ก๊าซแอมโมเนียรั่วในโรงน้ำแข็งเชียงใหม่

Loading

  ก๊าซแอมโมเนียในโรงน้ำแข็งรั่วกลางดึก กู้ภัยต้องสวมใส่ชุดครื่องช่วยหายใจเข้าไปปิดวาล์วถังก๊าซแอมโมเนีย ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงระงับเหตุได้ ส่วนชาวบ้านไม่รู้ว่ามีสารเคมีรั่วกระทั่งได้รับผลกระทบข้างเคียงต้องหามผู้ป่วยติดเตียงส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น.เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 เกิดเหตุก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล ที่โรงงานน้ำแข็งแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากเกิดเหตุทางศูนย์วิทยุสถานีตำรวจภูธรหางดง ได้ประสานไปยังหน่วยกู้ภัยหางดง และรถดับเพลิงจากทศบาลในพื้นที่หลายเทศบาลรวม 5 คัน เข้าระงับเหตุอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีฟุ้งกระจายไปในอากาศไปมากกว่านี้     เมื่อเจ้าหน้าที่กู้ภัยมาถึงจุดเกิดเหตุพบว่าบริเวณโดยรอบโรงน้ำแข็งในรัศมี 50-100 เมตร มีความเข้มข้นของก๊าซแอมโมเนียที่รั่วไหลออกมาสูงมาก จนทำให้หญิงชราวัย 74 ปี มีบ้านอยู่หลังโรงน้ำแข็ง ที่ป่วยติดเตียงได้รับผลกระทบโดยตรงมีอาการไออย่างรุนแรง พร้อมกับอาเจียน ใจสั่น ซึ่งคนในบ้านตอนแรกก็ไม่ทราบว่ามีก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล เพราะไม่มีการประกาศจากโรงน้ำแข็ง มารู้อีกทีก็ตอนยายวัย 74 ปี มีอาการไออย่างรุนแรง และได้กลิ่นก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลหางดงอย่างเร่งด่วน     ขณะเดียวกัน ในส่วนของการเข้าไปควบคุมก๊าซแอมโมเนียที่รั่วรั่วไหลออกมานั้น เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องทำงานแข่งกับเวลาในการเข้าไปปิดวาล์วถังก๊าซแอมโมเนีย ที่อยู่ชั้น 2 ของโรงน้ำแข็ง…

“April Fool’s Day” โกหกได้แต่ต้องระวัง โพสต์ผิดชีวิตเปลี่ยน อาจเจอโทษจำคุก

Loading

วันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวัน “April Fool’s Day” (เมษาหน้าโง่) หรือ วันโกหก ที่เป็นวัฒนธรรมร่วมของคนทั่วโลก ซึ่งคนทั่วโลกเขาเล่นแกล้งกันในวันนี้ของทุกปี ขณะที่บ้านเรา โดยเฉพาะการโพสต์ผ่านโซเชียลซึ่งจำเป็นต้องระวังมากๆ เพราะเราอาจจะเจอโทษหนักถึงขั้นจำคุกได้ วันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวัน “April Fool’s Day” (เมษาหน้าโง่) หรือ วันโกหก ที่เป็นวัฒนธรรมร่วมของคนทั่วโลก ซึ่งคนทั่วโลกเขาเล่นแกล้งกันในวันนี้ของทุกปี หมายความว่าคุณจะถือสาการแกล้งโกหกกันในวันนี้ไม่ได้ เพราะเป็นการยกเว้นให้โกหกขำๆได้ 1 วัน ถึงแม้ว่าวัน “April Fool’s Day” จะไม่ใช่วันสำคัญของไทยอย่างเป็นทางการ แต่คนไทยก็รับเอาวัฒนธรรมนี้เข้ามา และถือวันนี้เป็นวันโกหกที่เอาไว้แกล้งหรืออำเล่นกันกับเพื่อนๆ อย่างไรก็ตามถ้าอยากจะเล่นจริงๆ ก็อย่าลืมใส่ใจกับคำว่า “กาลเทศะ” เป็นสำคัญ ขณะเดียวกันในบ้านเรารู้หรือไม่ว่า ในวัน “April Fool’s Day” การโพสต์อะไรที่เป็นเท็จ หรือ ไม่เป็นความจริง เราอาจจะลำบากได้ เรียกได้ว่า โพสต์ผิดชีวิตเปลี่ยน…

ข้อมูลการสืบสวนของตำรวจ สภ.บันนังสตา พบคนร้ายมีการวางแผนเตรียมการก่อเหตุมาอย่างดี

Loading

  31 มีนาคม 2565 ความคืบหน้า กรณีคนร้ายก่อเหตุลอบวางระเบิดรถยนต์ตราโล่ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บันนังสตา จังหวัดยะลา ขณะนำหมายเรียกคดีจราจร ตามหมายศาล ไปส่งให้กับผู้ถูกเรียกในพื้นที่ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา จนถูกคนร้ายกดชนวนระเบิด ขณะรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงบริเวณหัวสะพาน หมู่ 4 ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เดินทางมากับรถยนต์คันดังกล่าว จำนวน 4 นาย ถูกแรงระเบิดเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บสาหัส อีก 2 นาย เหตุเกิดช่วงสายวานนี้ (30 มี.ค) ความคืบหน้าล่าสุด หลังจากชุดสืบสวนเข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ พบว่า จุดที่คนร้ายก่อเหตุนั้น คนร้ายได้วางแผนเตรียมการก่อเหตุมาอย่างดี โดยฝังระเบิดแสวงเครื่องที่ประกอบในถังแก๊สหุงต้มขนาด 15-20 กิโลกรัม ไว้ใต้ผิวถนน ก่อนที่จะลากสายไฟเข้าไปในสวนผลไม้ข้างทางระยะทางยาวกว่า 50 เมตร และทำการจุดชนวนด้วยระบบวิทยุสื่อสาร ซึ่งจากข้อมูลและเบาะแสเบื้องต้น นั้นพบว่า ในวันเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บันนังสตา จะต้องนำหมายเรียกจากศาลในคดีจราจร ไปส่งให้กับผู้ถูกเรียกในพื้นที่ ตำบลบาเจาะ…

ผู้โดยสารอินเดีย แฮกเว็บไซต์สายการบิน หากระเป๋าสัมภาระที่หายไป

Loading

  ผู้โดยสารอินเดีย แฮกเว็บไซต์สายการบิน หากระเป๋าสัมภาระที่หายไป คนเดินทางร่วมเที่ยวบินหยิบสลับอัน เพราะหน้าตาเหมือนกันเป๊ะ วันที่ 31 มี.ค. บีบีซี รายงานเรื่องราวของผู้โดยสารเครื่องบินชาวอินเดียที่เปิดเผยว่าจำใจต้องแฮกเว็บไซต์สายการบินภายในประเทศเพื่อหากระเป๋าสัมภาระที่สูญหายไป Hey @IndiGo6E ,Want to hear a story? And at the end of it I will tell you hole (technical vulnerability )in your system? #dev #bug #bugbounty ?? 1/n — Nandan kumar (@_sirius93_) March 28, 2022   นายนันทัน กุมาร อายุ 28 ปี วิศวกรซอฟต์แวร์ บอกว่า ตนไม่ใช่แฮกเกอร์มืออาชีพ…

การก่อการร้าย ภัยใกล้ตัวคนเมือง รู้ทัน รู้ระวัง เพื่อสังคมปลอดภัย

Loading

อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ แนะสังคมตระหนักภัย “การก่อการร้ายในสังคมเมือง” สร้างองค์ความรู้รับมือเมื่อเกิดเหตุ เสนอรัฐลงทุนด้านความมั่นคง แม้ปัจจุบันสถานการณ์โรคระบาด สภาวะสงคราม และราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานรายวัน จะเป็นปัญหาที่ตรึงความสนใจของผู้คนจำนวนมากเนื่องจากเป็นปัญหาที่กระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างหนัก แต่ก็อย่าได้ละเลย “การก่อการร้าย” ที่ยังเป็นภัยใกล้ตัวผู้คนในสังคมเมือง โดยเฉพาะท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่มีความขัดแย้ง ทั้งนี้ จากดัชนีการก่อการร้ายทั่วโลก ปี 2565 (2022 Global Terrorism Index) ประเทศไทยได้คะแนนอยู่ในอันดับที่ 22 จาก 163 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วถึง 3 อันดับ นั่นหมายความว่าประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายในระดับที่ค่อนข้างสูงทีเดียว (ที่มา: https://www.visionofhumanity.org/maps/global-terrorism-index/#/) “ในฐานะประชาชนที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง เราควรตระหนักถึงอันตรายจากการก่อการร้าย และมีความรู้เพียงพอที่จะระแวดระวังตัวให้รอดจากเหตุร้าย และช่วยให้สังคมเมืองของเราปลอดภัยมากขึ้น” ศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในรายการ “รอบตัวเรา” ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ เมื่อเร็วๆ นี้   ศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข การก่อการร้ายต่างจากอาชญากรรมอย่างไร ศ.ดร.สุรชาติ กล่าวว่า…

Check list การเตรียมความพร้อม PDPA ของหน่วยงาน

Loading

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีรายละเอียดหลายประการที่องค์กรจะต้องจัดเตรียม ทั้งในด้านของเอกสารและกระบวนการ บทความนี้ได้รวบรวมข้อสรุปเบื้องต้นในการตรวจสอบความพร้อม องค์กรสามารถนำข้อสรุปเบื้องต้นนี้ไปพิจารณาประกอบ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย ผู้เขียนจำแนกเป็น 2 ส่วนคือ ข้อกำหนดตามกฎหมายที่ให้องค์ต้องจัดทำและตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีภายในองค์กร ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มีข้อกำหนดตามกฎหมายให้องค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลปฏิบัติหลายหลายประการ อาทิ (1) การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) กฎหมายกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอาจจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 41 ซึ่งอาจแต่งตั้งจากพนักงานภายในองค์กรหรือแต่งตั้งผู้รับจ้างให้บริการตามสัญญา (2) การจัดทำประกาศความเป็นความส่วนตัว หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อของ Privacy Notice ซึ่งเป็นการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับรายละเอียด วิธีการ การดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงรายละเอียดก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 23 (3) การจัดทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผล (Records of Processing Activities) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่ในการจัดให้มีบันทึกรายการกิจกรรมอย่างน้อยตามที่ระบุไว้ในมาตรา 39 เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสำนักงานฯ สามารถตรวจสอบได้ (4) การจัดทำแบบคำขอความยินยอม (Consent Form) ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ความยินยอมเป็นฐานทางกฎหมายในการประมวลผล หลักเกณฑ์ในการขอความยินยอมต้องเป็นไปตามมาตรา 19…