คณะกรรมาธิการสภาล่างสหรัฐซักฟอกการตลาดของผู้ผลิตปืน

Loading

  แม้ผู้ผลิตปืนของสหรัฐจะสร้างรายได้ราว 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36,000 ล้านบาท) ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จากการขายอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติประเภทเออาร์-15 แต่บรรดาสมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐหลายคนวิจารณ์ผู้ผลิตอาวุธปืนจำนวนมาก หลังเกิดเหตุกราดยิงที่น่าสะเทือนขวัญหลายครั้งในประเทศ   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ว่า นางแคโรลิน มาโลนีย์ หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมาธิการการปฏิรูปและการกำกับดูแล ของสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเดโมแครต กล่าวหาผู้ผลิตปืนในสหรัฐเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์การตลาดที่ “อันตราย” เพื่อขายอาวุธปืนให้กับคนหนุ่มสาว และมีความล้มเหลวในการ “ยอมรับบทบาทของพวกเขาต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศ”   ทั้งนี้ ในการพิจารณาคดีที่มีญาติของเหยื่อเหตุกราดยิงในช่วงที่ผ่านมาเข้าร่วมรับฟัง พรรคเดโมแครตเรียกร้องให้มีการยกเลิกการคุ้มครองผู้ผลิตปืนจากการฟ้องร้องคดี เพื่อที่พวกเขาเหล่านั้นจะสามารถมีส่วนรับผิดชอบได้ ขณะที่นายมาร์ตี แดเนียล ประธานบริหารของบริษัทแดเนียล ดีเฟนส์ ผู้ผลิตปืนที่ชายหนุ่มใช้กราดยิงเด็กนักเรียนและครู 2 คน ในเมืองยูวัลดี รัฐเทกซัส แก้ต่างให้กับการดำเนินธุรกิจของบริษัทของเขา   ABC News   “จุดประสงค์โดยนัยของการพิจารณาคดีครั้งนี้ คือ เพื่อใส่ร้าย กล่าวโทษ และห้ามปืนไรเฟิลกีฬามากกว่า 24 ล้านกระบอกที่อยู่ในยอดจำหน่ายแล้ว ซึ่งชาวอเมริกันหลายล้านคนครอบครองอย่างถูกกฎหมาย…

ติดกระบองให้ยักษ์

Loading

  ในขณะที่สังคมไทยตื่นตัวกับกฎหมาย PDPA ที่มุ่งเน้นคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะมีการกำหนดโทษทั้งทางแพ่งและอาญา ตามความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ประเด็นที่ต้องตระหนักไปพร้อมกัน ก็คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร และการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอก ที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล ได้เช่นการจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร โรงพยาบาล รวมทั้งความมั่นคงในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ไปจนถึงความมั่นคงของประเทศ ที่นับวันปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น   ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เป็นภัยความมั่นคงระดับประเทศ หรือความเสียหายทางธุรกิจ เช่น กรณี Apple ได้ตรวจสอบความปลอดภัยและได้พบมัลแวร์ Pegasus ในไอโฟนของนักเคลื่อนไหวการเมืองไทยกว่า 30 คน หรือกรณี ที่ T-Mobileต้องจ่ายเงิน350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 12,800ล้านบาท เพื่อชดเชนให้ยุตืคดีที่ลูกค้าฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท ฐานปล่อยให้ถูกแฮกข้อมูลรั่วไหล 76.6ล้านคน   โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมา ที่มีการทำงานที่บ้านหรือเวิร์กฟรอมโฮม เพราะคนอยู่หน้าจอออนไลน์กันมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้ตกเป็นเหยื่อ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นคนส่วนใหญ่ก็มักจะคิดถึงการติดตามไล่ล่าตัวผู้กระทำผิด และมักคิดถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือตำรวจไซเบอร์เพียงเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหานอกจากจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของแต่ละองค์กรแล้ว ปัจจุบันไทยเรามีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการโจตีทางไซเบอร์ โดยมีพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562  …

โจรแสบ! ล้วงคองูเห่า ขโมย “พญาคชสีห์ราชเสนีย์พิทักษ์” ตั้งอยู่หน้า สทป.กระทรวงกลาโหม

Loading

  โจรล้วงคองูเห่า ย่องลัก “พญาคชสีห์ราชเสนีย์พิทักษ์” ตั้งประดิษฐานซุ้มหน้า อาคารสำนักงาน สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม เช็คกล้องวงจรปิด พบโจรขี่ จยย.ขโมย   จากกรณีเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 เกิดเหตุคนร้ายขโมย พญาคชสีห์ราชเสนีย์พิทักษ์ เนื้อโลหะ สีดำซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ในซุ้มด้านหน้าบริเวณทางเข้าอาคารสำนักงานสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ไป 1 องค์ โดยคนร้ายไม่เกรงกลัวกฎหมาย ทั้งทีเป็นสถานที่ราชการ ตั้งอยู่หน้าสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เขตทหารแท้ๆ คาดว่า คนร้ายรายนี้คงอาศัยช่วงวันหยุดยาวเข้ามาขโมย พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่วนพญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านขวาคู่กันไม่ถูกคนร้ายขโมยไป   ต่อมา นายสมเกียรติ พันชนะ อายุ 45 ปี รปภ.สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เข้าแจ้งความกับ พ.ต.ท.ณัฐธนพล อินทรเรืองศร สารวัตร (สอบสวน) สภ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ว่า ขณะเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ภายในเมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ ต.บางพูด…

สถานทูตสหรัฐในเมียนมาเตือนคนระวัง หวั่นเหตุโจมตีทหาร-ลอบสังหาร-วางระเบิด

Loading

(แฟ้มภาพ) AFP   สถานทูตสหรัฐในเมียนมาเตือนคนระวัง หวั่นเหตุโจมตีทหาร-ลอบสังหาร-วางระเบิด   สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในนครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ออกประกาศเตือนความปลอดภัยพลเมืองสหรัฐในเมียนมาว่า สถานทูตตระหนักถึงข้อความที่โพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ที่เรียกร้องให้มีการใช้ความรุนแรงต่อระบบปกครองของทหารทั่วเมียนมา โดยเฉพาะในนครย่างกุ้ง   สถานทูตได้แนะนำอย่างยิ่งให้อยู่ห่างจากกองกำลังรักษาความปลอดภัย และเตรียมพร้อมสำหรับการลอบสังหาร รวมถึงการโจมตีด้วยระเบิดต่อกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารรวมถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง แม้จะไม่มีภัยคุกคามเป็นการเฉพาะต่อชาวต่างชาติ แต่ความกังวลหลักมาจากภัยคุกคามของการอยู่ผิดที่ผิดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเรียกร้องให้ใช้ความรุนแรงจากกองกำลังป้องกันประชาชน (พีดีเอฟ) ที่กระจายอยู่ทั่วเมือง   การตอบโต้อย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารต่อการโจมตี การเดินขบวน หรือการคุกคามอื่นๆ ต่ออำนาจรัฐ ทำให้ทุกคนต้องระมัดระวังในสภาพแวดล้อม และพิจารณาการเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วนครย่างกุ้ง ทุกคนต้องตระหนักว่าการโจมตีสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่และทุกเวลา และยังต้องตระหนักว่าอาจเกิดปัญหาการสื่อสารขัดข้องขึ้นได้   พร้อมกันนี้ยังแนะนำให้เตรียมอาหาร น้ำ และยาสำหรับเวลา 7 วัน ในกรณีที่มีการประกาศล็อกดาวน์ หรือในกรณีที่การเดินทางไปทั่วเมืองอาจเป็นอันตรายเกินไป และต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัย รวมถึงความสามารถในการสื่อสารของตนเอง   สถานทูตสหรัฐยังขอให้พลเมืองของตนในเมียนมาติดตามข่าวสารทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงโซเชียลมีเดียอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าเอกสารเดินทางสามารถใช้งานได้และเข้าถึงได้ง่าย ตรวจสอบแผนการรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลของตนเอง และเตรียมแผนฉุกเฉินซึ่งไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐบาลไว้เสมอ ให้เข้ารับวัคซีนโควิดเพื่อความสะดวกในการเดินทาง และให้ติดตามข้อมูลที่กระทรวงต่างประเทศแนะนำว่าสิ่งใดที่ทำได้และทำไม่ได้ในภาวะวิกฤต     ————————————————————————————————————————- ที่มา :    มติชนออนไลน์ …