ฟินแลนด์เตือนสัญญาณ GPS ถูกรบกวนบ่อยขึ้น เริ่มมีเที่ยวบินถูกยกเลิก

Loading

ภาพระบบนำทาง Garmin G1000 NXi โดย Garmin   องค์การการบินพลเรือนฟินแลนด์ หรือ Traficom ออกประกาศแจ้งเตือนว่าเริ่มพบสัญญาณรบกวน GPS บ่อยขึ้นในช่วงหลังจนกระทบต่อการบิน และตอนนี้ยังไม่พบต้นตอสัญญาณนี้ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมามีเที่ยวบินบางเที่ยวต้องยกเลิกเนื่องจากนักบินตัดสินใจบินกลับ   ทาง Traficom ระบุว่าการบินยังคงปลอดภัยดี นักบินสามารถใช้ระบบอื่น ๆ เพื่อนำทาง และการลงจอดนั้นไม่ได้ต้องการสัญญาณ GPS ส่วนการตัดสินใจว่าจะบินผ่านพื้นที่ที่พบสัญญาณรบกวน GPS หรือไม่เป็นการตัดสินใจของทางสายการบินเอง   ตอนนี้ยังไม่พบต้นตอสัญญาณที่แท้จริงเนื่องจากสัญญาณรบกวนอาจจะถูกปล่อยเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น และแหล่งกำเนิดสัญญาณอาจจะอยู่ไกลจากตำแหน่งของเครื่องบินไปมาก   แม้รายงานทางการจะออกมาจากฟินแลนด์เท่านั้น แต่สัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีรายงานถึงสัญญาณรบกวนเป็นวงกว้าง ทั้งแถบ โปแลนด์, ลิทัวเนีย, ลัตเวีย   สัญญาณดาวเทียมนำทางอย่าง GPS หรือ Galileo ตลอดจนระบบอื่นๆ ของรัสเซีย, จีน, อินเดีย, และญี่ปุ่น กลายเป็นระบบที่คนจำนวนมากพึ่งพาในการดำเนินธุรกิจ เมื่อปี 2018 สหราชอาณาจักรเคยออกรายงานว่าหากระบบดาวเทียมเหล่านี้ถูกโจมตีจนใช้งานไม่ได้ก็จะเกิดความเสียหายมหาศาล     ที่มา…

รัสเซียมีอาวุธเคมีมากแค่ไหนและใช้กับยูเครนจริงหรือไม่

Loading

    เป็นอีกครั้งที่ฝ่ายตะวันตกชี้ว่ารัสเซียใช้อาวุธที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ หลังจากที่รัสเซียอ้างว่าพบสหรัฐช่วยเหลือยูเครนพัฒนาอาวุธชีวภาพ เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการ NATO กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่ารัสเซียอาจใช้อาวุธเคมีหลังจากการรุกรานยูเครน และการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นอาชญากรรมสงคราม ตามการสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์เยอรมัน Welt am Sonntag   ข้อกล่าวหาของ NATO “ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เราได้ยินคำกล่าวอ้างที่ไร้สาระเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ” สโตลเทนเบิร์กกล่าวในการรายงานโดยสื่อเยอรมัน Welt am Sonntag พร้อมเสริมว่ารัสเซียกำลังประดิษฐ์ข้ออ้างเท็จเพื่อพิสูจน์สิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้   “ตอนนี้ที่มีการกล่าวอ้างเท็จเหล่านี้แล้ว เราต้องระมัดระวังตัวอยู่เสมอ เพราะเป็นไปได้ว่ารัสเซียเองก็สามารถวางแผนปฏิบัติการอาวุธเคมีภายใต้การหลอกลวงนี้ได้ นั่นจะเป็นอาชญากรรมสงคราม” สโตลเทนเบิร์กกล่าว   เขาเสริมว่าแม้ว่าชาวยูเครนจะต่อต้านการรุกรานของรัสเซียด้วยความกล้าหาญ แต่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้ามีแนวโน้มที่เกิดความยากลำบากมากยิ่งขึ้น   อาวุธเคมีใช้สารที่เป็นอันตรายได้รับการออกแบบมาเพื่อทำให้บาดเจ็บ ทำให้ไร้ความสามารถ หรือฆ่ากองกำลังของฝ่ายตรงข้าม หรือสกัดกั้นการใช้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง   ทั้งนี้ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (1992) มีผลผูกพันทางกฎหมาย ห้ามทั่วโลกในการผลิต กักตุน และใช้อาวุธเคมีและสารตั้งต้น อย่างไรก็ตาม อาวุธเคมีจำนวนมากยังคงมีอยู่ โดยปกติแล้วจะเป็นการป้องกันไว้ก่อนที่อาจเป็นไปได้โดยผู้รุกราน     รัสเซียมีอาวุธเคมีหรือไม่? รัสเซียเข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (CWC) พร้อมประกาศว่ามีคลังอาวุธเคมีที่ใหญ่ที่สุด…

สหรัฐฯ ออกมาตรฐานความปลอดภัยรถยนต์ใหม่ เปิดทางรถไร้คนขับเต็มรูปแบบไม่ต้องมีพวงมาลัยและแป้นเหยียบ

Loading

รถยนต์ไร้พวงมาลัยของ GM ภาพจากข่าวเก่า   NHTSA หน่วยงานด้านความปลอดภัยบนท้องถนนของสหรัฐฯ​ ได้ออกมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์ฉบับใหม่สำหรับสหรัฐฯ ที่เป็นมาตรฐานสำหรับกำหนดรถยนต์ที่ผลิตใช้งานจริง โดยจุดสำคัญในรอบนี้คือการเปิดทางให้รถยนต์ไร้คนขับไม่ต้องมีอุปกรณ์บังคับรถอย่างพวงมาลัยหรือแป้นเบรคและคันเร่งอีกต่อไป   ในอดีต มาตรฐานรถยนต์กำหนดว่าจะต้องมีที่นั่งคนขับ, พวงมาลัย, คอพวงมาลัย และแป้นเยียบ ซึ่งตอนนี้ NHTSA ได้ออกมาตรฐานมาเพื่อรองรับรถยนต์แบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Level 5) ที่ผู้ผลิตรถยนต์กำลังเร่งพัฒนาอยู่ คือถ้ารถยนต์รองรับระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบควบคุมแบบแมนนวล แต่กฎใหม่ก็ยังคงกำหนดมาตรฐานของรถยนต์ให้เหมาะสมกับรถที่ไม่มีระบบควบคุมสำหรับมนุษย์ ตั้งแต่ตำแหน่งที่นั่ง, ถุงลมนิรภัย ไปจนถึงรถแบบไม่มีคนนั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ผลิตรถลดต้นทุนหรือลดน้ำหนักโดยตัดอุปกรณ์ความปลอดภัยของตัวรถ   Pete Buttigieg เลขานุการกรมขนส่งสหรัฐฯ​ ระบุว่าเป้าหมายสำคัญของปี 2020 ของกรมการขนส่งสหรัฐฯ คือการออกมาตรฐานที่ให้ความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยตามการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ต่าง ๆ กฎฉบับใหม่นี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่สร้างมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มตัว   ที่มา – NHTSA, CNET Roadshow, Engadget, Automotive News     ———————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :     Blognone by Nutmos …

ป่วนเมืองยะลาหลายจุด ครบรอบวันสถาปนาBRN 62 ปี

Loading

  ป่วนหลายจุดในพื้นที่จังหวัดยะลา คาดสร้างสถานการณ์วันสถาปนา “BRN” ครบรอบ 62 ปี เจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย ดูแลพื้นที่เข้ม   เมื่อ 13 มี.ค.65 พล.ต.ต.ทินกร รังมาตย์ ผบก.ภ.จว.ยะลา ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผนึกกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ฝ่ายปกครอง และกองกำลังภาคประชาชน เพิ่มความเข้มดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน สืบเนื่องด้วย สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ ได้มีคนร้ายไม่ทราบกลุ่มและจำนวนพยายามแสดงศักยภาพก่อเหตุความรุนแรง ลอบวางระเบิดทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหารพราน หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 30 ขณะออกลาดตระเวนเส้นทาง บนถนนสาย 410 (ยะลา – เบตง) ตรงข้ามมัสยิดบ้านเตาปูน ในพื้นที่บ้านเงาะกาโป หมู่ที่ 3 ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ด้วยรถยนต์ ส่งผลทำให้มีเจ้าหน้าที่ทหารพราน และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ได้รับบาดเจ็บ 10 ราย เมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 10 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา  …

โซนี่ทดสอบระบบเตือนภัยสึนามิผ่านดาวเทียมที่ภูเก็ต

Loading

  สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ร่วมกับบริษัทเอกชนชั้นนำ และ GISTDA ทดสอบระบบการแจ้งเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Alert System) โดยข้อมูลจะถูกส่งตรงจากอุปกรณ์ของบริษัท SONY ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ถือเป็นการแจ้งเตือนภัยผ่านระบบดาวเทียมโดยตรง   ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการด้านกิจการอวกาศของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า การดำเนินการทดสอบร่วมกับ SONY ในครั้งนี้ ระบบจะถูกทดลองบนพื้นที่ทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ที่เป็นจุดเกิดเหตุของสึนามิ เมื่อปี 2547   SONY มั่นใจว่าระบบนี้ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัยของบริษัทเองจะเป็นการปฏิวัติวงการอวกาศในอนาคต และ SONY เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่กำลังรุกคืบในอุตสาหกรรมอวกาศ ที่มุ่งพัฒนาไม่ใช่เพียงการสร้างดาวเทียมหรือจรวดอย่างที่เราคุ้นเคยเท่านั้น แต่ยังดึงจุดแข็งของตัวเองด้านการทำชิปอิเล็กทรอนิกส์มาสร้างเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียมระบุตำแหน่ง หรือสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องพึ่งพาเครือข่ายโทรศัพท์   ความร่วมมือกับ SONY ครั้งนี้จะนำไปสู่การลงทุนธุรกิจอวกาศในประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ชื่อว่า SoftBank ที่พัฒนาเทคโนโลยีจากดาวเทียมระบุตำแหน่ง ก็เป็นอีกหนึ่งรายที่พร้อมลงทุนในประเทศไทย   ปัจจุบันเริ่มมีการหารือกับพาร์ทเนอร์ในไทยเพื่อเตรียมรุกตลาดอย่างเต็มตัว ทั้งบริษัทไทยผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบโทรคมนาคม รวมถึงผู้ให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายในไทย…

การเริ่มนับระยะเวลา แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 37(4) กำหนดให้องค์กรซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ “แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้”   หน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว มีประเด็นที่ต้องพิจารณาทางกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะการเริ่มนับระยะเวลา 72 ชั่วโมงว่าเริ่มเมื่อไหร่ เนื่องจากองค์กรอาจมีความรับผิดทางกฎหมายหากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด   ถ้อยคำหนึ่งในมาตรา 37(4) ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเริ่มนับระยะเวลา คือ “นับแต่ทราบเหตุ” (become aware) ซึ่งต้องทำความเข้าใจทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบกัน เพื่อทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นการนับระยะเวลาดังกล่าวมากขึ้น     ผู้เขียนขอนำกรณีศึกษาตาม WP29 Guidelines on Personal Data Breach Notification under Regulation 2016/679 (GDPR) มาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้   WP29 ให้ข้อแนะนำว่าตาม GDPR “นับแต่ทราบเหตุ” ให้เริ่มต้นเมื่อ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีความแน่ใจในว่าเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่เกิดขึ้น (security incident) มีผลทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกละเมิด…