รัฐสภาสหรัฐฯ อพยพเจ้าหน้าที่ด่วน หลังพบเครื่องบินต้องสงสัยใกล้อาคาร

Loading

  รัฐสภาสหรัฐฯ อพยพเจ้าหน้าที่ หลังตำรวจรายงานพบเครื่องบินที่ “อาจเป็นภัยคุกคาม” ต่อมาพบว่า เป็นส่วนหนึ่งของการซ้อมโชว์เปิดการแข่งขันเบสบอล ช่วงเย็นวันพุธที่ผ่านมา (เช้าวันนี้ตามเวลาประเทศไทย) รัฐสภาสหรัฐฯ ประกาศอพยพเจ้าหน้าที่ออกจากอาคารอย่างเร่งด่วน หลังจากตำรวจรายงานพบเครื่องบินต้องสงสัยที่ “อาจเป็นภัยคุกคาม” โดยเวลา 18.30 น. ตามเวลาวอชิงตัน ดี.ซี. (05.30 น. ของวันนี้ตามเวลาประเทศไทย) มีการแจ้งเตือนจากตำรวจประจำรัฐสภาสหรัฐฯ ให้เจ้าหน้าที่รัฐสภาหนีออกจากอาคารรัฐสภาและอาคารสภานิติบัญญัติ     แต่ต่อมาปรากฎว่า เครื่องบินลำดังกล่าวไม่ใช่เครื่องบินก่อการร้าย แต่เป็นเครื่องบินที่บรรทุกสมาชิกอัศวินทองคำ หรือ “พลร่มของกองทัพสหรัฐฯ” ซึ่งกำลังซ้อมโชว์กระโดดร่มไปที่สนามกีฬาเบสบอล Nationals Park สำหรับพีธีเปิดการแข่งขันกีฬาเบสบอลที่กำลังจะมีขึ้น70497 พยานคนหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์คือ เอรีแอนน์ โดแลน ภรรยาของนักเบสบอล ฌอน ดูลิตเติล เธอเล่าว่า “ฉันกำลังพาสุนัขเดินผ่านอาคารสำนักงานวุฒิสภาเดิร์กเซน แล้วผู้คนก็เริ่มวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน พวกเขาบอกให้ฉันหันหลังและหนีไปให้เร็วที่สุด มีบางคนที่ยังมีสติ แต่หลายคนก็ตื่นตระหนกอย่างมาก รวมถึงฉันด้วย” เหตุการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวในการสื่อสารระหว่างกองทัพสหรัฐฯ กับตำรวจประจำรัฐสภา ทั้งที่มาตรการการตรวจสอบของรัฐสภาควรจะรัดกุมขึ้นจากการปรับปรุงความปลอดภัยหลังเกิดเหจุจลาจล 6 ม.ค. ปีที่แล้ว ที่รัฐสภาถูกบุกโจมตีโดยผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์…

Okta ชี้แจงเหตุข้อมูลหลุด ระบุแฮกเกอร์เข้ายึดคอมพิวเตอร์พนักงานซัพพอร์ตได้ 25 นาที

Loading

ภาพหน้าจอระบบภายในของ Okta ที่ LAPSUS เผยแพร่ผ่าน Telegram Okta รายงานการผลการตรวจสอบเหตุที่กลุ่ม LAPSUS$ ระบุว่า สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าของบริษัทได้ โดยพบว่า ช่วงเวลาที่แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้เป็นช่วงเวลาสั้นกว่าที่คาดไว้ตอนแรกอย่างมาก คอมพิวเตอร์ที่ถูกแฮกเป็นเวิร์คสเตชั่นของเจ้าหน้าที่ซัพพอร์ตที่เป็นพนักงานของบริษัท Sitel อีกที หลังจากยึดเครื่องได้แล้วแฮกเกอร์เข้าแอป SuperUser ขององค์กรลูกค้าสององค์กรเพื่อดูข้อมูล แต่ไม่สามารถแก้ไขคอนฟิกอะไรได้ ข้อมูลของ Okta นี้ขัดกับข้อมูลของกลุ่ม LAPSUS$ ที่เปิดเผยว่า เข้าถึงระบบได้เมื่อช่วงเดือนมีนาคม แต่จนตอนนี้กลุ่ม LAPSUS$ ก็ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลอะไรเพิ่มเติมนอกจากภาพหน้าจอเท่านั้น แม้ผลกระทบจะไม่ร้ายแรง แต่ Okta ก็ประกาศเลิกซื้อบริการซัพพอร์ตจาก Sitel และเปลี่ยนนโยบายว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่เข้าถึงระบบซัพพอร์ตจะต้องจัดการโดย Okta เองเท่านั้น พร้อมกับจำกัดสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่ซัพพอร์ตให้ดูข้อมูลได้จำกัดลง ที่มา – Okta     ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่ 20 เม.ย.65 Link : https://www.blognone.com/node/128115

“จีน-หมู่เกาะโซโลมอน” ลงนามข้อตกลง ยกระดับร่วมมือความมั่นคง

Loading

รัฐบาลจีนยืนยัน การลงนามใน “ข้อตกลงด้านความมั่นคงฉบับสำคัญ” ร่วมกับหมู่เกาะโซโลมอน สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ว่า นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐ และ รมว.การต่างประเทศจีน และ นายเจเรเมียห์ มาเนเล รมว.การต่างประเทศของหมู่เกาะโซโลมอน ลงนามร่วมกันในข้อตกลงว่าด้วยการยกระดับการเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงระดับทวิภาคี   China says it has already signed security pact with Solomon Islands – surprising Australia. The information that PRC foreign minister Wang Yi had signed the pact was made at a foreign ministry media briefing,…

ที่มาก่อนการแบนผ้าคลุมหน้าในฝรั่งเศส

Loading

ประเด็นการห้ามสวมผ้าคลุมหน้าของสตรีมุสลิมในฝรั่งเศสที่บังคับใช้มา 11 ปี กลับมาร้อนอีก เมื่อมารีน เลอ เพน ชูนโยบายห้ามสวม “ฮิญาบ” ที่เป็นเพียงผ้าคลุมศีรษะแต่เปิดหน้าของสตรีมมุสลิม และอาจเป็นตัวชี้ขาดก็ได้ว่าใครที่จะเป็นผู้ชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกในยุโรปที่กล้าหาญชาญชัยเสี่ยงต่อความขัดแย้งในสังคม ด้วยการบังคับใช้กฎหมายห้ามสวมผ้าคลุมหน้าไม่ว่าจะเป็น บุรกอ หรือ นิกอบ เมื่อวันที่ 11 เมษายน ปี 2554 ในสมัยของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โคซี โดยเรียกว่า “รัฐบัญญัติห้ามปกปิดใบหน้าในสาธารณสถาน” เช่น ท้องถนน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ ระบบขนส่งมวลชนและสวนสาธารณะ ยกเว้นกรณีเดินทางในรถส่วนบุคคลแม้ไม่ได้เป็นผู้ขับหรืออยู่ในมัสยิด     กฎหมายฉบับนี้อ้างอิงตัวเลขประมาณการณ์ในขณะนั้นว่า ในจำนวนประชากรมุสลิม 4-6 ล้านคน มีสตรีที่สวมผ้าคลุมหน้าตามประเพณีอาหรับและเอเชียใต้แค่ 2,000 คนเท่านั้น แต่ซาร์โกซีถูกวิจารณ์หนักว่าต้องการเสียงสนับสนุนจากกลุ่มขวาจัด และเมินเฉยต่อเสียงร้องเรียนชาวมุสลิมและนักสิทธิมนุษยชนที่ว่า เป็นการกดดันฝ่ายที่เปราะบางที่สุดในสังคมเพื่อเอาใจฝ่ายที่รังเกียจผู้อพยพ ที่กลัวว่าอิสลามจะเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมของฝรั่งเศส กฎหมายกำหนดว่าผู้ที่ไม่ยอมเปิดหน้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจเอกลักษณ์จะถูกนำไปสถานีตำรวจ และเจ้าหน้าที่อาจใช้วิธีเกลี้ยกล่อมให้ยินยอม แต่ถ้ายืนกรานว่าจะไม่ยอมเปิดหน้าก็อาจถูกปรับเงิน 150 ยูโร ก่อนถูกส่งไปอบรมความประพฤติ บทลงโทษยังลามไปถึงผู้เป็นพ่อ สามี หรือผู้นำศาสนา ที่บังคับให้สตรีสวมผ้าคลุมหน้า ที่จะถูกปรับเงิน…

เปิดแนวทางรับมือกับ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ , SMS หลอกลวง จาก AIS, dtac, Truemove-H

Loading

  หลายคนคงเห็นคลิปแกล้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ผ่านหน้าผ่านตากันมาบ้างแล้ว ในช่วงปีที่ผ่านมาก็เกิด SMS หลอกลวงระบาดหนักในหมู่คนใช้ iPhone ส่วนปีนี้ก็มีแก๊งคอลเซ็นเตอร์อาละวาดโดนกันถ้วนหน้าเลยทีเดียว ซึ่งจะมาในรูปแบบแอบอ้างเป็นขนส่งชื่อดัง หรือแอบอ้างเป็นคนหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อหลอกล่อให้โอนเงิน ซึ่งก็มีคนหลงเชื่อและสร้างความน่ารำคาญเป็นอย่างมาก เดี๋ยวนี้ค่ายมือถือทั้ง AIS, DTAC, TRUE ออกบริการสำหรับลูกค้าให้สามารถแจ้งเบอร์และ SMS หลอกลวง ไปดูของแต่ละค่ายดีกว่าว่ามีมาตรการและขั้นตอนอย่างไรบ้าง AIS 1185 เริ่มที่ AIS ที่ประกาศก่อนใครเลย เปิดตัว สายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ หรือ AIS Spam Report Center ให้ลูกค้า AIS สามารถโทรฟรีในรูปแบบ IVR Self Service และ AI Chatbot เพื่อแจ้งเบอร์โทรหรือ SMS ที่คาดว่าเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ โดยทำงานร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ เพื่อสืบสวน สอบสวน ตรวจสอบ…

จีนเตือนประชาชนระวังสายลับต่างชาติจากเว็บหางานและเว็บหาคู่

Loading

(แฟ้มภาพเอเอฟพี-ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา) เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ สื่อต่างประเทศรายงาน (17 เม.ย.) การต่อต้านการจารกรรมยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับทางการจีนอย่างชัดเจน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมถึงสถานการณ์ในฮ่องกง ไต้หวัน ทะเลจีนใต้ และวิกฤตในยูเครน สำนักงานอัยการสูงสุดจีนเปิดเผยว่า แม้จีนได้ควบคุมกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ดี เว็บไซต์หางานและการหาคู่ ตลอดจนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมได้กลายเป็นแหล่งแทรกซึมของกองกำลังศัตรูต่างชาติมากขึ้น สำนักงานอัยการสูงสุดจีนระบุต่อไปว่า นักศึกษา แรงงานข้ามชาติ และเยาวชนที่ตกงานซึ่งไม่ค่อยรู้เรื่องความมั่นคงของชาติมีความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของอาชญากรต่างชาติมากที่สุด โดยยกตัวอย่างกรณีนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา ที่ถูกเลือกโดยสายลับจากต่างประเทศผ่านแอปหาคู่ออนไลน์ในปี 2563 ได้ให้ภาพถ่ายของฐานทัพทหารและอุปกรณ์ทางทหารเพื่อแลกกับเงิน 10,000 หยวน หรือราว 50,000 บาท โดยต่อมาถูกตัดสินจำคุก 6 ปี ข้อหาเผยแพร่ความลับทางการทหาร ในอีกกรณีหนึ่ง ผู้อำนวยการสนามบินแห่งหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 13 ปี ฐานส่งข้อมูลเกี่ยวกับแผนการเดินทางของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล เพื่อแลกกับเงินกว่า 26,000 หยวน หรือราว 135,000 บาท ปักกิ่งได้เพิ่มความพยายามในการต่อต้านการจารกรรมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเผยแพร่แนวทางการต่อสู้กับการสอดแนมและเรียกร้องให้ประชาชนช่วยรายงานกิจกรรมที่น่าสงสัย นายลี่ กั๋วเจิ้ง โฆษกกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ ระบุว่า เมื่อปี 2564 มีการสอบสวนคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตทั้งหมด 62,000…