คําศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยเทคโนโลยีสารสนเทศ

Loading

Most common English vocabulary in information technology_featured การเรียนรู้เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต การทำงาน และการติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั้งโลก มาก้าวทันโลกยุคใหม่ด้วยเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษกัน ในยุคนี้เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่าเราต้องตามให้ทันแต่จะทำอย่างไรเมื่อโลกของเทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่มีแต่คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เหมือนเราพอจะรู้ความหมายแต่ก็ยังไม่ได้ใจว่าใช่หรือเปล่า วันนี้เราจะมารวบรวมคำศัพท์ที่ใช้บ่อยในวงการนี้อพร้อมคำอธิบาย คําศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ 1. Desktop เดสก์ท็อป หมายถึงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หรืออีกความหมายหนึ่งคือ พื้นหลังของจอคอมพิวเตอร์ 2. File ไฟล์ คือเอกสารซึ่งความหมายในทางเทคโนโลยีสารสนเทศคือเอกสารที่จัดเก็บคอมพิวเตอร์ 3. Folder โฟลเดอร์ แฟ้มเอกสารบนคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมไฟล์หลายไฟล์เข้าด้วยกัน มาจากแนวคิดตู้แฟ้มเอกสารนั่นเอง 4. Monitor มอนิเตอร์ หมายถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ 5. Keyboard คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ใช้ในการป้อนข้อมูลโดยเฉพาะที่เป็นตัวอักษร 6. Hardware ฮาร์ดแวร์ คือส่วนของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย 3 หน่วยด้วยกัน ได้แก่ หน่วยความจำ หน่วยรับข้อมูล และหน่วยแสดงผม 7. CPU ซีพียู คือหนึ่งใน 3 ฮาร์ดแวร์ เป็นหน่วยประมวลผลกลาง…

ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์ | ปริญญา หอมเอนก

Loading

ประเทศไทยมีการประกาศบังคับ ใช้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ ซึ่งชื่อเต็มคือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ขณะนี้ได้จัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และแต่งตั้งคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เพื่อปฏิบัติภารกิจตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำไมต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์? ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายให้แก่ ประชาชน สังคม ตลอดจนประเทศชาติ โดยไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ ประเทศที่กำลังพัฒนา ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน (critical infrastructures) ของประเทศ ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ช่วงวันที่ 6-12 พฤษภาคม 2564 มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา “Colonial Pipeline” ถูกโจมตีด้วย Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทำให้ต้องหยุดการขนส่งน้ำมันบางส่วนลงชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อบริษัทและลูกค้า เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทีมงานทำเนียบขาวของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้ประสานงานและติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดกับบริษัทดังกล่าวโดยตรง เนื่องจากเป็นปัญหาในระดับประเทศ การโจมตีโดย Ransomware ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติการของอาชญากรรมข้ามชาติที่จู่โจมเป้าหมาย ที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยิ่งยวด…

ไขประเด็นวิเคราะห์ Faked Data “รู้-แก้” ให้ตรงจุด

Loading

  เวลาที่เราค้นข้อมูล เราจะทราบได้อย่างไรว่า ข้อมูลผิด หรือเป็น Faked Data” บางความคิด บอกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของทักษะด้านข้อมูล (Data Literacy) ที่จะต้องใช้ตรรกะและองค์ความรู้แยกให้ได้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ ข้อมูลมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ บ่อยครั้งที่มักจะพบว่าข้อมูลจากการวิเคราะห์ ที่แสดงเป็นรายงานอย่างสวยงามนั้น เมื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร หรือผู้เชี่ยวชาญแล้วบุคคลเหล่านั้นบอกว่า “ข้อมูลผิด” และสิ่งหนึ่งที่มักได้ยินบ่อยๆ ในหลายองค์กรก็คือว่า ข้อมูลจำนวนมากที่เก็บอยู่ในองค์กรเป็นขยะ กล่าวคือ ข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้การนำไปวิเคราะห์ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดตามมา ดังนั้นหลายคนอาจสงสัยว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่า ข้อมูลผิด หรือเป็น Faked Data” บางความคิด บอกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของทักษะด้านข้อมูล (Data Literacy) ที่จะต้องใช้ตรรกะและองค์ความรู้แยกให้ได้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ ข้อมูลมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ แต่บังเอิญคำถามนี้กลายเป็นว่า ข้อมูลดังกล่าวมาจากแหล่งต้นทางที่เราคิดว่าน่าจะถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ แต่กลับกลายเป็นว่ามีข้อมูลดิบบางส่วนที่ผิดอยู่ด้วย ที่ผ่านมา ผมทำงานกับข้อมูลดิบมาอย่างยาวนาน และบ่อยครั้งก็จะพบว่า ข้อมูลจากแหล่งต้นทางผิดจริง แต่ก็ใช่ว่าจะผิดมากมาย ส่วนใหญ่อาจผิดพลาดเพราะการใส่ตัวเลขผิดพลาด หรือมีการเก็บข้อมูลคาดเคลื่อน เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ยิ่งข้อมูลมีขนาดใหญ่ (Big Data)…

รัสเซียเตือนความเสี่ยงเกิด ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ชี้นาโตกำลังทำ ‘สงครามตัวแทน’ ผ่านยูเครน

Loading

เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ออกมาเตือนว่า “สงครามโลกครั้งที่ 3” ไม่ใช่เรื่องไกลความจริงอีกต่อไป ขณะที่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตร เตรียมจัดการประชุมที่เยอรมนีในวันอังคาร (26 เม.ย.) เพื่อหาทางจัดส่งอาวุธให้ยูเครนใช้ต้านทานการบุกของรัสเซีย นับตั้งแต่ปฏิบัติการรุกรานทางทหารของรัสเซียเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.พ. โลกตะวันตกก็พร้อมใจกันส่งมอบความช่วยเหลือและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้แก่ยูเครนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังปฏิเสธที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมสู้รบโดยตรง ด้วยเกรงว่าจะเป็นชนวนให้เกิด “สงครามนิวเคลียร์” กับรัสเซีย ลาฟรอฟ ให้สัมภาษณ์กับสื่อแดนหมีขาว โดยตอบคำถามเกี่ยวกับความสำคัญในการหลีกเลี่ยงสงครามโลกครั้งที่ 3 และถูกขอให้เปรียบเทียบว่าสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นมีความเหมือนหรือต่างจากวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาเมื่อปี 1962 ซึ่งเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-สหภาพโซเวียตตกต่ำถึงขีดสุดหรือไม่อย่างไร เขาเตือนถึง “ความเสี่ยงร้ายแรง” ที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ขึ้น พร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์แนวทางที่รัฐบาลยูเครนใช้ในการเจรจาสันติภาพ “ความเสี่ยงในขณะนี้มีสูงมาก” รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียกล่าว “ผมไม่ได้อยากประเมินความเสี่ยงเกินจริง แม้ว่าหลายคนอาจจะชอบ แต่นี่คืออันตรายที่ร้ายแรงจริงๆ และคุณไม่ควรประเมินมันต่ำเกินไป” ลาฟรอฟกล่าว พร้อมระบุด้วยว่า องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) “กำลังทำสงครามกับรัสเซียผ่านตัวแทน” ซึ่งก็คือยูเครน ดมิโตร คูเลบา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศยูเครน ทวีตข้อความหลังจากที่ได้ฟังบทสัมภาษณ์ของ ลาฟรอฟ…

จีน เตือนเอเชียกลาง ระวังต่างชาติแทรกแซง ขัดขวาง-บ่อนทำลายความมั่นคง

Loading

วันที่ 26 เม.ย. เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ รายงานว่า พล.อ.เว่ย เฟิ่งเหอ รัฐมนตรีกลาโหมจีน เรียกร้องให้เอเชียกลางระวังการแทรกแซงของต่างชาติ และว่าจีนจะยกระดับความร่วมมือกลาโหมกับคาซัคสถาน อันเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันมากขึ้นเพื่อความมั่นคงในภูมิภาค พล.อ.เว่ยกล่าวข้อเรียกร้องดังกล่าวในการประชุมกับประธานาธิบดีคาซัคถสาน กาซิม-โจมาร์ต โตคาเยฟ ในกรุงนุล-ซุลตัน เมืองหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 25 เม.ย. ซึ่งเป็น 3 เดือน หลังการประท้วงครั้งใหญ่ทั่วคาซัคสถานเมื่อต้นเดือน ม.ค. “จีนคัดค้านอย่างแข็งขันกับกองกำลังภายนอกที่จงใจยุยงเพื่อเกิด “การปฏิวัติสี” ในคาซัคสถาน และสนับสนุนรัฐบาลคาซัคสถานในการใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติและสังคม” กระทรวงกลาโหมของจีนรายงานคำพูดของ พล.อ.เว่ย รัฐมนตรีกลาโหมจีนยังเรียกร้อง “ความระมัดระวังมหาอำนาจสำคัญบางประเทศที่แทรกแซงในเอเชียกลาง เพื่อขัดขวางและบ่อนทำลายความมั่นคงในภูมิภาค” และว่า “จีนให้ความสำคัญและสนับสนุนคาซัคสถานอย่างมั่นคง ไม่ว่าทั้งสองประเทศจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายใด” การประท้วงครั้งใหญ่ดังกล่าวเกิดขึ้นจากปัญหาราคาเชื้อเพลิงพุ่งสูง ในเวลานั้น นายโตคาเยฟเรียกผู้ประท้วงเป็น “โจร” และออกคำสั่งยิงสังหารผู้ประท้วงเพื่อระงับความไม่สงบเรียบร้อย จากนั้น คาซัคสถานขอให้รัสเซียส่งกองกำลังเข้ามาช่วยฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยผ่านกลไกในองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (ซีเอสทีโอ) ซึ่งเป็นพันธมิตรภูมิภาคที่มีหัวหอกเป็นรัสเซีย จีน กล่าวในเวลานั้นจะช่วยรัฐบาลคาซัคสถานต่อสู้กับการก่อการร้าย การแบ่งแยกดินแดน และลัทธิหัวรุนแรงทางศาสนา และต่อต้านความพยายามของกองกำลังต่างชาติที่จะก่อปัญหา ขณะที่ประธานาธิบดีโตคาเยฟขอบคุณประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน และบรรดาผู้นำของจีน อุซเบกิสถาน…

พบกลุ่มแฮกเกอร์อิหร่าน ใช้ช่องโหว่ VMware ในการโจมตี

Loading

Credit: Nomad Soul/ShutterStock พบกลุ่มแฮกเกอร์อิหร่าน ใช้ช่องโหว่ RCE ของ VMware ที่พบก่อนหน้านี้ เป็นช่องทางในการโจมตี ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความมั่นคงปลอดภัย ได้ตรวจพบการโจมตีจากกลุ่มแฮกเกอร์อิหร่าน ที่มุ่งเป้าใช้ช่องโหว่ Remote Code Excecution (RCE) บนผลิตภัณฑ์จาก VMware เป็นช่องทางในการโจมตี โดยช่องโหว่นี้มีรหัส CVE-2022-22954 เกิดขึ้นบนผลิตภัณฑ์ VMware Workspace ONE Access , VMware Identity Manager , VMware vRealize Automation , VMware Cloud Foundation และ vRealize Suite Lifecycle Manager ถูกรายงานเมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมา เป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถยกระดับสิทธิของตนเองได้ มีความรุนแรง CVSSv3 Score ที่ระดับ 9.8 หลังจากที่ช่องโหว่นี้ถูกเปิดเผย…