กรมการปกครอง ขับเคลื่อนโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 พร้อมยกระดับงานบริการทะเบียนราษฎรดิจิทัล (Digital Platforms) รองรับก้าวสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ นำเทคโนโลยี 4G เพิ่มประสิทธิภาพถ่ายทอดสดผ่าน DOPA Channel
กรมการปกครอง ขับเคลื่อนโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 พร้อมยกระดับงานบริการทะเบียนราษฎรดิจิทัล (Digital Platforms) รองรับก้าวสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ นำเทคโนโลยี 4G เพิ่มประสิทธิภาพถ่ายทอดสดผ่าน DOPA Channel สร้างการรับรู้นโยบายพร้อมกันทั่วประเทศ 878 อำเภอ 76 จังหวัด D.DOPA ยกระดับงานบริการทะเบียนราษฎรดิจิทัล แอปพลิเคชั่นเพิ่มความสะดวก ลดขั้นตอนยื่นเอกสาร
กรมการปกครอง ยกระดับงานบริการทะเบียนราษฎรดิจิทัล (Digital Platforms) ผ่านแอปพลิเคชั่น D.DOPA และ DOPA Citizen Service ลดขั้นตอน ลดสัมผัส ลดแออัด ให้บริการออนไลน์แค่ปลายนิ้ว รองรับก้าวสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กรมการปกครองได้ดำเนินการขับเคลื่อน โครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (10 Flagships to DOPA All Smart 2022) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบนฐานการทำงานในรูปแบบดิจิทัล (E-DOPA Digitalization) โดยเฉพาะการพัฒนาแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น D.DOPA ของกรมการปกครอง
ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการนำเทคโนโลยีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทะเบียนราษฎรและเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ตาม “กฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎร์ด้วยระบบดิจิทัล พ.ศ.2565”
การพัฒนาแอปพลิเคชั่น D.DOPA ถือเป็นการยกระดับงานบริการภาครัฐ โดยผู้ประสงค์ใช้บริการต้องขอลงทะเบียนเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล DOPA – Digital ID ที่เป็นระบบการปฏิบัติงาน การให้บริการงานทะเบียนราษฎร ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น D.DOPA ได้ทั้งระบบ iOS และ Android และนำบัตรประจำตัวประชาชน ติดต่อขอรับบริการได้ที่สำนักทะเบียนทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นศูนย์บริการร่วมอำเภอ.ยิ้ม) กำหนดรหัสลับประจำตัว และเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถขอบริการทะเบียนราษฎรดิจิทัล อาทิ การแจ้งย้ายที่อยู่ในสำนักทะเบียนเดียวกัน การแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง การคัดและรับรองรายการทะเบียนบ้าน ทะเบียนประวัติและทะเบียนคนเกิด เป็นต้น
นอกจากนั้น ได้ยกระดับบริการออกหนังสือผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Border Pass SMART service) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการสัญจรข้ามแดนให้กับประชาชนชาวไทยที่เดินทางเข้า-ออก บริเวณพื้นที่ชายแดนได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย
โดยสามารถเข้าใช้บริการหนังสือผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Border Pass) ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนเดินทางถึงด่าน ซึ่งทำให้ประหยัดเวลา ลดขั้นตอน ลดการพบปะผู้คนด้วยภารกิจหน้าที่หลากหลายของฝ่ายปกครอง การกำหนดเรือธงเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นไปอย่างมีทิศทางตามแนวทาง 10 โครงการสำคัญ (10 Flagships to DOPA) ได้กำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2020 มาถึงปี 2022 ปรากฎผลงานในมิติต่างๆ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ให้เป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับปีนี้ 10 Flagships to DOPA ALL Smart 2022 ได้นำแนวคิดการพัฒนาหน่วยงานให้เป็นองค์การภาครัฐในระบบราชการ 4.0 มาใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนองค์การ และเป็นแนวทาง “การสร้างสภาพแวดล้อมให้กับองค์การเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ” ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์การ
กรมการปกครองให้ความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การในด้านการสร้างนวัตกรรม และการปรับสู่ความเป็นดิจิทัล ทั้งภายใน คือการจัดการภายในองค์การ(Internal) คือการเป็น DOPA Smart Office และใช้ Digital Technology ในการทำงานเพื่อพัฒนาให้เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้วยระบบดิจิทัลที่ตรงกับความต้องการของประชาชนในยุคสมัยใหม่(DOPA Digital Offical)
และภายนอก คือ การให้บริการประชาชน (External) ในมิติของ “การทำให้ประชาชนทุกข์น้อยลง” ในรูปแบบของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเขิงรุก ที่รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ผ่านระบบออนไลน์ (Online) และในมิติของการทำให้ประชานมี “ความสุขมากขึ้น” กรมการปกครองจะพัฒนา Platform กลางให้บริการภาครัฐผ่านระบบ Online และพัฒนางานบริการทั้งหมดให้เป็น e-Service เต็มรูปแบบ
“การเลือกจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ในการตรวจติดตามการขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครอง ปี 2565 (Mid-term Follow-up : 10 Flagships to DOPA ALL Smart 2022) ในครั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชาเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในวันที่ 2 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่ง “อำเภอสิรินธร” คือ 1 ใน 12 อำเภอที่ตั้งชื่อตามพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระนาม และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ที่กรมการปกครองให้ความสำคัญ ในการส่งเสริมสถาบันหลักของชาติเพื่อความยั่งยืน (E-DOPA Heart) ตลอดมา”
หนุน 4G เพิ่มประสิทธิภาพถ่ายทอดสดผ่าน DOPA Channel สร้างการรับรู้นโยบายพร้อมกันทั่วประเทศ 878 อำเภอ76 จังหวัด
เมื่อวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 ในการดำเนินการประชุมกรมการปกครอง ประจำเดือนเมษายน 2656 นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ถ่ายทอดการประชุม ข้อสั่งการ ผลงาน นโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง จากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาค ผ่านช่องทางการสื่อสารระบบภาพและเสียงเพื่อใช้เป็นระบบจัดการความรู้ (Knowledge management) และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาทภารกิจของกรมการปกครอง ทั้งภารกิจหลักตามอำนาจหน้าที่และภารกิจในนการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล รวมถึงการเผยแพร่ข่าวสารจากหน่วยงานอื่นๆ ผ่าน DOPA Channel
“นับเป็นครั้งแรกที่ถ่ายทอดการประชุมฯ จากภูมิภาคสู่ 878 อำเภอ 76 จังหวัด แบบเรียลทาม ณ หอประชุมอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยแพร่ภาพการร่วมประชุมทั้งออนไลน์และออนกราวด์ สู่กล่องรับสัญญาณผ่านดาวเทียม ผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ไปยังกล่องรับที่ติดตั้ง ณ หน่วยงานในสังกัดกรมการปกครองส่วนกลาง ที่ทำการปกครองจังหวัด ที่ทำการปกครองอำเภอทุกแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะห้องสำนักงานทะเบียนอำเภอ ซึ่งเป็นจุดที่ประชาชนเข้ามาใช้บริการด้านงานทะเบียนราษฎร์และอื่นๆ เพื่อให้ได้รับรู้รับทราบข้อราชการของกรมการปกครองตามระเบียบวาระไปพร้อมกัน”
สถานีโทรทัศน์กรมการปกครอง (DOPA Channel) ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบ 4 G มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายทอดสดนอกสถานที่ให้ภาพและเสียงในระบบ HD ที่มีความคมชัด อีกทั้งยังนำระบบการประชุมวีดิทัศน์ทางไกล Hybrid Meeting ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการประชุมออนไลน์และออนกราวด์ ซึ่งสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม และเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมผ่าน แพลตฟอร์มที่ใช้ในการประชุมออนไลน์เพิ่มได้ตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งออนไลน์และออนกราวด์สามารถพูดคุยสื่อสารกันได้เสมือนอยู่ในห้องเดียวกัน
สามารถเข้ารับชมสถานีโทรทัศน์กรมการปกครอง DOPA Channel ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ อาทิ กล่องรับสัญญาณดาวเทียม DOPA Channel ช่องหมายเลข 0 กล่องรับสัญญาณดาวเทียว GMM ระบบ C-Band ช่องหมายเลข 152 ,โทรทัศน์เคลื่อนที่ Application : DOPA Channel จากเครื่อง LTE, โทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่าน ลิงค์ dopachannel.truegse,com/live/dobatv03.m3u8 และเว็บไซต์ www.comdopa.com กดเลือก DOPA Channel “ในโอกาสครบรอบ 130 ปี กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง ให้ความสําคัญต่อการพัฒนาองค์กรในด้านการสร้างนวัตกรรม และการทํางานแบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการงานทะเบียนราษฎรและอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น
“ประการสําคัญที่เลือกมาจัดกิจกรรม ณ อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ในโอกาสครบรอบ 130 ปี กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชานุญาต ให้อัญเชิญพระนามาภิไธย ตั้งชื่อ “อําเภอสิริธร” ทั้งนี้ กรมการปกครอง ได้จัดกิจกรรม เทิดพระเกียรติ สําหรับอําเภอที่ตั้งชื่อตามพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระนาม และ อําเภอเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อ ปวงชนชาวไทยเสมอมา เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในการปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยและ ความมั่นคงภายใน ตามแนวคิดที่ว่า “หน้าที่ของฝ่ายปกครอง คือ ทําให้ประชาชน ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้นได้”
——————————————————————————————————————————
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ / วันที่เผยแพร่ 15 พ.ค.65
Link : https://www.bangkokbiznews.com/tech/1004490