วิธีจัดการบัญชีเฟซบุ๊ก หลังเสียชีวิต มีข้อดีอย่างไร

Loading

  จากการเสียชีวิตของดาราสาวแตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์ ที่จากไปราว 3 เดือน แล้วอยู่ดีๆ ก็มีการเคลื่อนไหวบนบัญชีเฟซบุ๊กของเธอจนกลายเป็นที่จับตามองของสังคม ขณะเดียวกันก็เกิดคำถามว่า หลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้วนั้น จะเกิดอะไรขึ้นกับบัญชีเฟซบุ๊กของเราบ้าง การจัดการของเฟซบุ๊ก ในกรณีที่เราเสียชีวิตนั้น ทางเฟซบุ๊กได้มี 2 แนวทางให้เลือกสำหรับการจัดการบัญชีเฟซบุ๊กของเรา นั่นคือ 1.เราสามารถเลือกที่จะแต่งตั้งผู้สืบทอดบัญชีเพื่อดูแลบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์หรือลบบัญชีของเราออกจากเฟซบุ๊กอย่างถาวรได้ 2.หากเราไม่ได้เลือกที่จะลบบัญชีแบบถาวร เมื่อทางเฟซบุ๊กทราบว่าเราเสียชีวิตไปแล้ว ทางระบบจะเก็บบัญชีเฟซบุ๊กของเราไว้เป็นอนุสรณ์ ผู้สืบทอดบัญชี หากก่อนเสียชีวิตเราได้เลือก “ผู้สืบทอดบัญชี” เพื่อทำหน้าที่ดูแลบัญชีเฟซบุ๊กของเราหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เพื่อนและคนใกล้ชิดได้ระลึกถึง โดยหน้าที่ของผู้สืบทอดบัญชีมีดังต่อไปนี้ – ตอบรับคำขอเป็นเพื่อนในนามของบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ – ปักหมุดโพสต์รำลึกไว้บนโปรไฟล์ – เปลี่ยนรูปโปรไฟล์และรูปภาพหน้าปกได้ – หากบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์มีพื้นที่สำหรับการแสดงความอาลัย ผู้สืบทอดบัญชีจะสามารถตัดสินใจได้ว่าใครจะสามารถเห็นและโพสต์การแสดงความอาลัยได้บ้าง – ส่งคำขอลบบัญชีของเรา – ดาวน์โหลดสำเนาของสิ่งที่เราแชร์บนเฟซบุ๊ก หากเรายังไม่ได้เปิดฟีเจอร์ดังกล่าว ทางเฟซบุ๊กอาจจะเพิ่มเติมความสามารถให้แก่ผู้สืบทอดบัญชีในอนาคต อย่างไรก็ตาม ผู้สืบทอดบัญชีของเราจะไม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ – เข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของเรา – อ่านข้อความของเรา – ลบเพื่อนของเราหรือสร้างคำขอเป็นเพื่อน – ไม่สามารถแก้ไขโพสต์ของเราก่อนที่จะเสียชีวิตได้ – ไม่สามารถใช้งานระบบแชตได้ ด้วยเหตุนี้…

ตั้ง “พาสเวิร์ด” แบบไหน? ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์!!

Loading

ทุกวันนี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความรุนแรงมากขึ้น!?! ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “ตัวเรา” หรือ “ผู้ใช้งาน” ที่มีการตั้ง “รหัสผ่าน” หรือ “พาสเวิร์ด” ในการใช้งาน ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “ตัวเรา” หรือ “ผู้ใช้งาน” ที่มีการตั้ง “รหัสผ่าน” หรือ “พาสเวิร์ด” ในการใช้งานบัญชีออนไลน์ และเครื่องมือต่างๆ ไม่ปลอดภัย!! อาจเพราะคนจำนวนไม่น้อยอาจนึกถึง “ความสบาย” เน้นเอา “ความสะดวก” ที่ตัวเราสามารถจดจำได้ง่าย ไม่ได้ให้ความสำคัญ ในการตั้งค่ารหัสผ่านที่มากพอ ก็จะทำให้ เหล่ามิจฉาชีพออนไลน์ที่ไม่หวังดี สามารถเดารหัสผ่าน ทำการแฮกข้อมูล จนสามารถเข้าถึงข้อมูลในบัญชีต่างๆของเราได้ เรื่อง “รหัสผ่าน” จึงถือเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญ หากเรามีการตั้งรหัสที่รัดกุมยากที่ตะคาดเดา ก็จะทำให้โอกาสเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดการบุกรุกบัญชี ลดน้อยลงได้!! วันนี้จึงมีเคล็ดลับ จากทาง “กูเกิล” ในการรักษารหัสผ่านและบัญชีออนไลน์ของเราให้ปลอดภัย มาแนะนำกัน ถือเป็น 10 ข้อปฏิบัติง่ายๆที่เราสามารถทำได้ง่ายๆ   ภาพ pixabay.com โดย 1.ต้องสร้างรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันและอย่าใช้รหัสผ่านซ้ำๆในการล็อกอินเข้าเว็บไซต์ต่างๆ เนื่องจากการใช้รหัสผ่านซ้ำกัน สำหรับบัญชีที่สำคัญมีความเสี่ยง หากมีคนรู้รหัสผ่านสำหรับบัญชีหนึ่ง ของเรา เขาก็จะสามารถเข้าถึงอีเมล ที่อยู่ หรือแม้แต่เงินในบัญชีของเราได้ด้วย จากรหัสผ่านเดียวกัน  2. เมื่อต้องตั้งรหัสผ่านในการใช้งาน เราควรตั้งรหัสผ่านให้มีความยาวอย่างน้อย 12 อักขระ หรือตัวอักษร เพราะรหัสผ่านที่ยาวจะมีความรัดกุมกว่า ทำให้คาดเดาได้ยากกว่า 3. เราควรเลือกใช้อักขระประเภทต่างๆ ผสมกัน ซึ่ง รหัสผ่านที่รัดกุมจะต้องประกอบด้วยตัวอักษร ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และสัญลักษณ์ อาทิ ฿, *, #, & ซึ่งจะช่วยให้การสุ่มหรือคาดเดาให้ถูกยากยิ่งขึ้น!! 4. เราต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการตั้งรหัสผ่าน บางคน ไม่รู้จะตั้งว่าอะไร ก็อาศัยความง่าย ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด เลขบัตรประจำตัวต่างๆ  และเบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ หรือข้อมูลที่ผู้อื่นอาจรู้หรือหาได้ง่าย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเลี่ยงไม่เอามาใช้ตั้งเด็ดขาด!?!  5. หลังจากเราได้สร้างรหัสผ่านที่รัดกุมแล้ว ให้เก็บไว้เป็นความลับและอย่าบอกรหัสผ่านกับใคร 6. ใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่านเพื่อช่วยสร้าง จดจำ และจัดการรหัสผ่านที่บันทึกไว้ 7. เราจำเป็นต้องอัพเดต หรือเปลี่ยนรหัสผ่านที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ …

รายงานเผย องค์กร 60% เคยสูญเสียข้อมูล เหตุเพราะพนักงานทำพลาด

Loading

  จากแบบสำรวจใหม่ล่าสุดของทาง Ponemon Institute เรียกว่าองค์กรที่อยู่ในแบบสำรวจถึง 3 ใน 5 ที่ได้เคยสูญเสียข้อมูลหรือถูกคัดออกไปจากองค์กร อันเนื่องมาจากความผิดพลาดของพนักงานที่จัดการเกี่ยวกับอีเมลในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยแบบสำรวจดำเนินการกับผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไอที (IT Security) จำนวน 614 ท่านทั่วโลก ซึ่งเผยให้เห็นว่าอีเมลนั้นเป็นช่องที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะทำให้ข้อมูลองค์กรสูญหายไปได้ ด้วยตัวเลขที่ตอบแบบสำรวจกว่า 65% เลยทีเดียว นอกจากนี้ แบบสำรวจยังพบว่า “ความประมาทเลินเล่อของพนักงาน” (เพราะไม่ได้ทำตามนโยบาย Policy ที่วางไว้) นั้นจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่เหตุการณ์ความสูญเสียข้อมูลได้ ซึ่งพบว่า เหตุการณ์กว่า 27% นั้นเกิดจาก Malicious ที่อยู่ภายในองค์กร โดยการขโมยข้อมูลออกไปโดยเจตนานี้ยังสร้างความเครียดให้กับทีมไอทีอย่างต่อเนื่อง เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวต้องใช้เวลาราว 3 วัน สำหรับทีมบริหารจัดการความเสี่ยงและความมั่นคงปลอดภัยในการตรวจจับและแก้ไขปัญหาเหตุการณ์สูญข้อมูลไปอันเนื่องมาจาก Malicious ภายในหรืออีเมลก็ตาม ข้อมูลที่มักจะสูญหาบ่อย ๆ นั้นมักจะเป็นข้อมูลความลับองค์กรที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลลูกค้า (61%) ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา (56%) ข้อมูลผู้บริโภค (47%) รวมไปถึงข้อมูลที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เช่น เนื้อหาในอีเมล…

แคนาดาแบน Huawei และ ZTE จากการให้บริการเครือข่าย 5G

Loading

แฟ้มภาพ โลโก้ Huawei บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและอุปกรณ์โทรคมนาคมสัญชาติจีน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (Photo by AFP)   แคนาดาออกคำสั่งแบนบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Huawei และ ZTE จากการให้บริการเครือข่ายไร้สาย 5G เนื่องจากความกังวลด้านปัญหาความมั่นคงของประเทศ เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า หลังสหรัฐอเมริกาออกมาเตือนถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยในการให้บริษัทเทคโนโลยีของจีนเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่สำคัญซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจารกรรมได้ และจากประเด็นความขัดแย้งด้านการทูตระหว่างแคนาดาและจีนเกี่ยวกับการจับกุมตัวผู้บริหารระดับสูงของ Huawei (หัวเว่ย) ฟรังซัว ฟิลลิป ชามปานเย รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของแคนาดา และ มาร์โก เมนดิซิโน รัฐมนตรีกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะของแคนาดา ประกาศในการแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ว่า “แคนาดาจะระงับผลิตภัณฑ์และบริการของ Huawei และ ZTE ในระบบโทรคมนาคมทั้งหมดของประเทศ อีกทั้งบริษัทโทรคมนาคมในแคนาดา จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการเครือข่ายของ Huawei และ ZTE ซึ่งจะทำให้ความมั่นคงของประเทศของเราตกอยู่ในความเสี่ยง ผู้ให้บริการที่ติดตั้งอุปกรณ์ของ Huawei และ ZTE ไว้แล้ว จะต้องหยุดใช้งานและนำอุปกรณ์ออกทันที” เมนดิซิโน…

ปธน.ตุรกีต่อสายตรงผู้นำสวีเดน-ฟินแลนด์ ถกข้อกังวลด้านการก่อการร้าย

Loading

ประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ผู้นำตุรกีได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับผู้นำสวีเดนและฟินแลนด์ เพื่อถกข้อกังวลเกี่ยวกับองค์กรก่อการร้าย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายเออร์โดกันกล่าวว่า ฟินแลนด์และสวีเดนสนับสนุนกองกำลังชาวเคิร์ดที่เป็นเครือข่ายของพรรคเคอร์ดิสถาน เวิร์คเกอร์ส พาร์ตี (PKK) ซึ่งตุรกีมองว่าเป็นองค์กรก่อการร้าย ทั้งยังให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้ติดตามนายเฟตุลเลาะห์ กูเลน ซึ่งรัฐบาลตุรกีกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังความพยายามก่อรัฐประหารเมื่อปี 2559 ด้วย แถลงการณ์ของสำนักประธานาธิบดีตุรกีระบุว่า ปธน.เออร์โดกันกล่าวกับนางแอนเดอร์สสันว่า ตุรกีต้องการเห็นขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมในการจัดการกับข้อกังวลดังกล่าว และต้องการให้สวีเดนยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรการส่งออกอาวุธให้ตุรกี หลังจากการโจมตีซีเรียเมื่อปี 2562 นางแอนเดอร์สสันกล่าวว่า ฉันขอเน้นย้ำว่าสวีเดนยินดีที่จะร่วมมือในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศ และย้ำอีกครั้งว่าสวีเดนสนับสนุนการต่อสู้กับการก่อการร้ายและการขึ้นบัญชีพรรค PKK เป็นองค์กรก่อการร้าย นอกจากนี้ นายเออร์โดกันกล่าวกับประธานาธิบดีเซาลี นีนิสเตอ ของฟินแลนด์ว่า ความล้มเหลวในการจัดการกับองค์กรก่อการร้าย ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) นั้นไม่เหมาะสมกับจิตวิญญาณของนาโต ปธน.นีนิสเตอระบุว่า เขาได้หารืออย่างเปิดกว้างและตรงไปตรงมากับนายเออร์โดกัน และเห็นพ้องที่จะหารืออย่างใกล้ชิดต่อไป ก่อนหน้านี้ ปธน.เออร์โดกัน ผู้นำตุรกีได้ออกมาคัดค้านการเข้าร่วมนาโตของฟินแลนด์และสวีเดน โดยกล่าวหาทั้งสองประเทศว่าเป็นผู้สนับสนุนองค์กรก่อการร้าย ซึ่งหมายถึงพรรค PKK และกองกำลังชาวเคิร์ดในซีเรีย     ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์    /   วันที่เผยแพร่ 22…

หลอกกู้เงิน-ปล่อยสินเชื่อ ยังเป็นข่าวปลอมอันดับหนึ่ง

Loading

  สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 13–19 พ.ค. 65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบจำนวนข้อความที่เข้ามา 11,681,642 ข้อความ และอันดับต้นๆ ของข่าวกรองจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหลอกปล่อยสินเชื่อ กู้เงินออนไลน์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดจำนวนข้อความที่เข้ามา 11,681,642 ข้อความ หลังการคัดกรองแล้วมีข้อความที่ต้องดำเนินการ Verify จำนวน 221 ข้อความ รวมจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 122 เรื่อง     โดยนางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ข่าวปลอมที่คนสนใจสูงสุด 10 อันดับ คือ อันดับ 1 กรุงไทยเปิดสินเชื่อส่วนบุคคลแบบหมุนเวียน ยืมได้ 100,000 บาท ผ่อนเดือนละ 300 บาท กู้ได้ทุกอาชีพ อันดับ 2 แอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพ…