ปักกิ่งยัวะมะกันส่งเรือเข้าช่องแคบไต้หวันถี่ยิบ ซ้ำเว็บกระทรวงต่างประเทศตัดข้อความยอมรับ ‘จีนเดียว’

Loading

  จีนแสดงความเดือดดาล วอชิงตันส่งเรือรบแล่นผ่านช่องแคบไต้หวันครั้งที่ 2 ในรอบ 2 สัปดาห์ ซ้ำเปลี่ยนข้อมูลบนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศอเมริกัน โดยตัดทิ้งข้อความที่ระบุว่า สหรัฐฯ ไม่สนับสนุนการประกาศเอกราชของไทเป ขณะที่ผู้นำหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ เชื่อจีนกำลังเตรียมกองทัพให้พร้อมเข้ายึดเกาะไต้หวันแม้อเมริกาเข้าแทรกแซงก็ตาม กองบัญชาการยุทธบริเวณภาคตะวันออกของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ออกคำแถลงในวันพุธ (11 พ.ค.) ว่า วอชิงตันก่อการยั่วยุปักกิ่งบ่อยครั้ง และส่งสัญญาณผิดๆ ไปถึงพวกกลุ่มพลังสนับสนุนการประกาศเอกราชของไต้หวัน อีกทั้งปลุกปั่นให้สถานการณ์ระหว่างช่องแคบไต้หวันตึงเครียดยิ่งขึ้น “กองบัญชาการยุทธบริเวณฯ เตรียมพร้อมในระดับสูงตลอดเวลา และพร้อมตอบโต้ขั้นเด็ดขาดต่อการคุกคามและยั่วยุทั้งหมด รวมทั้งปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของจีน” คำแถลงนี้ออกมาหลังจากกองเรือที่ 7 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุเมื่อวันอังคาร (10) ว่า เรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธนำวิถี “ยูเอสเอส พอร์ต รอยัล” ของตน ได้ปฏิบัติภารกิจปกติในการแล่นผ่านช่องแคบไต้หวันในบริเวณที่เป็นน่านน้ำสากลตามกฎหมายระหว่างประเทศ กองทัพเรืออเมริกันบอกว่า เรือพอร์ต รอยัล แล่นผ่านช่องแคบไต้หวันเพื่อแสดงความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ที่จะให้มีภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่เสรีและเปิดกว้าง และย้ำว่ากองทัพอเมริกันจะบิน แล่นเรือ และปฏิบัติการ ในทุกที่ที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตให้ทำได้ ด้านกระทรวงกลาโหมไต้หวันแถลงยืนยันว่า เรือของอเมริกาแล่นผ่านช่องแคบไต้หวัน และสถานการณ์ในน่านน้ำดังกล่าว “ปกติ” ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 27 เมษายน…

ผวาทั้งลำ! กัปตันตัดสินใจยกเลิกเทคออฟ หลังผู้โดยสารได้รับรูปซากเครื่องบินตก ผ่าน Airdrop

Loading

  มิร์เรอร์ รายงานเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ระบุว่า เกิดเหตุเครื่องบินที่เตรียมที่จะเทคออฟ ที่สนามบินเบกูเรียน ในเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ต้องยกเลิกเที่ยวบินลงหลังจากผู้โดยสารจำนวนหนึ่งได้รับ “ภาพซากเครื่องบินตก” จากผู้ส่งปริศนา ผ่านทางระบบ Airdrop ของ iPhone โดยเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบกระเป๋าเดินทางซ้ำและสืบสวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด รายงานระบุว่า มีผู้โดยสารจำนวนหนึ่งบนเรื่องบินโบอิ้ง 737 ของสายการบินอนาโดลูเจ็ต สายการบินในเครือของเตอร์กิชแอร์ไลน์ ได้รับรูปซากเครื่องบินของสายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์ ที่ประสบอุบัติเหตุตกลงในกรุงอัมสเตอร์ดัม ในปี 2009 ที่ผ่านมา ผ่านทางระบบ Airdrop ของ iPhone ส่งผลให้บรรดาผู้โดยสารบนเครื่องแตกตื่น ขณะที่กัปตันตัดสินใจวนเครื่องกลับและยกเลิกเที่ยวบินเพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวทันที   ภาพที่ผู้โดยสารได้รับจากบุคคลปริศนา รายงานระบุว่า เจ้าหน้าที่ต้องนำกระเป๋าเดินทางทั้งหมดมาตรวจสอบซ้ำ และยังไม่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้ส่งภาพดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าต้องเป็นฝีมือของคนใดคนหนึ่งที่อยู่บนเครื่อง ทั้งนี้ มีผู้โดยสารหลายรายที่ได้รับคำขอส่งภาพเข้าสู่ระบบ Airdrop แต่ก็มีหลายคนที่ไม่ได้กดรับภาพดังกล่าว โดยนอกจากภาพซากเครื่องเตอร์กิชแอร์ไลน์แล้ว ยังมีภาพซากเครื่องของสายการบินเอเชียนา เที่ยวบิน 214 ที่ตกในเมืองซานฟรานซิสโก ในปี 2013 ด้วย     ที่มา…

คาร์ดินัลฮ่องกงวัย 90 ปี โดนจับฐานละเมิดกฎหมายความมั่นคง

Loading

    พระคาร์ดินัลวัย 90 ปี หนึ่งในสมาชิกอาวุโสที่สุดของโบสถ์คาทอลิกในฮ่องกง ถูกตำรวจจับกุมตัวข้อหา ละเมิดกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าว บีบีซี รายงานในวันพุธที่ 11 พ.ค. 2565 ว่า พระคาร์ดินัล โจเซฟ เซน อายุ 90 ปี เป็น 1 ใน 4 ผู้ต้องหาที่ถูกตำรวจฮ่องกงจับกุมตัว ข้อหาละเมิดกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ ฐานมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรซึ่งจัดหาเงินทุนให้กลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ส่วนอีก 3 คนที่เหลือคือ นายเดนิส โฮ นักแสดงและนักร้องเพลงแนวป๊อปกวางตุ้ง (Cantopop) , น.ส.มาร์กาเร็ต อึ้ง อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติ และ ดร. ฮุย โป เคิง (Hui Po Keung) โดยพวกเขาถูกกล่าวหาว่า สมคบคิดกับกองกำลังต่างชาติ และหากถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดจริง พวกเขาอาจต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ตำรวจฮ่องกงบอกกับ บีบีซี อีกว่า ผู้ต้องสงสัยกลุ่มนี้ร้องขอต่อต่างประเทศหรือองค์กรต่างชาติให้คว่ำบาตรฮ่องกง…

นักวิจัยพบ แฮ็กเกอร์ใช้เทคนิค SEO จัดลำดับ PDF ที่ Malicious บน Search Engine

Loading

  ล่าสุดนี้เอง นักวิจัยจาก Netskope ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยได้เปิดเผยรายงาน Netskope Cloud and Threat Report : Global Cloud and Malware Trends ออกมา ซึ่งพบว่าการดาวน์โหลด Phishing เพิ่มสูงขึ้นถึง 450% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และยังไฮไลท์ด้วยว่าแฮ็กเกอร์กำลังเริ่มใช้การทำ Search Engine Optimization (SEO) ในการจัดลำดับไฟล์ PDF ที่ Malicious ให้ลำดับเจอต้น ๆ แล้ว นอกจากนี้ รายงานยังพบด้วยว่า ความพยายามในการทำ Phishing กำลังวิวัฒนาการไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง และแฮ็กเกอร์ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่เฉพาะพนักงานทำงานผ่าน Inbox ในอีเมลเท่านั้นแล้ว แต่ยังเริ่มแสวงหาคนกลุ่มใหม่ใน Search Engine ยอดนิยมอย่าง Google และ Bing ด้วย โดยอีกรายงานได้แสดงให้เห็นว่าในปี…

กองกำลังไซเบอร์ของสหราชอาณาจักร เข้าทลายโครงข่ายของอาชญากรไซเบอร์

Loading

  ปฏิบัติการร่วมระหว่างศูนย์บัญชาการสื่อสารของรัฐบาล (Government Communications Headquarters – GCHQ) และกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร ภายใต้กองกำลังไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Force – NCF) ได้ทลายโครงข่ายคอมพิวเตอร์ของอาชญากรทางไซเบอร์ เพื่อปกป้องประชาชนและทำให้เหล่าอาชญากรไม่สามารถนำข้อมูลบัตรเครดิตนับแสนใบที่ขโมยมาไปใช้งานต่อได้ “การดำเนินการโดย NCF ส่งผลให้เราสามารถทำลายความเชื่อมั่นของอาชญากรไซเบอร์ที่คิดว่าพวกตัวเองสามารถทำผิดแล้วลอยนวล เราได้ทำลายขีดความสามารถของอาชญากรเหล่านี้ เพื่อให้พวกเขารู้ว่ากำลังถูกเฝ้าดูและตามจับอยู่” เจเรมี เฟลมิง (Jeremy Fleming) ผู้อำนวยการ GCHQ กล่าว ปฏิบัติการของ NCF ยังทำให้เหล่าอาชญากรไซเบอร์ไม่สามารถเข้าใช้เครื่องมือมัลแวร์เพื่อนำไปใช้โจมตีประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือเข้าถึงข้อมูลที่ได้รับจากมัลแวร์เหล่านั้นได้ NCF เปิดตัวในปี 2020 และได้รับสำนักงานสำหรับใช้ปฏิบัติการในปี 2012 โดยได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรจากทั่วโลกในการทำลายขีดความสามารถของอาชญากรทางไซเบอร์ ที่มา ZDNet     ที่มา : beartai    /   วันที่เผยแพร่ 11 พ.ค.65 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/1043152

การแอบอัดเสียงใช้เป็นหลักฐานในคดีได้หรือไม่? | ภาณุพงศ์ เฉลิมสิน

Loading

  แต่เดิมนั้น การลักลอบบันทึกเสียงของคนอื่น จะผิดกฎหมายต่อเมื่อเป็นการลักลอบบันทึกคำสนทนาของคนอื่นที่มิใช่คู่สนทนา เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226 บัญญัติว่า พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน แต่ถ้าเป็นการบันทึกคำสนทนาของตนเองกับคู่สนทนา ถือว่าเป็นสิทธิของคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายที่บันทึกเสียงคำสนทนาของตนกับคู่สนทนาไว้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือบอกให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ล่วงหน้าก่อน ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2543 ได้เคยวางหลักเอาไว้ว่า เมื่อการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลย ซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนา เป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 243 วรรคสอง (ที่มา สกัดฎีกาเนติบัณฑิต-วิ.อาญา-ที่น่าสนใจ เตรียมสอบเนติฯ ภาค2 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559) ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา…