ทำงานกับฟรีแลนซ์อย่างไรให้ปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

  การทำงานกับฟรีแลนซ์เป็นเรื่องปกติทั่วไปสำหรับผู้จัดการหลายคนมานานแล้ว แม้แต่ในองค์กรขนาดใหญ่ งานบางอย่างก็ไม่สามารถจัดการได้ภายในทีม รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่ปกติไม่สามารถจ้างพนักงานเพิ่มได้ แต่การเชื่อมโยงบุคคลภายนอกเข้ากับกระบวนการทำงานแบบดิจิทัลสามารถเพิ่มความเสี่ยงทางไซเบอร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานติดต่อกับตัวบุคคลโดยตรงโดยไม่ผ่านตัวแทนคนกลาง   อันตรายจากอีเมลขาเข้า ในการค้นหาฟรีแลนซ์ที่เหมาะสม คุณควรเริ่มคิดถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น เมื่อจะว่าจ้างใครสักคน เรามักจะขอดูพอร์ตโฟลิโอประวัติและผลงานก่อน ฟรีแลนซ์จะส่งเอกสาร ไฟล์ผลงาน หรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของเธิร์ดปาร์ตี้   นักวิจัยมักพบช่องโหว่ในเบราว์เซอร์หรือชุดโปรแกรมสำนักงาน ผู้โจมตีสามารถเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์ขององค์กรได้หลายครั้งโดยการแทรกสคริปต์ที่เป็นอันตรายลงในเอกสารข้อความ หรือโดยการฝังชุดช่องโหว่ในโค้ดเว็บไซต์ แต่บางครั้งเทคนิคดังกล่าวอาจไม่จำเป็น พนักงานบางคนพร้อมที่จะคลิกไฟล์ที่ได้รับโดยไม่ดูส่วนขยายก่อน และเปิดใช้ไฟล์ปฏิบัติการโดยไม่ระมัดระวัง   ผู้โจมตีสามารถแสดงพอร์ตโฟลิโอปกติได้ (ซึ่งอาจไม่ใช่ผลงานของตัวเอง) และส่งไฟล์ที่เป็นอันตรายในภายหลัง นอกจากนี้ ผู้โจมตีสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์หรือเมลบ็อกซ์ของฟรีแลนซ์ และใช้เพื่อโจมตีบริษัทของคุณได้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าอุปกรณ์หรือบัญชีของฟรีแลนซ์ได้รับการปกป้องอย่างไร และความปลอดภัยด้านไอทีของคุณก็ไม่สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คุณไม่ควรถือว่าไฟล์ที่ได้รับนั้นเชื่อถือได้ แม้ว่าจะมาจากฟรีแลนซ์ที่คุณทำงานด้วยมาหลายปีแล้วก็ตาม   มาตรการรับมือ: หากคุณต้องการทำงานกับเอกสารที่สร้างขึ้นนอกโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท การรักษาสุขอนามัยดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด พนักงานทุกคนควรตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงควรยกระดับความตระหนักด้านความปลอดภัยของตน นอกจากนี้ เราสามารถให้คำแนะนำที่ใช้งานได้จริงดังนี้   • ตั้งกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับการแลกเปลี่ยนเอกสาร และห้ามเปิดไฟล์หากไม่ปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ ไม่ควรรับส่งไฟล์ที่ขยายตัวเองได้ สำหรับไฟล์ที่ต้องใช้รหัสผ่านนั้น อาจจำเป็นต้องเลี่ยงผ่านตัวกรองป้องกันมัลแวร์ในอีเมลเท่านั้น • แยกใช้งานคอมพิวเตอร์ต่างหาก โดยแยกออกจากเครือข่าย หรือใช้เครื่องเสมือนเพื่อทำงานกับไฟล์จากแหล่งภายนอก หรืออย่างน้อยก็ตรวจสอบก่อน วิธีนี้จะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมากในกรณีที่มีการติดมัลแวร์…

SOF หน่วยปฏิบัติการพิเศษของรัสเซียที่บุกตะลุยไปทุกแห่ง

Loading

  หนึ่งในพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วย SOF คือสมรภูมิสู้รบในยูเครนขณะนี้   ก่อนหน้านี้ โพสต์ทูเดย์นำเสนอเกี่ยวกับหน่วยสงครามพิเศษของรัสเซียที่ชื่อว่า Spetsnaz ไปแล้ว วันนี้มีอีกหนึ่งหน่วยที่น่าสนใจนั่นคือ Special Operations Forces (SOF) หรือหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่โหดไม่แพ้ Spetsnaz   SOF เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่มีความคล่องตัวสูง ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และมีความพร้อมในการรบอยู่ตลอดเวลา เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัสเซียทั้งในและนอกประเทศ ทั้งในยามสงบและยามสงคราม   ภารกิจที่ขึ้นชื่อของหน่วย SOF คือภารกิจไครเมียเมื่อปลายเดือน ก.พ. 2014 เจ้าหน้าที่ติดอาวุธไม่ทราบจำนวนของ SOF ร่วมกับหน่วยอื่นของกองทัพรัสเซียปลอมตัวเป็นทหารไม่มียศบุกเข้าแคว้นไครเมียของยูเครน แล้วยึดอาคารรัฐสภาไครเมีย รวมทั้งปิดกั้นสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น สนามบินซิมเฟอโรปอล   ปลายปี 2015 SOF เริ่มปฏิบัติการอย่างลับๆ ในซีเรีย และเริ่มเผยตัวในเดือน ม.ค. 2016 หลังประสบความสำเร็จในการสู้รบที่ลาตาเกีย สงครามกลางเมืองที่รัฐบาลซีเรียเปิดปฏิบัติการยึดพื้นที่เขตลาตาเกียติดกับพรมแดนตุรกีคืนจากกลุ่มกบฏ นอกจากนี้ยังชี้เป้าหมายให้กองทัพอากาศรัสเซียโจมตีทางอากาศและให้กองทัพเรือยิงขีปนาวุธ ไปจนถึงเป็นที่ปรึกษาการฝึกทหารให้รัฐบาลซีเรีย ค้นหาและทำลายเป้าหมายที่สำคัญของศัตรู สกัดกองกำลังศัตรูด้วยการซุ่มโจมตี การลอบสังหาร และโจมตีตอบโต้   SOF…

Facebook ลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Zelensky ที่เผยแพร่หลังสำนักข่าวยูเครนโดนแฮ็ก

Loading

    Meta รายงานว่าทางบริษัทสั่งตรวจสอบและลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Volodymyr Zelensky บนแพลตฟอร์ม Facebook แล้ว เป็นไปตามกฎของ Facebook ที่ไม่อนุญาตให้มีวิดีโอประเภทนี้บนแพลตฟอร์ม   วิดีโอปลอมของประธานาธิบดี Zelensky นี้ออกแถลงการณ์ในลักษณะขอให้ประชาชนวางอาวุธเลิกต่อต้านทหารรัสเซีย และมีรายงานว่าวิดีโอนี้เผยแพร่ผ่านช่องโทรทัศน์และเว็บไซต์ของสำนักข่าว Ukraine 24 ที่มีรายงานว่าโดนแฮ็กด้วย   Nathaniel Gleicher หัวหน้าฝ่ายนโยบายความปลอดภัยของ Meta ระบุว่าทีมได้ตรวจสอบและลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Zelensky ที่แถลงการณ์ในสิ่งที่เขาไม่ได้พูดแล้ว วิดีโอนี้ปรากฏในเว็บไซต์ที่ถูกโจมตีและหลังจากนั้นก็เผยแพร่ไปทั่วอินเทอร์เน็ต ทาง Meta จึงได้ตรวจสอบและลบวิดีโอเนื่องจากฝ่าฝืนนโยบายเกี่ยวกับสื่อที่ถูกบิดเบือนและแจ้งเตือนไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วย อ้างอิง  https://www.facebook.com/www.ukraine24.ua/posts/1847515155441880   ที่มา – Engadget, Snopes   ——————————————————————————————————————————————————- ที่มา : Blognone by Nutmos       …

ภาพยนตร์ ‘ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้’ ไม่ควรพลาด

Loading

  การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่คนทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจ   ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้อ่านหลายๆ ท่านคงรู้สึกเครียดๆ กับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนซึ่งมีผลทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น และมีการปรับราคาขึ้นหลายครั้งในรอบสัปดาห์   สำหรับผู้เขียนมีโอกาสที่ได้ชมภาพยนตร์ที่อยู่บนออนไลน์แพลตฟอร์มซึ่งก็ทำให้หายเครียดไปได้บ้าง และพบว่ามีเรื่องที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่องเลยทีเดียว   ภาพยนตร์ที่ผมมีโอกาสได้รับชมมีเนื้อเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ทุกวันนี้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เป็นสิ่งที่คนทั่วทุกมุมโลก ให้ความสนใจและจับตามอง โดยเนื้อหาเกี่ยวกับด้านไซเบอร์ถือได้ว่าได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย มีเนื้อเรื่องน่าตื่นเต้น ระทึกขวัญ และสยองขวัญไม่แพ้แนวอื่นๆ   เหตุที่ภาพยนตร์ประเภทนี้ได้รับความนิยมคาดว่า เป็นเพราะเรื่องราวเต็มไปด้วยช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นและการติดตามสืบสวนสอบสวน ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี ผมจึงขอนำเสนอภาพยนตร์และซีรีส์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 10 เรื่องที่ห้ามพลาดในปี 2022 ดังนี้ครับ     Black mirror เป็นซีรีย์แนวแอ็กชั่นไซไฟ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีของสังคมสมัยใหม่ที่ไม่ได้คำนึงถึงด้านมืด หรือภัยร้ายที่แฝงตัวมากับเทคโนโลยีเหล่านั้นโดยคนส่วนเลือกมักจะมองข้ามตรงจุดนี้ไป มีการดำเนินเรื่องในแบบสมมุติด้วยอารมณ์มืดหม่น หรือเสียดสี     The Matrix ภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นไซไฟด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงนักโปรแกรมเมอร์และแฮกเกอร์ได้ค้นพบว่า ตัวเขา และมนุษยชาติที่เหลือกำลังอาศัยอยู่ในโลกเสมือนจริงซึ่งทั้งหมดนี้ถูกสร้างขึ้นด้วย คอมพิวเตอร์สุดอัจฉริยะ เพื่อใช้ร่างกายของพวกเขาเป็นแหล่งพลังงาน     The IT Crowd ป็นซีรี่ย์ซิทคอมที่ได้รับ Top-rate…

ปั้นอาสาสมัครดิจิทัลประจำหมู่บ้าน

Loading

  #เศรษฐศาสตร์ตลาดสด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เร่งผลักดันเยาวชนคนรุ่นใหม่หัวใจอาสาเป็น Youtuber, Net Idol ด้านดิจิทัลในชุมชน เสริมทัพเครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล ประจำหมู่บ้าน หวังสร้างเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับพื้นที่ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และปลอดภัย   สืบเนื่องจากปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ที่แพร่กระจายตามพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียและอินเทอร์เน็ตของประชาชน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้งานโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้เกิดเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ง่าย   จากข้อมูลการเข้าร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก. ปอท) แนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีใน ปี พ.ศ. 2565 เมื่อพิจารณาข้อมูลจากสถิติการเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน บก.ปอท. ปี พ.ศ. 2561-2564 พบว่า รูปแบบของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือใช้เทคโนโลยีในการกระทำความผิดที่มีประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีมากที่สุด 5 อันดับแรก ดังนี้ อันดับ 1 คือ ความผิดฐานหมิ่นประมาท รองลงมาคือ การแฮก เพื่อปรับเปลี่ยนหรือขโมยหรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ ความเสียหายรวมประมาณ 67 ล้านบาท อันดับ 3 คือ การหลอกขายสินค้าบริการ…

คิดก่อนแสกน มิจฉาชีพใช้ QR Code ขโมยเงินอย่างไร

Loading

  ข้อความสแกมไม่มี อีเมลสแปมก็ไม่เคยหลวมตัวกด สายเรียกเข้าจากแก็งคอลเซ็นเตอร์ก็ไม่เคยได้รับ แล้วจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพจนเงินหายไปจากบัญชีได้อย่างไร!? ยังมี QR Code เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มิจฉาชีพอาจใช้ขโมยข้อมูลตัวตนหรือทรัพย์สินของคุณได้   QR Code คืออะไร QR ย่อมาจาก Quick Response เป็นโค้ดหน้าตาสีเหลี่ยมที่สามารถเชื่อมโยงกับลิงก์ URL ของเว็บไซต์ได้ ปัจจุบันองค์กร ธุรกิจ ร้านค้าต่างๆ มักใช้คิวอาร์โค้ดในการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือลิงก์ดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เราสามารถพบเห็นคิวอาร์โค้ดได้ทั่วไปตามสิ่งของต่างๆ เช่น สินค้า นามบัตร ใบปลิว โฆษณา หรือแม้แต่ที่ Counter จ่ายเงิน   ยิ่งในสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน คิวอาร์โค้ดได้ถูกนำมาใช้เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของผู้คนโดยติดหน้าทางเข้าของสถานที่ต่างๆ เพียงแค่ยกสมาร์ทโฟนขึ้นสแกนก็สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ URL ให้ยุ่งยาก คิวอาร์โค้ดสามารถสร้างขึ้นได้เอง และทำได้ง่ายมากผ่านบริการช่วยแปลง URL เป็น QR Code บนช่องทางออนไลน์ ซึ่งความง่ายดายเหล่านี้เอาที่เป็นช่องทางให้เหล่ามิจฉาชีพใช้หาประโยชน์   ความปลอดภัยของ QR Code…