เตรียมให้พร้อม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล องค์กรต้องทำอะไรบ้าง

Loading

  หลาย ๆ องค์กรเริ่มมีการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA กันบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องมีระบบใด หรือต้องจัดทำเอกสารอะไร ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเตรียมตัวในเบื้องต้นเพื่อให้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับของ PDPA   PDPA คืออะไร ก่อนจะเริ่มหัวข้อการเตรียมตัว ทีมงานขอเกริ่นเกี่ยวกับ PDPA สั้น ๆ ให้ผู้อ่านทราบว่า ทำไมต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของกฏหมายนี้ เนื่องจาก PDPA เป็นพระราชบัญญัติที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองด้านสิทธิและความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากมีการเปิดเผย ใช้ ดัดแปลง ถ่ายโอนข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำผิดจุดประสงค์ในการตกลงร่วมกัน ก็จะสามารถร้องเรียนเพื่อเอาผิดได้ โดยข้อมูลที่ PDPA คุ้มครอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ     ข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป  (Personal Data) ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป สามารถระบุตัวบุคลลนั้น ๆ เช่น – …

EU บังคับบริษัทเทคโนฯยักษ์ใหญ่จัดการคอนเทนต์ผิดกม.-ฝ่าฝืนเจอโทษปรับ

Loading

  สหภาพยุโรป (EU) เห็นชอบในวันนี้ (23 เม.ย.) เกี่ยวกับการออกกฎหมายใหม่ ซึ่งจะบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ อาทิ กูเกิล และเมตา จัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายในแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างจริงจังมากขึ้น มิฉะนั้นจะเสี่ยงกับการถูกปรับเป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์   สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า รัฐสภายุโรปและประเทศสมาชิก EU ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายการให้บริการดิจิทัล (Digital Services Act – DSA) ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่มีเป้าหมายเพื่อจัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายและเป็นอันตราย ด้วยการสั่งให้แพลตฟอร์มดำเนินการลบคอนเทนต์เหล่านั้นออกไปอย่างรวดเร็ว   ส่วนสำคัญของกฎหมายนี้จะจำกัดวิธีที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลทำการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานสำหรับการโฆษณาออนไลน์ โดย DSA จะขัดขวางแพลตฟอร์มต่าง ๆ จากการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานด้วยอัลกอริทึมโดยใช้ข้อมูลเพศ เชื้อชาติหรือศาสนา และจะห้ามไม่ให้กำหนดเป้าหมายด้านการโฆษณากับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก   นอกจากนี้ DSA จะห้ามการใช้กลวิธีหลอกลวงที่ออกแบบมาเพื่อผลักดันให้ผู้ใช้งานเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการบางอย่างด้วย   บริษัทเทคโนโลยีจะต้องใช้ขั้นตอนใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อกำจัดเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง การยั่วยุให้ก่อการร้าย และการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก โดยตลาดอี-คอมเมิร์ซ เช่น แอมะซอนจะต้องห้ามการขายสินค้าผิดกฎหมายภายใต้กฎใหม่ดังกล่าว   ทั้งนี้ บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎใหม่ดังกล่าวอาจต้องเสียค่าปรับสูงถึง 6% ของรายได้ประจำปีทั่วโลก…

กองทัพสหรัฐฯ ชม SpaceX รับมือรัสเซียแฮก Starlink ได้อย่างรวดเร็ว

Loading

    C4ISRNet สื่อสำหรับการทหารและงานข่าวกรองยุคใหม่ได้นำเสนอการสนทนาในเรื่อง “Instruments of electronic warfare” หรือเครื่องมือในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยกล่าวถึงการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของรัสเซียในการโจมตียูเครน ซึ่ง เดฟ เทรมเปอร์ (Dave Tremper) ผู้อำนวยการฝ่ายสงครามอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวชมสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ที่สามารถปกป้องบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ (Starlink) จากการแฮกและโจมตีของรัสเซียได้อย่างรวดเร็ว   นาทาน สเตราต์ (Nathan Strout) พิธีกรของ C4ISRNet ได้สนทนาผ่านวิดีโอทางไกลกับ พลจัตวา แทด คลาร์ก (Brig. Gen. Tad Clark) ผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำนักงานใหญ่กองทัพอากาศสหรัฐฯ และ เดฟ เทรมเปอร์ โดยพูดคุยกันถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ในการบุกยูเครนของรัสเซีย   ในการสนทนา เทรมเปอร์ ได้กล่าวชมทีมวิศวกรของสเปซเอ็กซ์ที่สามารถเขียนโค้ดคำสั่งปล่อยขึ้นไปแค่หนึ่งบรรทัดก็สามารถแก้ไขปัญหาการแฮกและบุกโจมตีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและกองทัพสามารถเรียนรู้   24 กุมภาพันธ์ รัสเซียได้ส่งกำลังทหารบุกถล่มยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งการโจมตีได้ทำลายสายไฟเบอร์ออปติก สายเคเบิ้ลและเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังนั้นกองทัพยูเครนจึงต้องสื่อสารทางการทหารผ่านดาวเทียม…

Google ปิดทาง ห้ามพัฒนาแอปบันทึกเสียงคุยโทรศัพท์

Loading

  Google ปรับนโยบายใหม่ ปิดทางห้ามพัฒนาแอปบันทึกเสียงคุยโทรศัพท์ ส่วนแอปที่ออกมาก่อนหน้านี้ อีกในไม่ช้าจะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป   ทาง Android Police รายงานว่า นักพัฒนาแอป Call Record ACR ได้ทำการโพสต์ใน Reddit ถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ Play Store โดยในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมานั้นทาง Google ได้ประกาศว่าแอปบนระบบปฏิบัติการ Android นั้นจะถูกห้ามใช้งาน Accessibility API สำหรับช่วยให้ผู้พิการช่วยบันทึกเสียง พราะมันไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อให้อัดเสียงคุยโทรศัพท์   ทาง Google บอกว่าฟีเจอร์นี้ออกแบบมาสำหรับผู้พิการ แต่หลายคนกลับใช้งานผิดวัตถุประสงค์หลัก โดยกฎใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ ซึ่งจะตรงกับการจัดงาน developer conference วันแรก         นอกจากนั้นยังมีการประกาศเรื่องนี้ผ่าน webinar สำหรับนักพัฒนา โดยให้เหตุผลว่าการบันทึกเสียงนั้นเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล รวมถึงผิดกฎหมายในหลายประเทศ ส่วนแอปไหนที่ยังเปิดใช้งานอยู่จะต้องแจ้งและต้องได้รับความยินยอมก่อนบันทึกเสียงหรือใช้วิธีอื่นในการบันทึกเสียงแทน   ทาง Google ยังอนุญาตให้บันทึกเสียงผ่านแอป…