วิธีการสังเกตอีเมล Phishing ทั้งนี้อีเมลที่คุณอ่านทุกวันเป็นประจำจะมีบางอีเมลเป็นอีเมล Phishing หลอกลวงคุณอยู่ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าอีเมลนั้นเป็นอีเมลปลอม แม้ว่าข้อความหลอกลวงจำนวนมากส่วนใหญ่จะมองเห็นได้ง่าย แต่ก็มีบางข้อความที่ต้องตรวจสอบมากกว่านี้เพื่อดูว่าเป็นอีเมลจริงหรือไม่ นี่คือ 7 สัญญาณที่คุณต้องสังเกตอีเมล เพื่อป้องกันตัวคุณเองจาก Phishing หรืออีเมลหลอกลวง
วิธีการสังเกตอีเมล Phishing 7 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็นอีเมลหลอกลวง
1.สังเกตชื่อผู้ส่งผิดปกติหรือไม่
เช่นที่อยู่ของ Paypal ต้องเป็น @mail.paypal.com ไม่ใช่ @ppservice.com หรืออีเมลอื่นๆ เป็นต้น นี่อาจเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของอีเมลว่าเป็นอีเมลปลอมหรือไม่
2.มีพิมพ์ข้อความผิดหลายจุด
หากคุณได้รับอีเมลจากที่อ้างว่าเป็นหน่วยงานที่เป็นทางการ เช่น ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่หรือหน่วยงานของรัฐบาล คุณคงคาดหวังว่าการสะกดคำและไวยากรณ์ของอีเมลนั้นถูกต้อง ทางการคงหายากที่คุณจะได้รับอีเมลจากแบรนด์หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือแต่เต็มไปด้วยคำผิดไวยากรณ์ หรือข้อความผิดหลายจุด
3. ข้อความ “ด่วน”
หากคุณได้รับอีเมลที่ระบุว่าคุณต้องดำเนินการทันที เร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงผลที่ตามมา คุณมีแนวโน้มที่จะทำตามขั้นตอนที่อีเมลนั้นบอกไว้ มิจฉาชีพได้พิมพ์ข้อความแบบใส่ความรู้สึกลงในอีเมลฟิชชิ่ง เพื่อกดดันให้คุณที่กำลังอ่านนั้น หลงเชื่อคลิกและทำตามอีเมลที่บอกอย่างเร่งด่วน ดังนั้น หากได้จดหมายแบบนี้อย่าตกใจ ตั้งสติและเช็กตรวจสอบอีเมลเพื่อหาสิ่งที่น่าสงสัย ก่อนแล้วค่อยดำเนินการหากคุณรู้สึกว่าผู้ส่งนั้นเชื่อถือได้
4. ไฟล์แนบแปลกๆ ผิดปกติ ไม่รู้จัก
อาชญากรไซเบอร์มักใช้ไฟล์แนบที่เป็นอันตราย เพื่อติดตั้งมัลแวร์ลงในอุปกรณ์ของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัว ดังนั้นควรตรวจสอบไฟล์แนบที่คุณได้รับเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าไฟล์ที่ได้รับนั้นเปิดได้อย่างปลอดภัย โดยหมั่นสแกนไวรัสก่อนเปิดทุกครั้ง โดยทั่วไป ไฟล์แนบจะอยู่ในรูปแบบ .pdf, .jpg, .csv, .bmp, .doc และ .docx หากคุณเคยได้รับไฟล์แนบที่อยู่ในประเภทไฟล์ .exe, .vbs, .wsf, .cpl หรือ .cmd ให้ตรวจสอบด้วยความระมัดระวัง
5. ตรวจสอบลิงก์ที่ให้มา
ภาพ : ETDA
ในการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งโดยทั่วไป ผู้โจมตีจะส่งอีเมลถึงเหยื่อพร้อมลิงก์ปลอม หรือลิงก์อันตรายที่แนะนำให้คลิก โดยอ้างว่านี่คือหน้าเข้าสู่ระบบ หน้ายืนยัน หน้าดังกล่าวมักจะต้องป้อนข้อมูลส่วนตัว ซึ่งเป็นการดักรอขโมยข้อมูล ดังนั้นลองนำเม้าส์มาชี้ จะปรากฎ URL ออกมาดูว่าไปเว็บไหนด้วย
6. ระวังอีเมลขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
การขอข้อมูล Login ที่อยู่บ้าน เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน บัญชีธนาคาร อีเมล และอื่นๆ ล้วนเป็นข้อมูลที่ Hacker สามารถขายให้กับมิจฉาชีพเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้น หากคุณเคยได้รับอีเมลที่ร้องขอข้อมูลละเอียดอ่อน ให้หยุดและตรวจสอบจดหมาย ตรวจสอบลิงก์ที่ให้ไว้ ไฟล์แนบ ที่อยู่ผู้ส่ง และปัจจัยอื่นๆ ก่อนพิจารณาว่าจะให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของคุณหรือไม่ เนื่องจากหากให้ข้อมูลละเอียดอ่อนแล้ว เราอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก
7. ผู้ให้บริการอีเมล แจ้งเตือนว่าจดหมายฉบับนี้เป็นสแปม
ผู้ให้บริการอีเมลหลายรายมีคุณสมบัติป้องกันสแปม หากพบอีเมลที่น่าจะเป็นสแปม ผู้ให้บริการอีเมลของคุณจะแจ้งให้คุณทราบ โดยมักจะมีแถบคำเตือนที่ด้านบนของข้อความ ถ้าคุณเจอคำเตือนแบบนี้ อาจกำลังเผชิญกับอีเมลฟิชชิ่ง เนื่องจากอีเมลที่คุณได้รับอาจมีการส่งไปยังผู้รับคนอื่นๆ นับร้อยหรือนับพันคน แม้ว่าตัวตรวจจับสแปมของผู้ให้บริการอีเมลอาจไม่ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่คุณระวังคำเตือนที่คุณได้รับ ให้เช็กดูอีกครั้ง ว่าอีเมลที่เป็นปัญหานั้น อันตรายจริงหรือไม่
การเปิดอีเมลแต่ละครั้งควรตรวจสอบ 7 สัญญาณอีเมลหลอกลวงนี้ด้วย เพื่อป้องกันการโดนหลอก กลโกงต่างๆ ผ่านอีเมลที่อาจเกิดขึ้น
อ้างอิง Makeuseof cyfence , ETDA cover iT24Hrs
ที่มา : it24hrs / วันที่เผยแพร่ 17 ก.ค.65
Link : https://www.it24hrs.com/2022/7-signs-email-phishing-scams/