ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเตือนอิหร่าน ว่าการถอดกล้องวงจรปิด “มากกว่าครึ่ง” ออกจากโรงงานนิวเคลียร์ อาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาฟื้นฟูข้อตกลง
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ว่านายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) แถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ว่าได้รับแจ้งเมื่อไม่นานมานี้ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอิหร่าน เกี่ยวกับการถอดกล้องวิดีโอวงจรปิดรวม 27 ตัว ออกจากโรงงานนิวเคลียร์หลายแห่งในประเทศ
IAEA Chief @RafaelMGrossi to brief journalists about developments related to the IAEA’s monitoring and verification work in #Iran.
?Media arrangements: https://t.co/bQsRP4z0gH
? Today, 13:15pm Vienna timehttps://t.co/NqbTBE1CPo— IAEA – International Atomic Energy Agency ⚛️ (@iaeaorg) June 9, 2022
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการไอเออีเอกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวของอิหร่าน มีความหมายโดยหลักการหมายถึง รัฐบาลเตหะรานถอดอุปกรณ์ส่วนใหญ่ ที่ไอเออีเอเข้าไปติดตั้งเพิ่มเติม ตามข้อตกลงนิวเคลียร์ ฉบับปี 2558 แม้ยังเหลือกล้องวิดีโอวงจรปิดอีกประมาณ 40 ตัว แต่กรอสซีมองว่า การถอดกล้องวิดีโอวงจรปิดออกไปมากกว่าครึ่ง ย่อมเป็นอุปสรรคใหญ่หลวง ให้กับการทำงานภาคสนามของไอเออีเอ
นายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการไอเออีเอ นำตัวอย่างกล้องวิดีโอวงจรปิดซึ่งใช้ในอิหร่าน แสดงต่อผู้สื่อข่าว ที่กรุงเวียนนา
ขณะเดียวกัน หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหาทางร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ได้ ภายในระยะเวลา 3-4 สัปดาห์นับจากนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ “หายนะ” ของการเจรจาฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ที่มีการเจรจาเป็นระยะ ตั้งแต่เดือน เม.ย. ปีที่แล้ว “เพื่อหาทางสายกลาง” ในการนำสหรัฐกลับเป็นหนึ่งในภาคี หลังถอนตัวออกไปเมื่อปี 2561
?? "We are committed to Safeguards, the #IAEA's cameras continue to operate," said the Iran Atomic Energy Organisation spokesperson.
He added that the disconnected cameras could capture useful information for the IAEA, but that they would no longer share this information ⤵️ pic.twitter.com/ngWyTbLW1A
— FRANCE 24 English (@France24_en) June 9, 2022
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของไอเออีเอมีมติเสียงข้างมาก 30 จาก 35 เสียง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ตำหนิอิหร่านซึ่งยังคงไม่สามารถชี้แจงด้วย “เหตุผลที่มีน้ำหนัก” เกี่ยวกับการเสริมสมรรถนะยูเนียม ภายในโรงงาน 3 แห่ง ซึ่งรัฐบาลเตหะรานไม่เคยแจ้งต่อไอเออีเอมาก่อน ว่าเป็นสถานที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับนิวเคลียร์
อนึ่ง จีนและรัสเซียออกเสียงคัดค้านมติดังกล่าว ด้านกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านประณามการลงมติเรื่องนี้ของไอเออีเอ ที่เสนอโดยสหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี “ไม่สร้างสรรค์”.
เครดิตภาพ : REUTERS
————————————————————————————————————————-
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ / วันที่เผยแพร่ 10 มิ.ย.65
Link : https://www.dailynews.co.th/news/1133167/