การแอบอัดเสียงใช้เป็นหลักฐานในคดีได้หรือไม่? | ภาณุพงศ์ เฉลิมสิน
แต่เดิมนั้น การลักลอบบันทึกเสียงของคนอื่น จะผิดกฎหมายต่อเมื่อเป็นการลักลอบบันทึกคำสนทนาของคนอื่นที่มิใช่คู่สนทนา เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226 บัญญัติว่า พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน แต่ถ้าเป็นการบันทึกคำสนทนาของตนเองกับคู่สนทนา ถือว่าเป็นสิทธิของคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายที่บันทึกเสียงคำสนทนาของตนกับคู่สนทนาไว้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือบอกให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ล่วงหน้าก่อน ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2543 ได้เคยวางหลักเอาไว้ว่า เมื่อการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลย ซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนา เป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 243 วรรคสอง (ที่มา สกัดฎีกาเนติบัณฑิต-วิ.อาญา-ที่น่าสนใจ เตรียมสอบเนติฯ ภาค2 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559) ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา…