ฮือฮา! เปียงยางแถลงทดสอบอาวุธนำวิถีแบบใหม่ครั้งแรก ความเร็วต่ำกว่า 4 มัค เพิ่มความสามารถกำลังรบนิวเคลียร์ “คิม จองอึน” มาดูด้วยตัวเอง

Loading

  รอยเตอร์/เอพี/เอเอฟพี – เปียงยางยิงทดสอบมิสไซล์ 2 ลูกเมื่อวานนี้ (16 เม.ย.) จากชายฝั่งตะวันออกของเกาหลีเหนือจากภูมิภาคฮัมฮึง (Hamhung ) เมื่อเวลา 18.00 น. บินไกล 110 กิโลเมตร เพดานบิน 25 กิโลเมตร ฮือฮามีคความเร็วต่ำกว่า 4 มัค เป็นการทดสอบอาวุธนำวิถีประเภทใหม่ที่จะเพิ่มความสามารถให้อาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือได้ พบผู้นำ คิม จองอึน เดินทางมาเป็นประธานการปล่อยด้วยตัวเอง   รอยเตอร์รายงานวันนี้ (17 เม.ย.) ว่า สำนักข่าวทางการเกาหลีเหนือ KCNA แถลงข่าววันอาทิตย์ (17) ว่า ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ คิม จองอึน มาเป็นประธานการทดสอบด้วยตัวเองสำหรับการทดสอบอาวุธล่าสุด   กองทัพเกาหลีใต้แถลงในวันนี้ (17) ว่า ทางกองทัพสามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวการยิงแบบโปรเจกไตล์ 2 ครั้งในวันเสาร์ (16) จากชายฝั่งทางตะวันออกของเกาหลีเหนือในภูมิภาคฮัมฮึง (Hamhung ) เมื่อเวลา 18.00…

OpenSSH ออกเวอร์ชั่น 9.0 เปลี่ยนไปใช้ SFTP เต็มตัว, รองรับการเข้ารหัสป้องกันคอมพิวเตอร์ควอนตัม

Loading

  OpenSSH ออกเวอร์ชั่น 9.0 เป็นเวอร์ชั่นหลักหลังจากเวอร์ชั่น 8.0 ออกมาตั้งแต่ปี 2019 เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการเลิกใช้โปรโตคอล SCP/RCP ออกทั้งหมด และหันมาใช้โปรโตคอล SFTP เท่านั้น   การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้คำสั่ง scp มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป จุดสำคัญคือการอ้างถึงชื่อไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์แบบ wildcard (ตัวดอกจัน ‘*’) และการอ้าง home directory ที่ตัวโปรโตคอล SFTP เองไม่สามารถใช้ตัว ~ เพื่ออ้างถึง home directory ได้ แต่ OpenSSH ก็ใส่ส่วนขยายรองรับให้เหมือน SCP มาตั้งแต่ OpenSSH 8.7   ความเปลี่ยนแปลงอีกส่วนคือการรองรับกระบวนการแลกกุญแจ Streamlined NTRU Prime ที่คาดว่าจะทนทานต่อการโจมตีด้วยคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้ โดย OpenSSH เลือกอิมพลีเมนต์กระบวนการนี้ซ้อนไปกับกระบวนการแลกกุญแจ X25519 เดิม ทำให้ความปลอดภัยน่าจะเท่าเดิม หากผู้ใช้เปิดโหมดนี้ก็จะป้องกันการดักฟังข้อมูลเพื่อรอให้วันหนึ่งคอมพิวเตอร์ควอนตัมราคาถูกพอและคนร้ายไปถอดรหัสในภายหลัง    …

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับแก้ไขของญี่ปุ่น

Loading

  โลกในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าสูง การเข้าถึงและครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงธุรกิจได้   แต่ในขณะเดียวกัน การดำเนินการดังกล่าวโดยปราศจากการควบคุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลได้ ดังนั้นแล้ว การตรากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญยิ่ง   ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ   เนื่องจากในปัจจุบันเราจะพบปัญหาการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยมิชอบ หรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอันส่งผลให้เกิดความเสียหายกับบุคคลจำนวนมาก   กฎหมายดังกล่าวจะมีกำหนดบังคับใช้ทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 อันส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ รวมถึงหน่วยงานของรัฐต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้   สำหรับผู้ประกอบการที่มีคู่ค้าเป็นชาวต่างชาติ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยแล้ว ก็จำต้องศึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศคู่ค้าด้วย เพื่อจะได้ไม่เกิดกรณีการทำผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศนั้นๆ   ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของผู้ประกอบการไทย และเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ญี่ปุ่นได้ตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (個人情報保護法 – Act on Protection of Personal Information – APPI) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 และมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการทั้งหมด ที่เสนอขายสินค้าและบริการที่มีการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น   ไม่ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม และหลังจากที่ได้มีการบังคับใช้ ก็ได้มีการตรากฎระเบียบอื่น…

ผู้นำฟิลิปปินส์วีโต้ร่างกฎหมาย “ยืนยันตัวตนบนโซเชียลมีเดีย”

Loading

  ผู้นำฟิลิปปินส์ยังไม่ลงนามรับรอง ร่างกฎหมายเกี่ยวกับ การที่ประชาชน “ต้องยืนยันตัวตน” บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยแสดงความกังวลเกี่ยวกับ การละเมิดความเป็นส่วนตัว   สำนักข่าวต่างประเทศรายนงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่าประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต ใช้อำนาจวีโต้ ร่างกฎหมายซึ่งสภาคองเกรสของฟิลิปปินส์ มีมติเห็นชอบเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ว่าด้วยการที่ประชาชนต้อง “ยืนยันตัวตนทางกฎหมาย” ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าวในด้านความมั่นคง   ทั้งนี้ ทำเนียบมาลากันยังออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับเหตุผลที่ผู้นำฟิลิปปินส์คัดค้านร่างกฎหมายนี้ ที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า “กฎหมายซิมการ์ด” ว่ายังขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับอีกหลายประเด็นปลีกย่อย ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็น “ช่องว่างอันตราย” ให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายก่อการล่วงละเมิด และการสอดแนมของเจ้าหน้าที่อาจสุ่มเสี่ยง เข้าข่ายเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเองด้วย   Senate President @sotto_tito took to Twitter on Friday to express his displeasure of President Rodrigo…

หน่วยข่าวได้กลิ่นคนร้ายเตรียมลอบวางระเบิดรือเสาะ หลังถังแก๊สโดนขโมย

Loading

แฟ้มภาพ   15 เม.ย.2565 – เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า ได้มีการขโมยถังบรรจุแก๊ส ขนาด 25 กก. จำนวน 2 ถัง หายในพื้นที่ ต.ลาโละ ประกอบกับปรากฏข่าวสารความเคลื่อนไหวของนายอับดุลหะเล็ง ดอเล๊าะ และนายรอสฝัน มะดง มือประกอบระเบิด ได้นำอาวุธและวัตถุระเบิดเข้ามาเตรียมการก่อเหตุในพื้นที่ ต.รือเสาะ ในห้วงเร็วๆนี้ ข่าวสารแจ้งเตือนของแหล่งข่าวว่า จะมีเหตุใหญ่ในพื้นที่ อ.รือเสาะ   จากการวิเคราะห์ขั้นต้น คาดว่า คนร้ายจะก่อเหตุลอบวางระเบิดแสวงเครื่องหรือวางแบบเร่งด่วนต่อกำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน/รปภ.เส้นทาง รปภ.บุคคลในการทำกิจกรรมในเขตเทศบาล หรือยานพาหนะเชิงสัญลักษณ์ที่ใช้เส้นทางเข้าออกและฐานปฏิบัติที่มีมาตรการ รปภ.ต่ำในเขตเทศบาลตำบลรือเสาะและใกล้เคียง เน้นเส้นทาง4060, 4016, 4107 และเส้นทางเสี่ยง/เฝ้าระวัง 4066,   การก่อกวนด้วยการขว้างระเบิดแสวงเครื่องแบบไปป์บอมบ์ต่อฐานปฏิบัติการที่มีการรปภ.ต่ำ(มว.ฉก.นปพ.นธ.21, จุดตรวจโต๊ะตาหยง, ชคต.คือเสาะออก, ชป.ลว.ในเขตเทศบาลและรอบนอก) ชุมชนไทยพุทธ และการซุ่มยิง/ประกบยิงต่อเจ้าหน้าที่ที่มีการ รปภ.ต่ำและเป้าหมายอ่อนแอ/ชุมชนไทยพุทธในห้วงนี้ – หลังเทศกาลสงกรานต์ ระมัดระวังการก่อเหตุและการลวงให้เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่สังหารและก่อเหตุซ้ำในพื้นที่ที่เตรียมไว้     —————————————————————————————————————————————————— ที่มา :   ไทยโพสต์ …

‘เธียรชัย’ ยัน ‘1 มิ.ย.’ ไทยบังคับใช้ ‘ก.ม. PDPA’

Loading

  ประธาน คกก.คุ้มครองส่วนบุคคล ยัน 1 มิ.ย.ไทยจะประกาศใช้กฎหมาย PDPA เป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียน ดึงงานวิจัยจุฬาเป็นวิธีการปฎิบัติ ไม่มีบทลงโทษทางกฎหมาย สร้างการรับรู้ให้องค์กรเตรียมตัว ย้ำประกาศล่าช้าตัดโอกาสประเทศ ยกระดับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลองค์กรไทยสู่มาตรฐานสากล   นายเธียรชัย ณ นคร ประธานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยกับ “กรุงเทพธุรกิจ” และสื่อในเครือเนชั่น ว่า ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ โดยไม่เลื่อนการบังคับใช้ ตามที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เสนอ เนื่องจากขณะนี้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา   ขณะเดียวกัน ยังมองว่าการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิทธิพื้นฐาน และจะกลายระเบียบใหม่ของโลก ที่ขณะนี้มีประเทศในกลุ่มอียู และกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่อียู 50 ประเทศ การบังคับใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีมาตรฐานไม่น้อยกว่า…