พินัยกรรมดิจิทัล? วิธีกำหนดมือถือและบัญชีโซเชียลไว้ก่อนตาย หากเราไม่อยู่แล้ว จะจัดการอย่างไร

Loading

  ปัจจุบันสมบัติของเราไม่ได้มีเพียง ที่ดิน เงินทอง อสังหาฯ แล้ว เพราะข้อมูลในบัญชีโซเชียลต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน หากวันหนึ่งที่เราหมดลมหายใจไปแล้ว เราสามารถให้คนที่เราไว้ใจสืบทอดบัญชีของเราต่อไปได้ เพื่อข้อมูลที่สำคัญของเราจะไม่รั่วไหลออกไปด้วย เราไปดูวิธีตั้งค่าผู้สืบทอดบัญชีของเรากันดีกว่าแอปไหนสามารถทำได้บ้าง iPhone และ Apple Device ทางแอปเปิ้ลพึ่งอัปเดตฟีเจอร์นี้เมื่อปีที่แล้ว สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ฟีเจอร์นี้จำเป็นจะต้องอัปเดตเป็น iOS 15.2 หรือใหม่กว่าก่อน โดยเข้าไปที่ตั้งค่า > เข้าไปหน้า Apple ID, iCloud+ > รหัสผ่านและความปลอดภัย > ผู้ติดต่อรับมรดก (Legacy Contact)     ผู้ติดต่อที่เรามอบอำนาจไว้นั้นจะสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราหลังจากที่เราไม่มีลมหายใจแล้ว ข้อมูลนี้รวมถึงสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพและวิดีโอ ประวัติข้อความ บันทึกย่อ ไฟล์ รายชื่อติดต่อ รายการปฏิทิน แอปฯ ที่ดาวน์โหลดและข้อมูลแอป การสำรองข้อมูลของอุปกรณ์ใด ๆ ที่จัดเก็บไว้ใน iCloud ผู้ที่เรามอบอำนาจไว้จะสามารถลบ Activation Lock…

“ความยินยอม” ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 “ความยินยอม” เป็นฐานทางกฎหมายในการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ฐานหนึ่งในหลาย ๆ ฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ใช้เป็นเครื่องมือในการบรรลุวัตถุประสงค์การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปและข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 26 อาทิ เชื้อชาติ ศาสนา ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ และข้อมูลชีวภาพ เป็นต้น ก่อนที่จะใช้ความยินยอมเป็นฐานการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ตรวจสอบก่อนว่าความยินยอมเป็นฐานทางกฎหมายที่สอดคล้องกับกิจกรรมการประมวลผล ลักษณะการประมวลผล และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เนื่องจากตามมาตรา 19 วรรคท้ายกำหนดว่า การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ (หมวด 2 มาตรา 19-29 ) ไม่มีผลผูกพันเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและไม่ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ เมื่อพิจารณาแล้วว่าความยินยอมเป็นฐานทางกฎหมายที่เหมาะสม ถูกต้อง จึงพิจารณาเงื่อนไขของการจัดทำความยินยอมที่ชอบด้วยกฎหมายตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 ดังนี้ 1) ต้องได้รับความยินยอมเมื่อใด: ต้องได้มาก่อนหรือในขณะที่จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะขอความยินยอมทีหลัง หรือขอย้อนหลังไม่ได้ 2)…

‘ดุสิตโพล’ เปิดผลสำรวจเผยคนไทยกับโลกดิจิทัล เจอปัญหา เฟคนิวส์-มิจฉาชีพออนไลน์ พุ่ง

Loading

  29 พ.ค. 2565 – ดุสิตโพล (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-18 พฤษภาคม 2565 เรื่อง “คนไทยกับโลกดิจิทัล” พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันในการติดต่อสื่อสาร พูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ โซเชียลมีเดียมากที่สุด ร้อยละ 79.96 รองลงมาคือชำระเงินแบบดิจิทัล ฝาก ถอน โอน จ่าย ร้อยละ 78.44 เปรียบเทียบก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น ร้อยละ 76.97 โดยมองว่า “โลกดิจิทัล” ไม่ได้สร้างความลำบากและวุ่นวาย ร้อยละ 53.28 ในโลกออนไลน์เคยพบปัญหาการส่งต่อเฟคนิวส์ คลิป หรือข้อมูลความเชื่อผิดๆ มากที่สุด ร้อยละ 82.40 รองลงมาคือมิจฉาชีพออนไลน์ หลอกให้โอนเงิน ร้อยละ 63.84 วิธีการปรับตัวให้เข้ากับโลกดิจิทัล คือ ต้องมีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ร้อยละ 71.81 สิ่งที่คาดหวังโลกดิจิทัลสำหรับคนไทย คือ ใช้งานได้ง่าย สะดวก…

การศึกษาเผย 75% ของเว็บไซต์ฟิชชิ่งสามารถผ่านการป้องกันของ Chrome มาสู่ผู้ใช้ได้!

Loading

  อ้างอิงจากการศึกษาของ Which? บริษัทที่ศึกษาเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคได้ค้นพบเว็บไซต์ฟิชชิ่งใหม่จำนวน 800 เว็บไซต์ และพบว่า Chrome สามารถป้องกันฟิชชิ่งเหล่านี้ได้เพียง 28% บน Windows และ 25% บน macOS แตกต่างจาก Firefox ที่สามารถป้องกันผู้ใช้จากเว็บไซต์เหล่านี้ได้ถึง 85% บน Windows และ 78% บน Macs อย่างไรก็ตาม Google ได้ออกแถลงการณ์ไปยังสำนักข่าว Independent ของสหราชอาณาจักรเป็นเนื้อความที่แสดงถึงข้อกังขาในการค้นพบครั้งนี้ว่า “การศึกษาชิ้นนี้ควรได้รับการตรวจสอบ เพราะเป็นเวลากว่า 10 ปีที่ Google ได้สร้างมาตรฐานป้องกันฟิชชิ่ง ทั้งยังเผยแพร่เทคโนโลยีดังกล่าวแบบไม่คิดเงินให้กับเบราว์เซอร์อื่น ๆ โดย Google และ Mozilla มักร่วมมือกันเพื่อพัฒนาความปลอดภัยของเว็บ และ Firefox ก็ใช้ Safe Browsing API ของ Google ในการป้องกันฟิชชิ่ง แต่นักวิจัยกลับระบุว่า Firefox…

Meta เผย บริษัทจะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ ‘ในวิธีการใหม่’ แต่มันหมายความว่าอย่างไร?

Loading

บริษัท Meta ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการให้บริการ (Term of Service) ใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า นโยบายความเป็นส่วนตัวของ Meta ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม Meta ระบุว่า บริษัทจะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ ‘ในวิธีการใหม่’ (in new ways) อ้างอิงจาก Meta การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการให้บริการที่ถูกเขียนขึ้นใหม่ มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจและวิเคราะห์เกี่ยวกับสินค้าและบริการของ Meta ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในตอนนี้ศูนย์ความเป็นส่วนตัว (Privacy Center) ของ Meta ก็มีอินเตอร์เฟซที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น แต่คำถามก็คือ ที่ Meta บอกว่า ‘จะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ในวิธีการใหม่’ มันหมายความว่าอะไร? อันดับแรกเลย Meta ก็ยังคงเป็น Facebook อยู่วันยังค่ำ ดังนั้นเราจึงไม่ควรคาดหวังอะไรมากในเรื่องความเป็นส่วนตัวจาก Meta ทั้งนี้ The Verge ได้เปรียบเทียบนโยบายเก่าและนโยบายใหม่ของบริษัท ซึ่งยืนยันแล้วว่า Meta จะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ด้วยวิธีการใหม่จริง แต่นั่นก็ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่ว่า…

เจ้าหน้าที่ยอมรับ ‘ตัดสินใจพลาด’ ในเหตุการณ์ยิงกราด 21 ศพที่เท็กซัส

Loading

Texas Department of Public Safety Director Steven McCraw speaks during a press conference outside Robb Elementary School, May 27, 2022, in Uvalde, Texas. He said police responding to the shooting at Robb made the decision not to enter a classroom where th   ข้อมูลชิ้นใหม่ของเหตุการณ์ยิงกราดที่โรงเรียนประถมในรัฐเท็กซัสเมื่อวันอังคาร ระบุว่า เด็ก ๆ ที่ติดอยู่ในห้องเรียนกับมือปืนโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินหลายครั้ง และมีเด็กหญิงคนหนึ่งที่ขอร้องว่า “ช่วยส่งตำรวจมาด้วยเดี๋ยวนี้” แต่ตำรวจเกือบ 20 คน ที่โถงทางเดินที่โรงเรียนแห่งนี้กลับรอเป็นเวลากว่า 45…