ทหาร-ตำรวจสวิสคุมเข้มประชุม’WEF’ -ผู้ว่าฯธปท.ร่วมประชุมด้วย

Loading

  เวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรั่ม (WEF) เตรียมจัดการประชุมประจำปีนี้ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 22-26 พ.ค. หลังจากที่ได้เลื่อนการประชุมจากวันที่ 17-21 ม.ค. ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน   อย่างไรก็ดี การจัดการประชุม WEF ในเดือนพ.ค. ได้สร้างความแตกต่างจากที่มักจัดขึ้นในเดือน ม.ค.   ทั้งนี้ ดาวอส ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่สูงที่สุดในยุโรป และเป็นแหล่งรีสอร์ทสำหรับนักเล่นสกีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสวิตเซอร์แลนด์ มักปกคลุมไปด้วยหิมะในช่วงต้นปี ซึ่งหิมะดังกล่าวจะช่วยเป็น “แนวป้องกันทางธรรมชาติ” สำหรับการจัดการประชุม WEF โดยจะปิดเส้นทางของผู้ที่ต้องการเข้ามาประท้วงและสร้างความวุ่นวายในการประชุม WEF   การจัดการประชุม WEF ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เมืองดาวอสไร้ซึ่งหิมะ ทำให้ทางการสวิตเซอร์แลนด์ต้องระดมกำลังทหารและตำรวจมากถึง 5,000 นายเพื่อรักษาความปลอดภัยในการประชุมดังกล่าว โดยมีการตั้งด่านสกัดในบริเวณที่ไม่เคยตั้งมาก่อน รวมทั้งส่งโดรนสำรวจในพื้นที่บริเวณหุบเขา เนื่องจากไม่มีหิมะขวางกั้นเหมือนในช่วงที่ผ่านมา   การเพิ่มการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวทำให้ทางการสวิตเซอร์แลนด์ต้องใช้งบสูงถึง 32 ล้านฟรังก์สวิส   ทั้งนี้ WEF จัดการประชุมประจำปีนี้แบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกในรอบ 2…

เดี่ยวไมโครโฟน

Loading

  วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่า กทม.และสมาชิกสภา กทม. สัปดาห์นี้เป็นช่วงสุดท้ายของการหาเสียง ผู้สมัครแต่ละคนต่างงัดไม้เด็ดออกมาใช้กันเต็มที่ รวมทั้งยุทธวิธีการเตะตัดขาคู่แข่ง ใครที่มีคะแนนนำก็โดนหนักหน่อย หากเป็นมวยบนเวที ถือว่าเป็นยกสุดท้ายที่แต่ละฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์ที่เก็บซ่อนไว้ออกมาซัดกันเต็มที่ เพราะมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ชนะ ที่เหลือม้วนเสื่อกลับบ้านหมด   ขอเชิญชวนชาว กทม.ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งไปใช้สิทธินี้ ไม่ให้คนต่างจังหวัดดูถูกว่าคนกทม.นอนหลับทับสิทธิ์ สู้คนต่างจังหวัดไม่ได้ รักใครชอบใคร หรือคิดว่าผู้สมัครคนไหนจะทำประโยชน์ให้คน กทม.ได้ดีกว่า แต่คงไม่ดีที่สุด ก็ไปเลือกคนนั้น รวมทั้งเลือกสมาชิก กทม.ที่จะไปทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติและตรวจสอบผู้ว่า กทม.ที่เป็นฝ่ายบริหาร   อย่างไรก็ตาม เรื่องที่จะเขียนวันนี้ไม่ใช่เรื่องการเลือกตั้ง กทม. แต่ไปตรวจสอบสถานการณ์ล่าสุดในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่นอกจากจะรบกันทางภาคพื้นดินแล้ว ยังต้องระวังสงครามไซเบอร์ด้วย นอกจากการทำสงครามไซเบอร์ด้วยการขัดขวางการทำงานด้านการจ่ายกระแสไฟฟ้า ประปา การคมนาคม การสื่อสาร สาธารณะประโยชน์อื่นๆ แล้ว ยังเน้นเรื่องการโฆษณาชวนเชื่อต่อโลกภายนอก หากเรารับข่าวอย่างไม่ระมัดระวังก็อาจตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อทางไซเบอร์ด้วยเช่นกัน   ล่าสุด รัสเซียยึดเมืองมาริอูปอล ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางใต้ของยูเครนได้แล้ว โดยใช้ยุทธวีธีปิดล้อมตามที่ประธานาธิบดีปูตินมีคำสั่งต่อ ผบ.สูงสุดของรัสเซียว่า หลังจากที่พลเรือนคนสุดท้ายออกจากโรงงานเหล็กแล้ว ทหารรัสเซียไม่ต้องบุกเข้าไปเพื่อไม่ต้องเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและบาดเจ็บ แต่ให้ปิดล้อมชนิดที่แมลงวันแม้แต่ตัวเดียวก็บินเล็ดลอดออกมาไม่ได้   ทหารรับจ้างที่ยอมแพ้มีทั้งอดีตทหารอเมริกัน…

รัสเซียโวอาวุธเลเซอร์รุ่นใหม่ ดับสัญญาณดาวเทียม-ทำลายโดรนระยะ 5 กม.

Loading

  ไม่ใช่แค่ชาติตะวันตกที่ประโคมประสิทธิภาพ “สินค้าสงคราม” ของตน แต่รัสเซียยังใช้โอกาสการรุกรานยูเครน เปืดตัวอาวุธใหม่ด้วย สำนักข่าวรอยเตอร์ – เมื่อวันพุธที่ 18 พ.ค. รัสเซียได้เปิดตัวอาวุธเลเซอร์รุ่นใหม่รวมถึงระบบเลเซอร์เคลื่อนที่ที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ประกาศครั้งแรกในปี 2018 ซึ่งรัฐบาลมอสโกกล่าวว่า ได้ก้าวหน้าไปแล้วจนอาจทำให้ดาวเทียมในวงโคจร “สัญญาณบอด” และทำลายโดรนได้ ในปี 2018 ปูตินได้เปิดตัวอาวุธใหม่ๆ มากมาย รวมถึงขีปนาวุธข้ามทวีป หัวรบนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่สามารถติดกับขีปนาวุธร่อน โดรนนิวเคลียร์ใต้น้ำ อาวุธความเร็วเหนือเสียง และอาวุธเลเซอร์ ไม่ค่อยมีใครรู้จักเกี่ยวกับอาวุธเลเซอร์ชื่อ Peresvet ที่ชื่อตามชื่อของ Alexander Peresvet นักบวชนักรบออร์โธดอกซ์ยุคกลางที่เสียชีวิตในการสู้รบ ปูตินให้ข้อมูลเฉพาะบางประการในปี 2018 และรายละเอียดของเลเซอร์นั้นเป็นความลับ ยูริ โบริซอฟ รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาทางการทหาร บอกกับที่ประชุมในกรุงมอสโกว่า Peresvet ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางแล้ว และมันอาจทำให้ดาวเทียมที่อยู่สูงจากพื้นโลกถึง 1,500 กม. สัญญาณบอดได้ เขาอ้างการทดสอบเมื่อวันอังคาร โดยเขากล่าวว่า ได้เผาโดรนที่อยู่ห่างออกไป 5 กม. ภายในห้าวินาที สำนักข่าวรอยเตอร์ไม่สามารถยืนยันการทดสอบได้อย่างอิสระ “มันถูกส่งไปให้กองทหาร…

รับมือกฎหมาย PDPA ด้วยการปกป้องความเป็นส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

Loading

  ภายในงานสัมมนา TTT Virtual Summit: Enterprise Cybersecurity 2022 ที่เพิ่งจบไป คุณณัฏฐวี สกุลรัตน์ Chief Marketing Officer จาก Netka ได้ออกมาอัปเดตเรื่องการเตรียมความพร้อมขององค์กรให้ครอบคลุม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่กำลังบังคับใช้จริงในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ รวมไปถึงแนะนำเทคโนโลยีจาก Netka ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย ดังนี้ ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย หนึ่งในปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การออกกฎหมาย PDPA คือ การที่ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสู่สาธารณะ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ข้อมูลต่างๆ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลสามารถหลุดออกไปได้หลากหลายช่องทางโดยบางครั้งเจ้าของข้อมูลก็ไม่รู้ตัว เช่น การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงสื่อสังคมออนไลน์ การใช้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ แล้วกดตกลงให้ความยินยอมในการให้ข้อมูลเองโดยไม่อ่านรายละเอียด การโดนแฮ็กหรือเจาะขโมยข้อมูล การถูกหลอกลวงด้วยวิธีต่างๆ เช่น Phishing เป็นต้น การรั่วไหลหรือขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอาจนำไปสู่ความเสียหายดังต่อไปนี้ – ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขบัตรประชาชนถูกนำไปใช้เปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น คลิปส่วนตัวถูกข่มขู่แบล็กเมล เป็นต้น – โดนจารกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการใช้หมายเลขบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร…

เป็นเรื่อง ทดสอบแฮ็ก Tesla ปลดล็อคได้ใน 10 วิ

Loading

  นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก NCC Group เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า เขาสามารถแฮ็กรถ Tesla Model Y ปี 2021 ได้ภายใน 10 วินาที ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงปลดล็อครถได้เท่านั้น แต่ยังสามารถขับรถออกไปโดยไม่ต้องอาศัยรีโมท จากข้อมูล เข้าใจว่ารถยนต์ของ Tesla น่าจะมีการปลดล็อคได้สองรูปแบบ 1.คือรีโมทคอนโทรลที่มีมาให้  2.ใช้ Smartphone เพื่อปลดล็อคครับ วิธีการโจมตีคือพยายามหลอกให้รถคิดว่าโทรศัพท์ของเจ้าของรถอยู่ใกล้ ๆ กัน โดยนักวิจัยได้ใช้ Laptop หนึ่งเครื่องเพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่างโทรศัพท์ของเหยื่อ (ไม่ได้บอกนะ ว่าทำได้ยังไง) ส่วนอีกเครื่องเอาไปไว้ใกล้กับตัวรถ Tesla และทำการปล่อยสัญญาณ Bluetooth จากนั้นก็ให้ Laptop เครื่องแรกดึงสัญญาณจากมือถือของเหยื่อและส่งไปให้กับ Laptop เครื่องที่สองที่พยายามปลอมตัวเองว่าเป็นมือถือของเหยื่อ ซึ่งจะทำให้รถสามารถล็อคได้ในเพียงไม่กี่วินาที ดูจากข้อมูลแล้ว ดูเหมือนจะง่ายนะ แต่ส่วนตัวคิดว่ามันน่าจะมีตัวแปรเยอะกว่านี้มาก เช่น เราจะเชื่อมช่องว่างระหว่าง Laptop กับโทรศัพท์ของเหยื่อได้อย่างไร ? Smartphone จะมีช่องโหว่ขนาดนั้นเลยหรอ ? และการแฮ็กนี้อาจจะต้องอาศัยผู้ช่วยในการโจมตี ทำคนเดียวอาจจะยากกว่ามาก…

สื่อนอกเผย CEO และผู้บริหาร นิยมใช้รหัสผ่าน ‘เดาง่าย’ บางรายใช้ชื่อตนเอง

Loading

  “123456” ชื่อไหมว่าทุกวันนี้ยังมีคนใช้รหัสผ่านนี้อยู่ และยังเป็น ‘รหัสผ่านยอดแย่’ ยอดนิยมอันดับหนึ่งด้วย ผลสำรวจโดยทาง NordPass บริการช่วยจัดเก็บรหัสผ่าน ล่าสุดได้เผยอีกสถิติน่าสนใจ พบเหล่า CEO หรือผู้บริหารระดับสูงหลายราย ใช้รหัสผ่านยอดแย่มากเป็นพิเศษ CEO , CTO และ CFO หรือเหล่า Chief ทั้งหลาย พบนิยมใช้รหัสผ่านเป็น “123456” และรหัสผ่านเดาง่ายอื่น ๆ ด้วย คาดถูกใช้เหมือน ๆ กันไปแล้วกว่า 103 ล้านครั้ง อีกทั้งบางรายยังใช้รหัสผ่านเป็นชื่อตนเองด้วย เช่น “Tiffany” (100,534 ครั้ง) , “Charlie” (33,699 ครั้ง) และ “Michael” (10,647 ครั้ง)     หรือหนักกว่านั้นคือใช้ชื่อสัตว์ตั้งซะเลย เช่น “Dragon” และ “Monkey” ที่ต่างก็ใช้เหมือนกันกว่า 1 พันครั้ง…