จด•หมายเหตุ : ดาต้าไพรเวซีไกด์ไลน์ – Data Privacy Guideline

Loading

นคร เสรีรักษ์* 1. มหากาพย์กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลที่คนไทยรอคอยมานานกว่า 20 ปี และยังต้องรอคอยวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ครบทุกมาตราอีก 3 ปี มาถึงวันนี้มีกรรมการชุดใหญ่แล้ว มีกรรมการกำกับสำนักงานแล้ว รอการตั้งเลขาธิการและการจัดตั้งสำนักงานถาวรขึ้นมาทำหน้าที่แทนสำนักงานชั่วคราว 2. นอกเหนือจากนี้ก็เป็นเรื่องการรอ “กฎหมายลูก” ซึ่งได้แก่ประกาศ ข้อกำหนด ระเบียบ หลักเกณฑ์ และยังมีเรื่อง “แนวทางปฏิบัติ” ซึ่งปัจจุบันมีออกมาเสนอขายให้เห็นเยอะมากในท้องตลาด 3. เริ่มที่ “หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน” ของ เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เธียรชัยทำเสนอสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเมื่อปี 2550 สาระสำคัญ เป็นการศึกษาเพื่อวางหลักเกณฑ์และแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บโดยภาคเอกชน และเป็นการสรุปหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลมานำเสนอเพื่อให้องค์กรเอกชนได้นำไปพิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับธุรกิจของตน 4. ยังมีแนวทาง “แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Thailand Data Protection Guidelines)” ของศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดทำโดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ประกอบอาชีพด้านกฎหมายหลายแห่ง[1] 5. แนวทางนี้มีการเผยแพร่หลายเวอร์ชั่นแล้ว แต่มีข้อที่ต้องสังเกตคือ ผู้จัดทำประกาศแจ้งความไม่รับผิดชอบต่อเนื้อหาหนังสือไว้อย่างชัดเจนใน “ข้อปฏิเสธความรับผิด” โดยระบุว่า “‘ผู้แต่ง’ ไม่ได้ให้การรับรองหรือรับประกันใดๆ ถึงความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหาของงานนี้”…

ETDA พาสำรวจ 5 ประเทศต้นแบบรัฐบาลดิจิทัล พัฒนา e-Government สร้างบริการสุดล้ำเพื่อประชาชน

Loading

  โลกแห่งเทคโนโลยีหมุนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วขึ้นทุกวัน ทุกประเทศต่างล้วนปรับตัวตามให้ได้ไวมากที่สุด ขณะที่ เทคโนโลยีก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชากรโลกเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ เรื่อง ด้วยเหตุนี้ ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะในฝั่งภาครัฐ ต่างปรับตัว และการให้บริการก้าวสู่โลกออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ด้วยรูปแบบการให้บริการที่หลายคนต่างคุ้นหู อย่าง e-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดการบริการต่างๆ ของภาครัฐให้กับประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการติดต่อและขอรับบริการจากภาครัฐได้ง่าย รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการตรวจสอบ การจัดทำเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ภาครัฐร้องขอ ที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย สำหรับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐมีบทบาทสำคัญที่จะผลักดันและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศดิจิทัล หรือ Digital Ecosystem ที่มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ ทั้งระหว่างภาครัฐกับรัฐ ธุรกิจกับธุรกิจ หรือแม้แต่ภาครัฐกับภาคธุรกิจ เพื่อให้การทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เชื่อมโยงระบบข้อมูลได้อย่างคล่องตัวและช่วยให้ประชาชนได้รับการบริการจากแต่ละหน่วยงานได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิด e-Government ขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถของภาครัฐในการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดย e-Government…

ห้ามใช้ อินเดียแบน VPN หวั่นคลาวด์ทำข้อมูลรั่ว

Loading

  เกิดอะไรขึ้น รัฐบาลอินเดียออกประกาศบังคับไม่ให้พนักงานของรัฐใช้งาน VPN และคลาวด์ จากผู้ให้บริการรายอื่นที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ข้อบังคับนี้ส่งผลกระทบต่อให้ผู้ให้บริการ VPN รายย่อยที่ให้บริการอยู่ในอินเดียปัจจุบันเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Nord VPN , Surfshark , ExpressVPN หรือ TOR ออกมาหยุดให้บริการทันทีหลังมีประกาศออกมาเพียงไม่กี่วัน Economic Times ยังได้ให้ข้อมูลว่า กฎข้อปฏิบัติใหม่ของอินเดีย ได้เพิ่มข้อจำกัดในการจัดเก็บเอกสารและข้อมูลสำคัญไว้บนคลาวด์ ไม่เว้นแม้แต่บริการที่ได้รับความนิยม อย่าง Google Drive และ Dropbox รวมไปถึงห้ามเจลเบรกสมาร์ทโฟนเพื่อลงแอปที่มีความเสี่ยงอีกด้วย รวมถึงห้ามใช้งานแอปพลิเคชั่นสัญชาติจีนที่เป็นอันตราย เช่น CamScanner ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายแอปที่อินเดียแบน เพื่อสแกนเอกสารภายในของรัฐบาล โดยข้อบังคับนี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน เป็นต้นไป ทั้งนี้ สาเหตุที่รัฐบาลอินเดียต้องตัดสินใจแบนบริการดังกล่าว ก็เพื่อสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหลาย ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสำคัญอย่าง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ไม่เพียงเท่านั้น อินเดียยังเริ่มส่งสัญญาณต่อต้านการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น บริการส่งข้อความที่เข้ารหัสแบบ end-to-end…

Microsoft จะเลิกใช้ AI จดจำใบหน้าที่สามารถตรวจจับอารมณ์ได้ ลดการละเมิดความเป็นส่วนตัว

Loading

  Microsoft จะเลิกใช้ AI จดจำใบหน้าที่สามารถตรวจจับอารมณ์ได้ เพื่อลดการละเมิดความเป็นส่วนตัว และป้องกันการการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นตั้งแต่ปี 2021 กลุ่ม EU โดย รัฐสภายุโรป (EP) MEPs ได้เรียกร้องให้แบนการใช้เทคโนโลยีการจดใบหน้าในพื้นที่สาธารณะ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนอัลกอริทึ่มของระบบ อาจใส่อคติลงไป ทำให้ Ai อาจมีอคติเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีปัญหาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง Microsoft จะเลิกใช้ AI จดจำใบหน้าที่สามารถตรวจจับอารมณ์ได้ โดยนักพัฒนารายใหม่ จะไม่สามารถใช้ Framework เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมจดจำใบหน้าของ Microsoft ได้อีกต่อไป ซึ่งนักพัฒนาที่ใช้อยู่เดิมจะสามารถใช้งานได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2023 แต่ทาง Microsoft เองจะยังคงมีเทคโนโลยีนี้อยู่เพื่อช่วย “สำหรับการควบคุม” เช่น Seeing AI สำหรับช่วยเหลือคนตาบอดและผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็น Microsoft ได้แชร์ Responsible AI Standard ( กรอบจริยธรรมในการพัฒนา AI )…

ระเบิดป้อมปาลัส “คาร์บอมบ์” ลูกที่ 59 ตลอด 18 ปีไฟใต้

Loading

เหตุระเบิดใกล้กับป้อมตำรวจ “หน่วยบริการประชาชนจันทรักษ์” ท้องที่บ้านปาลัส ต.ควน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ถือเป็น “คาร์บอมบ์” หรือระเบิดที่ติดตั้งในรถยนต์รูปแบบหนึ่ง งานนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น TRUCK BOMB เพราะคนร้ายซุกระเบิดในรถขนขยะ ซึ่งเป็นรถบรรทุก 6 ล้อแบบดัดแปลง ก่อนใช้วิทยุสื่อสารกดจุดชนวน เหตุระเบิดในรูปแบบ “คาร์บอมบ์” จัดเป็นความรุนแรงระดับสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา คาร์บอมบ์ครั้งนี้ ถือเป็นระเบิดคาร์บอมบ์ลูกแรกของปี 2565 และเป็นคาร์บอมบ์ลูกที่ 59 นับตั้งแต่มีสถานการณ์ไฟใต้ปะทุขึ้นมาเมื่อปี 2547 ก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2563-2564 พบว่า เกิดเหตุคาร์บอมบ์ขึ้นปีละ 1 ครั้ง วันที่ 17 มี.ค.63 เกิดระเบิดคาร์บอมบ์ขึ้นที่บริเวณหน้าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยคนร้ายได้ขับรถยนต์กระบะตอนเดียวสภาพเก่า ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นไมตี้เอ็กซ์ สีขาว ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน ดัดแปลงประกอบระเบิดเป็นคาร์บอมบ์ ไปจอดไว้ที่หน้าป้าย ศอ.บต. หลังจากนั้นจึงได้ระเบิดขึ้น แรงระเบิดทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ นักข่าว…

หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดของ สทป. ผ่านรับรองมาตรฐานกลาโหม พร้อมเดินหน้าผลิต

Loading

  22 มิ.ย.2565 – สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้เปิดเผยผลงานโครงการวิจัยและพัฒนาด้านหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของเทคโนโลยีเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางสนับสนุนภารกิจตรวจค้น พิสูจน์ทราบ เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด และภารกิจทางด้านความมั่นคงต่าง ๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางทหารและพลเรือน โดยรูปแบบการดำเนินงานมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทั้งสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อบูรณาการขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดให้สามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน จากการวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดอย่างต่อเนื่อง สทป.ได้มีการนำข้อเสนอแนะจากหน่วยผู้ใช้มาพัฒนาและปรับปรุงสมรรถนะ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับของหน่วยผู้ใช้ ทำให้หุ่นยนต์ของ สทป.ได้รับการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม พร้อมเดินหน้าเข้าสู่สายการผลิต จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ 1. ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก รุ่น D-EMPIR V.4 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สทป. กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นหุ่นยนต์ที่สนับสนุนภารกิจตรวจค้น พิสูจน์ทราบ เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด โดยออกแบบให้หุ่นยนต์มีความคล่องตัวในการเข้าพื้นที่ ทนต่อสภาพแวดล้อม ควบคุมและสั่งการแบบไร้สายระยะไกล 300 เมตร ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง และสามารถรับน้ำหนักของวัตถุต้องสงสัยได้ถึง 30 กิโลกรัม 2.…