วิธีป้องกันโดนขโมยพัสดุ โดนโกง จากการรับสินค้าที่ซื้อทางออนไลน์

Loading

    วิธีป้องกันโดนขโมยพัสดุ โดนโกง จากการรับสินค้าที่ซื้อทางออนไลน์ เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มาแล้วเช่นเดียวกับที่ต่างประเทศก็นิยมสั่งซื้อของออนไลน์เช่นกัน และสิ่งที่ตามมาคือการโกงพัสดุ ซึ่งไม่ได้แค่เกิดขึ้นแค่ในไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลกด้วยเช่นกัน คุณจะป้องกันจากการโกง หรือโดนขโมยอย่างไร บทความนี้รวบรวมวิธีป้องกันโดนโกง โดนพัสดุในไทย ทั้งที่เกิดขึ้นในไทยและต่างประเทศ ให้เหมาะสมกับผู้ซื้อของออนไลน์   การเพิ่มขึ้นของการโจรกรรมพัสดุ Safewise ระบุว่า 64.1% ของชาวอเมริกันเคยถูกขโมยพัสดุภัณฑ์ในปี 2020 จากการขโมยพัสดุภัณฑ์ประมาณ 210 ล้านชิ้นในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว และแต่ละแพ็คเกจมีมูลค่าประมาณ 50-200 ดอลลาร์ ค่าใช้จ่ายในการขโมยบรรจุภัณฑ์มีมูลค่ารวมกันประมาณ 2.625 พันล้านดอลลาร์ต่อปี กับ 75% ของชาวอเมริกันมีแนวโน้มที่เจอเหตุการณ์ถูกขโมยพัสดุภัณฑ์   วิธีป้องกันโดนขโมยพัสดุ โดนโกง จากการซื้อของออนไลน์   การป้องกันการถูกโจรกรรมพัสดุนั้น น่าเสียดายที่การขโมยบรรจุภัณฑ์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่นอกบ้านของคุณเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดส่ง ในครั้งล่าสุดและเกิดขึ้นในไทยและต่างประเทศ อาจมีกรณีการขโมยบรรจุภัณฑ์เกิดขึ้นภายในคลังสินค้าหรือระหว่างการจัดส่ง ด้วยเหตุผลนี้ การป้องกันตัวเองจากการโจรกรรมบรรจุภัณฑ์ตลอดทุกขั้นตอนของกระบวนการซื้อของออนไลน์จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด 1. สมัครประกันพัสดุ   iT24Hrs-S   แม้ว่าผู้ค้าปลีกทุกรายจะไม่ได้เสนอประกันแพ็คเกจ แต่บริการจัดส่งจำนวนมากก็มีให้ หากคุณกำลังซื้อสินค้าราคาแพง คุณอาจต้องการพิจารณาขอบริษัทจัดส่งให้ทำประกันพัสดุภัณฑ์ไว้…

No-Fly Zone! ปัญหาและทางเลือก

Loading

  “เขตห้ามบิน ไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องยูเครนเท่านั้น แต่จะช่วยคุ้มครองประเทศในกลุ่มพันธมิตรแอตแลนติกจากการโจมตีทางอากาศของรัสเซียอีกด้วย”   ประธานาธิบดีเซเลนสกี     “ถ้าเรา [นาโต] กระทำ [ตามคำขอของประธานาธิบดีเซเลนสกี] เราจะจบลงด้วยการเกิดของสงครามเต็มรูปในยุโรป… นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราตัดสินใจเรื่องนี้ด้วยความเจ็บปวด”   เจนส์ สโตลเต็นเบิร์ก (เลขาธิการนาโต)     จากถ้อยแถลงที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีเซเลนสกี และเกิดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนับตั้งแต่กองทัพรัสเซียตัดสินใจยาตราทัพเข้าสู่ดินแดนของยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คือคำขอให้สหรัฐอเมริกาและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กำหนดให้น่านฟ้าของยูเครนเป็น “เขตห้ามบิน” (no-fly zone)   แต่จะเห็นได้ชัดว่าแม้กองทัพรัสเซียจะโจมตียูเครนหนักเพียงใดก็ตาม รัฐบาลตะวันตกก็ไม่ยอมตอบรับคำร้องขอของผู้นำยูเครนแต่อย่างใด จนทำให้คนบางส่วนมีความรู้สึกว่า ในสถานการณ์สงครามที่กำลังเกิดขึ้นนั้น เสมือนกับการที่ตะวันตกทิ้งยูเครนให้ต้องเผชิญกับการโจมตีของรัสเซียอย่างโดดเดี่ยว   ดังนั้น บทความนี้จะนำเสนออย่างสังเขปถึงแนวคิดด้านความมั่นคงที่เรียกว่า “เขตห้ามบิน” คืออะไร หากมีการประกาศใช้แล้ว จะเกิดผลอะไรตามมา และถ้าไม่ประกาศใช้แล้ว ฝ่ายตะวันตกจะมีอะไรเป็นทางเลือก?     นิยาม แนวคิดเรื่องการประกาศ “เขตห้ามบิน” เป็นเรื่องใหม่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ และเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น และหากย้อนกลับไปในยุคสงครามเย็น เราจะไม่เห็นแนวคิดนี้มาก่อน ดังนั้น…

จับได้แล้ว! ผู้ต้องสงสัยกราดยิงสถานีรถไฟใต้ดินนครนิวยอร์ก

Loading

  เมื่อวันพุธ อีริค อดัมส์ นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก เปิดเผยว่า ทางการสามารถจับกุมชายผู้ต้องสงสัยในเหตุการณ์วางระเบิดควันและยิงผู้โดยสาร 10 คนในขบวนรถไฟใต้ดินของนครนิวยอร์กเมื่อช่วงเช้าวันอังคารได้แล้ว ตามรายงานของรอยเตอร์   คีแชนท์ แอล ซีเวลล์ ผู้บัญชาการตำรวจนครนิวยอร์ก ระบุว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้ชื่อว่าแฟรงค์ เจมส์ วัย 62 ปี มีที่อยู่ในรัฐเพนซิลเวเนียและรัฐวิสคอนซิน เขาถูกจับกุมหลังทางการไล่ล่าหาตัวเขาราว 30 ชั่วโมง   ทางการระบุว่า เจมส์ถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายในระบบคมนาคม   ตำรวจระบุว่า เจมส์เป็นผู้ยิงปืนพกกึ่งอัตโนมัติที่ต่อมาถูกพบในที่เกิดเหตุ และใช้อาวุธอื่นๆ ประกอบด้วยรางใส่กระสุนสามอัน ขวานเล็กหนึ่งเล่ม ประทัดจำนวนหนึ่ง และภาชนะบรรจุน้ำมันเบนซิน   ในจำนวนผู้ถูกยิง 10 คนนั้น มีห้าคนมีอาการสาหัสแต่ทรงตัว และมีผู้บาดเจ็บอีก 13 คนจากเหตุชุลมุนขณะผู้คนเร่งหนีออกจากจุดเกิดเหตุ โดยคาดว่าผู้บาดเจ็บทั้งหมดจะรอดชีวิต   สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุถูกจับกุมได้ที่ย่านอีสต์ วิลเลจ ในเขตแมนฮัตตัน หลังมีผู้พบเขาและเผยแพร่รูปของเขาในสื่อสังคมออนไลน์จนตำรวจสามารถตามจับเขาได้   กรมตำรวจนครนิวยอร์กระบุว่า เจมส์ทิ้งกุญแจของรถตู้จากบริษัทขนย้าย ยู-ฮอล…

สหรัฐฯ สั่งจำคุกนักวิจัยคริปโต ฐานช่วยเกาหลีเหนือเลี่ยงมาตรการลงโทษ

Loading

FINTECH-CRYPTOCURRENCY   ศาลในสหรัฐฯ พิพากษาลงโทษจำคุกอดีตนักวิจัยเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี ในข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการช่วยเหลือเกาหลีเหนือหลบเลี่ยงมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกรุงวอชิงตัน   อัยการรัฐบาลกลางในนครแมนฮัตตันเปิดเผยว่า ตุลาการศาลแขวง เควิน คาสเทล ตัดสินพิพากษาให้ เวอร์จิล กริฟฟิธ ซึ่งเคยเป็นนักวิจัยของมูลนิธิอีเธอเรียม (Ethereum Foundation) ซึ่งเป็นองคกร์ไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานสนับสนุนด้านเทคโนโลยีให้กับสกุลเงินดิจิทัล อีเธอร์ (ether) รับโทษจำคุกเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากมีความผิดในข้อหาดังกล่าว   กริฟฟิธ ถูกจับกุมตัวได้เมื่อปี ค.ศ. 2019 และยอมสารภาพรับผิดเมื่อเดือนกันยายนของปีที่แล้วว่า ทำการสมรู้ร่วมคิดเพื่อละเมิดกฎหมาย International Emergency Economic Powers Act ของสหรัฐฯ ด้วยการเดินทางไปยังเกาหลีเหนือเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีบล็อกเชน   ในระหว่างการไต่สวนคดีนี้ กริฟฟิธ พยายามต่อรองขอรับโทษเป็นเวลา 2 ปี แต่ศาลตัดสินให้ต้องรับโทษ 5 ปี ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดที่อัยการยื่นเสนอมา ขณะที่ ผู้ต้องหารายนี้ถูกสั่งปรับเป็นเงิน 100,000 ดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่าตัวเลข 1…