สภาอเมริกันสอบกรณีจลาจลรัฐสภา 6 ม.ค. กับคำถาม ‘ทรัมป์ก่ออาชญากรรมหรือไม่?’

Loading

FILE – Supporters of President Donald Trump storm the Capitol, Jan. 6, 2021, in Washington.   คณะกรรมาธิการตรวจสอบเหตุจลาจลรัฐสภา 6 ม.ค. 2021 ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ รับฟังคำให้การจากอดีตเจ้าหน้าที่ในรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ หลายคน เกี่ยวกับความพยายามของอดีตปธน.ทรัมป์ ที่ต้องการคว่ำผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 รวมทั้งการปลุกระดมให้ผู้สนับสนุนตนบุกอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ จนนำไปสู่เหตุจลาจลที่มีผู้เสียชีวิตหลายราย   ถึงกระนั้น คำถามสำคัญที่คนอเมริกันต้องการคำตอบ คือ การกระทำของอดีตผู้นำสหรัฐฯ ผู้นี้เข้าข่ายก่ออาชญากรรมหรือไม่?   แคสซิดี ฮัทชินสัน หนึ่งในคณะทำงานของทำเนียบขาวในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ให้การต่อคณะกรรมาธิการตรวจสอบเหตุจลาจลรัฐสภา 6 ม.ค. 2021 ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร เกี่ยวกับการกระทำของอดีตผู้นำสหรัฐฯ ทั้งก่อนและระหว่างที่กำลังเกิดการบุกรุกอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ ในวันนั้น   Cassidy Hutchinson, former aide to…

ทัพอากาศไทย ส่ง F-16 บินสกัด “มิกซ์ 29 เมียนมา” หลังบินถล่มฐานทหารกะเหรี่ยง

Loading

  วันที่ 1 ก.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานจากชายแดนไทย-เมียนมา อ.พบพระ จ.ตาก ว่า มีรายงานจากศูนย์วิทยุฝ่ายความมั่นคงชายแดน แจ้งว่าเครื่องบิน F-16 ของกองทัพอากาศไทยได้พุ่งทะยานขึ้นจากสนามบินตาคลี จ.นครสวรรค์ ใช้เวลาบิน 5 นาที ถึงพื้นที่ อ.พบพระ และมีการบิน ตรวจการณ์ วนไป-มา เพื่อบินสกัดเตือนเครื่องรบมิกซ์ 29 ของกองทัพอากาศเมียนมาที่เปิดปฎิบัติการทางทหารอีกระลอกใหม่ในวันนี้   การส่ง F-16 บินตรวจการณ์ชายแดน ของกองทัพอากาศ เพื่อมิให้มีการรุกล้ำอธิปไตยของไทย โดยเรื่องดังกล่าวกองทัพสถานีภาคพื้นสามารถตรวจจับจากเรดาห์ดาวเทียม ถึงเส้นทางการบินของเครื่องเมียนม่าได้ว่ามีการปฎิบัติการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด   โดยในวันนี้ได้ มีเครื่องบินรบ มิกซ์ 29 ของกองทัพเมียนมาบินเข้ามาโจมตีทั้งระเบิดคัดบอมบ์และยิงด้วยจรวจบริเวณรอบฐานอูเกรทะ บ้านซูการี จ.เมียวดี ตรงข้ามบ้านวาเลย์ใต้ ต.วาเลย์ อ.พบพระ จ.ตาก แล้ว จำนวน 9 เที่ยว โดยกลุ่มกองกำลังกระเหรี่ยง มีการใช้อาวุธปืนต่อสู้อากาศยานยิงต่อสู้เป็นระยะๆ แต่ไม่ได้สร้างความเสียหายใดใดแก่เครื่องบินทัพเมียนมา   ขณะเดียวกันทหารเมียนมาได้ใช้อาวุธปืนครกขนาด 120 มม…

OpenSea แจ้งเตือนผู้ใช้ให้ระวังฟิชชิ่งเมล หลังพบข้อมูลอีเมลแอดเดรสหลุดจำนวนมาก

Loading

  OpenSea แพลตฟอร์ม NFT ได้แจ้งเตือนผู้ใช้กรณีข้อมูลหลุดเกี่ยวกับอีเมลซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงเรื่องฟิชชิ่งได้   OpenSea ระบุว่า พนักงานที่ Customer.io ผู้ให้บริการอีเมลที่ทำสัญญากับ OpenSea ใช้สิทธิ์การเข้าถึงของพนักงานเพื่อดาวน์โหลดและแชร์อีเมลแอดเดรสของผู้ใช้งาน OpenSea รวมถึงผู้สมัครสมาชิกรับข่าวสาร และนำข้อมูลนี้ไปส่งให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาต   สำหรับสเกลการหลุดครั้งนี้ OpenSea ไม่ได้ระบุเป็นตัวเลขที่ชัดเจน แต่ทางบริษัทระบุไว้ว่า “ถ้าคุณเคยแชร์อีเมลให้ OpenSea ในอดีต ให้สันนิษฐานได้เลยว่าได้รับผลกระทบไปด้วย” ซึ่งอนุมานได้ว่าข้อมูลหลุดครั้งนี้น่าจะใหญ่มาก และทางบริษัทกำลังร่วมมือกับ Customer.io เพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว และจะรายงานไปยังเจ้าพนักงานตามกฎหมาย   การหลุดครั้งนี้อาจเป็นสาเหตุของอีเมลฟิชชิ่งได้ในอนาคต ดังนั้น OpenSea จึงแจ้งเตือนผู้ใช้ว่าอย่าดาวน์โหลดอะไรจากอีเมล, หมั่นเช็คโดเมนเสมอ, ตรวจสอบ URL ในทุกเพจที่อยู่ในอีเมล, อย่าแชร์หรือยืนยันรหัสผ่านหรือ secret ที่ใช้งานกับ wallet ใด ๆ และอย่า sign ธุรกรรมใด ๆ ผ่านทางอีเมล   ที่มา – TechCrunch, OpenSea…

คำเตือนของ FBI : โจรกำลังใช้ Deepfakes เพื่อสมัครงานเทคโนโลยีระยะไกล

Loading

Credit : iStock   ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง กับปัญหาด้านเศรษฐกิจ ภาวะการว่างงานสูงส่งผลให้จำนวนการสมัครงานต่างต่อแถวกันเข้าสัมภาษณ์งานมากขึ้นเช่นกัน การประยุกต์ใช้รูปแบบการสัมภาษณ์งานออนไลน์เป็นสิ่งที่ดีและปลอดภัยต่อการแพร่เชื้อไวรัส   ตามรายงานข้อมูลของ FBI อาชญากรกำลังใช้ Deepfakes เป็นช่องทางขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ระหว่างการสัมภาษณ์งานออนไลน์   ขณะนี้มีการร้องเรียนเพิ่มมากขึ้นมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต (IC3) ของ FBI เกี่ยวกับการใช้ Deepfakes และการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้เพื่อสมัครการทำงานทางไกล ส่วนใหญ่เป็นงานด้านเทคโนโลยี   การใช้ Deepfakes หรือเนื้อหาเสียง ภาพ และวิดีโอสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นด้วย AI หรือเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง ได้รับความสนใจอย่างมากจากภัยคุกคามจากฟิชชิ่ง   รายงานไปยัง IC3 ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานว่างในด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ การเขียนโปรแกรม ฐานข้อมูล และฟังก์ชันงานที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ ซึ่งทุกตำแหน่งงานจะรายงานการใช้ข้อมูลประจำตัวและการตรวจสอบประวัติภูมิหลังก่อนการจ้างงานโดยพบว่า PII ที่ได้รับจากผู้สมัครบางคนนั้นเป็นของบุคคลอื่น   รูปแบบที่อาชญากรนิยมใช้ เป็นการใช้เสียงปลอมในระหว่างการสัมภาษณ์ออนไลน์กับผู้สมัคร ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้สังเกตเห็นความไม่สอดคล้องกันของภาพ การเคลื่อนไหวของริมฝีปากของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ในกล้องนั้นไม่ได้ตรงกับเสียงของผู้พูด เช่น การไอ จาม หรือการได้ยินอื่นๆ   การโจมตีที่ฉ้อโกงในกระบวนการจัดหางานไม่ใช่ภัยคุกคามใหม่ แต่การใช้…