แคสเปอร์สกี้ โชว์สถิติ ‘ฟิชชิ่ง’ ภัยร้ายโจมตีองค์กรธุรกิจ

Loading

  อาชญากรไซเบอร์มักคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการส่งข้อความสแปมและฟิชชิ่งไปยังทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางดิจิทัลในช่วงการระบาดใหญ่ เพื่อโจมตีแบบโซเชียลเอนจิเนียริง   แคสเปอร์สกี้ พบว่า การใส่หัวข้อและวลียอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมออนไลน์ในข้อความ เช่น การชอปปิง การสตรีมความบันเทิง การระบาดของโควิด-19 ทำให้เพิ่มโอกาสที่ผู้ใช้จะไม่สงสัยและคลิกลิงก์ที่ติดมัลแวร์หรือไฟล์แนบที่เป็นอันตรายขึ้นอย่างมาก   ปีที่ผ่านมาระบบป้องกันฟิชชิ่ง (Anti-Phishing) ของแคสเปอร์สกี้บล็อกลิงก์ฟิชชิ่งลิงก์กว่า 11,260,643 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิชชิ่งลิงก์ส่วนใหญ่ถูกบล็อกบนอุปกรณ์ของผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ส่วนในไทยพบการโจมตีกว่า 1,287,283 รายการ     ระบาดหนัก-แค่จุดเริ่มต้น   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า อีเมลยังเป็นการสื่อสารรูปแบบหลักสำหรับการทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   การพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งจำนวน 11 ล้านรายการในหนึ่งปี เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อข้อมูลสำคัญทั้งหมดถูกส่งผ่านอีเมล อาชญากรไซเบอร์มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำกำไรได้   ดังนั้น องค์กรควรตรวจสอบเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมและเชิงลึกอย่างรอบคอบ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์อีเมลที่มีความสำคัญมาก   ข้อมูลระบุว่า ในปี 2564 ลิงก์ฟิชชิ่งทั่วโลกจำนวน 253,365,212…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต

Loading

  ตามที่มีการส่งต่อข้อความในประเด็นเรื่องข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   จากกรณีที่มีการส่งต่อเรื่องราวโดยระบุว่าข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช รั่วและถูกนำไปเสนอขาย โดยรายละเอียดข้อมูลที่รั่วคือ ชื่อ สกุล ที่อยู่ รหัสบัตรประชาชน เบอร์โทร เพศ วันเกิด และอื่นๆ   ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด   ทั้งนี้ โรงพยาบาลศิริราชยังเปิดให้บริการตามปกติ และไม่มีผลกระทบต่อการรักษาและการให้บริการทางการแพทย์แต่อย่างใด โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียนให้ผู้รับบริการทุกท่านมั่นใจว่า คณะฯ ให้ความสำคัญในการปกป้องและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยอย่างสูงสุดตามมาตรฐานสากล โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลไม่มีนโยบายการติดต่อกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ   ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th/th หรือติดตามข้อมูลข่าวสารจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)   บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด ทั้งนี้…

“ไอเออีเอ” ตำหนิอิหร่าน ถอดกล้องวงจรปิดออกจากโรงงานนิวเคลียร์

Loading

  ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเตือนอิหร่าน ว่าการถอดกล้องวงจรปิด “มากกว่าครึ่ง” ออกจากโรงงานนิวเคลียร์ อาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาฟื้นฟูข้อตกลง   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ว่านายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) แถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ว่าได้รับแจ้งเมื่อไม่นานมานี้ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอิหร่าน เกี่ยวกับการถอดกล้องวิดีโอวงจรปิดรวม 27 ตัว ออกจากโรงงานนิวเคลียร์หลายแห่งในประเทศ   IAEA Chief @RafaelMGrossi to brief journalists about developments related to the IAEA’s monitoring and verification work in #Iran.?Media arrangements: https://t.co/bQsRP4z0gH? Today, 13:15pm Vienna timehttps://t.co/NqbTBE1CPo — IAEA – International Atomic Energy Agency…

Tim Cook เผยความกังวล เก็บข้อมูลลูกค้าตลอดเวลา อาจส่งผลเสียระยะยาว

Loading

  เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ทิม คุก (Tim Cook) ซีอีโอของ Apple กล่าวในงานประชุม TIME100 Summit 2022 ถึงความกังวลของเขาเกี่ยวกับการที่บริษัทต่าง ๆ เก็บข้อมูลของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมได้ในระยะยาว   เดิมซีอีโอของ Apple เป็นคนที่ไม่เห็นด้วยเรื่องการติดตามข้อมูลของลูกค้าอยู่แล้ว และมักจะวิจารณ์บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ในเรื่องนี้อยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ Apple จึงให้ความสำคัญด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างมาก เขากล่าวว่าการเก็บข้อมูลลูกค้าตลอดเวลาอาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนในอนาคต และทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันเปลี่ยนไป   “เมื่อเรารู้สึกว่าโดนจับตาอยู่ตลอดเวลา พฤติกรรมของเราจะเปลี่ยนไป เราจะลงมือทำอะไรน้อยลง คิดน้อยลง ปรับเปลี่ยนวิธีคิด และหักห้ามตัวเองมากขึ้น” ทิม คุก ซีอีโอของแอปเปิล   มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พูดถึงพฤติกรรมผู้คนที่เปลี่ยนไป เมื่อพวกเขารู้ตัวว่ากำลังถูกจับตามอง เช่น งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2018 แสดงให้เห็นว่า มีคนโกงข้อสอบน้อยลงอย่างมาก เมื่อรู้ว่ามีกล้องวงจรปิด และผลการสำรวจในปี 2019 พบว่าคนจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในที่ทำงาน ถ้ารู้ตัวว่ากำลังถูกจับตามองอยู่   นอกจากนี้…