ที่มาก่อนการแบนผ้าคลุมหน้าในฝรั่งเศส

Loading

ประเด็นการห้ามสวมผ้าคลุมหน้าของสตรีมุสลิมในฝรั่งเศสที่บังคับใช้มา 11 ปี กลับมาร้อนอีก เมื่อมารีน เลอ เพน ชูนโยบายห้ามสวม “ฮิญาบ” ที่เป็นเพียงผ้าคลุมศีรษะแต่เปิดหน้าของสตรีมมุสลิม และอาจเป็นตัวชี้ขาดก็ได้ว่าใครที่จะเป็นผู้ชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกในยุโรปที่กล้าหาญชาญชัยเสี่ยงต่อความขัดแย้งในสังคม ด้วยการบังคับใช้กฎหมายห้ามสวมผ้าคลุมหน้าไม่ว่าจะเป็น บุรกอ หรือ นิกอบ เมื่อวันที่ 11 เมษายน ปี 2554 ในสมัยของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โคซี โดยเรียกว่า “รัฐบัญญัติห้ามปกปิดใบหน้าในสาธารณสถาน” เช่น ท้องถนน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ ระบบขนส่งมวลชนและสวนสาธารณะ ยกเว้นกรณีเดินทางในรถส่วนบุคคลแม้ไม่ได้เป็นผู้ขับหรืออยู่ในมัสยิด     กฎหมายฉบับนี้อ้างอิงตัวเลขประมาณการณ์ในขณะนั้นว่า ในจำนวนประชากรมุสลิม 4-6 ล้านคน มีสตรีที่สวมผ้าคลุมหน้าตามประเพณีอาหรับและเอเชียใต้แค่ 2,000 คนเท่านั้น แต่ซาร์โกซีถูกวิจารณ์หนักว่าต้องการเสียงสนับสนุนจากกลุ่มขวาจัด และเมินเฉยต่อเสียงร้องเรียนชาวมุสลิมและนักสิทธิมนุษยชนที่ว่า เป็นการกดดันฝ่ายที่เปราะบางที่สุดในสังคมเพื่อเอาใจฝ่ายที่รังเกียจผู้อพยพ ที่กลัวว่าอิสลามจะเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมของฝรั่งเศส กฎหมายกำหนดว่าผู้ที่ไม่ยอมเปิดหน้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจเอกลักษณ์จะถูกนำไปสถานีตำรวจ และเจ้าหน้าที่อาจใช้วิธีเกลี้ยกล่อมให้ยินยอม แต่ถ้ายืนกรานว่าจะไม่ยอมเปิดหน้าก็อาจถูกปรับเงิน 150 ยูโร ก่อนถูกส่งไปอบรมความประพฤติ บทลงโทษยังลามไปถึงผู้เป็นพ่อ สามี หรือผู้นำศาสนา ที่บังคับให้สตรีสวมผ้าคลุมหน้า ที่จะถูกปรับเงิน…

เปิดแนวทางรับมือกับ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ , SMS หลอกลวง จาก AIS, dtac, Truemove-H

Loading

  หลายคนคงเห็นคลิปแกล้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ผ่านหน้าผ่านตากันมาบ้างแล้ว ในช่วงปีที่ผ่านมาก็เกิด SMS หลอกลวงระบาดหนักในหมู่คนใช้ iPhone ส่วนปีนี้ก็มีแก๊งคอลเซ็นเตอร์อาละวาดโดนกันถ้วนหน้าเลยทีเดียว ซึ่งจะมาในรูปแบบแอบอ้างเป็นขนส่งชื่อดัง หรือแอบอ้างเป็นคนหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อหลอกล่อให้โอนเงิน ซึ่งก็มีคนหลงเชื่อและสร้างความน่ารำคาญเป็นอย่างมาก เดี๋ยวนี้ค่ายมือถือทั้ง AIS, DTAC, TRUE ออกบริการสำหรับลูกค้าให้สามารถแจ้งเบอร์และ SMS หลอกลวง ไปดูของแต่ละค่ายดีกว่าว่ามีมาตรการและขั้นตอนอย่างไรบ้าง AIS 1185 เริ่มที่ AIS ที่ประกาศก่อนใครเลย เปิดตัว สายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ หรือ AIS Spam Report Center ให้ลูกค้า AIS สามารถโทรฟรีในรูปแบบ IVR Self Service และ AI Chatbot เพื่อแจ้งเบอร์โทรหรือ SMS ที่คาดว่าเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ โดยทำงานร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ เพื่อสืบสวน สอบสวน ตรวจสอบ…

จีนเตือนประชาชนระวังสายลับต่างชาติจากเว็บหางานและเว็บหาคู่

Loading

(แฟ้มภาพเอเอฟพี-ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา) เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ สื่อต่างประเทศรายงาน (17 เม.ย.) การต่อต้านการจารกรรมยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับทางการจีนอย่างชัดเจน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมถึงสถานการณ์ในฮ่องกง ไต้หวัน ทะเลจีนใต้ และวิกฤตในยูเครน สำนักงานอัยการสูงสุดจีนเปิดเผยว่า แม้จีนได้ควบคุมกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ดี เว็บไซต์หางานและการหาคู่ ตลอดจนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมได้กลายเป็นแหล่งแทรกซึมของกองกำลังศัตรูต่างชาติมากขึ้น สำนักงานอัยการสูงสุดจีนระบุต่อไปว่า นักศึกษา แรงงานข้ามชาติ และเยาวชนที่ตกงานซึ่งไม่ค่อยรู้เรื่องความมั่นคงของชาติมีความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของอาชญากรต่างชาติมากที่สุด โดยยกตัวอย่างกรณีนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา ที่ถูกเลือกโดยสายลับจากต่างประเทศผ่านแอปหาคู่ออนไลน์ในปี 2563 ได้ให้ภาพถ่ายของฐานทัพทหารและอุปกรณ์ทางทหารเพื่อแลกกับเงิน 10,000 หยวน หรือราว 50,000 บาท โดยต่อมาถูกตัดสินจำคุก 6 ปี ข้อหาเผยแพร่ความลับทางการทหาร ในอีกกรณีหนึ่ง ผู้อำนวยการสนามบินแห่งหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 13 ปี ฐานส่งข้อมูลเกี่ยวกับแผนการเดินทางของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล เพื่อแลกกับเงินกว่า 26,000 หยวน หรือราว 135,000 บาท ปักกิ่งได้เพิ่มความพยายามในการต่อต้านการจารกรรมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเผยแพร่แนวทางการต่อสู้กับการสอดแนมและเรียกร้องให้ประชาชนช่วยรายงานกิจกรรมที่น่าสงสัย นายลี่ กั๋วเจิ้ง โฆษกกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ ระบุว่า เมื่อปี 2564 มีการสอบสวนคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตทั้งหมด 62,000…

ระเบิดโรงเรียนในอัฟกานิสถาน เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 11 คน

Loading

เกิดเหตุระเบิด 3 ครั้ง ในโรงเรียนเด็กชายแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ของอัฟกานิสถาน จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย และบาดเจ็บ 11 คน คาดว่าเป็นฝีมือของกลุ่มอิสลามญิฮาดที่เป็นปรปักษ์กับกลุ่มตอลิบันผู้ปกครองประเทศในปัจจุบัน   เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เคลื่อนย้ายเยาวชนชายที่ได้รับบาดเจ็บด้วยเปลหามเพื่อนำส่งโรงพยาบาล หลังเกิดเหตุระเบิด 3 ครั้งในโรงเรียนเด็กชายย่านฮาซาราชีอะต์ ในกรุงคาบูล เมื่อวันที่ 19 เมษายน (Photo by Wakil Kohsar / AFP) เอเอฟพีรายงานเหตุระเบิดในโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ของอัฟกานิสถาน เมื่อวันอังคารที่ 19 เมษายน 2565 กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 รายและบาดเจ็บ 11 คน จากเหตุระเบิด 3 ครั้งในโรงเรียนเด็กชายย่านฮาซาราชีอะต์ ในเมืองหลวงของอัฟกานิสถาน โดยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด คาลิด ซาดราน โฆษกตำรวจคาบูลกล่าวกับเอเอฟพีว่า เหตุระเบิด 2 ครั้งที่โรงเรียนอับดุล ราฮิม ชาฮิดเมื่อวันอังคาร เกิดจากระเบิดแสวงเครื่อง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6…

ลบด่วน เจอช่องโหว่ แอป 7-Zip เปลี่ยนแฮกเกอร์ ให้กลายเป็นแอดมิน

Loading

  ลบด่วน เจอช่องโหว่ แอป 7-Zip เปลี่ยนแฮกเกอร์ ให้กลายเป็นแอดมิน มีการค้นพบช่องโหว่ Zero-day บนแอป 7-zip ซึ่งเป็นโปรแกรมบีบอัดไฟล์ยอดนิยมที่ใช้ทั่วโลก ลักษณะของช่องโหว่จะอนุญาตให้แฮกเกอร์สามารถยกระดับสิทธิของตัวเองให้กลายเป็นผู้ดูแลระบบได้ นั่นทำให้แฮกเกอร์มีอิสระอย่างมากในการติดตั้งมัลแวร์หรือดูดข้อมูลจากในเครื่องออกไปได้ง่ายกว่าเดิมคับ . คนที่ค้นพบช่องโหว่นี้คือผู้ใช้ GitHub ที่ใช้ชื่อว่า Kagancapar และได้อ้างอิงช่องโหว่คือ CVE-2022-29072 . ทั้งนี้ 7-zip นั้นเป็นแอปข้ามแพลตฟอร์ม แต่ช่องโหว่นี้จะทำงานเชื่อมโยงกับ Windows เท่านั้น เนื่องจากอาศัยเครื่องมือบางอย่างที่มีเฉพาะบน Windows ครับ . และในขณะที่เขากำลังเขียนถึงช่องโหว่ของ 7-zip ที่เวอร์ชั่นปัจจุบัน 21.07 ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว แต่ถึงอย่างนั้นเว็บไซต์ Tom hardware ได้แนะนำให้ลบไฟล์ 7-zip.chm ที่อยู่ในโฟลเดอร์ installed ของ 7-Zip ก็พอจะกำจัดช่องโหว่ออกไปได้ครับ . คลิปการยกระดับสิทธิ์จากผู้ใช้ไปเป็น Admin ผ่าน 7-Zip https://www.youtube.com/watch?v=NrvlNt5CiBg&t=5s . ข้อมูลจาก…

อย่าหาโหลด ติดตั้ง Windows 11 ปลอม เสี่ยงติดมัลแวร์ ขโมยข้อมูล

Loading

ต้องยอมรับว่าภัยคุกคามทุกวันนี้ กำลังครีเอทตัวเองให้น่าเชื่อถือมากขึ้น ล่าสุดแฮกเกอร์ได้ออกแบบเว็บไซต์ปลอมของ Microsoft ที่เชิญชวนให้ผู้ใช้ติดตั้ง Windows 11 ได้ฟรี ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบจาก Microsoft แต่จะมีอะไรบางอย่างแถมมาให้นะ . ลักษณะของเว็บไซต์ปลอมที่แฮกเกอร์ทำขึ้น นั้นคล้ายกับเว็บจริงมาก ทั้งรูป ลิงก์ ฟ้อนต์ ระบบ Login และปุ่มสำหรับดาวน์โหลด Windows 11 ปลอม บอกได้เลยว่าเนียนขั้นสุด ใครไม่ทันสังเกต ก็จะนึกว่าเป็นเว็บของ Microsoft ก็ไม่แปลกครับ . แต่หากกดโหลดมาใช้งาน จะมีมัลแวร์แถมมาให้ โดยจ้องขโมยข้อมูลบนเบราว์เซอร์และกระเป๋าเงินดิจิทัล . แคมเปญการโจมตีนี้อาศัยจังหวะที่ Microsoft กำลังโปรโมท Windows 11 และเชิญชวนให้ผู้ใช้ทั่วโลกให้อัปเกรด ซึ่งตอนนี้ยังสามารถอัปเกรดได้ฟรีครับ . กลับมาที่เว็บไซต์ปลอมครับ ชื่อของเว็บไซต์ปลอมที่ถูกทำขึ้นคือ windows11-upgrade11.com (ตอนนี้น่าจะถูกปิดไปแล้ว) หากเรากดดาวน์โหลดไฟล์มา เราจะได้รับไฟล์ ISO ของ Windows 11 ก็จริง แต่จะมีมัลแวร์ขโมยข้อมูลตัวใหม่ที่ชื่อว่า Inno Stealer…