เจออีก มัลแวร์ซ่อนใน Word แฮ็กเกอร์ช่างสรรหาวิธีการโจมตี

Loading

  นักวิจัยของ HP เปิดเผยข้อมูลของมัลแวร์ตัวใหม่ที่ฝังโค้ดเก็บไว้ในคุณสมบัติเอกสารของไฟล์เอกสาร Microsoft Word ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ   โค้ดอันตรายนี้มีชื่อว่า SVCReady มันจะถูกซ่อนอยู่ในไฟล์เอกสารที่ส่งผ่านอีเมลแบบกระจาย ในลักษณะของการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ซึ่งหากผู้ใช้กดดาวน์โหลดไฟล์เอกสารไป มัลแวร์จะทำงานโดยการรันเพย์โหลด และโหลดมัลแวร์เพิ่มเติมครับ หากเครื่องใดไม่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ก็จะมีความเสี่ยงมากที่สุด   เทคนิคซ่อนมัลแวร์ในลักษณะนี้ทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้นมาก เพราะมันมักจะไม่ถูกตรวจสอบผ่านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย และไฟล์เอกสาร Word ก็เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ทำให้หลายคนไม่ได้ทันระวังกับไฟล์ที่ถูกส่งมา และทำให้มันแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว   สิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ไห้มัลแวร์ตัวนี้เข้าสู่ระบบ คือมีกฎทองสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือ ห้ามเปิดไฟล์ที่แนบมา หากไม่มั่นใจที่มา หรือไม่ว่าเนื้อหาในอีเมลจะพยายามบอกให้เราต้องรีบโหลดแค่ไหนก็ตาม   เพราะอีเมลฟิชชิงมักจะพยายามใส่ความเร่งด่วนให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ ด้วยการเรียกร้องให้ดำเนินการบางอย่าง เช่น การบอกว่าบัญชีจะถูกบล็อกหรือเงินในบัญชีจะถูกหัก หากไม่กดลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์นี้ในทันที มีวิธีสังเกตที่น่าสนใจอีกอย่าง คือฟิชชิ่งพวกนี้มักจะแนบมาในอีเมลที่สะกดผิด   ที่มาข้อมูล   https://tech.co/news/malware-word-documents-email-inbox     ————————————————————————————————————————- ที่มา :         Techhub         …

สหรัฐฯ พร้อมแค่ไหน ในการต่อสู้ ‘สงครามไซเบอร์’ กับรัสเซีย?

Loading

USA-CYBER/ ในแต่ละวัน สหรัฐฯ ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้านไซเบอร์ ซึ่งบางส่วนมีต้นกำเนิดมาจากรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญมองว่าหากความตึงเครียดระหว่างกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโคว์เกี่ยวกับสงครามในยูเครนพุ่งสูงขึ้น ผู้นำรัสเซียอาจจะสั่งให้มีการโจมตีทางไซเบอร์แบบเต็มรูปแบบที่อาจจะทำลายระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของอเมริกาได้ การที่ประเทศโลกตะวันตกประสานงานกันอย่างดีและนำเอามามาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจมาใช้กับรัสเซียอย่างรวดเร็ว หลังการบุกรุกยูเครนนั้น ได้ทำให้ระบบการเงินของรัสเซียทรุดลงไปมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์มองว่า ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน อาจจะใช้วิธีที่รัสเซียเชี่ยวชาญที่สุด นั่นก็คือ การทำสงครามไซเบอร์ (Cyber Attack) เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ซึ่งเป็นโต้โผในการระดมให้ประเทศโลกตะวันตกลงโทษรัสเซียอย่างพร้อมเพียงและยังเป็นผู้ส่งอาวุธให้ยูเครนอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า การทำสงครามไซเบอร์ ซึ่งเป็นการโจมตีคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น อาจจะน่ากลัวกว่าการทำสงครามที่ใช้อาวุธทั่วไปเสียด้วยซ้ำ แต่หากถามว่า สหรัฐฯ มีความพร้อมแค่ไหนในการเตรียมรับมือกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามทางไซเบอร์นั้น ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนนัก นิโคลาส ไชลาน (Nicolas Chaillan) อดีตเจ้าหน้าที่หัวหน้างานด้านซอฟท์แวร์แห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ เมื่อ 6 ปีก่อน เพื่อช่วยต่อสู้กับภัยคุกคามไซเบอร์ในระดับระหว่างประเทศนั้น กล่าวว่าตั้งแต่เขาทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ เขารู้สึกผิดหวังในความสามารถของอเมริกาในการปกป้องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตัวเอง “สหรัฐฯ เป็นผู้นำในการโจมตีทางไซเบอร์ ดังนั้นเราจึงมีความสามารถในการโจมตีเป็นอย่างดี แต่ความสามารถในการตั้งรับหรือป้องกันตัวของเรานั้นยังอ่อนแอมาก เทียบได้กับระดับอนุบาล” ไชลานกล่าว   FILE – This Sept. 16, 2016, file photo…

ความเสี่ยง เรื่องของใคร? | พสุ เดชะรินทร์

Loading

  ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ในการประชุมของผู้บริหารหรือระดับกรรมการ คำว่า “ความเสี่ยง” ได้เป็นคำที่มีการใช้กันมากขึ้น เรื่องของความเสี่ยงไม่ใช่เรื่องใหม่ องค์กรจำนวนมาก ล้วนแต่มีระบบในการบริหารจัดการความเสี่ยง เพียงแต่ช่วงที่ผ่านมาความเสี่ยงที่องค์กรเผชิญนั้นจะยกระดับมากขึ้น จากเพียงแค่ความเสี่ยงในการดำเนินทั่วๆ ไปเป็นความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ที่สามารถส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กร นึกย้อนกลับไปก่อนสมัยโควิด ธุรกิจก็เผชิญกับความเสี่ยงจากดิจิทัลดิสรัปชั่น ตามด้วยความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบของโควิด เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มดีขึ้น ก็เผชิญความเสี่ยงในด้านต้นทุนพลังงาน ต้นทุนวัตถุดิบ เงินเฟ้อ รวมทั้งการขาดแคลนสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลก อย่างเช่น เหตุการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความเสี่ยงทางกลยุทธ์ที่สำคัญทั้งสิ้น ความเสี่ยงในเชิงกลยุทธ์ที่นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบที่ธุรกิจไม่ทันตั้งตัว ตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปีนี้ WEF ได้ออกรายงาน Global Risk Report 2022 ซึ่งระบุความเสี่ยงที่สำคัญ 10 ประการที่จะมีผลระดับโลกในอีกสิบปีข้างหน้าไว้ ซึ่งสามอันดับแรกเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ ส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) นั้นถูกจัดอยู่ในอันดับ 10 ซึ่งเชื่อว่าถ้าได้มีการจัดทำรายงานนี้ขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน ความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์คงจะถูกยกให้มีความสำคัญสูงกว่าอันดับ 10 แน่นอน คำถามสำคัญคือในองค์กรทุกแห่งได้ให้ความสำคัญและมีการพูดคุย วิเคราะห์กันในเรื่องของความเสี่ยงในเชิงกลยุทธ์ ในระหว่างผู้บริหารหรือกรรมการกันมากน้อยเพียงใด การพูดคุยในที่นี้ไม่ใช่เพียงแค่การคุยแบบบ่นไปบ่นมาเท่านั้น แต่จะต้องนำสามารถนำเรื่องของความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ที่เผชิญนั้นบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กรด้วย รายงานล่าสุดของ PwC…

จีน กัมพูชา เผยโครงการปรับปรุงฐานทัพเรือเรียม เป็นความสัมพันธ์ “หุ้มเหล็ก”

Loading

  วันที่ 9 มิ.ย. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า เจ้าหน้าที่จากจีนและ กัมพูชา ออกมาตอบโต้กรณีการยกระดับฐานทัพเรือ ทางใต้ของกัมพูชา ที่เป็นประเด็น ด้วยทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนเมื่อวันพุธที่ 8 มิ.ย. โดยทูตจีนประจำกรุงพนมเปญเรียกความร่วมมือทางทหารข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของ “หุ้นส่วนหุ้มเหล็ก” ของสองประเทศ     การเปิดโครงการดังกล่าวที่ฐานทัพเรือเรียม ซึ่งเจ้าหน้าที่กัมพูชาระบุจะใช้เงินช่วยเหลือจากจีนในการปรับปรุงท่าเรือ มีขึ้นท่ามกลางความกังวลของตะวันตกว่า จีนกำลังหาด่านหน้าทางทหารที่ฐานทัพดังกล่าวที่อยู่ริมอ่าวไทย พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา ปฏิเสธข้อกล่าวดังกล่าว โดยย้ำระหว่างพิธีดังกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของกัมพูชาซึ่งห้ามฐานทัพต่างประเทศในอาณาเขตของตน และว่ากัมพูชาเปิดรับความช่วยเหลือการพัฒนาจากประเทศอื่นๆ ตามรายงานของสำนักข่าวกัมพูชา พล.อ.เตีย บัญ บรรยายโครงการดังกล่าวเป็นการปรับปรุงเพื่อความทันสมัยที่รวมการก่อสร้างต่อเติมและการปรับปรุงท่าเรือแห้ง ท่าเทียบเรือ และทางลาดยาง “เราต้องการยกระดับฐานทัพเรือของเราเพื่อปกป้องชาติ ดินแดน และอธิปไตย” ขณะที่หวัง เหวินเทียน ทูตจีนประจำกรุงพนมเปญ กล่าวว่า การยกระดับฐานทัพเรือไม่ได้มุ่งเป้าไปที่บุคคลที่สาม และจะเอื้อต่อความร่วมมือในทางปฏิบัติใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างกองทัพทั้งสองชาติ “ในฐานะเสาหลักแข็งแกร่งของความเป็นหุ้นส่วนเหนียวแน่น ความร่วมมือทางทหารจีน-กัมพูชา อยู่ในผลประโยชน์พื้นฐานของสองประเทศและประชาชนของเรา” บทบาทของจีนที่ฐานทัพเรือเรียม ซึ่งครอบครองตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ใกล้ทางใต้สุดของกัมพูชาใกล้ทะเลจีนใต้ สหรัฐอเมริกาตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาขณะเฝ้าติดตามสัญญาณของจีนในการขยายเส้นทางทหารของจีน เวนดี เชอร์แมน รัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศสหรัฐฯ ย้ำความกังวลของสหรัฐฯ…

คลิปจุดชนวนถก สาวประท้วงกลางถนนขณะขบวนรถไบเดนแล่นผ่าน ตร.รวบตัวจับกดพื้น

Loading

ตำรวจหน่วยอารักขาประธานาธิบดี พุ่งตัวตะครุบสาวนักเคลื่อนไหวขณะถือโทรโข่งตะโกนใส่ขบวนรถไบเดนกลางถนน ชาวเน็ตถกเกินกว่าเหตุหรือไม่ กลายเป็นคลิปที่จุดประเด็นถกเถียงอย่างหนัก เหตุการณ์ที่ตำรวจลับ (Secret Service) ที่รับผิดชอบอารักขาความปลอดภัยประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตัดสินใจเข้าไปอุ้มตัวสตรีคนหนึ่งที่ถือโทรโข่งเดินดุ่มไปกลางถนน ตะโกนต่อต้านการห้ามทำแท้ง ขณะขบวนรถประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังแล่นผ่าน จนคนที่อยู่ในที่เกิดเหตุ เกรงว่าเธออาจถูกรถชน นาทีเข้ารวบตัวกลายเป็นเหตุชุลมุนเมื่อผู้ประท้วงดิ้นรนขัดขืนสุดกำลัง ทั้งเตะและถีบ กระชากหมวกและแว่นตาของตำรวจ ขณะอีกฝ่ายจับกดกับพื้น และบอกเธอว่า “หยุดขัดขืน ผมเป็นตำรวจลับ” ก่อนถูกสวมกุญแจมือในท้ายที่สุด ชมคลิปคลิก ตร.สหรัฐรวบผู้ประท้วงกลางถนน ขบวนรถที่นักเคลื่อนไหวหญิงรายนี้ทำท่าจะเข้าไปขวาง ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดนั่งมา ประธานาธิบดีไบเดน อยู่ระหว่างร่วมประชุมสุดยอดอเมริกา ที่ศูนย์ประชุมลอสแองเจลิส รัฐบาลไบเดนสนับสนุนให้สตรีมีสิทธิเลือกทำแท้ง แต่มีรายงานรั่วไหลออกมาว่าศาลสูงสุดของสหรัฐฯ กำลังพิจารณาคว่ำคำตัดสินประวัติศาสตร์เมื่อปีค.ศ.1973 ว่าด้วยสิทธิในการทำแท้งอย่างถูกกฎหมายของชาวอเมริกันทั่วประเทศ ที่เรียกกันว่ากฎหมาย Roe v Wade เรื่องสิทธิทำแท้งจึงกลับมาเป็นประเด็นร้อนในอเมริกาอีกครั้ง คลิปนาทีตำรวจจับนักเคลื่อนไหวหญิง ที่ Hailey Winslow ผู้สื่อข่าวของ FOX LA นำมาแชร์บนทวิตเตอร์มียอดเข้าชมเกือบ 6 ล้านวิว นับจากโพสต์เมื่อวาน (9 มิ.ย.) ท่ามกลางการถกเถียงอย่างหนัก ทั้งในประเด็นที่ว่า ตำรวจทำเกินกว่าเหตุหรือไม่…

แผนสยบสายลับต่างชาติ จีนตกรางวัลงามกองทัพตาสับปะรด

Loading

  จารชนต่างชาติทำงานลำบากแน่ๆ คราวนี้ เมื่อจีนเอาจริงเอาจังกับการข่าวกรองภาคชาวบ้าน กำหนดหลักเกณฑ์การตกเงินรางวัลผู้แจ้งเบาะแสเหมือนกันหมดทั่วประเทศ สูงสุดกว่า 1 แสนหยวน การให้เงินรางวัลแก่ผู้ชี้ช่องความเคลื่อนไหวของพวกสายลับต่างชาติ หรือพวกบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศเป็นสิ่งที่มีมานานหลายปีแล้วในจีน แต่คราวนี้เป็นการวางหลักปฏิบัติอย่างเป็นทางการ หวังดึงดูดใจประชาชนให้ช่วยกันสอดส่องเป็นหูเป็นตาในยามนี้ ที่จีนกำลังถูกคุกคามหนักจากหน่วยสืบราชการลับต่างชาติ รวมทั้งกองกำลังฝ่ายศัตรู ที่แฝงตัวมาในสารพัดรูปแบบ ผู้แทนกระทรวงรักษาความมั่นคงแห่งชาติเปิดเผยเรื่องนี้กับ “ลีแกลเดลี” (Legal Daily) สื่อของทางการจีนเมื่อวันอังคาร ( 7 มิ.ย.) ระบุว่า การให้เงินรางวัล ซึ่งมีหลักเกณฑ์ชัดเจนและเป็นทางการ จะสร้างขวัญกำลังใจให้ประชาชนรู้สึกฮึกเหิมและใช้กำลังกายกำลังสติปัญญาช่วยเหลืองานด้านความมั่นคงของชาติกันอย่างคึกคัก ตามประกาศของกระทรวงรักษาความมั่นคงแห่งชาติ พลเมืองผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับสินน้ำใจเป็นเงินสด ตั้งแต่ 10,000 หยวน (ราว 51,700 บาท) ไปจนถึง 100,000 กว่าหยวน (กว่าราว 517,000 บาท) ขึ้นอยู่กับว่าข่าวที่แจ้งนั้นว่ามีประโยชน์กับทางการมากน้อยแค่ไหน นอกจากนั้น ยังมีการมอบประกาศนียบัตรรับรองผลงานให้อีกด้วย ทว่าก่อนตัดสินใจจ่ายเงินรางวัล หน่วยงานความมั่นคงจะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และดูว่ามีอะไรใหม่ไหม โดยประชาชนสามารถแพร่งพรายข้อมูลเด็ดได้ทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์สายด่วน หรือส่งข้อมูลทางไปรษณีย์ ทางเว็บไซต์ หรือมาแจ้งด้วยตนเอง สำหรับกรณีมีผู้แจ้งเบาะแสเรื่องเดียวกันหลายคนนั้น ผู้กระซิบบอกคนแรกจะได้รับการพิจารณาก่อน แต่คนมาทีหลังก็ยังมีโอกาสได้ลุ้นสินน้ำใจค่าเหนื่อยด้วยเช่นกัน…