กฎหมายควบคุมการใช้อุปกรณ์ติดตามคน-สิ่งของ | ณิชนันท์ คุปตานนท์

Loading

  AirTag เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยติดตามสิ่งของผ่านการเชื่อมต่อ Bluetooth กับสมาร์ทโฟน ซึ่งบริษัท Apple ได้พัฒนาขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. ปี 2564 โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามสิ่งของส่วนบุคคล เช่น กุญแจ กระเป๋า ซึ่งอาจตกหล่น หรือทำหาย หรือใช้ตามหารถที่จอดไว้ โดยที่ทางบริษัทเองก็ได้เน้นย้ำจุดประสงค์ของการออกแบบว่า ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ติดตามผู้คนหรือทรัพย์สินของผู้อื่น อีกทั้งประณามการใช้ AirTag ในทางที่ผิด และด้วยเหตุนี้ Apple จึงได้พัฒนาระบบแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบกรณีมีการติดตามที่ไม่พึงประสงค์ด้วย หลังจากที่เริ่มมีรายงานการใช้ AirTag ผิดวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ดี ระบบแจ้งเตือนดังกล่าวยังมีจุดอ่อน โดยเฉพาะในกรณีผู้ที่ถูกติดตามไม่ได้ใช้ iPhone หรืออุปกรณ์อื่นๆ ของ Apple ด้วยลักษณะของการออกแบบ AirTag ที่มีขนาดเล็ก สะดวกต่อการใช้งานในราคาที่ไม่แพง และแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานถึงหนึ่งปี แต่ไม่ได้ออกแบบป้องกันการถูกเอาไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์หรือเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม จึงยังคงเกิดกรณีที่มีผู้ใช้บริการผิดวัตถุประสงค์ โดยการนำไปใช้ติดตามบุคคล เช่น นำไปใส่ไว้ในรถหรือเสื้อผ้าของคนที่ต้องการติดตาม และในหลายๆ กรณีก็เป็นเหตุนำไปสู่อาชญากรรมร้ายแรงตามมา   (ภาพถ่ายโดย kat wilcox) ไม่ว่าจะเป็นการฆาตกรรม หรือแม้กระทั่งการค้ามนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้จากรายงานข่าวอาชญากรรมไม่ว่าจะเรื่อง…

เตือน!! แม่ค้าออนไลน์ระวังสลิปปลอม แนะวิธีเช็ก-ช่องทางแจ้งความออนไลน์

Loading

“ดีอีเอส” เตือนภัย พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ระวังโดนหลอก ใช้สลิปบัญชีธนาคารปลอมแจ้งว่าชำระเงินแล้ว แนะวีธีตรวจสอบ หากตกเป็นเหยื่อโดนหลอกและช่องทางแจ้งความออนไลน์ น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวการแจ้งเตือนพ่อค้าแม่ค้าระวังภัยออนไลน์จากลูกค้าใช้สลิปบัญชีธนาคารปลอมแจ้งว่าชำระเงินแล้ว หลอกให้ส่งของโดยไม่ได้โอนเงินจริง และพบมีคนทำโปรแกรมสร้างสลิปปลอมมาขาย โดยสามารถกรอกชื่อผู้รับ ผู้โอนเป็นใครก็ได้ ตัวเลขเท่าใด โอนวันไหน เวลาไหน แล้ว สร้างภาพสลิปออกมา จึงขอแจ้งเตือนให้พ่อค้า แม่ค้า ระมัดระวัง ควรสังเกตสลิปก่อนที่จะส่งของให้ลูกค้า ตรวจสอบยอดเงินโอนในมือถือก่อนว่ามียอดเงินเข้ามาแล้วจริงๆ ก่อนส่งมอบสินค้า ทั้งนี้โดยทั่วไป การทำธุรกรรมโอนเงินผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร ในแต่ละครั้งธนาคารจะมีการบันทึกสลิป การทำธุรกรรมที่มีระบุรายละเอียดในการโอนเงิน คือ ชื่อผู้รับ/ผู้ส่ง , วัน เดือน ปี เวลา ที่ทำรายการ , จำนวนเงิน ,QR Code เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดหรือมีปัญหาในการทำธุรกรรม “ในกรณีสลิปปลอมมิจฉาชีพอาจจะใช้ช่องโหว่ของภาพสลิปมาดัดแปลง ทำซ้ำ เพื่อให้พ่อค้า แม่ค้า ที่ไม่ได้ทันสังเกต เห็นภาพสลิปโอนเงินปลอม ที่มิจฉาชีพแสดงหรือส่งไลน์ไปเป็นหลักฐานให้กับร้านค้าต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมปลอมสลิป…

มาแล้ว!! เพโลซีเปิดฉากเยือน “เอเชีย” เข้าสิงคโปร์-มาเลย์-เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น แต่ไม่ปริปากเรื่อง “ไต้หวัน” เพนตากอนเตรียมส่งบินขับไล่-เรือรบอารักขาเพียบ ยัน “ยังไม่พบภัยคุกคามทางทหารจากปักกิ่ง”

Loading

รอยเตอร์/เอพี/เอเจนซีส์ – ประธานสภาคองเกรสสหรัฐฯ แนนซี เพโลซี ไม่สนแรงกดดันจากจีนเปิดฉากเริ่มทัวร์เยือนอินโดแปซิฟิกอย่างเป็นทางการวันอาทิตย์ (31 ก.ค.) เปิดฉากแวะอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวาย ออกแถลงการณ์แผนการเยือน 4 ชาติเข้า “สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น” แต่ไม่ยอมเอ่ยถึง “ไต้หวัน” เพนตากอนเตรียมแผนส่งเครื่องบินรบและเรือรบรวมสิ่งสอดแนมคุ้มกันถ้าเพโลซีบินเข้าไต้หวัน ชี้ยังไม่พบความเคลื่อนไหวทางการทหารอย่างผิดปกติจากจีน รอยเตอร์รายงานวันนี้ (31 ก.ค.) ว่า สำนักงานประธานรัฐสภาสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ล่าสุดวันอาทิตย์ (31) ว่า “ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ แนนซี เพโลซี จะนำตัวแทนสภาคองเกรสสหรัฐฯ เข้าสู่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก รวมถึงการเยือนสิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น” และในแถลงการณ์ยังระบุว่า “การเยือนจะมีเป้าหมายไปที่ความมั่นคงร่วม ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ และการจัดการประชาธิปไตยภายในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก” CNN ชี้ว่า ในแถลงการณ์ทางการของเพโลซีไม่ได้เอ่ยถึง “ไต้หวัน” ถึงแม้มีการคาดการณ์เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาชี้ว่า ประธานสภาคองเกรสสหรัฐฯ อาจเดินทางไปเยือน รอยเตอร์รายงานว่า ในวันอาทิตย์ (31) โฆษกกองทัพอากาศ เสิน จิ่นเค่อ…

เป้าหมายใหม่ มัลแวร์โผล่ Facebook จ้องขโมยบัญชีธุรกิจ

Loading

  Facebook กำลังตกเป็นเป้าหมายใหม่ของแฮกเกอร์ ที่ใช้วิธีสอดแนมเจาะเข้าบัญชีธุรกิจ หรือ Facebook Business ผ่านช่องทางติดต่อของบรรดาแอดมิน ที่เปิดเผยไว้ในเว็บดังอย่าง LinkedIn บนเว็บของคนทำงาน มีข้อมูลที่ระบุได้ว่ามีสิทธิ์เข้าถึงบัญชีธุรกิจของ Facebook ในระดับสูง อาชญากรไซเบอร์จึงตั้งเป้าไปที่คนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ นักวิจัยที่ WithSecure องค์กรด้านการรักษาความปลอดภัย ค้นพบหลักฐานที่ระบุได้ว่า เหยื่อชาวเวียดนาม โดนโจมตีด้วยมัลแวร์ Ducktail ที่สามารถเจาะเข้าถึงบัญชีบัตรเครดิตที่บันทึกไว้สำหรับซื้อโฆษณากับ Facebook พฤติกรรมของ Ducktail จะค่อยๆ เลือกเป้าหมายกลุ่มเล็ก และทำอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้มีใครทันสังเกตเห็น รวมถึงใช้ช่องทางโซเชียลโน้มน้าวใจให้เป้าหมายดาวน์โหลดไฟล์จาก Cloud ที่น่าเชื่อถือ อย่าง Dropbox หรือ iCloud โดยใช้ชื่อไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ ทันทีที่ดาวน์โหลดไฟล์และติดตั้งในระบบ มัลแวร์ Ducktail จะขโมยคุกกี้ของเบราว์เซอร์ และเข้าถึง Facebook เพื่อขโมยข้อมูลจากบัญชี และปรับแต่งช่องทางเพื่อดูดเงินในบัญชีออกไป ที่สำคัญพฤติกรรมนี้กำลังแพร่กระจายไปในหลายประเทศ ในขณะที่โฆษกของ Meta ออกมายอมรับว่า แฮกเกอร์มีความพยายามหลบเลี่ยงการตรวจจับ ซึ่ง Facebook เองก็ได้อัปเดตระบบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง…

สำนักข่าว STT ของฟินแลนด์ถูกโจมตีทางไซเบอร์ ด้านรัฐบาลเคยออกมาเตือนว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง

Loading

  สำนักข่าว STT ของฟินแลนด์ระบุว่า ได้ถูกโจมตีทางไซเบอร์จนระบบบางส่วนล่ม โดยกำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนว่ามีการหลุดรั่วของข้อมูลหรือไม่ แต่ยังไม่รู้ว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ด้าน คิมโม ลาห์กโซเนน (Kimmo Laaksonen) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ STT ระบุว่าได้เข้าประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ในขณะที่ พานู ทูนาลา (Panu Tuunala) บรรณาธิการจัดการของ STT ชี้ว่า ทางสำนักข่าวจะมีการยกระดับการป้องกันภัยไซเบอร์ในอนาคต “มากกว่า 6 เดือนที่ผ่านมาที่เราได้ตระหนักว่าเราอาจจะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ เนื่องจากเราสังเกตเห็นการโจมตีองค์กรที่มีลักษณะคล้ายกับเราทั่วทั้งยุโรป” ลาห์กโซเนนให้สัมภาษณ์กับ Yle สำนักข่าวของรัฐบาลฟินแลนด์ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลฟินแลนด์ได้ออกมาเตือนถึงภัยการโจมตีทางไซเบอร์ที่จะเพิ่มสูงขึ้น ภายหลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา ในเดือน พฤษภาคม Traficom หน่วยงานด้านคมนาคมและการสื่อสารของฟินแลนด์ได้ออกมาเตือนว่าการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ NATO ของฟินแลนด์ จะเพิ่มความเสี่ยงในการโจมตีทางไซเบอร์จากรัสเซีย ที่มา Yle Uutiset พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส     ที่มา :…

ทำไม “อินโดนีเซีย” สั่งแบน “Steam – Epic Games – Paypal”

Loading

กระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของอินโดนีเซีย สั่งแบนผู้ประกอบการธุรกิจอินเทอร์เน็ต อาทิ Steam , Epic Games , PayPal และอีกมากมาย ที่ต้องรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า จนกว่าจะผ่านกฎหมายใหม่ของประเทศที่ควบคุมด้านเนื้อหา รัฐบาลอินโดนีเซีย บล็อกการเข้าถึงบริการออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Steam , Epic Games , PayPal และ Yahoo หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ ล้มเหลวในการปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายควบคุมเนื้อหาที่จำกัดของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามกฎ บริษัทที่ถือว่าเป็น “ผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว” ต้องลงทะเบียนกับฐานข้อมูลของรัฐบาลเพื่อดำเนินการในประเทศ มิฉะนั้นจะถูกแบนทั่วประเทศ อินโดนีเซียให้เวลาบริษัทต่าง ๆ จนถึงวันที่ 27 ก.ค. เพื่อปฏิบัติตามและตั้งแต่นั้นมาก็สั่งห้ามบริษัทที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ข้อกำหนดนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่ครอบคลุมซึ่งเรียกว่า MR5 ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2563 ตามที่ระบุไว้โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ กฎหมายดังกล่าวทำให้รัฐบาลชาวอินโดนีเซียสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้เฉพาะราย รวมทั้งบริษัทบังคับให้ลบเนื้อหาที่ “รบกวน” ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือถือว่าผิดกฎหมาย แพลตฟอร์มมีเวลาสี่ชั่วโมงในการดำเนินการกับคำขอลบ “อย่างเร่งด่วน” หรือ 24 ชั่วโมงในกรณีของเนื้อหาอื่น ๆ รายงานปี…