สงครามรัสเซีย-ยูเครนในอาเซียน/โลกทรรศน์ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

Loading

  สงครามรัสเซีย-ยูเครนในอาเซียน   ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอบสนองการรุกรานยูเครนของรัสเซียหลากหลายทีเดียว   สิงคโปร์แสดงจุดยืน ต่อต้าน รุนแรงที่สุดในบรรดาชาติสมาชิกอาเซียน   ส่วนเมียนมาเป็นประเทศเดียวที่สนับสนุนการกระทำของรัสเซียต่อยูเครน ประเทศอื่นๆ ของอาเซียนมีจุดยืนเรื่องนี้หลากหลาย   ที่มาของจุดยืนการตอบสนองและเบื้องหลังแห่งจุดยืนด้านต่างประเทศของประเทศในอาเซียนต่อสงครามรัสเซีย-ยูเครนน่าจะเป็นประมาณนี้       สิงคโปร์ สิงคโปร์มีปฏิกิริยา แรงที่สุด   สิงคโปร์เป็นชาติเดียวในอาเซียนที่ ประณาม รัสเซีย โดยออกชื่อประเทศ ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและมีมาตรการควบคุมการส่งออก เหมือนครั้งที่เวียดนามรุกรานกัมพูชาปี 1978 อิรักยึดครองคูเวต 1990 และรัสเซียผนวกไครเมีย 2014   สิงคโปร์ใช้หลักการการรุกรานทางทหารละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งห้ามการกระทำอันก้าวร้าวต่อรัฐอธิปไตย   นายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) เตือนว่า ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตั้งอยู่บนพื้นฐาน “อำนาจคือธรรม” (might id right) โลกจะเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์     อินโดนีเซีย บรูไน…

เกมไล่จารชน

Loading

  นอกจากสงครามการเมือง สงครามเศรษฐกิจ และสงครามที่ใช้อาวุธห้ำหั่นกันระหว่างรัสเซียกับยูเครนแล้ว ล่าสุด กองหนุนยูเครนเช่น สหรัฐและชาติยุโรปตะวันตกนอกจากส่งอาวุธให้ยูเครนสู้กับรัสเซียแล้ว มาตรการหนึ่งที่รัฐบาลวอชิงตันนิยมใช้ในทางการเมือง คือ ขับนักการทูตรัสเซียที่ประจำอยู่ในสถานทูตและสถานกงสุลรัสเซียในสหรัฐ   คราวนี้ วอชิงตันได้ชักชวนสมาชิกนาโตในยุโรปช่วยกันขับนักการทูตรัสเซียที่ประจำอยู่ในประเทศนั้น ๆ อิตาลีได้ขับนักการทูตรัสเซียประจำอิตาลีกลับประเทศไปแล้ว 30 คน ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงและวิกฤติการณ์ยูเครน เยอรมนี ซึ่งนำเข้าก๊าซธรรมชาติจำนวนมากจากรัสเซีย ก็สั่งขับ 40 คน สเปนสั่งขับนักการทูตรัสเซียประมาณ 25 คนกลับประเทศ อิตาลี จับนักการทูตรัสเซีย 30 คน สวีเดน สั่งขับทูตรัสเซีย 3 คน เดนมาร์กขับทูตรัสเซีย 15 คน โรมาเนียขับนักการทูตรัสเซีย 10 คน สโลวาเนีย ขับนักการทูตรัสเซีย 33 คน เอสโทเนีย ก็เอากับเขาด้วยเหมือนกัน   เพียง 48 ชั่วโมงแรก ประเทศพันธมิตรนาโตขับทูตรัสเซียแล้วรวมประมาณ 150 คน หากรวมตั้งแต่รัสเซียเริ่มบุกยูเครน มีนักการทูตรัสเซียถูกขับออกจากสหรัฐและสมาชิกนาโตมากกว่า…

เปิดโฉมหน้าบริษัทนักรบรับจ้างรัสเซีย Wagner Group

Loading

  มีรายงานว่ารัสเซียส่งนักรบจาก Wagner Group ราว 400 นายเข้าไปปฏิบัติการลอบสังหารผู้นำยูเครนถึงในกรุงเคียฟ   1.บริษัท Wagner Group ถูกบรรยายสรรพคุณไว้หลากหลาย อาทิ บริษัทเอกชนด้านการทหาร เครือข่ายนักรบรับจ้าง หรือกองทัพส่วนตัวโดยพฤตินัยของประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย   2.ที่มาที่ไปของ Wagner Group ค่อนข้างลึกลับ กระแสหนึ่งเชื่อว่ากลุ่มนี้ก่อตั้งโดย ดมิทรี วาเลเยวิช ยุตกิน อดีตนายทหารระดับผู้พันจากกองทัพรัสเซียที่เคยทำงานให้กับหน่วยข่าวกรอง GRU แต่เมื่อเดือน ส.ค. 2017 หนังสือพิมพ์ Yeni ?afak ของตุรกีตั้งข้อสังเกตว่า ยุตกินอาจเป็นหัวหน้าแต่ในนาม ส่วนหัวหน้าตัวจริงของ Wagner Group คือคนอื่น   3.ส่วนอีกกระแสคาดว่านักธุรกิจชื่อ เยฟเกนี ปริโกชิน (Yevgeny Prigozhin) คือเจ้าของตัวจริงและเป็นคนจ่ายเงินให้ Wagner Group ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าตัวปฏิเสธข้อกล่าวหานี้   4.ต้องบอกก่อนว่าปริโกชินถูกยกให้เป็น “เชฟของปูติน”…

สภาสหรัฐฯโหวตท่วมท้น ผ่าน กม.สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ยูเครนยืมอาวุธ – รัสเซียลั่นพร้อมตอบโต้

Loading

  ขณะนี้นานาชาติกำลังจับตาท่าทีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนของยูเครนในตอนนี้ เพราะเมื่อคืนที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญมาก 2 อย่างที่อาจนำไปสู่จุดเปลี่ยนของสงครามครั้งนี้   เรื่องแรก คือ “ประธานาธิบดีไบเดน” ขอให้สภาคองเกรสอนุมัติงบประมาณด้านการทหารก้อนใหญ่อีกก้อน เพื่อช่วยเหลือยูเครนในการรบ   และเรื่องที่สอง คือ สภาคองเกรสมีมติอย่างท่วมท้นให้ฟื้นกฎหมายสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นกฏหมายที่มีส่วนให้อังกฤษเอาชนะกองทัพนาซีได้   สภาคองเกรส หรือรัฐสภาของสหรัฐฯ ได้ลงมติให้มีการรื้อฟื้นกฎหมายที่มีชื่อว่า Lend and Lease หรือ “กฎหมายให้ยืมและให้เช่าเพื่อการป้องกันประชาธิปไตยยูเครนปี 2022”   โดยกฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบอย่างท่วมท้นอยู่ที่ 417 ต่อ 10 เสียง ขั้นตอนต่อไปหลังจากนี้คือ ส่งกฎหมายนี้ให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงนาม และประกาศใช้ ซึ่งหลังจากที่กฎหมายนี้ได้รบการลงนามจากประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว     สหรัฐฯ จะสามารถให้ประเทศยูเครน หรือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการทำสงคราม เช่น โปแลนด์ สามารถยืมหรือเช่าอาวุธจากสหรัฐฯ ได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาผ่านขั้นตอนของทางภาครัฐ   ด้านแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ กล่าวว่า…

วุ่นทั้งสนามบินยิว นักท่องเที่ยวเก็บ “กระสุนปืนไม่ระเบิด” เป็นของที่ระลึกขึ้นเครื่อง

Loading

  วันที่ 29 เม.ย. บีบีซี รายงานความโกลาหลภายในท่าอากาศยานนานาชาติเบน กูเรียน ของสนามบินหลักของอิสราเอล หลังผู้โดยสารเป็นครอบครัวอเมริกันโชว์สัมภาระที่เป็นกระสุนปืนใหญ่ที่ไม่ระเบิด ที่จุดตรวจรักษาความปลอดภัย   ครอบครัวดังกล่าวเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ชิ้นนี้เป็นที่ระลึกจากการการเยือนที่ราบสูงโกลัน ซึ่งส่วนใหญ่อิสราเอลยึดครอง จากซีเรียในช่วงสงครามหกวันเมื่อปี 2510 และยังพบเศษซากแห่งความขัดแย้งในพื้นที่ดังกล่าวจนถึงวันนี้ ต่อมา ครอบครัวได้รับอนุญาตขึ้นเครื่องบิน หลังเจ้าหน้าที่ความมั่นคงสอบปากคำอย่างละเอียดถี่ถ้วน   ISRAEL AIRPORTS AUTHORITY   เว็บไซต์ วายเน็ต ของอิสราเอล รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนวันพฤหัสบดีที่ 28 เม.ย. ว่า สมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวนำกระสุนปืนออกมาจากกระเป๋าสะพายหลัง และสอบถามเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยว่า สามารถใส่ในกระเป๋าเดินทางได้หรือไม่   เจ้าหน้าที่จึงสั่งเคลียร์พื้นที่ใกล้เคียงทันที แต่ผู้โดยสารอีกคนหนึ่งได้ยินโดยเข้าใจผิดและเริ่มตะโกนว่า “ผู้ก่อการร้ายยิง” จึงเกิดความตื่นตระหนกไปทั่ว ขณะที่สถานีโทรทัศน์ คาน ของอิสราเอลเผยแพร่วิดีโอบนสื่อสังคมออนไลน์ เผยผู้โดยสารหลายสิบคนตะโนกและวิ่งหนีออกจากพื้นที่เช็ก-อิน โดยคนอื่นๆ หมอบหรือนอนอยู่บนพื้นด้วยความสับสน   תיעוד: בהלה בנתב"ג בעקבות חשש מחפץ חשוד. לאחר בדיקות…

เกาหลีใต้ จับพลเรือน-ร้อยเอก ใช้อุปกรณ์ให้ โสมแดง ล้วงความลับทหาร

Loading

  วันที่ 28 เม.ย. บีบีซี รายงานว่า ตำรวจใน เกาหลีใต้ จับกุม 2 คน ซึ่งตกเป็นผู้ต้องสงสัยในข้อหาแพร่งพรายความลับทางทหารแก่คนที่เชื่อว่าเป็นสายลับเกาหลีเหนือ ถือเป็นกรณีแรกที่พบว่าเจ้าหน้าที่ประจำการและพลเรือนภายใต้คำสั่งของสายลับเกาหลีเหนือสมรู้ร่วมคิดและสืบหาความลับทางทหาร   ตำรวจระบุว่า ผู้ต้องสงสัย 2 คน ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซี และนายทหาร ซึ่งเปิดเผยรายละเอียดการเข้าสู่ระบบสำหรับหน่วยบัญชาการทหารร่วมของ เกาหลีใต้ และทั้งสองถูกกล่าวหาได้รับได้รับเงินจำนวนมหาศาลเป็นการแลกเปลี่ยน   ทั้งสองถูกจับเมื่อต้นเดือนเม.ย. 65 ซึ่งใช้นาฬิกากล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์ยูเอสบี เพื่อให้สายลับเข้าถึงข้อมูลระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค. 65 ส่วนที่อยู่และตัวตนของสายลับเกาหลีเหนือคนดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน     อัยการและตำรวจเกาหลีใต้ประกาศการจับกุมเจ้าของบริษัทคริปโตเคอเรนซีซึ่งมีชื่อเพียง “นายลี” และนายทหาร “ร้อยเอกบี” ในวันพฤหัสบดี 28 เม.ย. ทั้งสองถูกตั้งข้อหาละเมิดรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติของประเทศ   เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้กล่าวหานายลีได้รับการติดต่อครั้งแรกในเดือนก.ค. 64 เพื่อพยายาม “จ้างเจ้าหน้าที่ประจำการเพื่อตรวจสอบความลับทางการทหาร”   เดือนต่อมาคือ ส.ค. 64 นายอีเข้าหาร้อยเอกบี โดยสัญญาจะจ่ายบิตคอยน์แก่ร้อยโทบี เพื่อแลกกับความลับทางทหาร ตามคำสั่งของสายลับเกาหลีเหนือ…