หน่วยโดรนพิฆาต Aerorozvidka เมื่อมนุษย์ไอทีสวมบทนักรบยูเครน

Loading

  เมื่อเหล่าหัวกะทิด้านไอที รวมตัวกันในหน่วยโดรนพิฆาต ต่อกรกับกองทัพรัสเซีย เมื่อวันที่ 9 เม.ย. เว็บไซต์ Business Insider ได้รายงานถึง Aerorozvidka ซึ่งเป็นหน่วยโดรนชั้นยอดของยูเครนที่ก่อตั้งโดยอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญด้านไอที พวกเขาสร้างหรือดัดแปลงโดรนเพื่อใช้การโจมตีกองทัพรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นการวางระเบิดรถถังหรือรถหุ้มเกราะของรัสเซีย ซึ่งหน่วยนี้กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญในการรับมือกับการรุกรานของรัสเซีย Aerorozvidka ที่รวบรวมอาสาสมัครที่มีความเก่งกาจด้านไอที บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต่างมารวมตัวกันที่นี่ เพื่อออกแบบยุทโธปกรณ์สำหรับสนับสนุนกองทัพยูเครน พวกเขาจะสร้างหรือดัดแปลงโดรนที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ให้กลายเป็นโดรนสังหาร เพื่อซุ่มวางระเบิดยานพาหนะของรัสเซียในยามวิกาล “พวกเรามาจากคนละที่เลย แต่ตอนนี้เราทุกคนเป็นทหาร” มิไคโล สมาชิกคณะกรรมการและหัวหน้าฝ่ายสื่อสารของ Aerorozvidka กล่าวกับ Insider “บางคนจบปริญญาเอก บางคนจบปริญญาโท บางคนมาจากอุตสาหกรรมไอที และอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย แต่สิ่งสำคัญที่รวมเราเป็นหนึ่งเดียว คือความปรารถนาที่จะชนะสงครามครั้งนี้” รู้จัก Aerorozvidka Aerorozvidka เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2014 เพื่อต่อกรกับรัสเซียที่พยายามผนวกไครเมีย และรับมือกับกลุ่มก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนในภูมิภาคดอนบัสที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย น่าเศร้าที่ผู้ก่อตั้ง Aerorozvidka เสียชีวิตในปฏิบัติการที่ดอนบัสเมื่อปี 2015 มิไคโล เปิดเผยว่าหน่วยปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนประมาณ 300 ภารกิจต่อวัน และได้ทำลายยานพาหนะของรัสเซียหลายสิบคันหรืออาจจะถึงหลายร้อยคัน โดยปกติแล้ว Aerorozvidka…

ฟูจิตสึ ใช้ เอไอ/ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ พยากรณ์สึนามิ แบบเรียลไทม์

Loading

โตเกียว เซนได และคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านภัยพิบัติระหว่างประเทศ (IRIDeS) ที่มหาวิทยาลัยโทโฮคุ สถาบันวิจัยแผ่นดินไหวที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ฟูจิตสึ และเมืองคาวาซากิ ร่วมมือจัดทำการทดลองภาคสนามของการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทำงานบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ฟูกากุ (Fugaku) ของฟูจิตสึ เพื่อการพยากรณ์สึนามิแบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดสูง สนับสนุนการอพยพสึนามิอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพระหว่างการฝึกซ้อมป้องกันภัยพิบัติในเมืองคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างการทดลองภาคสนาม ผู้เข้าร่วมจากชุมชนโดยรอบจะได้รับแจ้งเกี่ยวกับเวลาที่มาถึง รวมถึงความสูงของคลื่นสึนามิที่คาดการณ์ไว้ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนที่พัฒนาโดยฟูจิตสึ การฝึกนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้อยู่อาศัย และหลีกเลี่ยงกรณีที่ผู้คนถูกทิ้งไว้เบื้องหลังระหว่างการอพยพ โครงการนี้แสดงถึงก้าวล่าสุดในการริเริ่มอย่างต่อเนื่อง ตามกรอบข้อตกลงที่ลงนามระหว่างเมืองคาวาซากิ และฟูจิตสึในปี 2557 ส่งเสริมการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน เพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมวิจัย และพัฒนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการร่วมมุ่งหวังลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสึนามิโดยใช้ไอซีทีในพื้นที่ชายฝั่งคาวาซากิ” ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้เข้าร่วมการทดลองภาคสนามผ่านแอพพ์ ทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการใช้วิธีการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในทางปฏิบัติที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) และเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับการพยากรณ์อุทกภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วมีส่วนสนับสนุนให้เกิดสังคมที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น     การทดลองภาคสนามเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการอพยพโดยใช้ข้อมูลพยากรณ์อุทกภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิด้วย AI โดยข้อมูลนี้จะถูกส่งไปยังแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาโดยฟูจิตสึ ซึ่งผู้อยู่อาศัย และผู้จัดงานจะอ้างอิงตามเวลาจริงในระหว่างการจำลองการอพยพ การทดลองภาคสนามจะดำเนินการภายใต้การดูแล และคำแนะนำของ…

FBI เปิดปฏิบัติการกำจัดบอตเน็ตสัญชาติรัสเซีย

Loading

  สำนักงานสอบสวนกลาง หรือเอฟบีไอ (FBI) เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการจัดการบอตเน็ตสัญชาติรัสเซีย ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Cyclops Blink การดำเนินการจัดการบอตเน็ตสัญชาติรัสเซียนี้ของเอฟบีไอ ได้รับการอนุญาตจากศาลในแคลิฟอร์เนียและเพนซิลเวเนีย เรียบร้อยแล้ว เพื่อดำเนินการลบบอตเน็ตที่มีชื่อว่า Cyclops Blink ออกจากเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ไม่เกิดการแพร่กระจายและมีผู้ได้รับกระทบจากการโจมตีเพิ่มเติม กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การดำเนินการจัดการกับบอตเน็ต Cyclops Blink ประสบความสำเร็จแล้ว เพียงแต่เจ้าของอุปกรณ์ต้องทำการตรวจสอบระบบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ และป้องกันการถูกโจมตีซ้ำ Cyclops Blink ได้เข้ามาคุกคามระบบไซเบอร์อย่างหนักในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตัวของ Cyclops Blink เป็นบอตเน็ตที่เข้ามาทำงานแทนมัลแวร์ที่มีชื่อว่า VPNFilter ซึ่งเคยอาละวาดหนักในช่วงปี 2018 นักวิจัยด้านความปลอดภัยเชื่อว่า VPNFilter, Cyclops Blink รวมถึง Sandworm ซึ่งเคยเป็นมัลแวร์ที่ออกมาโจมตีระบบโครงข่ายไฟฟ้าของยูเครนในช่วงปี 2015 ทั้งสามต่างเป็นมัลแวร์ที่ได้ชื่อว่า มีหน่วยข่าวกรองทางทหารของรัสเซียเป็นผู้ให้การสนับสนุน นอกจากนี้แล้ว นักวิจัยด้านความปลอดภัย กล่าวด้วยว่า บอตเน็ตดังกล่าวมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและการขโมยข้อมูล พร้อมทั้งการโจมตีแบบ DDoS ไปยังเซิร์ฟเวอร์และเว็บไซต์…

เดือดหนัก!กองทัพเมียนมาถล่มเคเอ็นยูรอบใหม่ แย่งชิงหมู่บ้านใกล้ชายแดนไทย

Loading

กองทัพเมียนมา ปะทะเดือดกองกำลังกะเหรี่ยง สมรภูมิสู้รบกันอย่างดุเดือดครั้งใหม่ เพื่อแย่งชิงอิทธิพลเหนือหมู่บ้าน ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ใกล้ชายแดนไทย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ว่า สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ( เคเอ็นยู ) ซึ่งเป็นกองกำลังชาติพันธุ์เก่าแก่ที่สุดของเมียนมา ออกแถลงการณ์ว่า กองทัพเมียนมาปฏิบัติการโจมตีทางอากาศครั้งใหม่ในรัฐกะเหรี่ยง ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกับที่การสู้รบภาคพื้นดินระลอกใหม่ ปะทุที่หมู่บ้านเลเก่ก่อ ในเขตเมียวดี อยู่ห่างจากชายแดนไทยเพียง 20 กิโลเมตร   Myanmar's military conducted air strikes on Sunday targeting ethnic rebels in Karen state near the Thai border #Myanmar #WhatsHappeninglnMyanmar https://t.co/25iBQpx7xu — APHR (@ASEANMP) April 11, 2022   ทั้งนี้ หมู่บ้านเลเก่ก่อ ซึ่งมีความสำคัญด้วยในเชิงยุทธศาสตร์ทหาร…

Microsoft ริบเว็บไซต์หลายแห่งที่คาดว่า เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ของรัสเซีย

Loading

“Microsoft ดำเนินมาตรการเด็ดขาดกับกลุ่มแฮกเกอร์สายรัสเซียที่พยายามแฮกเว็บไซต์สื่อของยูเครน” Microsoft บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก ได้มีการยึดโดเมนหรือเว็บไซต์ที่คาดว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดังอย่างแฟนซีแบร์ (Fancy Bear) หรือ APT28 กลุ่มแฮกเกอร์ที่คาดว่ามีการร่วมมือกับหน่วยงานข่าวกรองทางด้านการทหารของประเทศรัสเซีย สอดคล้องกับรายงานที่ได้ระบุว่า บริษัท Microsoft ได้มีการอ้างว่า สายลับชาวรัสเซียได้มีการโจมตีเว็บไซต์ที่เป็นสื่อมวลชนของประเทศยูเครน โดยที่ Microsoft ได้ดำเนินเรื่องตามนโยบายการต่างประเทศกับรัฐบาลทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ในช่วงวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมาบริษัท Microsoft ได้มีการยื่นเรื่องนี้ไปยังศาลให้มีการควบคุมเว็บไซต์ที่เข้าข่ายว่ามีการกระทำผิดกฎหมายที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความมั่นคงทางไซเบอร์หลายคนได้ระบุตรงกันว่า สามารถวิเคราะห์และตรวจจับมัลแวร์ได้ ทำให้ทางบริษัทตัดสินใจที่จะทำการยึดเว็บไซต์มากกว่า 100 เว็บไซต์ที่คาดว่าควบคุมโดยกลุ่มแฟนซีแบร์ก่อนที่เว็บไซต์เหล่านี้จะมีการปิดตัวลง ทางด้านทอม เบิร์ต (Tom Burt) รองประธานฝ่ายดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภคของบริษัท Microsoft ได้กล่าวว่า บริษัทเชื่อว่า ทางกลุ่มแฮกเกอร์มีความพยายามที่จะเข้าถึงระบบความปลอดภัยของเป้าหมายมาเป็นเวลานาน โดยเป็นรูปแบบการสนับสนุนการโจมตีในช่วงที่รัสเซียได้ยกพลบุกยูเครนและมีการแทรกซึมด้วยการเจาะข้อมูลของเป้าหมาย ทำให้ทางบริษัทได้ออกมาเตือนรัฐบาลยูเครนเกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์ที่บริษัทตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นตรงนี้ กลุ่มแฮกเกอร์แฟนซีแบร์มีประวัติในเรื่องของการแทรกแซงเจาะข้อมูลของประเทศยูเครนกับสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลานั้น ที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มแฟนซีแบร์ เคยมีการเจาะข้อมูลของคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคเดโมแครต และเคยพยายามแทรกแซงผลการเลือกตั้งของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา ข้อมูลจาก : theverge.com ภาพจาก : analyticsindiamag.com     ที่มา : tnnthailand …

สอบ “2 โจ๋” ปมปาระเบิดใกล้บ้าน “นายกฯประยุทธ์” ขยายผลหาผู้ก่อเหตุ

Loading

  เค้นสอบ 2 ผู้ต้องสงสัย มือปาระเบิด ประตู ร.1 รอ.ใกล้บ้าน นายกฯประยุทธ์ ไม่พบความเชื่อมโยง เป็นเพียงกลุ่มเดียวกัน ขณะที่เจ้าตัวกลับบ้านพักชุมชนคลองเตย ทำระเบิดหล่นกระแทกพื้น เกิดระเบิดขึ้นบาดเจ็บ ตร.ตามรวบไว้ได้ ค้นบ้านพบปะทัดยักษ์เตรียมใช้ก่อเหตุนับร้อยลูก เตรียมขยายผลหาผู้ก่อเหตุตัวจริง ความคืบหน้าเหตุคนร้าย จำนวน 2 คน ขับขี่ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มาก่อเหตุปาระเบิดปิงปอง บริเวณประตู ร.1 รอ. จำนวน 2 นัด ระเบิดข้ามเข้าไปตกบริเวณสนามหญ้า ตรงข้ามกองรักษาการณ์ โดยมีบ้านพักของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม อยู่ในพื้นที่นี้ด้วยนั้น เมื่อเวลาประมาณ 19.50 น. ของวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา กระทั่งสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยไว้ได้ในพื้นที่ สน.ท่าเรือ นั้น ล่าสุด ตำรวจนครบาลท่าเรือ สามารถจับกุมตัว นายธนายุทธ (สงวนนามสกุล) อายุ 20 ปี ผู้ต้องหาครอบครองระเบิด…