เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงเมื่อเกิด เหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 (ประกาศฯ) ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับองค์กร โดยระบุถึงองค์กรที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลคลขึ้น เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระยะแรกที่กฎหมายมีผลใช้บังคับมีความเหมาะสม “ความมั่นคงปลอดภัย” ตามประกาศฯ ฉบับดังกล่าว หมายความว่า “การธำรงไว้ซึ่งความลับ (confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ” จากความหมายข้างต้นองค์กรต่าง ๆ จึงมีหน้าที่ต้องดูแลปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรให้สามารถคงการเป็นความลับ (C) มีความถูกต้อง (I) และพร้อมใช้งาน (A) โดยการจัดให้มีมาตรการเชิงองค์กร (organizational measures) และมาตรการเชิงเทคนิค (technical measures) ที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงมาตรการทางกายภาพ (physical measures) ที่จำเป็นด้วย โดยคำนึงถึงระดับความเสี่ยงตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนโอกาสเกิดและผลกระทบจากเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล…

“วิคเตอร์ บูท” เป็นใคร ทำไมรัสเซียอยากได้ตัวคืนจากสหรัฐฯ?

Loading

  ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดความคาดหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า สหรัฐฯ จะปล่อยตัว วิคเตอร์ บูท ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธผิดกฎหมาย เจ้าของฉายา ‘พ่อค้าความตาย’ เพื่อแลกกับอิสรภาพของ บริตนีย์ ไกรเนอร์ นักบาสเกตบอลหญิงชาวอเมริกัน เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก 2 สมัย และนาย พอล วีแลน อดีตนาวิกโยธิน ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในรัสเซียทั้งคู่ สำหรับฝ่ายรัสเซีย สื่อในประเทศรายงานหลายเดือนแล้วว่า น.ส.ไกรเนอร์ ผู้ถูกจับที่สนามบินในมอสโก เมื่อกุมภาพันธ์ ในข้อหานำเข้ายาเสพติด และนายวีแลน ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 16 ปี ฐานจารกรรมข้อมูล อาจถูกใช้เพื่อแลกตัวนายบูท ซึ่งรัฐบาลเครมลินเรียกร้องให้สหรัฐฯ ปล่อยตัวมานาน แต่รัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ปิดปากเงียบเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตลอด จนกระทั่งในวันพุธที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ก็ออกมาพูดถึงเรื่องความพยายามในการนำตัว น.ส.ไกรเนอร์กับนายวีแลน กลับบ้านเป็นครั้งแรก โดยระบุว่า สหรัฐฯ ได้ยื่นข้อเสนอที่ใหญ่มากให้รัสเซียพิจารณา แต่ไม่เผยรายละเอียด อย่างไรก็ตาม…

โดรนสหรัฐปลิดชีพหัวหน้าอัล-กออิดะห์ “ไอย์มาน อัล-ซาวาฮิรี”

Loading

  นายไอย์มาน อัล-ซาวาฮิรี ผู้นำสูงสุดของกลุ่มอัล-กออิดะห์ เสียชีวิตในอัฟกานิสถาน จากปฏิบัติการโจมตีโดยโดรนของสหรัฐฯ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 ส.ค. โดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวระดับสูงด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐบาลวอชิงตันปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายในอัฟกานิสถาน “ต่อเป้าหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอัล-กออิดะห์” เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จด้วยดี และไม่มีพลเรือนได้รับผลกระทบ โดยผู้เสียชีวิตคือนายไอย์มาน อัล-ซาวาฮิรี ผู้นำสูงสุดของกลุ่มอัล-กออิดะห์ ทั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า สหรัฐฯ ซึ่งตอนนี้ไม่มีทหารประจำการอยู่ในอัฟกานิสถานแล้ว ยืนยันได้อย่างไร ว่าผู้เสียชีวิตคืออัล-ซาวาฮิรี แต่ปฏิบัติการที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่า สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ให้กับกลุ่มอัล-กออิดะห์ นับตั้งแต่หน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ ลงพื้นที่   President Biden will speak at 7:30 p.m. ET on "a successful counterterrorism operation" against an al Qaeda target in Afghanistan, the White House says…

มาเพิ่มอีก สาวก Android เช็คด่วน พบแอปฯ ปลอมอีกนับสิบ

Loading

เช็คด่วน !! แอป Android ปลอมล่าสุด เนียนเป็นแอปแต่งภาพ แอปเคลียร์เคลียร์แรม และแอปบันเทิงอื่น ๆ เผย แอปเหล่านี้มีพบมัลแวร์ (Malware) แฝงตัวเพียบ แถมผู้ใช้หลักล้าน !!   เมื่อเร็ว ๆ นี้เอง Dr. Web นักวิจัยด้านความปลอดภัยเผยพบแอป Android นับสิบ ที่มีทั้ง Trojans , ADware , Spyware และ Malware แอบเนียนในคราบแอปแต่งภาพ แอปเคลียร์เคลียร์แรม และแอปบันเทิงอื่น ๆ ที่มีผู้ใช้มากมายตามนี้  – Photo Editor: Retouch & Cutout (de.nineergysh.quickarttwo) –  Photo Editor: Art Filters (gb.painnt.moonlightingnine) –  Photo Editor & Background…

หนุ่มชาวออสเตรเลียถูกจับข้อหาพัฒนาและขายไวรัสมาตั้งแต่อายุ 15 ปี

Loading

เจค็อบ เวย์น จอห์น คีน (Jacob Wayne John Keen) ชายชาวออสเตรเลียในวัย 24 ปี ถูกจับในข้อหาพัฒนาและขายไวรัส Trojan ที่ชื่อ Imminent Monitor ให้กับบรรดาอาชญากรไซเบอร์ในมากกว่า 128 ประเทศ มาตั้งแต่อายุ 15 ปี Imminent Monitor มีความสามารถในการควบคุมอุปกรณ์ของเหยื่อจากระยะไกลเพื่อสอดแนมเหยื่อทางกล้องและไมโครโฟนที่ติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์ของเหยื่อ จารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล เปิดไฟล์เอกสาร และติดตามตัวเหยื่อ ไวรัสที่คีนพัฒนาขึ้นนี้ ถูกนำไปใช้ในการสอดแนมเหยื่อเรือนหมื่นรายทั่วโลก ผู้ซื้อมากกว่า 200 รายอยู่ในออสเตรเลีย ในจำนวนนี้ เป็นผู้มีประวัติในการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว หลักฐานยังชี้ให้เห็นด้วยว่าเงินที่ได้จากการใช้ Imminent Monitor ส่วนใหญ่ถูกนำไปซื้ออาหารแบบกลับบ้าน คีนทำเงินได้มากถึง 300,000 เหรียญ (ราว 10.8 ล้านบาท) โดยจากข้อกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ คีนเริ่มขาย Imminent Monitor มาตั้งแต่อายุ 15 ให้แก่ผู้ใช้รายละ 35 เหรียญ (ราว…

รัสเซียโรงงานสร้างเลเซอร์ ใช้ทำลายการมองเห็นชั่วคราวของดาวเทียม

Loading

“รัสเซียสร้างโรงงานเลเซอร์ชื่อ “คาลินา” ใช้ส่งลำแสงเลเซอร์พลังงานสูงไปยังดาวเทียมสอดแนม เพื่อทำลายการมองเห็นชั่วคราวของดาวเทียมนั้น ๆ” จากรายงานของเดอะ สเปซ รีวิว (The Space Review) เผยว่า รัสเซียกำลังสร้างโรงงานที่มีชื่อว่าคาลินา (Kalina) อันเป็นโรงงานเลเซอร์ภาคพื้นดิน เพื่อรบกวนการทำงานของดาวเทียมในวงโคจร โดยเป็นแนวคิดพื้นฐานในการรบกวนเซ็นเซอร์ออปติคัลของดาวเทียมสอดแนมของประเทศอื่น ๆ ด้วยการใช้แสงเลเซอร์ส่อง ซึ่งหากรัฐบาลรัสเซียสามารถสร้างเลเซอร์ได้สำเร็จ ก็จะสามารถป้องกันประเทศส่วนใหญ่จากมุมมองการมองเห็นของดาวเทียมด้วยเซ็นเซอร์ออปติคัลได้ แต่ทั้งนี้ การจะบรรลุเป้าหมายนี้ จำเป็นต้องส่งแสงเลเซอร์ในปริมาณที่เพียงพอไปยังเซ็นเซอร์ดาวเทียมอย่างแม่นยำ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เมื่อพิจารณาจากระยะทางที่ไกลมาก และความจริงที่ว่าลำแสงเลเซอร์ต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลกก่อน โดยคาลินาสามารถผลิตเลเซอร์ชนิดพัลซิ่ง (Pulsed laser) ได้ที่ 1,000 จูลต่อตารางเซนติเมตร นอกจากนี้ รายงานยังเปิดเผยอีกว่า คาลินาสามารถกำหนดเป้าหมายดาวเทียมเหนือศีรษะได้เป็นระยะทางหลายร้อยไมล์ ซึ่งจะสามารถป้องกันการมองเห็นพื้นที่ขนาดใหญ่ได้มากประมาณ 100,000 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับรัฐเคนตักกี้ ในสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว ไม่เพียงแต่ความสามารถในการทำให้ดาวเทียมสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว เซนเซอร์ที่มีระดับพลังงานสูง อาจนำไปสู่การทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บนดาวเทียมเสียหายถาวร อย่างไรก็ตามในขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยีเลเซอร์กำลังมุ่งไปในทิศทางนั้น มีการพิจารณานโยบายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้เลเซอร์ในลักษณะนี้โดยนานาชาติ การทำลายอย่างถาวรของเซ็นเซอร์ตามอวกาศโดยประเทศอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวซึ่งนำไปสู่ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ในปี 2019 รัสเซียเคยออกมายอมรับการมีอยู่ของเพอเรสเวท (Peresvet) ซึ่งเป็นอาวุธเลเซอร์ของรัสเซียสำหรับการป้องกันทางอากาศและการทำสงครามต่อต้านดาวเทียม แต่ไม่มีการยืนยันว่าอาวุธดังกล่าวถูกใช้สำเร็จหรือไม่ ข้อมูลจาก…