‘ออสเตรเลีย – ไทย’ หารือความเสี่ยงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ

Loading

  ออสเตรเลียร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย (สมช.) จัดการหารือว่าด้วยเรื่องความเสี่ยงต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ระหว่างออสเตรเลีย และไทย ระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2565 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน ได้ร่วมหารือถึงการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญระหว่างออสเตรเลีย และไทยอย่างยั่งยืน รวมถึงการแจกแจงและจัดการความเสี่ยงทั้งของภาครัฐและเอกชน การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งรวมถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ และระบบดิจิทัลที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งหลายประเทศต้องพึ่งระบบเหล่านี้ในการบริหารจัดการ นายอัลลัน แมคคินนอน เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย ได้กล่าวว่า บทเรียนสำคัญจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นถึงว่าโครงสร้างพื้นฐานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัย และความมั่นคงของประเทศ ” เราถือเป็นโอกาสที่สำคัญที่จะได้ร่วมงานกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย ในการแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญรวมถึงการแจกแจง และจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น” เอกอัครราชทูตออสเตรเลียยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียบพร้อมในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอส เขื่อนภูมิพล ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แต่กระนั้นก็ยังต้องจัดการความเสี่ยงหลายอย่างต่อโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นการเอ่อล้นของแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงการขโมยข้อมูลการเงินทางไซเบอร์ นายรัชกรณ์ นภาพรพิพัฒน์ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศเนื่องจากจะเกิดผลกระทบต่อความปลอดภัย และการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในวงกว้าง หากเกิดการหยุดชะงักของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยตั้งแต่ในอดีตจนถึงจนปัจจุบัน สมช. ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างประเทศมาโดยตลอด…

กรมโรงงานฯ ขีดเส้น 23 ต.ค.โรงงานใช้สารเคมีตั้งแต่ 1 ตัน/ปีต้องรายงานข้อมูล

Loading

กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ออกคำสั่งให้โรงงานที่ใช้จัดเก็บสารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1 ตัน/ปี ต้องรายงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีผลบังคับใช้ 23 ตุลาคม 2565 พร้อมจัดการฝึกอบรม “ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม” ผ่านช่องทางออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานในเดือนมิถุนายน และกันยายน 2565 นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 มีสารเคมีกว่า 20 ตันระเบิดรั่วไหลออกมา ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบโรงงาน ทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานตามบัญชีแนบท้ายประกาศฯ และผู้ประกอบกิจการโรงงาน นอกเหนือจากบัญชีแนบท้ายประกาศฯ ต้องรายงานข้อมูลสารเคมีอันตรายที่มีการเก็บ หรือการใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน ในปริมาณตั้งแต่ 1 ตัน/ปี ต่อสารเคมีอันตรายหนึ่งชนิด ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ กรอ. โดยประกาศดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23…

สหรัฐฯ เตือนคนไอทีเกาหลีเหนือปลอมเป็นคนชาติอื่น รับงานไอที เขียนแอปมือถือ , แพลตฟอร์มคริปโต , ซัพพอร์ต

Loading

  กระทรวงการคลังสหรัฐฯ (Department of Treasury) ออกประกาศแจ้งเตือนว่า เกาหลีเหนือกำลังส่งออกแรงงานไอทีนับพันคน รับงานบริษัทต่างชาติโดยปิดบังสัญชาติที่แท้จริงของคนทำงานเพื่อหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรสหรัฐฯ แรงงานไอทีเหล่านี้มักมีฐานรับงานอยู่นอกเกาหลีเหนือ เช่น จีน , รัสเซีย , บางส่วนอยู่ในแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาศัยการปลอมแปลงเอกสารประจำตัวว่าเป็นคนจีน , เกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังตั้งบริษัทนอกเกาหลีเหนือเพื่อบังหน้า งานที่แรงงานไอทีจากเกาหลีเหนือรับงานมีหลากหลาย เช่น การพัฒนาแอปและเว็บ , สร้างแพลตฟอร์มเงินดิจิทัล , ให้บริการไอทีซัพพอร์ต , ทำกราฟิก/อนิเมชั่น , พัฒนาเกม , สร้างแพลตฟอร์มพนันออนไลน์, ระบบปัญญาประดิษฐ์ , งานพัฒนาฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์ โดยเกาหลีเหนือลงทุนกับการพัฒนาบุคลากรไอทีอย่างหนัก คาดว่าในช่วงรัฐบาลคิมจองอึนมีนักเรียนด้านไอทีจบจากมหาวิทยาลัยในเกาหลีเหนือมาแล้วประมาณ 30,000 คน แรงงานเหล่านี้รับงานที่ในลักษณะฟรีแลนซ์ที่ได้รายได้สูง บางคนอาจจะมีรายได้ถึงปีละ 300,000 ดอลลาร์หรือกว่าสิบล้านบาท บางทีมรับงานได้ปีละ 3 ล้านดอลลาร์หรือร้อยล้านบาทเลยทีเดียว แม้ว่าแรงงานเหล่านี้จะทำงานจริง และดูไม่ได้มุ่งร้ายกับองค์กรที่ไปรับงานนัก แต่ประกาศก็เตือนว่าแรงงานเหล่านี้เป็นแหล่งรายได้ให้รัฐบาลเกาหลีเหนือไปพัฒนาอาวุธ และการจ้างแรงานเหล่านี้เป็นการละเมิดการคว่ำบาตรของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มา – Department…

รัฐบาลสหรัฐ ตั้งรางวัล นำจับ ‘แก๊งแรนซัมแวร์’

Loading

  สหรัฐฯแสดงความมุ่งมั่นในการปกป้องผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแรนซัมแวร์ทั่วโลก ทางการสหรัฐฯได้เสนอรางวัลมูลค่าหลายล้านดอลลาร์เพื่อแลกกับข้อมูลที่จะนำไปสู่การการจับกุมตัวการสำคัญและสมาชิกของแก๊ง Conti ransomware โดยหน่วยงานดูแลด้านโครงการรางวัลสำหรับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ หรือ the Department of State’s Transnational Organized Crime Rewards Program (TOCRP) ได้แบ่งเงินรางวัลออกเป็น 2 ส่วน คือ 10 ล้านดอลลาร์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวการใหญ่คนสำคัญของแก๊ง Conti หรือผู้พัฒนาของแรนซัมแวร์ และอีก 5 ล้านดอลลาร์สำหรับข้อมูลที่นำไปสู่การจับกุมใครก็ตามที่สมคบคิดโดยใช้มัลแวร์ในการโจมตีในเหตุการณ์ต่างๆ จากข้อมูลของ FBI ที่อ้างโดยกระทรวงการต่างประเทศ แก๊ง Conti เชื่อมโยงกับการโจมตีมากกว่า 1,000 ครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เหยื่อต้องสูญเงินมากกว่า 150 ล้านดอลลาร์ในการโจมกรรมของกลุ่มนี้ และนั่นทำให้ Conti ransomware เป็นแรนซัมแวร์ที่ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติกาล จากการรั่วไหลของข้อมูลภายในของแก๊ง Conti อาทิ แชทส่วนตัวและข้อมูลต่างๆ อย่างมากมาย ทำให้นักวิจัยได้ทราบถึงกระบวนการทำงานภายในกลุ่ม โดยกลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าบริการ และเครื่องมือต่างๆ ปีละ…

‘สายลับ’ ในคราบ ‘มิชชันนารี’ การแทรกซึมและจารกรรมข้อมูลของอเมริกา ในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

Loading

  หากกล่าวถึงสายลับของรัฐบาลอเมริกาในปัจจุบัน หลายคนอาจนึกถึงซีไอเอ (C.I.A. – Central Intelligence Agency) หรือสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ ที่มีบทบาทในฐานะตัวแทนสายลับรัฐบาลอเมริกา ซึ่งทำงานด้านการข่าวและการต่อต้านข่าวกรอง ซีไอเอมักมีบทบาทที่โดดเด่นด้านการต่อต้านการก่อการร้าย หรืออาชญากรรมร้ายแรงข้ามชาติ สายลับพวกนี้มักปฏิบัติการในต่างประเทศ โดยแฝงตัวอยู่ในรูปแบบหรืออาชีพอะไรก็ได้ อาทิ นักธุรกิจ นักการทูต หรือแม้กระทั่งประชาชนอเมริกาธรรมดา อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะมีการก่อตั้งซีไอเอในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีหลักฐานที่น่าเชื่อว่า อเมริกาได้จัดตั้งสายลับหรือจารชนเข้ามาสอดแนมความเป็นไปของประเทศต่างๆ ที่พวกเขาให้ความสนใจ หรือมองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และความมั่นคงของอเมริกามานานแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้น เชื่อกันว่าสายลับอเมริการุ่นก่อนซีไอเอกลุ่มแรกๆ ที่แฝงตัวเข้ามา คือบรรดาผู้ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะทำงานหลังฉากเป็นสายลับได้ ผู้คนเหล่านั้นก็คือ หมอสอนศาสนา “บางคน” และจากข้อมูลในประวัติศาสตร์ จารชนชาวอเมริกันในคราบหมอสอนศาสนาที่มีหลักฐานมัดตัวมากที่สุด ได้แก่ “นายแคนแนต เพอรรี่ แลนดอน” (Kenneth Perry Landon) อดีตมิชชันนารีอเมริกัน ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอทับเที่ยง จังหวัดตรัง ซึ่งต่อมาเขาได้ข้ามไปดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประเทศไทย ประจำกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ไม่นาน…

อังกฤษเปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่เพื่อสู้กับสายลับที่หลอกเอาข้อมูลลับจากผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดีย

Loading

  “รัฐบาลสหราชอาณาจักรเปิดตัว Think Before You Link แอปพลิเคชันช่วยตรวจสอบตัวตนบัญชีผู้ใช้บนโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn และ Facebook” เคน แม็คคอลลัม (Ken McCallum) ผู้อำนวยการทั่วไปของแผนกต่อต้านการจารกรรมแห่งสหราชอาณาจักร หรือ เอ็มไอไฟว์ (MI5) ได้เปิดเผยในช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้วว่ามีผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะบนลิงก์อิน (LinkedIn) และเฟซบุ๊ก (Facebook) กว่า 10,000 คน ตกเป็นเป้าหมายการจารกรรมข้อมูลความมั่นคงแห่งชาติผ่านบัญชีที่สร้างตัวตนปลอมขึ้นมา และในปีนี้ ทางการได้เปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ที่มีชื่อว่า Think Before You Link เพื่อยกระดับการจัดการกับปัญหานี้ คิดก่อนลิงก์ (Think Before You Link) เป็นโครงการรณรงค์การตระหนักรู้ทางไซเบอร์ (Cyber Awareness) ที่เริ่มรณรงค์ตั้งแต่ปีก่อนเพื่อป้องกันการถูกล่อลวงจากบัญชีแปลกหน้าที่มีประวัติดีเกินไปบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยเฉพาะ ลิงก์อิน (LinkedIn) ที่เป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ยอดนิยมสำหรับคนทำงาน เป้าหมายของสายลับที่แฝงตัวบนลิงก์อิน (LinkedIn) ส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลที่มีสิทธิ์เข้าถึงระดับชั้นความลับขั้นสูง ปลอมตัวเป็นตัวแทนจากบริษัทที่อ้างว่าเป็นเครือข่ายคนทำงานหรือเครือข่ายอาชีพเฉพาะทางระดับโลก หลังจากทำความคุ้นเคยกับเป้าหมายแล้ว สายลับจะพาไปงานเสวนาปลอมที่จัดขึ้นในต่างประเทศเพื่อหลอกถามข้อมูลลับต่อไป แอปพลิเคชันในชื่อเดียวกับโครงการถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยต่อกรกับบัญชีที่มีตัวตนปลอมเหล่านี้…