ความขัดแย้งส่อลาม! ระเบิด 2 ครั้งทำลายเสาสัญญาณวิทยุใน ‘ทรานส์นีสเตรีย’ ดินแดนฝักใฝ่มอสโกใกล้พรมแดนยูเครน

Loading

รัฐบาลยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าพยายามยั่วยุให้สงครามขยายวงกว้าง หลังเกิดเหตุโจมตีขึ้นใน “ทรานส์นีสเตรีย” (Transnistria) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่แยกตัวออกจากสาธารณรัฐมอลโดวา และมีพรมแดนติดกับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของยูเครน ฝ่ายบริหารทรานส์นีสเตรีย ระบุว่า เหตุระเบิดซึ่งเกิดขึ้นที่หมู่บ้านมายัก (Mayak) เมื่อเช้าวันอังคาร (26) ทำให้เสาสัญญาณวิทยุ 2 แห่งที่ออกอากาศเป็นภาษารัสเซียได้รับความเสียหาย และยังมีหน่วยงานทางทหารถูกโจมตีด้วย พวกเขาเชื่อว่า “ยูเครน” อยู่เบื้องหลังเหตุวินาศกรรมดังกล่าว พร้อมประกาศยกระดับเฝ้าระวังการก่อการร้ายขั้นสูงสุด และตั้งจุดตรวจตามเมืองต่างๆ สำนักข่าว TASS ของรัสเซียอ้างคำแถลงของ วาดิม กราสโนเซลสกี (Vadim Krasnoselsky) ประธานาธิบดีแห่งทรานส์นีสเตรีย ซึ่งระบุว่า “ร่องรอยการโจมตีเหล่านี้บ่งบอกว่าเป็นฝีมือยูเครน” “ผมเดาว่าใครก็ตามที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ คงตั้งใจที่จะดึงทรานส์นีสเตรียเข้าสู่สงครามด้วย” รัสเซียซึ่งมีทหารและกองกำลังรักษาสันติภาพประจำการอยู่ในทรานส์นีสเตรีย ระบุว่ารู้สึก “กังวลอย่างยิ่ง” ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รัฐบาลยูเครนหวั่นเกรงมาตลอดว่ามอสโกอาจจะใช้ทรานส์นีสเตรียเป็นฐานโจมตีประเทศตน ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนอ้างว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือแผนของรัสเซียที่จะ “ทำลายเสถียรภาพในภูมิภาค” ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศยูเครน “ประณามความพยายามดึงภูมิภาคทรานส์นีสเตรียของมอลโดวาให้เปิดสงครามเต็มรูปแบบกับยูเครน” และชี้ว่าการโจมตีเพิ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำเนียบเครมลินออกมาเปรยว่าต้องการขยายอิทธิพลเข้าไปสู่ทรานส์นีสเตรีย     รัฐบาลมอลโดวาได้เรียกประชุมสภาความมั่นคงเป็นการด่วนหลังได้รับรายงานเหตุโจมตีในทรานส์นีสเตรีย “จากข้อมูลที่เรามีในตอนนี้ มันเป็นความพยายามของกลุ่มต่างๆ ในทรานส์นีสเตรียที่สนับสนุนสงคราม และต้องการบ่อนทำลายเสถียรภาพในภูมิภาค” ประธานาธิบดี ไมอา ซานดู…

Play Store เพิ่มนโยบาย ‘ความปลอดภัยข้อมูล’! แอปต้องระบุเหตุผลที่นำข้อมูลไปใช้!

Loading

Google ประกาศว่าแอปต่าง ๆ ใน Play Store จะต้องอธิบายเกี่ยวกับ “ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Safety)” อย่างมีรายละเอียดมากขึ้นเริ่มต้นวันนี้ ซึ่งเป็นนโยบายที่ผู้พัฒนาแอปทั้งหมดต้องปฏิบัติตามภายในวันที่ 20 กรกฎาคม

ชมคลิป : อุกอาจ! แบ่งแยกดินแดนปากีฯ โจมตี “แบ่งแยกดินแดนปากีแบ่งแยกดินแดนปากี” ใน “การาจี” ดับ 4 รวม “ผอ.สถาบัน” ต่อต้านอิทธิพลจีนในอิสลามาบัด นายกฯ ชารีฟโร่แสดงความเสียใจ

Loading

ชมคลิป : อุกอาจ! แบ่งแยกดินแดนปากีฯ โจมตี “สถาบันขงจื้อ” ใน “การาจี” ดับ 4 รวม “ผอ.สถาบัน” ต่อต้านอิทธิพลจีนในอิสลามาบัด นายกฯ ชารีฟโร่แสดงความเสียใจ เอเจนซีส์ – กระทรวงต่างประเทศจีนประณามผ่านแถลงการณ์วันพุธ (27 เม.ย.) การเสียชีวิตของผู้อำนวยการสถาบันขงจื้อ และครูสอนภาษาจีน 2 รายในวันอังคาร (26 เม.ย.) หลังเกิดการโจมตีจากมือระเบิดฆ่าตัวตายกลุ่มแบ่งแยกดินแดนปากีสถาน BLA ที่สถาบันขงจื้อ ในมหาวิทยาลัยการาจีนอกเหนือจากครูสอนภาษีจีนที่เสียชีวิต ยังรวมไปถึงคนขับรถปากีสถาน 1 ราย นายกรัฐมนตรีปากีสถานคนใหม่ ชาบาซ ชารีฟ เดินทางเข้าสถานทูตจีนทันทีพบกับอุปทูตจีน ผาง ชุนซู (Pang Chunxue) เพื่อแสดงความเสียใจ บีบีซี สื่ออังกฤษรายงานวันนี้ (27 เม.ย.) ว่า ในวันพุธ (27) โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน จ้าว ลีเจียน (Zhao Lijian) ออกแถลงการณ์ทางทวิตเตอร์ประณามการโจมตีอุกอาจต่อสถาบันขงจื้อของจีน…

คําศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยเทคโนโลยีสารสนเทศ

Loading

Most common English vocabulary in information technology_featured การเรียนรู้เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต การทำงาน และการติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั้งโลก มาก้าวทันโลกยุคใหม่ด้วยเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษกัน ในยุคนี้เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่าเราต้องตามให้ทันแต่จะทำอย่างไรเมื่อโลกของเทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่มีแต่คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เหมือนเราพอจะรู้ความหมายแต่ก็ยังไม่ได้ใจว่าใช่หรือเปล่า วันนี้เราจะมารวบรวมคำศัพท์ที่ใช้บ่อยในวงการนี้อพร้อมคำอธิบาย คําศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ 1. Desktop เดสก์ท็อป หมายถึงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หรืออีกความหมายหนึ่งคือ พื้นหลังของจอคอมพิวเตอร์ 2. File ไฟล์ คือเอกสารซึ่งความหมายในทางเทคโนโลยีสารสนเทศคือเอกสารที่จัดเก็บคอมพิวเตอร์ 3. Folder โฟลเดอร์ แฟ้มเอกสารบนคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมไฟล์หลายไฟล์เข้าด้วยกัน มาจากแนวคิดตู้แฟ้มเอกสารนั่นเอง 4. Monitor มอนิเตอร์ หมายถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ 5. Keyboard คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ใช้ในการป้อนข้อมูลโดยเฉพาะที่เป็นตัวอักษร 6. Hardware ฮาร์ดแวร์ คือส่วนของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย 3 หน่วยด้วยกัน ได้แก่ หน่วยความจำ หน่วยรับข้อมูล และหน่วยแสดงผม 7. CPU ซีพียู คือหนึ่งใน 3 ฮาร์ดแวร์ เป็นหน่วยประมวลผลกลาง…

ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์ | ปริญญา หอมเอนก

Loading

ประเทศไทยมีการประกาศบังคับ ใช้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ ซึ่งชื่อเต็มคือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ขณะนี้ได้จัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และแต่งตั้งคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เพื่อปฏิบัติภารกิจตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำไมต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์? ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายให้แก่ ประชาชน สังคม ตลอดจนประเทศชาติ โดยไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ ประเทศที่กำลังพัฒนา ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน (critical infrastructures) ของประเทศ ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ช่วงวันที่ 6-12 พฤษภาคม 2564 มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา “Colonial Pipeline” ถูกโจมตีด้วย Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทำให้ต้องหยุดการขนส่งน้ำมันบางส่วนลงชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อบริษัทและลูกค้า เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทีมงานทำเนียบขาวของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้ประสานงานและติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดกับบริษัทดังกล่าวโดยตรง เนื่องจากเป็นปัญหาในระดับประเทศ การโจมตีโดย Ransomware ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติการของอาชญากรรมข้ามชาติที่จู่โจมเป้าหมาย ที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยิ่งยวด…

ไขประเด็นวิเคราะห์ Faked Data “รู้-แก้” ให้ตรงจุด

Loading

  เวลาที่เราค้นข้อมูล เราจะทราบได้อย่างไรว่า ข้อมูลผิด หรือเป็น Faked Data” บางความคิด บอกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของทักษะด้านข้อมูล (Data Literacy) ที่จะต้องใช้ตรรกะและองค์ความรู้แยกให้ได้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ ข้อมูลมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ บ่อยครั้งที่มักจะพบว่าข้อมูลจากการวิเคราะห์ ที่แสดงเป็นรายงานอย่างสวยงามนั้น เมื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร หรือผู้เชี่ยวชาญแล้วบุคคลเหล่านั้นบอกว่า “ข้อมูลผิด” และสิ่งหนึ่งที่มักได้ยินบ่อยๆ ในหลายองค์กรก็คือว่า ข้อมูลจำนวนมากที่เก็บอยู่ในองค์กรเป็นขยะ กล่าวคือ ข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้การนำไปวิเคราะห์ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดตามมา ดังนั้นหลายคนอาจสงสัยว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่า ข้อมูลผิด หรือเป็น Faked Data” บางความคิด บอกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของทักษะด้านข้อมูล (Data Literacy) ที่จะต้องใช้ตรรกะและองค์ความรู้แยกให้ได้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ ข้อมูลมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ แต่บังเอิญคำถามนี้กลายเป็นว่า ข้อมูลดังกล่าวมาจากแหล่งต้นทางที่เราคิดว่าน่าจะถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ แต่กลับกลายเป็นว่ามีข้อมูลดิบบางส่วนที่ผิดอยู่ด้วย ที่ผ่านมา ผมทำงานกับข้อมูลดิบมาอย่างยาวนาน และบ่อยครั้งก็จะพบว่า ข้อมูลจากแหล่งต้นทางผิดจริง แต่ก็ใช่ว่าจะผิดมากมาย ส่วนใหญ่อาจผิดพลาดเพราะการใส่ตัวเลขผิดพลาด หรือมีการเก็บข้อมูลคาดเคลื่อน เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ยิ่งข้อมูลมีขนาดใหญ่ (Big Data)…