวีเดน ฟินแลนด์ ลักเซมเบิร์ก สวิตเซอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย ทางการอังกฤษส่งจรวดต่อสู้รถถังรุ่นนี้ให้ยูเครนใช้งานเมื่อเกิดการรบพุ่งกับกองทัพรัสเซีย
ข้อมูลจาก https://militaryanddiplomacy.com/2022/01/20/nlaw-anti-tank-missile/
จรวดต่อต้านยานรบหุ้มเกราะและรถถัง Kornet ของรัสเซีย
จรวดต่อสู้รถถังนำวิถีด้วยเลเซอร์ 9M133 Kornet หรือชื่อที่ NATO เรียก คือ AT-14 Spriggan ของรัสเซีย เข้าประจำการในปี ค.ศ.1998 แผนแบบมาทดแทนจรวดต่อสู้รถถัง 9M113 Konkurs หรือ AT-5 Spandrel ของสหภาพโซเวียตซึ่งเข้าประจำการตั้งแต่ช่วงยุค 70 แต่เนื่องจาก Kornet มีราคาแพง และรัสเซียมีงบประมาณจำกัด สุดท้ายรัสเซียจึงไม่ได้ทดแทน Konkurs ทั้งหมดด้วย Kornet แต่อย่างใด ยังคงใช้งานร่วมกันทั้งสองรุ่น
ท่อยิงจรวด Kornet มีขนาดความกว้างปากลำกล้อง 152 มิลลิเมตร ตัวจรวดมีความยาว 1.20 เมตร มีน้ำหนัก 8.2 กิโลกรัม แต่เมื่อรวมน้ำหนักของขาตั้งและระบบเล็งเป้าหมายจะมีน้ำหนักรวม 29.2 กิโลกรัม
จรวด Kornet รุ่นแรก และรุ่นส่งออกคือ Kornet-E มีระยะยิงหวังผลไกลถึง 5.5 กิโลเมตร ไกลกว่าจรวดต่อสู้รถถัง Javelin ของสหรัฐฯ ที่มีระยะยิง 2.5-4.75 กิโลเมตร ขึ้นกับรุ่น จรวด Kornet ใช้หัวรบ Tandem HEAT สามารถเจาะเกราะปฏิกิริยาระเบิด (ERA) และเกราะเหล็กกล้า RHA หนา 1,000-1,200 มิลลิเมตรได้อย่างสบายๆ ต่อมารัสเซียได้พัฒนารุ่น Kornet-EM มีระยะยิงเพิ่มขึ้นอีกเป็น 8 กิโลเมตร หัวรบทำลายเจาะเกราะหนา 1,100-1,300 มิลลิเมตร
จรวด Kornet ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ผ่านสมรภูมิมาแล้วทั้งสงครามอิรัก สงครามเลบานอน สงครามซีเรีย สงครามเยเมน ฯลฯ สามารถทำลายรถถังทั้ง M1 Abrams, Merkava และ Leopard-2A4 ได้
ปัจจุบันจรวด Kornet มีใช้งานในประเทศต่างๆ เกือบ 30 ประเทศทั่วโลก เช่น รัสเซีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน แอลจีเรีย กรีซ อินเดีย อิรัก จอร์แดน ซีเรีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย ฯลฯ
จรวดต่อต้านรถถัง RPG-29 ของรัสเซีย
RPG-29 (รัสเซีย: РПГ-29) (NATO จรวด Vampir) เป็นเครื่อยิงจรวดต่อต้านยานรบหุ้มเกราะ ยานลำเลียงพล รถรบติดอาวุธและรถถัง ผลิตในรัสเซีย ใช้งานโดยกองทัพอดีตสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1989
RPG-29 เป็นเครื่องยิงจรวดรุ่นสุดท้ายที่ใช้งานโดยกองทัพโซเวียตก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1991 นับตั้งแต่นั้น RPG-29 ถูกผนวกเข้ากับเครื่องยิงจรวดชนิดอื่น เช่น RPG-30 และ RPG-32 หัวรบ GP-29V ของ RPG-29 เป็นหนึ่งในไม่กี่หัวรบต่อต้านรถถังที่มีรายงานด้านประสิทธิภาพของการเจาะเกราะคอมโพสิตรถถังตะวันตก มีขนาดความยาว 1 เมตร รวมหัวรบเจาะเกราะ PG-29V tandem rocket / TBG-29V thermobaric rounds หนัก 18 กิโลกรัม ระยะยิงหวังผล 500-800 เมตร
เป็นอาวุธต่อต้านรถถังแบบกึ่งใช้แล้วทิ้งของเยอรมนี ได้รับการพัฒนาระหว่างปี ค.ศ.1978 และ ค.ศ.1985 เข้าประจำการครั้งแรกในปี ค.ศ.1987 (แม้ว่าจะไม่เป็นทางการก็ตาม และใช้จนถึงปี ค.ศ.1992)
เป็นอาวุธต่อต้านยานเกราะที่มีประสิทธิภาพ สำหรับทหารราบเยอรมนีตะวันตกเพื่อต่อต้านยานเกราะของอดีตสหภาพโซเวียต เข้ามาแทนที่เครื่องยิงปืนกล PzF 44 Light Lanze รุ่นเก่าของเยอรมนีตะวันตก และปืนไรเฟิลคาร์ล กุสตาฟ 84 มม. ต่อต้านรถถังที่ผลิตในสวีเดน เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง Panzerfaust 3 ถูกส่งเข้าประจำการในกองทัพทั่วโลกอย่างน้อย 11 ประเทศ และถูกใช้งานเป็นครั้งแรกในสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถาน ขนาดความยาว 950 มิลลิเมตร มีน้ำหนักประมาณ 13.3 กิโลกรัม ระยะยิงหวังผลไกล 920 เมตร
จรวดต่อต้านรถถัง AT-4 สวีเดน
AT-4 เป็นอาวุธต่อต้านรถถังของสวีเดน ขนาด 84 มิลลิเมตร (3.31 นิ้ว) แบบไม่มีพลช่วยยิง พกพาด้วยทหารแค่นายเดียว แบบใช้แล้วทิ้ง เป็นจรวดต่อต้านยานเกราะแบบไร้แรงสะท้อนกลับ สร้างโดย Saab Bofors Dynamics ประสบความสำเร็จในการทำตลาดอาวุธอย่างมาก ทำให้จรวด AT-4 เป็นหนึ่งในอาวุธต่อต้านรถถังเบาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
ชื่อ AT4 เป็นการเล่นคำบนลำกล้อง 84 มม. “AT” เป็นตัวย่อทางทหารทั่วไป สำหรับอาวุธต่อต้านรถถัง หรือตัวย่อจากคำว่า “Anti-Tank” มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้หน่วยทหารราบมีอาวุธร้ายแรงในการทำลายยานเกราะและป้อมปราการ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้ผลกับรถถังหลักในปัจจุบันของรัสเซีย (MBTs) ตัวปล่อยและโพรเจกไทล์ถูกผลิตขึ้นในแพ็ก และทิ้งหลังจากใช้งานครั้งเดียว
AT-4 มีน้ำหนัก 8.3 กิโลกรัม ยาว 1.02 เมตร อัตราความเร็วก่อนกระทบเป้า 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะยิงหวังผล 500-2,100 เมตร หัวรบระเบิดแรงสูง 440 g HEAT (High Explosive Anti-Tank round).
บทความโดย อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/
——————————————————————————————————————————————————————————————
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ / เผยแพร่เมื่อ 6 มี.ค.65
Link : https://www.thairath.co.th/news/auto/news/2332107